ศิเมื่อทำงานร่วมกันกับท่านบุศย์ ขันธวิทย์ นานวันเข้า ก็มีความสนิทสนมมากขึ้นเป็นลำดับ โดยผมได้กลายเป็นศิษย์ของท่านไปโดยปริยาย และในภายหลังก็มีคำกล่าวขานกันว่าในบรรดาศิษย์ทั้งปวงของท่านบุศย์ ขันธวิทย์ นั้นผมคือศิษย์เอกที่ได้รับถ่ายทอดปัญญาวิชาคุณจากท่านมากที่สุด
ดังที่ปรากฏความตอนหนึ่งในภาพถ่ายที่ท่านได้มอบให้ผมไว้เป็นที่ระลึกว่า “เป็นหลักฐานว่าสามารถเรียนรู้ใน ‘ศาสตร์’ และ ‘ศิลป์’ ได้เร็วดีมาก”
เมื่อใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเข้า ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็ซักถามเกี่ยวกับความเป็นมาในทางส่วนตัวแต่หนหลัง ผมก็ได้เล่าให้ฟังตามความจริงทุกสิ่งอย่าง
วันหนึ่งในปีที่ผมครบบวช ผมก็ไปกราบลาท่าน ขอเดินทางกลับไปบ้านเดิมเพื่อเข้ารับอุปสมบทตามประเพณี และให้เป็นไปตามความต้องการของก๋ง ยาย รวมทั้งพ่อแม่ด้วย ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและสอนว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตที่แท้จริง ผ่านการบวชเรียนจะได้ชื่อว่า “บัณฑิต” ขอให้ตั้งใจเรียนรู้ให้เป็นบัณฑิตสมชื่อ
ก็ต้องบอกว่าเป็นการบวชตามประเพณี เพราะการบวชในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธบ้านเรานั้นมีการบวชหลายอย่าง โดยทั่วไปจะเป็นการบวชตามประเพณี บ้างก็เป็นการบวชเอาจริงเอาจัง โดยหวังมรรคผลนิพพานหรือที่เรียกว่าบวชหนีสงสาร บ้างก็เป็นการบวชเพราะสิ้นทางทำมาหากิน เมื่อบวชแล้วก็ไม่ได้ทำประโยชน์สิ่งใดให้กับตนเองหรือผู้อื่น การบวชแบบนี้เขาเรียกว่าบวชผลาญข้าวสุก บ้างก็บวชไปตามแรงชวนของเพื่อนพ้องน้องพี่ ดังที่เรียกกันว่าบวชสนุกตามเพื่อน
จึงมีคำกล่าวถึงการบวชในบ้านเราเป็นถ้อยคำที่คล้องจองกันว่า “บวชตามประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน” โดยในเรื่องบวชหนีสงสารนั้นมีความหมายได้ถึงสองนัยยะ นัยยะแรกคือสงสารที่หมายถึงสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนนัยที่สองคือสงสารที่หมายถึงไม่สามารถทนต่อความสมเพชเวทนาของคนอื่นเพราะเหตุที่สิ้นไร้ไม้ตอกจึงต้องออกบวชไป
ประเพณีชาวพุทธบ้านเรานั้นล้วนมุ่งมาดปรารถนาให้บุตรหลานที่เป็นชายได้บรรพชาอุปสมบท เพราะมีคติเชื่อถือกันมาว่าการบวชเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา มีผลมาก มีอานิสงส์มาก สามารถแผ่บุญกุศลให้ญาติมิตรทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและทั้งที่มีชีวิตอยู่ให้พ้นจากความทุกข์ทรมานได้
แล้วจึงเกิดเป็นประเพณีบวชหน้าไฟหรือบวชหน้าศพตามมาก็ด้วยความเชื่อที่ว่านี้ บางทีก็บวชกันแค่วันเดียวหรือสามวันเพื่อหวังอานิสงส์แห่งบรรพชาอุปสมบทนั้นได้ทำให้ผู้ล่วงลับพ้นจากความทุกข์ทรมานในอบายหรือทุกข์คติและไปสู่สวรรค์
ยิ่งพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่ล่วงวัยแล้วต่างมุ่งมาดปรารถนาจะได้เห็นชายผ้าเหลืองของบุตรหลานเสียก่อนตายให้เป็นบุญตา เพราะนับถือกันมาว่าผ้าเหลืองหรือผ้ากาสาวพัสตร์นั้นคือธงชัยของพระอรหันต์ ที่ใครได้เห็นแล้วมีอันปิดกั้นนรกได้อย่างแน่แท้ และเมื่อทางนรกถูกปิดกั้นเสียแล้ว โอกาสที่จะไปสู่สุคติในสรวงสวรรค์ก็จะเป็นอันหวังได้
ความจริงพระพุทธเจ้ามิได้มุ่งมาดปรารถนาให้กุลบุตรบรรพชาหรืออุปสมบทเพื่อผลหรืออานิสงส์ที่ว่านี้โดยตรงแต่ประการใด กุลบุตรที่รับบรรพชาอุปสมบทโดยพระบรมศาสดาเองนั้นล้วนมุ่งหวังความดับทุกข์หรือพระนิพพานเป็นที่สุดทั้งสิ้น แต่จะทำอย่างไรได้เล่า เมื่อวันเวลาผ่านเนิ่นนานไป พระพุทธศาสนาในบ้านเราก็เรียวลง เรียวลง จึงแทนที่จะให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทเพื่อตัดสังสารวัฏให้ขาดสิ้น จึงกลายเป็นแค่หวังเอาผลบุญหรืออานิสงส์ให้พ้นจากทุกข์คติและนรกเท่านั้น
คติและความเชื่อเช่นว่านี้จึงแตกกิ่งก้านสาขากลายเป็นพิธีกรรมนานาชนิดสุดแต่จะประดิษฐ์ประดอยเสกสรรปั้นแต่งขึ้นตามค่านิยมและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น จนบางทีก็นึกไม่ถึงว่าพิธีกรรมเช่นนั้นคือพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา
เมื่อผมมีอายุครบบวชตามประเพณีนั้น เป็นห้วงเวลาประจวบกับก๋งและยายล่วงวัยจนกล่าวได้ว่าชราภาพ อยากจะเห็นผ้าเหลืองของหลานที่อุ้มชูเลี้ยงดูมาตั้งแต่น้อย ทั้งพ่อและแม่ก็มีความเห็นสมคล้อยไปตามประสงค์นั้น เพราะน้ำใจลึกก็อยากจะเห็นผ้าเหลืองของลูกหัวปีอยู่เหมือนกัน
งานบวชของผมค่อนข้างจะเป็นงานใหญ่ในตำบลนั้น เพราะยายและแม่ผมเป็นพุทธบริษัทที่ชั่วชีวิตขลุกอยู่กับวัด ใกล้ชิดกับพระโดยทั่วไป ดังนั้นพอมีข่าวคราวงานบวชของผมเท่านั้น พระเจ้าตามวัดต่างๆ ทั้งในอำเภอและต่างอำเภอจำนวนนับพันรูปจึงได้มาเยี่ยมเยียน มาร่วมงานบุญอันเป็นงานบวชนั้นอย่างคับคั่ง จนกลายเป็นการชุมนุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่ในอำเภอไปโดยปริยาย
แต่ผมเองก็ไม่ได้เห็นความสำคัญของพิธีกรรมใดๆ เลย จึงไม่ได้บอกกล่าวเชิญชวนญาติมิตรจากกรุงเทพฯ ลงไปร่วมงานบวชแม้แต่คนเดียว คงมีแต่มนูญผลเพื่อนร่วมน้ำสาบานที่อยากไปร่วมงาน ด้วยหวังเดชะบุญเอาจากแรงบุญจากการบวชของเพื่อนแผ่ถึงบิดาผู้ล่วงลับไปเนิ่นนานแล้ว ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปร่วมงานครั้งนั้น
