ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยนักลงทุนญี่ปุ่นสนใจลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทย หวังกระจายความเสี่ยง ระบุนักลงทุนแดนปลาดิบเสนอให้แก้ปัญหาเรื่องการขายสิทธิจองซื้อหุ้นแก่นักลงทุนรายอื่น เหตุแม้ว่าจะทำได้แต่ค่อนข้างยุ่งยาก พร้อมติงข้อจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ "ภัทรียา" ตอบรับเตรียมหารือก.ล.ต.แก้ไขข้อบังคับดังกล่าวให้สะดวกมากขึ้น เอาใจเตรียมให้ข้อมูลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพิ่ม ลุยเดินหน้าโรดโชว์ต่อเม.ย.นี้ที่สิงคโปร์ ก่อนเหินฟ้าไปลอนดอนเดือนพ.ค.
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ผลการเดินทางไปให้ข้อมูลและพบปะนักลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่น ในงานสัมมนา "Daiwa Investment Conference (Tokyo)" เมื่อวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่า นักลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยส่วนใหญ่สนใจจะเข้ามาลงทุนในระยะยาวเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
จากการหารือพบว่า 3 ประเด็นหลักที่จะช่วยส่งเสริมให้นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจที่เข้ามาลงทุนมากขึ้น ประกอบด้วย 1. การเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนระยะยาว 2. การแก้ไขปัญหาการขายสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งหากสามารถทำได้จะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมไม่เสียประโยชน์จากการไม่ใช้สิทธิดังกล่าว
ทั้งนี้ การขายสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้นในต่างประเทศสามารถทำได้ โดยนักลงทุนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิเพิ่มทุนดังกล่าวสามารถที่จะประกาศขายสิทธิในการของซื้อหุ้นได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อหาแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถขายสิทธิดังกล่าวได้
"ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนที่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ไม่สามารถที่จะขายสิทธิให้กับนักลงทุนรายอื่นมาจองซื้อหุ้นแทนได้ ซึ่งจากไปโรดโชว์ครั้งนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นอยากให้เรามีการแก้ไขในเรื่องของหุ้นเพิ่มทุนที่ยังไม่สามารถขายเปลี่ยนมือกันได้ หากไม่มีการใช้สิทธิซึ่งจะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นเสียประโยชน์โดยเรื่องดังกล่าวในต่างประเทศนั้นสามารถที่จะขายสิทธิจองซื้อหุ้น RIGHTได้" นางภัทรียา กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากสิทธิการของซื้อหุ้นเพิ่มทุนสามารถขายได้ จะช่วยให้เกิดสภาพคล่องและทำให้นักลงทุนที่ไม่ได้ถือครองหุ้นอยู่สามารถซื้อสิทธิเพื่อจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ โดยกระบวนการดังกล่าวจะต้องลดระยะเวลาในการขายสิทธิ เนื่องจากในปัจจุบันหากจะดำเนินการนักลงทุนต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อก.ล.ต. ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
สำหรับเรื่องที่ 3 ข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนการถือหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติ (foreign limit) ทำให้นักลงทุนไม่สามารถโอนหุ้นได้ หากสามารถแก้ไขในเรื่องนี้ได้จะช่วยให้เกิดสภาพคล่องในตลาดมากขึ้น ทั้งในส่วนของด้านข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในการพิจารณาประกอบการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำงานร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นต้องการทราบ รวมทั้งจะนำเรื่องต่างๆ ที่มีการเสนอมาพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะหารือและอาจจะนำไปสู่การพิจารณาแก้ไขต่อไป
ทั้งนี้ การเดินทางไปโรดโชว์ในครั้งที่ผ่านมาถือว่าเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชั้นนำในโลกและในเอเชีย รวม 8 แห่ง อาทิ NYSE Euronext ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดทุนของแต่ละประเทศ
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำงานร่วมกับโบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้าชาวญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งบนเว็บไซต์ และเอกสารต่างๆ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ เอง จะมีการจัดทำข้อมูลภาษาญี่ปุ่นบนเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการแก่ลูกค้าชาวญี่ปุ่นได้โดยสะดวกด้วย" นางภัทรียากล่าว
สำหรับการไปให้ข้อมูลในครั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่มีความแข็งแรง โดยแสดงให้เห็นถึงดัชนีที่แสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่มีทิศทางดีขึ้น รวมทั้งนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการตอบสนองความต้องการภายในประเทศ (domestic demand)
ขณะเดียวกัน ได้ชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งของตลาดทุนไทย ที่ยังคงเติบโตผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยมีบริษัทจดทะเบียน และมีทิศทางการเติบโตของผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงด้านการเงินที่ลดลง ส่วนการพัฒนาตลาดทุนยังคงมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มสินค้าใหม่ และความสำเร็จของ ETF และตลาดอนุพันธ์ของไทยด้วย
นางภัทรียา กล่าวอีกว่า จากการพูดคุยกับ Daiwa Securities พบว่ามีความสนใจอย่างมาก ที่จะเข้ามาทำธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย โดยอยู่ระหว่างหาพันธมิตรที่จะทำธุรกิจดังกล่าว เชื่อว่าความสนใจครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือกันในการขยายฐานผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่นให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สำหรับการเดินทางไปโรดโชว์ครั้งต่อไปที่ประเทศสิงคโปร์จะเดินทางร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ซึ่งจะเป็นผู้นำทีมไปพบนักลงทุน โดยจะเดินทางไปในช่วงเดือนเมษายน ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ก่อนจะที่เดินทางไปโรดโชว์ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน จำกัด (CS) ในเดือนพฤษภาคมต่อไป
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึง ผลการเดินทางไปให้ข้อมูลและพบปะนักลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่น ในงานสัมมนา "Daiwa Investment Conference (Tokyo)" เมื่อวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ว่า นักลงทุนสถาบันชาวญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย โดยส่วนใหญ่สนใจจะเข้ามาลงทุนในระยะยาวเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
จากการหารือพบว่า 3 ประเด็นหลักที่จะช่วยส่งเสริมให้นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสนใจที่เข้ามาลงทุนมากขึ้น ประกอบด้วย 1. การเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนที่สนใจจะลงทุนระยะยาว 2. การแก้ไขปัญหาการขายสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เนื่องจากปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งหากสามารถทำได้จะทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมไม่เสียประโยชน์จากการไม่ใช้สิทธิดังกล่าว
ทั้งนี้ การขายสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้นในต่างประเทศสามารถทำได้ โดยนักลงทุนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิเพิ่มทุนดังกล่าวสามารถที่จะประกาศขายสิทธิในการของซื้อหุ้นได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อหาแนวทางที่จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถขายสิทธิดังกล่าวได้
"ปัจจุบันบริษัทจดทะเบียนที่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ถือหุ้นเดิม ไม่สามารถที่จะขายสิทธิให้กับนักลงทุนรายอื่นมาจองซื้อหุ้นแทนได้ ซึ่งจากไปโรดโชว์ครั้งนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นอยากให้เรามีการแก้ไขในเรื่องของหุ้นเพิ่มทุนที่ยังไม่สามารถขายเปลี่ยนมือกันได้ หากไม่มีการใช้สิทธิซึ่งจะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นเสียประโยชน์โดยเรื่องดังกล่าวในต่างประเทศนั้นสามารถที่จะขายสิทธิจองซื้อหุ้น RIGHTได้" นางภัทรียา กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากสิทธิการของซื้อหุ้นเพิ่มทุนสามารถขายได้ จะช่วยให้เกิดสภาพคล่องและทำให้นักลงทุนที่ไม่ได้ถือครองหุ้นอยู่สามารถซื้อสิทธิเพื่อจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ โดยกระบวนการดังกล่าวจะต้องลดระยะเวลาในการขายสิทธิ เนื่องจากในปัจจุบันหากจะดำเนินการนักลงทุนต้องยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อก.ล.ต. ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
สำหรับเรื่องที่ 3 ข้อจำกัดเรื่องอัตราส่วนการถือหุ้นโดยนักลงทุนต่างชาติ (foreign limit) ทำให้นักลงทุนไม่สามารถโอนหุ้นได้ หากสามารถแก้ไขในเรื่องนี้ได้จะช่วยให้เกิดสภาพคล่องในตลาดมากขึ้น ทั้งในส่วนของด้านข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในการพิจารณาประกอบการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำงานร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นต้องการทราบ รวมทั้งจะนำเรื่องต่างๆ ที่มีการเสนอมาพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะหารือและอาจจะนำไปสู่การพิจารณาแก้ไขต่อไป
ทั้งนี้ การเดินทางไปโรดโชว์ในครั้งที่ผ่านมาถือว่าเป็นครั้งแรกที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชั้นนำในโลกและในเอเชีย รวม 8 แห่ง อาทิ NYSE Euronext ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน อินเดีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เข้าร่วมให้ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจ การลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดทุนของแต่ละประเทศ
"ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำงานร่วมกับโบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้าชาวญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นภาษาญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ทั้งบนเว็บไซต์ และเอกสารต่างๆ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ เอง จะมีการจัดทำข้อมูลภาษาญี่ปุ่นบนเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการแก่ลูกค้าชาวญี่ปุ่นได้โดยสะดวกด้วย" นางภัทรียากล่าว
สำหรับการไปให้ข้อมูลในครั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่มีความแข็งแรง โดยแสดงให้เห็นถึงดัชนีที่แสดงถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่มีทิศทางดีขึ้น รวมทั้งนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการตอบสนองความต้องการภายในประเทศ (domestic demand)
ขณะเดียวกัน ได้ชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งของตลาดทุนไทย ที่ยังคงเติบโตผ่านช่วงวิกฤติเศรษฐกิจได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยมีบริษัทจดทะเบียน และมีทิศทางการเติบโตของผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงด้านการเงินที่ลดลง ส่วนการพัฒนาตลาดทุนยังคงมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มสินค้าใหม่ และความสำเร็จของ ETF และตลาดอนุพันธ์ของไทยด้วย
นางภัทรียา กล่าวอีกว่า จากการพูดคุยกับ Daiwa Securities พบว่ามีความสนใจอย่างมาก ที่จะเข้ามาทำธุรกิจบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย โดยอยู่ระหว่างหาพันธมิตรที่จะทำธุรกิจดังกล่าว เชื่อว่าความสนใจครั้งนี้ จะทำให้เกิดความร่วมมือกันในการขยายฐานผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่นให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
สำหรับการเดินทางไปโรดโชว์ครั้งต่อไปที่ประเทศสิงคโปร์จะเดินทางร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ซึ่งจะเป็นผู้นำทีมไปพบนักลงทุน โดยจะเดินทางไปในช่วงเดือนเมษายน ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ก่อนจะที่เดินทางไปโรดโชว์ที่เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน จำกัด (CS) ในเดือนพฤษภาคมต่อไป