"หมัก"ทำมึนจำรูปตัวเองยืนข้าง"ประพาส" ในยุค 6 ตุลาฯไม่ได้ ส่วนที่เคยพูดที่ฝรั่งเศสว่าตาย 48 ก็จำไม่ได้เหมือนกัน อ้างเป็นสิทธิ เสรีภาพที่จะให้สัมภาษณ์สื่อว่ามีคนตายกี่คนก็ได้ ด้าน"อดิศร" จวกยับ เลิกพูดพล่ามเลิกบิดเบือน ยันมีการฆ่าผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก ชี้เป็นเรื่องกฎแห่งกรรมใครทำต้องได้รับผล "เลี้ยบ"อ้างมุมมองนศ. กับผู้นำสมัย 6 ตุลา ต่างกัน หนุนชำระประวัติศาสตร์โดยเร็ว ย้ำหากผิดต้องขอโทษ ขณะที่"ยุทธตู้เย็น" ชี้ ฝ่ายค้านยื่นญัตติถามได้ แต่จะได้รับการบรรจุเข้าวาระหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่
วานนี้ (22 ก.พ.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมตั้งกระทู้สดถามนายสมัครต่อกรณีที่นายสมัครบอกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เห็นผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวว่า เรื่องของประชาธิปัตย์ไม่ใช่เรื่องของตน ให้เขายื่นเข้ามาก่อน ส่วนการเรียกร้องให้ตนออกมาขอโทษนั้น ก็ตอบชัดเจนแล้วว่าจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกแล้ว
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์นำภาพที่ท่านยืนข้างๆจอมพลประพาส จารุเสถียร ออกมาเผยแพร่ นายสมัคร กล่าวว่า "ผมยังไม่เห็นเลย ผมไปยืนตั้งแต่เมื่อไร ยืนที่ไหน เมื่อไร เอ้อ ทำไมผมจำไม่ได้" จากนั้นผู้สื่อข่าวได้ยื่นหนังสือพิมพ์ให้นายสมัครดูภาพดังกล่าวที่ลงหน้าหนึ่ง นสพ.หลายฉบับ นายสมัคร จึงกล่าวว่า "โอ้โห นั่นหรือ ผมหรือ ผมยังไม่รู้เลย ผมไม่เห็น ผมไม่ได้รับรูปนี้"
ส่วนที่มีคนออกไปดูคนถูกเผาที่สนามหลวงและนายสมัครได้ออกไปดูด้วย นายสมัคร กล่าวว่า ข่าวมันว่าคนถูกเผาที่สนามหลวง ใครก็ไปดูกันทั้งนั้น และตนก็ยอมรับว่าตนไปดู เพราะตนอยู่ที่ กทม. และใครๆ ก็ไปดูทั้งนั้น เมื่อถามว่ามีคนเสียชีวิต 1 คนหรือ นายสมัคร กล่าวว่า ก็แน่นอน เพราะตนเห็นอย่างนั้น "คุณว่ามากกว่า 1 คนหรือ"
เมื่อถามว่า ที่เคยพูดเมื่อปี 2520 ท่านไม่ได้บอกว่ามีผู้เสียชีวิตคนเดียว นายสมัคร กล่าวว่า เวลานี้มัน 31 ปี มาแล้ว ตนไม่จำหรอกว่าตนพูดอะไรอย่างนั้น และทำไมพูดอย่างนั้นก็ไม่ทราบเหมือนกันและถ้าตนพูดอย่างนั้นจริง ตนก็ไม่พูดอย่างงั้น อย่างงี้
เมื่อถามว่า ท่านทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือยังว่าผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 คน นายสมัคร กล่าวว่า ตนบอกว่าจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อีก ตนก็จะไม่พูด
"ถ้าผมว่าไม่ใช่ความเสียหายอะไรเลยที่ผมพูดไปแบบนั้น ผมพูดกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เขาถามผม ผมก็ตอบเท่าที่ผมเห็น มันสิทธิเสรีภาพของผมแท้ๆ เลยทีเดียว" นายสมัคร กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวจะถามต่อ นายสมัคร กล่าวสวนขึ้นมาว่า ไม่ตอบแล้วเรื่องนี้ พอแล้ว เมื่อถามย้ำว่าถ้ามีการยื่นกระทู้ในสภา ท่านพร้อมจะตอบหรือไม่ นายสมัคร กล่าวด้วยสีหน้าที่มีอารมณ์ไม่พอใจว่า "ผมบอกว่าไม่ตอบแล้ว พอแล้ว"
"อดิศร"จวก"หมัก"เลิกพูดเรื่อยเปื่อย
นายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ในฐานะคนเดือนตุลา กล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ที่ถือได้ว่าอัปยศที่สุด เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานชัดเจนว่า ได้มีสูญเสียผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก ส่วนใครจะรับผิดชอบอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามประวัติศาสตร์ ซึ่งแง่มุมหนึ่งก็ต้องมองให้รอบด้านว่า ในสมัยนั้น มีใครเป็นรัฐบาล ใช่พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ขณะที่ผู้บงการสั่งฆ่านักศึกษา และคนบริสุทธิ์เป็นใคร ก็ต้องหาตัวผู้รับผิดชอบ ตนในฐานะคนเดือนตุลาฯ จึงขอเรียกร้องให้มีการชำระประวัติศาสตร์ แทนที่จะมาพูดกันรายวันเช่นนี้ โดยเฉพาะกรณีของ นายสมัคร ที่ออกมาพูดว่า เห็นคนตายเพียงคนเดียว ถือว่ามีความคลาดเคลื่อนแน่นอน ต้องถามว่า เหตุการณ์วุ่นวายเสียหายจนกลายเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองมาจนขณะนี้ มีการฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก เป็นไปไม่ได้ที่จะมีคนตายเพียงคนเดียว
ถามว่าปัญหานี้จะบานปลายหรือไม่ เพราะล่าสุด องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เรียกร้อง นายสมัคร ให้ออกมาขอโทษ และเลิกบิดเบือนประวัติศาสตร์ นายอดิศร กล่าวว่า ตรงนี้ต้องขอบคุณองค์การต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้องเช่นนั้น ทำถูกต้องแล้ว เพราะหากผู้นำทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องออกมาขอโทษ เพราะตนยืนยันได้ว่าเกิดเหตุรุนแรงจริงๆ มีการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
"คนอื่นไม่ออกมาพูดเรื่องนี้ไม่เป็นไร แต่ผมในฐานะคนเดือนตุลา ถ้าไม่มี 6 ตุลา ก็ไม่มี อดิศร ซึ่งวันนี้ผมไม่เห็นด้วย ที่นายสมัคร ออกมาพูด กรณี 6 ตุลา เช่นนี้ เพราะการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องมองให้รอบด้าน ขณะที่ฝ่ายค้านเอง ก็ต้องเตือนว่า อย่าฉกฉวยโอกาสทางการเมือง ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยพูด ไม่มีความคิดอยู่ในหัว ที่จะชำระประวัติศาสตร์ 6 ตุลา แต่กลับมีความพยายามจะใช้ประเด็นนี้ในการโค่นล้มรัฐบาล ตรงนี้ต้องเตือนว่า อย่าทำให้ประวัติศาสตร์มัวหมอง ขณะเดียวกัน ตัวนายสมัคร ซึ่งเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งมีอำนาจในตอนนี้ ก็ต้องถามว่า การที่มีพฤติกรรมไม่เอียงหูฟังใครเลยอย่างนี้ จะเป็นผู้นำได้อย่างไร
ผมนำท่านมาถึงฝั่ง มาเป็นนายกฯได้ ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่ให้พูดอะไรได้ทุกเรื่อง ต้องเกรงใจเราด้วย เหตุการณ์นี้จะสงบได้ คุณสมัคร ก็ต้องสงบปากสงบคำ หันไปบริหารประเทศอย่างเดียวจะดีกว่า แล้วก็ตั้งองค์กรกลางขึ้นมาช่วยกันชำระประวัติศาสตร์เสีย และถ้าพูดอะไรผิดก็ต้องรู้จักขอโทษ อย่าอ้างเอาอายุความาพูดเรื่อยเปื่อย ความสูญเสียของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม ใครทำอะไรไว้รับผล ถ้าคุณสมัคร บอกเราว่า เห็นคนตายเพียงคนเดียว ผมก็จะบอกว่า ผมนี่แหละที่เป็นผู้สูญเสียคนหนึ่ง เพราะน้องชายก็ได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ระหว่างหนีเข้าป่าที่ จ.น่าน ตรงนี้ต้องถามกลับว่า ใครรับผิดชอบ" นายอดิศรกล่าว
"เลี้ยบ"อยากให้ชำระประวัติศาสตร์
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า เป็นเรื่องเศร้าสลด เป็นบาดแผลของทุกคน และไม่อยากให้เกิดขึ้นในสังคมไทย สภาพเหตุการณ์อาจจะยังไม่พูดถึงในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 5 ตุลา ถึงเช้ามืดวันที่ 6 ตุลา ตนเป็นผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ก็รับรู้ข้อมูลจากมุมมองของนักศึกษา ซึ่งเราประสงค์อยากเห็นข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ใดๆที่จะนำมาเป็นประเด็นทางการเมือง แต่เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้นอีกในสังคมไทย อะไรที่เรียนรู้ว่าเป็นข้อผิดพลาด ก็ต้องไม่ให้ข้อผิดพลาดเหล่านั้นเกิดขึ้นอีก
