กระทรวงการคลังยันคงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ไว้ที่ 7% ถึงสิ้นเดือนกันยายน 51 ก่อนชงรัฐบาลชุดใหม่พิจารณาปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบภายหลังประเมินพบอีก 10 ปีช่องว่างรายได้และรายจ่ายรัฐจะเพิ่มสูงถึง 3-4% เชื่อหากประกาศใช้ภาษีใหม่ตามแผนแม่บทจะเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นเป็น 8 หมื่นล้านบาทภายใน 3 ปี จากเดิมที่มีรายได้เพียง 2 หมื่นล้านบาทช่วยลดภาระการอุดหนุนจากรัฐได้ในระดับหนึ่ง
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบเสร็จสิ้นแล้วและได้เตรียมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาว่าจะประกาศใช้ตามที่คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีเสนอหรือไม่ ซึ่งการปรับปรุงโรงสร้างภาษีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มฐานรายได้ในการจัดเก็บภาษีเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในอนาคต
โดยกระทรวงการคลังจะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ไว้ที่ 7% เช่นเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มีมติไว้ให้คงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2551 หรือภายในสิ้นเดือนกันยายน 2551 แต่รัฐบาลชุดต่อไปจะพิจารณาปรับขึ้นภาษ๊มูลค่าเพิ่มหรือไม่ยังไม่สามารถตอบได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศจะเป็นผู้ตัดสินใจ
ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้จัดเตรียมตัวเลขประมาณการรายจ่ายของรัฐบาลในอีก 10 ปีข้างหน้าให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศโดยพบว่ารายจ่ายจะอยู่ที่ระดับประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท ซึ่งรายจ่ายดังกล่าวนี้เป็นรายจ่ายที่ยังไม่รวมถึงงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการประชานิยม เนื่องจากในอีก 10 ปีข้างหน้าภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษาของประชาชนจะอนู่ในระดับที่สูงมาก
นอกจากนี้หากรัฐบาลชุดใหม่ยังไม่ปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบจะส่งผลให้ฐานรายได้ของรัฐบาลจะต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาลเป็นระยะเวลาอีกหลายปี จึงต้องมีความจำเป็นอย่างมากที่รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการปรับปรุงโครงสร้างภาษีนั้นจะต้องทำทั้งระบบไม่ควรแก้เป็นจุดๆ ซึ่งจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้และที่สำคัญจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้รับทราบเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ด้วย
"การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างภาษีของประเทศให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกๆ ฝ่าย เป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันระหว่างประเทศและสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งหากยังไม่มีการปรับโครงสร้างภาษีและปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่งผลให้ช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นถึง 3-4% " นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งรับบในครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะเป็นการเพิ่มฐานรายได้ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ให้สามารถหารรายได้จากภาษีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีมรดกและภาษีสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาษีที่ดินจากที่คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีศึกษาไว้ในเบื้องต้นพบว่าภายใน 3 ปี ภาษีส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านบาทในปัจจุบันเป็น 80,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะช่วยลดภาระในการสนับสนุนของรัฐบาลลงได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะมีการปรับลดในส่วนของภาษีนิติบุคคลลงบ้างแต่จะไม่กระทบต่อภาพรวมการจัดเก็บภาษี เนื่องจากการลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงอาจมองว่ารัฐบาลจะมีรายได้ลดลงแต่ในภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้นก็จะส่งผลให้ฐานภาษีเพิ่มขึ้นทำให้การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีได้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบเสร็จสิ้นแล้วและได้เตรียมเสนอให้รัฐบาลชุดใหม่เป็นผู้พิจารณาว่าจะประกาศใช้ตามที่คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีเสนอหรือไม่ ซึ่งการปรับปรุงโรงสร้างภาษีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มฐานรายได้ในการจัดเก็บภาษีเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลในอนาคต
โดยกระทรวงการคลังจะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ไว้ที่ 7% เช่นเดิมตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ที่มีมติไว้ให้คงภาษีมูลค่าเพิ่มไว้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2551 หรือภายในสิ้นเดือนกันยายน 2551 แต่รัฐบาลชุดต่อไปจะพิจารณาปรับขึ้นภาษ๊มูลค่าเพิ่มหรือไม่ยังไม่สามารถตอบได้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศจะเป็นผู้ตัดสินใจ
ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้จัดเตรียมตัวเลขประมาณการรายจ่ายของรัฐบาลในอีก 10 ปีข้างหน้าให้กับรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศโดยพบว่ารายจ่ายจะอยู่ที่ระดับประมาณ 2.8 ล้านล้านบาท ซึ่งรายจ่ายดังกล่าวนี้เป็นรายจ่ายที่ยังไม่รวมถึงงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการประชานิยม เนื่องจากในอีก 10 ปีข้างหน้าภาระค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษาของประชาชนจะอนู่ในระดับที่สูงมาก
นอกจากนี้หากรัฐบาลชุดใหม่ยังไม่ปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบจะส่งผลให้ฐานรายได้ของรัฐบาลจะต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาลเป็นระยะเวลาอีกหลายปี จึงต้องมีความจำเป็นอย่างมากที่รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการปรับปรุงโครงสร้างภาษีนั้นจะต้องทำทั้งระบบไม่ควรแก้เป็นจุดๆ ซึ่งจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้และที่สำคัญจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้รับทราบเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ด้วย
"การปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาโครงสร้างภาษีของประเทศให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกๆ ฝ่าย เป็นการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันระหว่างประเทศและสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งหากยังไม่มีการปรับโครงสร้างภาษีและปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไปจะส่งผลให้ช่องว่างระหว่างรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลขยับเพิ่มขึ้นถึง 3-4% " นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งรับบในครั้งนี้ส่วนหนึ่งจะเป็นการเพิ่มฐานรายได้ให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ให้สามารถหารรายได้จากภาษีใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งภาษีที่ดิน ภาษีมรดกและภาษีสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะภาษีที่ดินจากที่คณะทำงานปรับปรุงโครงสร้างภาษีศึกษาไว้ในเบื้องต้นพบว่าภายใน 3 ปี ภาษีส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 20,000 ล้านบาทในปัจจุบันเป็น 80,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะช่วยลดภาระในการสนับสนุนของรัฐบาลลงได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ในการปรับปรุงโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะมีการปรับลดในส่วนของภาษีนิติบุคคลลงบ้างแต่จะไม่กระทบต่อภาพรวมการจัดเก็บภาษี เนื่องจากการลดอัตราภาษีนิติบุคคลลงอาจมองว่ารัฐบาลจะมีรายได้ลดลงแต่ในภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้นก็จะส่งผลให้ฐานภาษีเพิ่มขึ้นทำให้การจัดเก็บภาษีของรัฐบาลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย