ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐบาลได้ออกหนังสือคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภาในวันจันทร์ที่ 18 ก.พ. 2551 โดยนโยบายมีทั้งหมด 44 หน้า ประกอบด้วย 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ประกอบด้วย สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย, แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชาติแดนภาคใต้ตามแนวทางพระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา, เร่งรัดแก้ไขปัญหายาเสพติดและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยยึดหลักบำบัดผู้เสพ และผู้ค้าต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม จะใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดช่องทางการหาเงินทุจริตของผู้มีอิทธิพลในทุกๆด้าน
ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน, เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร(SML)ให้ครบทุกหมู่บ้าน, สานต่อโครงการธนาคารประชาชน, สนับสนุนสินเชี่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน, เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน, สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร, ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน(Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา
สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านรัฐสวัสดิการ, เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง เป็นต้น, ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน,
ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยการประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” และ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”, วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม, ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ พัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดิน โดยดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม, เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน
นอกจากนี้ยังมี นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น นโยบายการศึกษา ด้วยการยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทยอย่างบูรณาการและสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นต้น
นโยบายด้านเศรษฐกิจ แบ่งเป็น นโยบายการเงินการคลังโดยมุ่งเน้นดำเนิน นโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติมโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ รักษาระเบียบวินัยการเงินการคลังให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว
นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายความมั่นคงของรัฐ รัฐบาลจะรักษาความมั่นคงของประเทศ และสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติเตรียมความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ แก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่ 3จังหวัดภาคใต้ ต่อต้านภัยสังคมทุกรูปแบบ โดย เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์
นโยบายการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ส่วนราชการมีความพร้อมและกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เกิดความเป็นธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี
ในตอนท้ายรัฐบาลมีนโยบายจะสนับสนุนให้มีการศึกษาทบทวนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ที่พรรคประชาธิปัตย์ วานนี้ (15 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคเป็นประธานการประชุม ส.ส.ของพรรค เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมการอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่จะมีขึ้นในวันที่ 18-20 ก.พ.นี้ โดยได้มีการแจกเอกสารสำเนารายละเอียดนโยบายของรัฐบาลที่นายรัฐมนตรีจะแถลงต่อรัฐสภา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวในที่ประชุมว่า ได้จัดเตรียมซีดีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 ที่มีรายละเอียดจำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน เพื่อเป็นประโยชน์กับ ส.ส.นำไปประกอบการพิจารณา จะได้ทราบว่ามีโครงการอะไร ผ่านหน่วยงานไหนบ้าง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมส.ส.พรรคเพื่อพิจารณาเตรียมการอภิปรายนโยบายรัฐบาลที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 กพ. ว่า จากการพิจารณาร่างนโยบายของรัฐบาลพบว่า มีเรื่องสำคัญ2 ส่วน คือ นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการในปีแรก จำนวน 19 เรื่อง และในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการในช่วง 4 ปี จำนวน 7 หมวด ซึ่งทางพรรคอยากเรียกร้องให้พิจารณาเป็นหมวดๆไป เพื่อรัฐบาลจะได้มีส่วนรับฟังอย่างเป็นระบบ และสามารถชี้แจงในแต่ละหมวดได้ เพราะหากอภิปรายรวบจะทำให้ไม่ครอบคลุม
ดังนั้นเพื่อเป็นประโยชน์ของรัฐบาลและประชาชนในการช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ นโยบายของรัฐบาล ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้น ส.ส.ได้แสดงความสนใจจะอภิปรายนโยบาย จำนวน 90 คน จึงได้ให้ไปหารือกันเพื่อหาตัวแทนอภิปราย ในเรื่องตรงกัน โดย จะจัดผู้อภิปรายให้เป็นหมวดๆเช่นกัน โดยจะเน้น เรื่องของเศรษฐกิจ ทั้งการเงิน การคลัง และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการอภิปรายนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นผู้นำในการอภิปราย จากนั้นบรรดาแกนนำพรรค และรัฐมนตรี เงาจะร่วม อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี นายกรณ์ จาติกวณิช นายวิฑูรย์ นามบุตร นายชำนิ ศักดิเศรษฐ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล นายสุทัศน์ เงินหมื่น คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายดังกล่าวพรรคจะเน้นไปที่ด้าน เศรษฐกิจ เป็นหลัก เนื้อหาและเวลาจะทุ่มให้กับการอภิปรายทางด้านเศรษฐกิจ 50%ส่วนอีก 50% จะกระจายไปในอีก 4 ด้านที่เหลือ ซึ่งนายอภิสิทธิ์จะอภิปรายในภาพรวม นายกรณ์จะนำทีมเศรษฐกิจและนายไตรรงค์จะเป็นผู้เก็บตกประเด็นที่เหลือ อย่างไรก็ตาม สำหรับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคนั้น เป็นหนึ่งเดียวที่ทางพรรคได้เตรียมเวลาเอาไว้ให้อภิปรายอย่างเต็มที่
ดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน, เพิ่มศักยภาพของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, จัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร(SML)ให้ครบทุกหมู่บ้าน, สานต่อโครงการธนาคารประชาชน, สนับสนุนสินเชี่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน, เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, พักหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจน, สร้างระบบประกันความเสี่ยงให้เกษตรกร, ขยายบทบาทของศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน(Fix-it Center) และสถาบันอาชีวศึกษา
สร้างโอกาสให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านรัฐสวัสดิการ, เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกทม.และปริมณฑล 9 สาย รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ รถไฟชานเมือง เป็นต้น, ดำเนินมาตรการลดผลกระทบจากราคาพลังงาน,
ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการลงทุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยการประกาศให้ปี 2551-2552 เป็น “ปีแห่งการลงทุน” และ “ปีแห่งการท่องเที่ยวไทย”, วางระบบการถือครองที่ดินและกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินให้ทั่วถึงและเป็นธรรม, ขยายพื้นที่ชลประทานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน โดยฟื้นฟูและขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ พัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินและผิวดิน โดยดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม, เร่งรัดมาตรการและโครงการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติโลกร้อน
นอกจากนี้ยังมี นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น นโยบายการศึกษา ด้วยการยกระดับคุณภาพการศึกษาของคนไทยอย่างบูรณาการและสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา และสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นต้น
นโยบายด้านเศรษฐกิจ แบ่งเป็น นโยบายการเงินการคลังโดยมุ่งเน้นดำเนิน นโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนการเจริญเติมโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ รักษาระเบียบวินัยการเงินการคลังให้เกิดความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว
นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นโยบายต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นโยบายความมั่นคงของรัฐ รัฐบาลจะรักษาความมั่นคงของประเทศ และสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติเตรียมความพร้อมเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ แก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่ 3จังหวัดภาคใต้ ต่อต้านภัยสังคมทุกรูปแบบ โดย เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์
นโยบายการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้ส่วนราชการมีความพร้อมและกำลังคนที่มีขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน เกิดความเป็นธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินที่ดี
ในตอนท้ายรัฐบาลมีนโยบายจะสนับสนุนให้มีการศึกษาทบทวนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ที่พรรคประชาธิปัตย์ วานนี้ (15 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคเป็นประธานการประชุม ส.ส.ของพรรค เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมการอภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาที่จะมีขึ้นในวันที่ 18-20 ก.พ.นี้ โดยได้มีการแจกเอกสารสำเนารายละเอียดนโยบายของรัฐบาลที่นายรัฐมนตรีจะแถลงต่อรัฐสภา
นายอภิสิทธิ์ กล่าวในที่ประชุมว่า ได้จัดเตรียมซีดีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2551 ที่มีรายละเอียดจำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน เพื่อเป็นประโยชน์กับ ส.ส.นำไปประกอบการพิจารณา จะได้ทราบว่ามีโครงการอะไร ผ่านหน่วยงานไหนบ้าง
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมส.ส.พรรคเพื่อพิจารณาเตรียมการอภิปรายนโยบายรัฐบาลที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 กพ. ว่า จากการพิจารณาร่างนโยบายของรัฐบาลพบว่า มีเรื่องสำคัญ2 ส่วน คือ นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการในปีแรก จำนวน 19 เรื่อง และในส่วนของนโยบายที่จะดำเนินการในช่วง 4 ปี จำนวน 7 หมวด ซึ่งทางพรรคอยากเรียกร้องให้พิจารณาเป็นหมวดๆไป เพื่อรัฐบาลจะได้มีส่วนรับฟังอย่างเป็นระบบ และสามารถชี้แจงในแต่ละหมวดได้ เพราะหากอภิปรายรวบจะทำให้ไม่ครอบคลุม
ดังนั้นเพื่อเป็นประโยชน์ของรัฐบาลและประชาชนในการช่วยกันติดตาม ตรวจสอบ นโยบายของรัฐบาล ส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้น ส.ส.ได้แสดงความสนใจจะอภิปรายนโยบาย จำนวน 90 คน จึงได้ให้ไปหารือกันเพื่อหาตัวแทนอภิปราย ในเรื่องตรงกัน โดย จะจัดผู้อภิปรายให้เป็นหมวดๆเช่นกัน โดยจะเน้น เรื่องของเศรษฐกิจ ทั้งการเงิน การคลัง และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการอภิปรายนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นผู้นำในการอภิปราย จากนั้นบรรดาแกนนำพรรค และรัฐมนตรี เงาจะร่วม อาทิ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี นายกรณ์ จาติกวณิช นายวิฑูรย์ นามบุตร นายชำนิ ศักดิเศรษฐ นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ นายพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล นายสุทัศน์ เงินหมื่น คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายดังกล่าวพรรคจะเน้นไปที่ด้าน เศรษฐกิจ เป็นหลัก เนื้อหาและเวลาจะทุ่มให้กับการอภิปรายทางด้านเศรษฐกิจ 50%ส่วนอีก 50% จะกระจายไปในอีก 4 ด้านที่เหลือ ซึ่งนายอภิสิทธิ์จะอภิปรายในภาพรวม นายกรณ์จะนำทีมเศรษฐกิจและนายไตรรงค์จะเป็นผู้เก็บตกประเด็นที่เหลือ อย่างไรก็ตาม สำหรับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคนั้น เป็นหนึ่งเดียวที่ทางพรรคได้เตรียมเวลาเอาไว้ให้อภิปรายอย่างเต็มที่