"กรณี 6 ตุลา วันนี้ผมอ่านงานวิจัยของเอแบคโพล เห็นชัดเจนว่าประชนกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่ประสงค์ให้มีการชำระประวัติศาสตร์ แต่ผมมองว่า การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องที่ดี และนำมาเป็นบทเรียน แต่ก็สะท้อนว่า ประชาชนจำนวนหนึ่งเขาเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการรวมใจกันแก้ปัญหาของประเทศชาติในปัจจุบัน เรียนว่า กรณี 6 ตุลา หากจะมีการหยิบยกกันขึ้นไปต่อจากนี้ ก็น่าจะเป็นแบบสร้างสรรค์ เพื่อเป็นบทเรียน ป้องกันการสร้างปัญหา ไม่ใช่สร้างปัญหาใหม่" นพ.สุรพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุเกิดมาจากการบิดเบือน และรัฐบาลก็ไม่ยอมตอบว่าบิดเบือนจริงหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า กรณี 6 ตุลา ขึ้นอยู่กับว่ามองในมุมมองไหน มุมมองนักศึกษาก็เป็นมุมมองหนึ่ง อาจจะไม่ครบถ้วนทั้งหมด ข้อมูลผู้เสียชีวิตที่ตนรับทราบ ก็แตกต่างจากที่นายกรัฐมนตรีทราบ ขณะเดียวกันข้อมูลที่นายกฯ มีเราเองก็ไม่มีโอกาสรับรู้ ถ้าจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ต้องทำใจให้เป็นกลาง และมีสติ เก็บข้อมูลทั้งหมดให้ทุกด้าน แล้วมาดูว่าใครทำผิดตรงไหนบ้าง ตนเชื่อว่าเหตุการณ์นั้นไม่มีคนผิดคนเดียว คงจะต้องมานั่งพูดคุย หาข้อสรุปว่าเราจะไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างนั้นอีกได้อย่างไร
เมื่อถามว่าฝ่ายค้านไม่ยอมยุติในเรื่องนี้ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ถ้าฝ่ายใดจะหยิบยกเรื่องนี้มา ต้องเริ่มต้องต้นด้วยความตั้งใจดี ไม่ให้เหตุการณ์ 6 ตุลา ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก แต่ไม่ใช่นำมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ตรงนี้เชื่อว่าประชาชนไม่เห็นด้วยแน่
เมื่อถามว่าถ้ามีคนผิด ควรมีการขอโทษหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ถ้าหากมีการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ถ้าใครผิดพลาดอย่างไร โอกาสต่อไปเมื่อข้อมูลชัดเจนแล้ว ผู้ที่ผิดพลาดอย่างนั้น ถ้าขอโทษ ก็เป็นเรื่องที่ดี เราควรจะมีการมองจากทุกมุม เชื่อว่าขณะนี้ข้อมูลยังไม่ครบถ้วนทั้งหมด นายกรัฐมนตรี ก็บอกแล้วว่าอยากให้รวบรวมข้อมูลรอบด้าน
ตั้งกระทู้ได้แต่จะบรรจุหรือไม่ต้องคอยดู
นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่พรรคฝ่ายค้านเตรียมยื่นกระทู้ถามสดนายสมัคร สุนทรเวช ถึงความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ว่า เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยว่าจะบรรจุอยู่ในวาระระเบียบการประชุมหรือไม่นั้น ตนได้แบ่งงานให้รองประธานทั้ง 2 คน เป็นผู้พิจารณา ถ้าอยู่ในเกณฑ์ หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจประชาชน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ก็สามารถบรรจุเป็นวาระได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การบริหารราชการแผ่นดิน ก็ต้องมาดูกัน
