ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งขยายฐานนักลงทุนประเทศญี่ปุ่น ประเดิมร่วมงานสัมมนาให้ข้อมูลแก่นักลงทุนสถาบัน 18-20 ก.พ.นี้ ก่อนจะควงบจ.ขนาดใหญ่ "PTT-SCB-AMATA" โรดโชว์ 17-19 มีนาคม ร่วมให้ข้อมูลความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทยให้ผู้ลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่น ด้านผู้บริหารโบรกเกอร์สัญชาติญี่ปุ่น เผยบล.-บลจ. หลายแห่งสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพียบ
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานในปี 2551 ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ในการขยายฐานผู้ลงทุนชาวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นการขยายฐานผู้ลงทุนต่างประเทศต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสแรกนี้ได้เตรียมไปให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่น ทั้งผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายบุคคลรวม 3 งาน ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551 นี้
โดยในวันที่ 17-19 มี.ค.นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเดินทางไปโรดโชว์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนสถาบันญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) และ Nomura Securities โดยจะมีบริษัทจดทะเบียนที่เป็นตัวแทนกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจเข้าร่วมให้ข้อมูลความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทยแก่ผู้ลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่น อาทิ กลุ่มธุรกิจการเงิน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กลุ่มทรัพยากร คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง คือ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เป็นต้น
ส่วนอีก 2 งานจะเป็นการเข้าร่วมงานสัมมนา โดยครั้งแรกคืองาน "Daiwa Investment Conference (Tokyo)" สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน ระหว่างวันที่ 18-20 ก.พ.นี้ ณ กรุงโตเกียว ตามคำเชิญของ Daiwa Securities SMBC และงานที่ 3 การเดินทางไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย สำหรับผู้ลงทุนรายบุคคลและกลุ่มอาชีพเฉพาะ จัดโดยโบรกเกอร์ญี่ปุ่นชื่อ United World Japan K.K. ตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
"ปีนี้นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเดินทางไปให้ข้อมูล เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างดี เห็นได้จากพฤติกรรมการลงทุนของผู้ลงทุนสัญชาติญี่ปุ่นในไทยมีลักษณะลงทุนแบบระยะยาว และมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 48 มีมูลค่าการซื้อขายรวม 3,845 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 4,706 ล้านบาทในปี 2549 และ 6,903 ล้านบาทในปี 50 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 80 %จากปี 48" นางภัทรียากล่าว
ขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจัดการลงทุนชาวญี่ปุ่นหลายแห่งยังได้ให้ความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช่นกัน โดยมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยเฉพาะ อาทิ Nomura Asset Management ได้จัดตั้ง Thai Aurora Fund ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ประมาณ 4,020 ล้านบาท (121.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.) และ Mitsui SumitomoAsset Management จัดตั้ง Thailand High Income Equity Fund ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ประมาณ 1,700 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการลงทุนหลายแห่งในญี่ปุ่น ยังแสดงความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในประเทศไทย โดยได้เข้ามาหารือและขอข้อมูลการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเห็นจากสถิติการให้บริการเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงปี 2550 ที่มีอัตราการเติบโตของการเข้าใช้เว็บไซต์ที่มีแหล่งที่มาจากประเทศญี่ปุ่นสูงมากเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ด้านนายทาเคชิ นิชิดะ กรรมการอำนวยการ บล. พัฒนสิน กล่าวว่า จากสถานการณ์การเมืองไทยที่มีความชัดเจนหลังการเลือกตั้ง ทำให้ผู้ลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากและหากได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนอย่างใกล้ชิดทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทจดทะเบียน จะสามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้เป็นอย่างดี
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า การร่วมงาน "Daiwa Investment Conference (Tokyo)" ตามคำเชญของบริษัทหลักทรัพย์ Daiwa Securities SMBC ณ กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์นี้ นับเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้เข้าร่วมงานดังกล่าว ซึ่งถือเป็นงานประชุมผู้ลงทุนสถาบันที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น คาดว่าจะมีบริษัทจดทะเบียนของญี่ปุ่นเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลกว่า 60 บริษัทและบริษัทชั้นนำในเอเชียอีกกว่า 30 บริษัท
นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำในโลกและในเอเชีย อาทิ NYSE Euronext ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดทุนในประเทศนั้นๆ ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่นและต่างชาติ ซึ่งคาดว่าจะเข้าร่วมกว่า 1,000 คน
ด้านนายทัตซึยะ โคโนชิตะ ประธานกรรมการบริหาร บล. ยูไนเต็ด กล่าวว่า การโรดโชว์ครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจในกลุ่มผู้ลงทุนที่กำลังมองหาทางเลือกในการลงทุน และจะทำให้เห็นว่าตลาดทุนไทยเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นแห่งอื่นในเอเชียที่คนญี่ปุ่นให้ความสนใจและลงทุนอยู่แล้ว
"จากการรวมรวมสถิติพบว่า นักลงทุนชาวญี่ปุ่นต้องการหาแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นทางเลือกนอกจากการออมหรือการลงทุนในประเทศ เนื่องจากคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีคนญี่ปุ่นเกษียณอายุกว่า 8 ล้านคน ทำให้มีเม็ดเงินหลังเกษียณจำนวนมากที่ต้องการหาแหล่งลงทุนใหม่ เพราะการฝากเงินในธนาคารญี่ปุ่นให้ผลตอบแทนต่ำมาก"
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า การเดินทางโรดโชว์และให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่นรอบนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เตรียมนำเสนอข้อมูลภาวะเศรษฐกิจประเทศที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงมีผลประกอบการที่ดีและมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีแผนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น TDEX, SET50 Index Futures และ Options รวมถึงสินค้าที่เตรียมออกเพิ่มเติมในปีนี้คือ FTSE SET Index Series, ETF กลุ่มพลังงาน และ Stock Options ด้วย
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง แผนการดำเนินงานในปี 2551 ว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดกลยุทธ์ในการขยายฐานผู้ลงทุนชาวต่างชาติ โดยมุ่งเน้นการขยายฐานผู้ลงทุนต่างประเทศต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยในไตรมาสแรกนี้ได้เตรียมไปให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่น ทั้งผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายบุคคลรวม 3 งาน ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551 นี้
โดยในวันที่ 17-19 มี.ค.นี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเดินทางไปโรดโชว์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนสถาบันญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) และ Nomura Securities โดยจะมีบริษัทจดทะเบียนที่เป็นตัวแทนกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจเข้าร่วมให้ข้อมูลความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนไทยแก่ผู้ลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่น อาทิ กลุ่มธุรกิจการเงิน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กลุ่มทรัพยากร คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง คือ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เป็นต้น
ส่วนอีก 2 งานจะเป็นการเข้าร่วมงานสัมมนา โดยครั้งแรกคืองาน "Daiwa Investment Conference (Tokyo)" สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน ระหว่างวันที่ 18-20 ก.พ.นี้ ณ กรุงโตเกียว ตามคำเชิญของ Daiwa Securities SMBC และงานที่ 3 การเดินทางไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย สำหรับผู้ลงทุนรายบุคคลและกลุ่มอาชีพเฉพาะ จัดโดยโบรกเกอร์ญี่ปุ่นชื่อ United World Japan K.K. ตามคำเชิญของบริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
"ปีนี้นักลงทุนชาวญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเดินทางไปให้ข้อมูล เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างดี เห็นได้จากพฤติกรรมการลงทุนของผู้ลงทุนสัญชาติญี่ปุ่นในไทยมีลักษณะลงทุนแบบระยะยาว และมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 48 มีมูลค่าการซื้อขายรวม 3,845 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 4,706 ล้านบาทในปี 2549 และ 6,903 ล้านบาทในปี 50 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 80 %จากปี 48" นางภัทรียากล่าว
ขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทจัดการลงทุนชาวญี่ปุ่นหลายแห่งยังได้ให้ความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเช่นกัน โดยมีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยเฉพาะ อาทิ Nomura Asset Management ได้จัดตั้ง Thai Aurora Fund ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ประมาณ 4,020 ล้านบาท (121.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.) และ Mitsui SumitomoAsset Management จัดตั้ง Thailand High Income Equity Fund ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) ประมาณ 1,700 ล้านบาท
นอกจากนี้บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการลงทุนหลายแห่งในญี่ปุ่น ยังแสดงความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในประเทศไทย โดยได้เข้ามาหารือและขอข้อมูลการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเห็นจากสถิติการให้บริการเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงปี 2550 ที่มีอัตราการเติบโตของการเข้าใช้เว็บไซต์ที่มีแหล่งที่มาจากประเทศญี่ปุ่นสูงมากเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ
ด้านนายทาเคชิ นิชิดะ กรรมการอำนวยการ บล. พัฒนสิน กล่าวว่า จากสถานการณ์การเมืองไทยที่มีความชัดเจนหลังการเลือกตั้ง ทำให้ผู้ลงทุนญี่ปุ่นมีความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากและหากได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนอย่างใกล้ชิดทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทจดทะเบียน จะสามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้เป็นอย่างดี
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า การร่วมงาน "Daiwa Investment Conference (Tokyo)" ตามคำเชญของบริษัทหลักทรัพย์ Daiwa Securities SMBC ณ กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์นี้ นับเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้เข้าร่วมงานดังกล่าว ซึ่งถือเป็นงานประชุมผู้ลงทุนสถาบันที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในญี่ปุ่น คาดว่าจะมีบริษัทจดทะเบียนของญี่ปุ่นเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลกว่า 60 บริษัทและบริษัทชั้นนำในเอเชียอีกกว่า 30 บริษัท
นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ชั้นนำในโลกและในเอเชีย อาทิ NYSE Euronext ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดทุนในประเทศนั้นๆ ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่นและต่างชาติ ซึ่งคาดว่าจะเข้าร่วมกว่า 1,000 คน
ด้านนายทัตซึยะ โคโนชิตะ ประธานกรรมการบริหาร บล. ยูไนเต็ด กล่าวว่า การโรดโชว์ครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสนใจในกลุ่มผู้ลงทุนที่กำลังมองหาทางเลือกในการลงทุน และจะทำให้เห็นว่าตลาดทุนไทยเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นแห่งอื่นในเอเชียที่คนญี่ปุ่นให้ความสนใจและลงทุนอยู่แล้ว
"จากการรวมรวมสถิติพบว่า นักลงทุนชาวญี่ปุ่นต้องการหาแหล่งลงทุนที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นทางเลือกนอกจากการออมหรือการลงทุนในประเทศ เนื่องจากคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีคนญี่ปุ่นเกษียณอายุกว่า 8 ล้านคน ทำให้มีเม็ดเงินหลังเกษียณจำนวนมากที่ต้องการหาแหล่งลงทุนใหม่ เพราะการฝากเงินในธนาคารญี่ปุ่นให้ผลตอบแทนต่ำมาก"
นางภัทรียา กล่าวเพิ่มเติมว่า การเดินทางโรดโชว์และให้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่นรอบนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เตรียมนำเสนอข้อมูลภาวะเศรษฐกิจประเทศที่มีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงมีผลประกอบการที่ดีและมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งน่าจะได้รับประโยชน์จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีแผนที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น TDEX, SET50 Index Futures และ Options รวมถึงสินค้าที่เตรียมออกเพิ่มเติมในปีนี้คือ FTSE SET Index Series, ETF กลุ่มพลังงาน และ Stock Options ด้วย