ผู้จัดการรายวัน-ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง คนมั่นใจที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นห่วงเรื่องพลังงานและค่าครองชีพที่สูงขึ้น แนะรัฐบาลบริหารจัดการให้ดี การบริโภคกลับมาแน่ช่วงครึ่งปีหลัง
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.2551 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 71.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ เท่ากับ 71.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 91.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อของผู้บริโภคในเดือนม.ค.นี้ เท่ากับ 78.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน เท่ากับ 71.5 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 78 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6
สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนม.ค.ดีขึ้น เนื่องจากมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มาจากการเลือกตั้ง มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ส่งผลเชิงบวกต่อผู้บริโภคและนักลงทุน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 1 วันไว้ที่ 3.25% ต่อปี การส่งออกเดือนธ.ค.มีมูลค่า 13,174 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.5% ราคาน้ำมันดีเซล และเบนซินลดลง 20 และ 10 สตางค์ต่อลิตร
ส่วนปัจจัยลบที่ยังเป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวสูง ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในอสังหาริมทรัพย์ (ซัมไฟร์ม) ในสหรัฐฯ เงินบาทแข็งค่าขึ้น SET Index ปรับตัวลดลง และราคาน้ำมันเบนซิน 91 ปรับเพิ่มขึ้น 10 สตางค์ต่อลิตร
นายธนวรรธน์กล่าวว่า แม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจภาวะเศรษฐกิจไทยดีเท่าที่ควร แต่ถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังจะดีขึ้นในอนาคต เพราะคนมองว่าอนาคตจะดีขึ้น หลังจากที่มีความชัดเจนด้านการเมือง และมีรัฐบาลที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยยังมีความเป็นห่วงในเรื่องของพลังงาน และค่าครองชีพที่จะสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวที่จะมาปั่นทอนความเชื่อมั่น หากรัฐบาลบริหารจัดการได้ไม่ดี
“เป็นครั้งแรกที่ผลสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองดีขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี หลังจากการทำรัฐประหาร เพราะคนมองว่าการเมืองเริ่มมีเสถียรภาพ มีรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผิดกับเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นลดลงตลอด เพราะการเมือง แต่ในอนาคต คนยังกังวล เรื่องพลังงาน ค่าครองชีพ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะบริหารจัดการเรื่องพลังงาน และการดูแลค่าครองชีพให้ได้ และคาดว่าความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ยิ่งถ้ารัฐบาลมีผลงานชัดเจน การบริโภคจะกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง”นายธนวรรธน์กล่าว
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.2551 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 71.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำ เท่ากับ 71.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 91.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อของผู้บริโภคในเดือนม.ค.นี้ เท่ากับ 78.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน เท่ากับ 71.5 และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 78 ปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6
สำหรับปัจจัยบวกที่ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนม.ค.ดีขึ้น เนื่องจากมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มาจากการเลือกตั้ง มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ส่งผลเชิงบวกต่อผู้บริโภคและนักลงทุน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 1 วันไว้ที่ 3.25% ต่อปี การส่งออกเดือนธ.ค.มีมูลค่า 13,174 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.5% ราคาน้ำมันดีเซล และเบนซินลดลง 20 และ 10 สตางค์ต่อลิตร
ส่วนปัจจัยลบที่ยังเป็นตัวฉุดความเชื่อมั่นผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวสูง ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในอสังหาริมทรัพย์ (ซัมไฟร์ม) ในสหรัฐฯ เงินบาทแข็งค่าขึ้น SET Index ปรับตัวลดลง และราคาน้ำมันเบนซิน 91 ปรับเพิ่มขึ้น 10 สตางค์ต่อลิตร
นายธนวรรธน์กล่าวว่า แม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มั่นใจภาวะเศรษฐกิจไทยดีเท่าที่ควร แต่ถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังจะดีขึ้นในอนาคต เพราะคนมองว่าอนาคตจะดีขึ้น หลังจากที่มีความชัดเจนด้านการเมือง และมีรัฐบาลที่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยยังมีความเป็นห่วงในเรื่องของพลังงาน และค่าครองชีพที่จะสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวที่จะมาปั่นทอนความเชื่อมั่น หากรัฐบาลบริหารจัดการได้ไม่ดี
“เป็นครั้งแรกที่ผลสำรวจความคิดเห็นด้านการเมืองดีขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี หลังจากการทำรัฐประหาร เพราะคนมองว่าการเมืองเริ่มมีเสถียรภาพ มีรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผิดกับเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นลดลงตลอด เพราะการเมือง แต่ในอนาคต คนยังกังวล เรื่องพลังงาน ค่าครองชีพ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะบริหารจัดการเรื่องพลังงาน และการดูแลค่าครองชีพให้ได้ และคาดว่าความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ยิ่งถ้ารัฐบาลมีผลงานชัดเจน การบริโภคจะกลับมาในช่วงครึ่งปีหลัง”นายธนวรรธน์กล่าว