ส่วนเรื่องนี้จะกระทบต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี หรือไม่ ตนไม่ขอขยายความต่อ เพราะหากพูดไป ก็เป็นประเด็นที่แตกแยก ซึ่งการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา คือ การรับหรือไม่รับเท่านั้น ส่วนทัศนะคดติต่างๆจะไป พูดเกินเลยไม่ได้ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ฟังและประชาชน
วานนี้ (22 ก.พ.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมตั้งกระทู้สดถามนายสมัครต่อกรณีที่นายสมัครบอกว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เห็นผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียวว่า เรื่องของประชาธิปัตย์ไม่ใช่เรื่องของตน ให้เขายื่นเข้ามาก่อน ส่วนการเรียกร้องให้ตนออกมาขอโทษนั้น ก็ตอบชัดเจนแล้วว่าจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกแล้ว
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์นำภาพที่ท่านยืนข้างๆจอมพลประพาส จารุเสถียร ออกมาเผยแพร่ นายสมัคร กล่าวว่า "ผมยังไม่เห็นเลย ผมไปยืนตั้งแต่เมื่อไร ยืนที่ไหน เมื่อไร เอ้อ ทำไมผมจำไม่ได้" จากนั้นผู้สื่อข่าวได้ยื่นหนังสือพิมพ์ให้นายสมัครดูภาพดังกล่าวที่ลงหน้าหนึ่ง นสพ.หลายฉบับ นายสมัคร จึงกล่าวว่า "โอ้โห นั่นหรือ ผมหรือ ผมยังไม่รู้เลย ผมไม่เห็น ผมไม่ได้รับรูปนี้"
ส่วนที่มีคนออกไปดูคนถูกเผาที่สนามหลวงและนายสมัครได้ออกไปดูด้วย นายสมัคร กล่าวว่า ข่าวมันว่าคนถูกเผาที่สนามหลวง ใครก็ไปดูกันทั้งนั้น และตนก็ยอมรับว่าตนไปดู เพราะตนอยู่ที่ กทม. และใครๆ ก็ไปดูทั้งนั้น เมื่อถามว่ามีคนเสียชีวิต 1 คนหรือ นายสมัคร กล่าวว่า ก็แน่นอน เพราะตนเห็นอย่างนั้น "คุณว่ามากกว่า 1 คนหรือ"
เมื่อถามว่า ที่เคยพูดเมื่อปี 2520 ท่านไม่ได้บอกว่ามีผู้เสียชีวิตคนเดียว นายสมัคร กล่าวว่า เวลานี้มัน 31 ปี มาแล้ว ตนไม่จำหรอกว่าตนพูดอะไรอย่างนั้น และทำไมพูดอย่างนั้นก็ไม่ทราบเหมือนกันและถ้าตนพูดอย่างนั้นจริง ตนก็ไม่พูดอย่างงั้น อย่างงี้
เมื่อถามว่า ท่านทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือยังว่าผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 คน นายสมัคร กล่าวว่า ตนบอกว่าจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อีก ตนก็จะไม่พูด
"ถ้าผมว่าไม่ใช่ความเสียหายอะไรเลยที่ผมพูดไปแบบนั้น ผมพูดกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เขาถามผม ผมก็ตอบเท่าที่ผมเห็น มันสิทธิเสรีภาพของผมแท้ๆ เลยทีเดียว" นายสมัคร กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวจะถามต่อ นายสมัคร กล่าวสวนขึ้นมาว่า ไม่ตอบแล้วเรื่องนี้ พอแล้ว เมื่อถามย้ำว่าถ้ามีการยื่นกระทู้ในสภา ท่านพร้อมจะตอบหรือไม่ นายสมัคร กล่าวด้วยสีหน้าที่มีอารมณ์ไม่พอใจว่า "ผมบอกว่าไม่ตอบแล้ว พอแล้ว"
"อดิศร"จวก"หมัก"เลิกพูดเรื่อยเปื่อย
นายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ในฐานะคนเดือนตุลา กล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นประวัติศาสตร์ที่ถือได้ว่าอัปยศที่สุด เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานชัดเจนว่า ได้มีสูญเสียผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก ส่วนใครจะรับผิดชอบอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามประวัติศาสตร์ ซึ่งแง่มุมหนึ่งก็ต้องมองให้รอบด้านว่า ในสมัยนั้น มีใครเป็นรัฐบาล ใช่พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ขณะที่ผู้บงการสั่งฆ่านักศึกษา