ศูนย์ข่าวศรีราชา –ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้คนชลบุรีชะลอการจับจ่าย ส่งผลต่อยอดการจัดเก็บรายได้ของจังหวัดชลบุรีในไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2551 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 2 พันล้านบาท
จากรายงานภาวะการคลังในเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งสำนักงานคลังจังหวัดชลบุรี ได้จัดทำขึ้นสำหรับรายงานสภาวะเศรษฐกิจ การพยากรณ์และสัญญาณเตือนภัย รวมถึงรายงานภาวะการคลังและการใช้จ่ายงบประมาณแบบบูรณาการจังหวัดชลบุรี นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้สรุปผลการจัดเก็บรายได้ของจังหวัดชลบุรีในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551(ตุลาคม – ธันวาคม 2550) พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี งบประมาณ จังหวัดชลบุรีจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 38,972.995 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,098.384 ล้านบาท หรือคิดเป็นต่ำกว่าร้อยละ 5.11 จากที่เคยจัดเก็บได้มากถึง 41,071.379 ล้านบาท
หน่วยงานที่มีการจัดเก็บรายได้ลดลง คือ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี ซึ่งจัดเก็บรายได้ได้เพียง 10,252.451 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เคยจัดเก็บได้มากถึง14,720.196 ล้านบาท มากถึง 4,467.745 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 30.35
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญมาจากการปรับวิธีการจัดเก็บภาษีกรมสรรพสามิต ระหว่างส่วน กลางและส่วนภูมิภาค จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น และการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทุกประเภท ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E20)
สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น คือ ส่วนราชการอื่น อาทิ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ชลบุรี และอื่นๆ โดยเก็บได้เพิ่มคิดเป็นร้อยละ 15.89 ,9.56,6.80 และ 5.47 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยบวกสำคัญมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจน ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมันในการบริโภคมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์กันอีกว่า สาเหตุสำคัญอีกประการที่ทำให้การจัด เก็บภาษีสรรพามิตในจังหวัดชลบุรีลดลง เป็นเพราะประชาชนที่ชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่จากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและหันมาซื้อรถจักร ยานยนต์เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการเดินทางระยะใกล้แทน เห็นได้จากยอดการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2550 เพียงเดือนเดียว มียอดจัดเก็บมากถึง 0.432 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.410 ล้านบาท หรือสูงกว่าร้อยละ 1,863.64
ขณะที่การจัดเก็บภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 366.593 ล้านบาท แม้จะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.774 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.45 แต่เมื่อเทียบกับประมาณการ นับว่าต่ำกว่าประมาณการ 177.730 ล้านบาท หรือต่ำกว่าร้อยละ 32.65
จากรายงานภาวะการคลังในเดือนธันวาคม 2550 ซึ่งสำนักงานคลังจังหวัดชลบุรี ได้จัดทำขึ้นสำหรับรายงานสภาวะเศรษฐกิจ การพยากรณ์และสัญญาณเตือนภัย รวมถึงรายงานภาวะการคลังและการใช้จ่ายงบประมาณแบบบูรณาการจังหวัดชลบุรี นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้สรุปผลการจัดเก็บรายได้ของจังหวัดชลบุรีในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2551(ตุลาคม – ธันวาคม 2550) พบว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี งบประมาณ จังหวัดชลบุรีจัดเก็บรายได้รวมทั้งสิ้น 38,972.995 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,098.384 ล้านบาท หรือคิดเป็นต่ำกว่าร้อยละ 5.11 จากที่เคยจัดเก็บได้มากถึง 41,071.379 ล้านบาท
หน่วยงานที่มีการจัดเก็บรายได้ลดลง คือ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชลบุรี ซึ่งจัดเก็บรายได้ได้เพียง 10,252.451 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เคยจัดเก็บได้มากถึง14,720.196 ล้านบาท มากถึง 4,467.745 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 30.35
ทั้งนี้สาเหตุสำคัญมาจากการปรับวิธีการจัดเก็บภาษีกรมสรรพสามิต ระหว่างส่วน กลางและส่วนภูมิภาค จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น และการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทุกประเภท ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E20)
สำหรับหน่วยงานที่จัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น คือ ส่วนราชการอื่น อาทิ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ชลบุรี สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ชลบุรี และอื่นๆ โดยเก็บได้เพิ่มคิดเป็นร้อยละ 15.89 ,9.56,6.80 และ 5.47 ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยบวกสำคัญมาจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความชัดเจน ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมันในการบริโภคมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์กันอีกว่า สาเหตุสำคัญอีกประการที่ทำให้การจัด เก็บภาษีสรรพามิตในจังหวัดชลบุรีลดลง เป็นเพราะประชาชนที่ชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่จากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและหันมาซื้อรถจักร ยานยนต์เพื่อใช้เป็นยานพาหนะในการเดินทางระยะใกล้แทน เห็นได้จากยอดการจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2550 เพียงเดือนเดียว มียอดจัดเก็บมากถึง 0.432 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.410 ล้านบาท หรือสูงกว่าร้อยละ 1,863.64
ขณะที่การจัดเก็บภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 366.593 ล้านบาท แม้จะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.774 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.45 แต่เมื่อเทียบกับประมาณการ นับว่าต่ำกว่าประมาณการ 177.730 ล้านบาท หรือต่ำกว่าร้อยละ 32.65