พ่อเป็นคนพิถีพิถันในเรื่องพระเพราะนับถือคนยาก ดังนั้นจึงเคร่งครัดในการจัดวางพระสำคัญๆ ในงานอุปสมบทครั้งนี้เป็นพิเศษ
พ่อได้นิมนต์อาจารย์โดยตรงของพ่อซึ่งเคยเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อ คือท่านเจ้าคุณวัดแหลมทรายหรือพ่อท่านเส้งมาเป็นพระอุปัชฌาย์ นิมนต์พระครูบรรหาร ศาสนกิจหรือพ่อท่านพลับ ซึ่งรุ่งเรืองด้วยศีล อุดมด้วยอิทธิปาฏิหาริย์และเป็นอาจารย์โดยตรงของผมมาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ คือพระผู้สอนวัตรปฏิบัติในเพศพรหมจรรย์ และนิมนต์พระครูพิสิทธิ์ธรรมคุณหรือพ่อท่านแช่ม ซึ่งอุดมด้วยศีล มีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่องชือลือชามาเป็นพระศีลาจารย์
ส่วนพระคู่สวดก็นิมนต์เอาแต่พระองค์สำคัญๆ ที่พ่อนับถือในทางวิทยาคมทั้งสิ้น เช่นพ่อท่านวัดหัวป่า พ่อท่านวัดเชิงแส พ่อท่านวัดเกาะใหญ่ เป็นต้น
งานบวชนั้นจึงเป็นงานรวมญาติครั้งใหญ่เพราะที่บ้านของผมนั้นไม่นิยมจัดงานใดๆ มาแต่ก่อน และไม่เคยมีงานที่เป็นส่วนรวมมานานนักหนาแล้ว ในขณะที่ทั้งพ่อทั้งแม่ ทั้งก๋ง ทั้งยาย ได้ไปช่วยการงานต่างๆ ของชาวบ้านทั้งในอำเภอและต่างอำเภอเป็นเนืองนิตย์
เพราะเหตุที่ยายและแม่เคร่งอยู่ด้วยศีล ไม่ปรารถนาจะให้งานบวชเปรอะเปื้อนด้วยบาป ดังนั้นจึงไม่ให้มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตใดๆ ให้งานมีแต่เรื่องบุญเรื่องกุศลอย่างเดียวเท่านั้น
ผมกลับไปบ้านคราวนั้นก็ไปฝึกขานนาคกับพระอาจารย์ ซึ่งท่านก็ได้มอบให้พระเณรช่วยอบรมสอนสั่งให้ ทำให้ชีวิตได้หวนคืนสภาพเด็กวัดบ้านนอกที่มีความสงบและความสุขอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อพระอาจารย์ทราบความว่าระยะเวลาการบวชของผมกะเอาไว้แค่ 15 วัน ท่านก็แนะว่าออกจะสั้นไปสักหน่อย แต่เวลาสั้นยาวก็ยังไม่สำคัญเท่ากับความบริสุทธิ์ในการอุปสมบท บวชนานเป็นปีๆ แต่หากไม่มีความบริสุทธิ์ ก็จะหวังผลและอานิสงส์ได้น้อยหรือไม่ได้เลย บวชไม่นานแต่ถ้าสามารถรักษาความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ อบรมใจอยู่ด้วยศีลให้อาบเอิบจนเป็นปีติแล้วก็จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดังนั้นในเวลาอันสั้นนี้ขอให้รักษาความบริสุทธิ์ของกาย วาจา ใจ ให้เต็มเปี่ยม ให้สมบูรณ์ ก็จะได้อานิสงส์แห่งอุปสมบทเต็มที่ดังปรารถนา
พระอาจารย์บอกว่าในพุทธกาลนั้นกุลบุตรบางคนฟังคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าคราวเดียวก็มีดวงตาเห็นธรรม บางคนหนึ่งวัน บางคนสามวัน บางคนเจ็ดวัน ก็มีดวงตาเห็นธรรม บางคนก็นาน ขึ้นอยู่กับบารมีที่อบรมสั่งสมมา ดังนั้นเวลา 15 วันที่อุปสมบทขอให้เตรียมใจเตรียมกายให้พร้อม อย่าตั้งอยู่ในความประมาทแม้แต่น้อยเลย
โปรดติดตามตอนที่ 70 “ใต้ร่มธงชัยของพระอรหันต์ ตอน 2 (จบ)” ในวันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
ดังที่ปรากฏความตอนหนึ่งในภาพถ่ายที่ท่านได้มอบให้ผมไว้เป็นที่ระลึกว่า “เป็นหลักฐานว่าสามารถเรียนรู้ใน ‘ศาสตร์’ และ ‘ศิลป์’ ได้เร็วดีมาก”
เมื่อใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเข้า ท่านบุศย์ ขันธวิทย์ ก็ซักถามเกี่ยวกับความเป็นมาในทางส่วนตัวแต่หนหลัง ผมก็ได้เล่าให้ฟังตามความจริงทุกสิ่งอย่าง
วันหนึ่งในปีที่ผมครบบวช ผมก็ไปกราบลาท่าน ขอเดินทางกลับไปบ้านเดิมเพื่อเข้ารับอุปสมบทตามประเพณี และให้เป็นไปตามความต้องการของก๋ง ยาย รวมทั้งพ่อแม่ด้วย ซึ่งท่านก็อนุโมทนาและสอนว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตที่แท้จริง ผ่านการบวชเรียนจะได้ชื่อว่า “บัณฑิต” ขอให้ตั้งใจเรียนรู้ให้เป็นบัณฑิตสมชื่อ
ก็ต้องบอกว่าเป็นการบวชตามประเพณี เพราะการบวชในพระพุทธศาสนาของชาวพุทธบ้านเรานั้นมีการบวชหลายอย่าง โดยทั่วไปจะเป็นการบวชตามประเพณี บ้างก็เป็นการบวชเอาจริงเอาจัง โดยหวังมรรคผลนิพพานหรือที่เรียกว่าบวชหนีสงสาร บ้างก็เป็นการบวชเพราะสิ้นทางทำมาหากิน เมื่อบวชแล้วก็ไม่ได้ทำประโยชน์สิ่งใดให้กับตนเองหรือผู้อื่น การบวชแบบนี้เขาเรียกว่าบวชผลาญข้าวสุก บ้างก็บวชไปตามแรงชวนของเพื่อนพ้องน้องพี่ ดังที่เรียกกันว่าบวชสนุกตามเพื่อน
จึงมีคำกล่าวถึงการบวชในบ้านเราเป็นถ้อยคำที่คล้องจองกันว่า “บวชตามประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน” โดยในเรื่องบวชหนีสงสารนั้นมีความหมายได้ถึงสองนัยยะ นัยยะแรกคือสงสารที่หมายถึงสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด ส่วนนัยที่สองคือสงสารที่หมายถึงไม่สามารถทนต่อความสมเพชเวทนาของคนอื่นเพราะเหตุที่สิ้นไร้ไม้ตอกจึงต้องออกบวชไป
ประเพณีชาวพุทธบ้านเรานั้นล้วนมุ่งมาดปรารถนาให้บุตรหลานที่เป็นชายได้บรรพชาอุปสมบท เพราะมีคติเชื่อถือกันมาว่าการบวชเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา มีผลมาก มีอานิสงส์มาก สามารถแผ่บุญกุศลให้ญาติมิตรทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและทั้งที่มีชีวิตอยู่ให้พ้นจากความทุกข์ทรมานได้
แล้วจึงเกิดเป็นประเพณีบวชหน้าไฟหรือบวชหน้าศพตามมาก็ด้วยความเชื่อที่ว่านี้ บางทีก็บวชกันแค่วันเดียวหรือสามวันเพื่อหวังอานิสงส์แห่งบรรพชาอุปสมบทนั้นได้ทำให้ผู้ล่วงลับพ้นจากความทุกข์ทรมานในอบายหรือทุกข์คติและไปสู่สวรรค์