และคนบริสุทธิ์เป็นใคร ก็ต้องหาตัวผู้รับผิดชอบ ตนในฐานะคนเดือนตุลาฯ จึงขอเรียกร้องให้มีการชำระประวัติศาสตร์ แทนที่จะมาพูดกันรายวันเช่นนี้ โดยเฉพาะกรณีของ นายสมัคร ที่ออกมาพูดว่า เห็นคนตายเพียงคนเดียว ถือว่ามีความคลาดเคลื่อนแน่นอน ต้องถามว่า เหตุการณ์วุ่นวายเสียหายจนกลายเป็นประวัติศาสตร์ทางการเมืองมาจนขณะนี้ มีการฆ่าผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก เป็นไปไม่ได้ที่จะมีคนตายเพียงคนเดียว
ถามว่าปัญหานี้จะบานปลายหรือไม่ เพราะล่าสุด องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เรียกร้อง นายสมัคร ให้ออกมาขอโทษ และเลิกบิดเบือนประวัติศาสตร์ นายอดิศร กล่าวว่า ตรงนี้ต้องขอบคุณองค์การต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้องเช่นนั้น ทำถูกต้องแล้ว เพราะหากผู้นำทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องออกมาขอโทษ เพราะตนยืนยันได้ว่าเกิดเหตุรุนแรงจริงๆ มีการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง
"คนอื่นไม่ออกมาพูดเรื่องนี้ไม่เป็นไร แต่ผมในฐานะคนเดือนตุลา ถ้าไม่มี 6 ตุลา ก็ไม่มี อดิศร ซึ่งวันนี้ผมไม่เห็นด้วย ที่นายสมัคร ออกมาพูด กรณี 6 ตุลา เช่นนี้ เพราะการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องมองให้รอบด้าน ขณะที่ฝ่ายค้านเอง ก็ต้องเตือนว่า อย่าฉกฉวยโอกาสทางการเมือง ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยพูด ไม่มีความคิดอยู่ในหัว ที่จะชำระประวัติศาสตร์ 6 ตุลา แต่กลับมีความพยายามจะใช้ประเด็นนี้ในการโค่นล้มรัฐบาล ตรงนี้ต้องเตือนว่า อย่าทำให้ประวัติศาสตร์มัวหมอง ขณะเดียวกัน ตัวนายสมัคร ซึ่งเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งมีอำนาจในตอนนี้ ก็ต้องถามว่า การที่มีพฤติกรรมไม่เอียงหูฟังใครเลยอย่างนี้ จะเป็นผู้นำได้อย่างไร
ผมนำท่านมาถึงฝั่ง มาเป็นนายกฯได้ ก็ต้องบอกว่า ไม่ใช่ให้พูดอะไรได้ทุกเรื่อง ต้องเกรงใจเราด้วย เหตุการณ์นี้จะสงบได้ คุณสมัคร ก็ต้องสงบปากสงบคำ หันไปบริหารประเทศอย่างเดียวจะดีกว่า แล้วก็ตั้งองค์กรกลางขึ้นมาช่วยกันชำระประวัติศาสตร์เสีย และถ้าพูดอะไรผิดก็ต้องรู้จักขอโทษ อย่าอ้างเอาอายุความาพูดเรื่อยเปื่อย ความสูญเสียของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม ใครทำอะไรไว้รับผล ถ้าคุณสมัคร บอกเราว่า เห็นคนตายเพียงคนเดียว ผมก็จะบอกว่า ผมนี่แหละที่เป็นผู้สูญเสียคนหนึ่ง เพราะน้องชายก็ได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ระหว่างหนีเข้าป่าที่ จ.น่าน ตรงนี้ต้องถามกลับว่า ใครรับผิดชอบ" นายอดิศรกล่าว
"เลี้ยบ"อยากให้ชำระประวัติศาสตร์
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า เป็นเรื่องเศร้าสลด เป็นบาดแผลของทุกคน และไม่อยากให้เกิดขึ้นในสังคมไทย สภาพเหตุการณ์อาจจะยังไม่พูดถึงในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 5 ตุลา ถึงเช้ามืดวันที่ 6 ตุลา ตนเป็นผู้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ ก็รับรู้ข้อมูลจากมุมมองของนักศึกษา ซึ่งเราประสงค์อยากเห็นข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ใดๆที่จะนำมาเป็นประเด็นทางการเมือง แต่เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาอย่างนี้ขึ้นอีกในสังคมไทย อะไรที่เรียนรู้ว่าเป็นข้อผิดพลาด ก็ต้องไม่ให้ข้อผิดพลาดเหล่านั้นเกิดขึ้นอีก
"กรณี 6 ตุลา วันนี้ผมอ่านงานวิจัยของเอแบคโพล เห็นชัดเจนว่าประชนกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่ประสงค์ให้มีการชำระประวัติศาสตร์ แต่ผมมองว่า การเก็บข้อมูลเป็นเรื่องที่ดี และนำมาเป็นบทเรียน แต่ก็สะท้อนว่า ประชาชนจำนวนหนึ่งเขาเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการรวมใจกันแก้ปัญหาของประเทศชาติในปัจจุบัน เรียนว่า กรณี 6 ตุลา หากจะมีการหยิบยกกันขึ้นไปต่อจากนี้ ก็น่าจะเป็นแบบสร้างสรรค์ เพื่อเป็นบทเรียน ป้องกันการสร้างปัญหา ไม่ใช่สร้างปัญหาใหม่" นพ.สุรพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า สาเหตุเกิดมาจากการบิดเบือน และรัฐบาลก็ไม่ยอมตอบว่าบิดเบือนจริงหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า กรณี 6 ตุลา ขึ้นอยู่กับว่ามองในมุมมองไหน มุมมองนักศึกษาก็เป็นมุมมองหนึ่ง อาจจะไม่ครบถ้วนทั้งหมด ข้อมูลผู้เสียชีวิตที่ตนรับทราบ ก็แตกต่างจากที่นายกรัฐมนตรีทราบ ขณะเดียวกันข้อมูลที่นายกฯ มีเราเองก็ไม่มีโอกาสรับรู้ ถ้าจะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ต้องทำใจให้เป็นกลาง และมีสติ เก็บข้อมูลทั้งหมดให้ทุกด้าน แล้วมาดูว่าใครทำผิดตรงไหนบ้าง ตนเชื่อว่าเหตุการณ์นั้นไม่มีคนผิดคนเดียว คงจะต้องมานั่งพูดคุย หาข้อสรุปว่าเราจะไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างนั้นอีกได้อย่างไร
เมื่อถามว่าฝ่ายค้านไม่ยอมยุติในเรื่องนี้ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ถ้าฝ่ายใดจะหยิบยกเรื่องนี้มา ต้องเริ่มต้องต้นด้วยความตั้งใจดี ไม่ให้เหตุการณ์ 6 ตุลา ทำนองนี้เกิดขึ้นอีก แต่ไม่ใช่นำมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ตรงนี้เชื่อว่าประชาชนไม่เห็นด้วยแน่
เมื่อถามว่าถ้ามีคนผิด ควรมีการขอโทษหรือไม่ นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ถ้าหากมีการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ถ้าใครผิดพลาดอย่างไร โอกาสต่อไปเมื่อข้อมูลชัดเจนแล้ว ผู้ที่ผิดพลาดอย่างนั้น ถ้าขอโทษ ก็เป็นเรื่องที่ดี เราควรจะมีการมองจากทุกมุม เชื่อว่าขณะนี้ข้อมูลยังไม่ครบถ้วนทั้งหมด นายกรัฐมนตรี ก็บอกแล้วว่าอยากให้รวบรวมข้อมูลรอบด้าน
ตั้งกระทู้ได้แต่จะบรรจุหรือไม่ต้องคอยดู
นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่พรรคฝ่ายค้านเตรียมยื่นกระทู้ถามสดนายสมัคร สุนทรเวช ถึงความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ว่า เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้ อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยว่าจะบรรจุอยู่ในวาระระเบียบการประชุมหรือไม่นั้น ตนได้แบ่งงานให้รองประธานทั้ง 2 คน เป็นผู้พิจารณา ถ้าอยู่ในเกณฑ์ หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจประชาชน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ก็สามารถบรรจุเป็นวาระได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การบริหารราชการแผ่นดิน ก็ต้องมาดูกัน
ส่วนเรื่องนี้จะกระทบต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรี หรือไม่ ตนไม่ขอขยายความต่อ เพราะหากพูดไป ก็เป็นประเด็นที่แตกแยก ซึ่งการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา คือ การรับหรือไม่รับเท่านั้น ส่วนทัศนะคดติต่างๆจะไป พูดเกินเลยไม่ได้ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ฟังและประชาชน