ยิ่งพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายที่ล่วงวัยแล้วต่างมุ่งมาดปรารถนาจะได้เห็นชายผ้าเหลืองของบุตรหลานเสียก่อนตายให้เป็นบุญตา เพราะนับถือกันมาว่าผ้าเหลืองหรือผ้ากาสาวพัสตร์นั้นคือธงชัยของพระอรหันต์ ที่ใครได้เห็นแล้วมีอันปิดกั้นนรกได้อย่างแน่แท้ และเมื่อทางนรกถูกปิดกั้นเสียแล้ว โอกาสที่จะไปสู่สุคติในสรวงสวรรค์ก็จะเป็นอันหวังได้
ความจริงพระพุทธเจ้ามิได้มุ่งมาดปรารถนาให้กุลบุตรบรรพชาหรืออุปสมบทเพื่อผลหรืออานิสงส์ที่ว่านี้โดยตรงแต่ประการใด กุลบุตรที่รับบรรพชาอุปสมบทโดยพระบรมศาสดาเองนั้นล้วนมุ่งหวังความดับทุกข์หรือพระนิพพานเป็นที่สุดทั้งสิ้น แต่จะทำอย่างไรได้เล่า เมื่อวันเวลาผ่านเนิ่นนานไป พระพุทธศาสนาในบ้านเราก็เรียวลง เรียวลง จึงแทนที่จะให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทเพื่อตัดสังสารวัฏให้ขาดสิ้น จึงกลายเป็นแค่หวังเอาผลบุญหรืออานิสงส์ให้พ้นจากทุกข์คติและนรกเท่านั้น
คติและความเชื่อเช่นว่านี้จึงแตกกิ่งก้านสาขากลายเป็นพิธีกรรมนานาชนิดสุดแต่จะประดิษฐ์ประดอยเสกสรรปั้นแต่งขึ้นตามค่านิยมและความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น จนบางทีก็นึกไม่ถึงว่าพิธีกรรมเช่นนั้นคือพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา
เมื่อผมมีอายุครบบวชตามประเพณีนั้น เป็นห้วงเวลาประจวบกับก๋งและยายล่วงวัยจนกล่าวได้ว่าชราภาพ อยากจะเห็นผ้าเหลืองของหลานที่อุ้มชูเลี้ยงดูมาตั้งแต่น้อย ทั้งพ่อและแม่ก็มีความเห็นสมคล้อยไปตามประสงค์นั้น เพราะน้ำใจลึกก็อยากจะเห็นผ้าเหลืองของลูกหัวปีอยู่เหมือนกัน
งานบวชของผมค่อนข้างจะเป็นงานใหญ่ในตำบลนั้น เพราะยายและแม่ผมเป็นพุทธบริษัทที่ชั่วชีวิตขลุกอยู่กับวัด ใกล้ชิดกับพระโดยทั่วไป ดังนั้นพอมีข่าวคราวงานบวชของผมเท่านั้น พระเจ้าตามวัดต่างๆ ทั้งในอำเภอและต่างอำเภอจำนวนนับพันรูปจึงได้มาเยี่ยมเยียน มาร่วมงานบุญอันเป็นงานบวชนั้นอย่างคับคั่ง จนกลายเป็นการชุมนุมพระสงฆ์ครั้งใหญ่ในอำเภอไปโดยปริยาย
แต่ผมเองก็ไม่ได้เห็นความสำคัญของพิธีกรรมใดๆ เลย จึงไม่ได้บอกกล่าวเชิญชวนญาติมิตรจากกรุงเทพฯ ลงไปร่วมงานบวชแม้แต่คนเดียว คงมีแต่มนูญผลเพื่อนร่วมน้ำสาบานที่อยากไปร่วมงาน ด้วยหวังเดชะบุญเอาจากแรงบุญจากการบวชของเพื่อนแผ่ถึงบิดาผู้ล่วงลับไปเนิ่นนานแล้ว ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปร่วมงานครั้งนั้น
พ่อเป็นคนพิถีพิถันในเรื่องพระเพราะนับถือคนยาก ดังนั้นจึงเคร่งครัดในการจัดวางพระสำคัญๆ ในงานอุปสมบทครั้งนี้เป็นพิเศษ
พ่อได้นิมนต์อาจารย์โดยตรงของพ่อซึ่งเคยเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อ คือท่านเจ้าคุณวัดแหลมทรายหรือพ่อท่านเส้งมาเป็นพระอุปัชฌาย์ นิมนต์พระครูบรรหาร ศาสนกิจหรือพ่อท่านพลับ ซึ่งรุ่งเรืองด้วยศีล อุดมด้วยอิทธิปาฏิหาริย์และเป็นอาจารย์โดยตรงของผมมาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ คือพระผู้สอนวัตรปฏิบัติในเพศพรหมจรรย์ และนิมนต์พระครูพิสิทธิ์ธรรมคุณหรือพ่อท่านแช่ม ซึ่งอุดมด้วยศีล มีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่องชือลือชามาเป็นพระศีลาจารย์
ส่วนพระคู่สวดก็นิมนต์เอาแต่พระองค์สำคัญๆ ที่พ่อนับถือในทางวิทยาคมทั้งสิ้น เช่นพ่อท่านวัดหัวป่า พ่อท่านวัดเชิงแส พ่อท่านวัดเกาะใหญ่ เป็นต้น
งานบวชนั้นจึงเป็นงานรวมญาติครั้งใหญ่เพราะที่บ้านของผมนั้นไม่นิยมจัดงานใดๆ มาแต่ก่อน และไม่เคยมีงานที่เป็นส่วนรวมมานานนักหนาแล้ว ในขณะที่ทั้งพ่อทั้งแม่ ทั้งก๋ง ทั้งยาย ได้ไปช่วยการงานต่างๆ ของชาวบ้านทั้งในอำเภอและต่างอำเภอเป็นเนืองนิตย์
เพราะเหตุที่ยายและแม่เคร่งอยู่ด้วยศีล ไม่ปรารถนาจะให้งานบวชเปรอะเปื้อนด้วยบาป ดังนั้นจึงไม่ให้มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตใดๆ ให้งานมีแต่เรื่องบุญเรื่องกุศลอย่างเดียวเท่านั้น
ผมกลับไปบ้านคราวนั้นก็ไปฝึกขานนาคกับพระอาจารย์ ซึ่งท่านก็ได้มอบให้พระเณรช่วยอบรมสอนสั่งให้ ทำให้ชีวิตได้หวนคืนสภาพเด็กวัดบ้านนอกที่มีความสงบและความสุขอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อพระอาจารย์ทราบความว่าระยะเวลาการบวชของผมกะเอาไว้แค่ 15 วัน ท่านก็แนะว่าออกจะสั้นไปสักหน่อย แต่เวลาสั้นยาวก็ยังไม่สำคัญเท่ากับความบริสุทธิ์ในการอุปสมบท บวชนานเป็นปีๆ แต่หากไม่มีความบริสุทธิ์ ก็จะหวังผลและอานิสงส์ได้น้อยหรือไม่ได้เลย บวชไม่นานแต่ถ้าสามารถรักษาความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ อบรมใจอยู่ด้วยศีลให้อาบเอิบจนเป็นปีติแล้วก็จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดังนั้นในเวลาอันสั้นนี้ขอให้รักษาความบริสุทธิ์ของกาย วาจา ใจ ให้เต็มเปี่ยม ให้สมบูรณ์ ก็จะได้อานิสงส์แห่งอุปสมบทเต็มที่ดังปรารถนา
พระอาจารย์บอกว่าในพุทธกาลนั้นกุลบุตรบางคนฟังคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าคราวเดียวก็มีดวงตาเห็นธรรม บางคนหนึ่งวัน บางคนสามวัน บางคนเจ็ดวัน ก็มีดวงตาเห็นธรรม บางคนก็นาน ขึ้นอยู่กับบารมีที่อบรมสั่งสมมา ดังนั้นเวลา 15 วันที่อุปสมบทขอให้เตรียมใจเตรียมกายให้พร้อม อย่าตั้งอยู่ในความประมาทแม้แต่น้อยเลย
โปรดติดตามตอนที่ 70 “ใต้ร่มธงชัยของพระอรหันต์ ตอน 2 (จบ)” ในวันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551