จับตาเครดิตลิ้งค์โน้ต พระเอกโกยเงินเข้ากองทุนรวมปีหนู ผู้จัดการกองทุนมองเป็นตัวตายตัวแทนตั๋ว ECP ที่โดนอานิสงส์เฟดลดดอกเบี้ยฉุดผลตอบแทน "กรุงไทย-ไอเอ็นจี" จ่อคิวกองทุนพันธบัตรเกาหลี หลังประเมินให้ผลตอบแทนน่าสนใจที่สุด แถมเสี่ยงต่ำกว่า เผยอายุ 1 ปีให้ยิลด์เฉลี่ย 3.2-3.3% ด้านสำนักงานก.ล.ต. เปิดกองทุนลุยเครดิตลิ้งค์โน้ตเต็มที่
รายงานข่าวกล่าวว่า ในปีนี้การลงทุนในตราสารหนี้ประเภทเครดิตลิ้งค์โน้ต (Credit Linked Note) น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่จะได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน หลังจากผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในตั๋ว ECP (Euro Commercial Paper) หรือตราสารหนี้คุณภาพดีของสถาบันการเงินในต่างประเทศ ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับลดดอกเบี้ยไปถึง 1.25%ในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อลดผลกระทบปัญหาซับไพรม์ที่จะฉุดให้เศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
ทั้งนี้ การลงทุนในตั๋ว ECP ปัจจุบันในผลตอบแทนในระดับที่ใกล้เคียงกับการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งในบางช่วงอายุยังต่ำกว่าอีกด้วย ดังนั้น เมื่อผลตอบแทนดังกล่าวลดลงทำให้บริษัทจัดการกองทุนต้่องหาโปรดักส์อื่นมาชดเชย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ (REITS) สตรัคเจอร์โน้ต รวมถึงเครดิตลิ้งค์โน้ตด้วย ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ ยังให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจและสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดตั้งกองทุนเครดิตลิ้งค์โน้ต ที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลี โดยรูปแบบการลงทุน กองทุนจะไม่ได้เข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีโดยตรง แต่กองทุนจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารต่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตราสารดังกล่าวเป็นตราสารหนี้ลิงค์กับการลงทุนในพันธบัตรของประเทศเกาหลี โดยการลงทุนแบบนี้ จะไม่เสียภาษีและไม่เสียค่าคัสโตเดียน (ค่าดูแลผลประโยชน์ทรัพย์สินของนักลงทุนต่างประเทศ) อีกด้วย
โดยการลงทุนในเครดิตลิ้งค์โน้ต ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เพราะตราสารหนี้ดังกล่าวมีอันดับเครดิตในระดับ A+ ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทยที่มีอันดับเครดิตเพียง BBB เท่านั้น นอกจากนี้ เครดิตลิ้งค์โน้ตยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการตราสารหนี้ในประเทศอีกด้วย
"การลงทุนในเครดิตลิ้งค์โน้ต ถือเป็นการสรรหาทางเลือกในการกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่เครดิตดีกว่า และให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศ "นายสมชัยกล่าว
สำหรับสาเหตุที่บริษัทสนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี เนื่องจากในปัจจุบันยังให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจากการคำนวนผลตอบแทนเบื้องต้นอยู่ที่ 3% กว่าๆ โดยผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนสุทธิที่หักค่าความเสี่ยงจากการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (เฮจด์) เต็ม 100% ไปแล้ว ทั้งนี้ การลงทุนในเครดิตลิ้งค์โน้ต เป็นการลงทุนในระยะสั้นๆ เช่นเดียวกับ ECP โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม นอกจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีแล้ว บริษัทยังสนใจตั้งกองทุนเครดิตลิ้งค์โน้ต เพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยด้วย แต่ในปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลไทยยังจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า ซึ่งพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีอายุ 3 ปี ในปัจจุบันให้ผลตอบแทนประมาณ 4-4.3% ส่วนพันธบัตรอายุ 5 ปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 5% ซึ่งผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนที่ออกตราสารมาในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลในช่วงอายุตราสารที่ใกล้เคียงกันอยู่ที่ระดับ 3% กว่าๆ เท่านั้น
นายสมชัยกล่าวต่อว่า ภาวะการลงทุนที่เปลี่ยนไป ทำให้เราต้องการทางเลือกการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจให้ลูกค้า ขณะเดียวกัน เราต้องคำนวนต้นทุนออกมาด้วยว่า หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงแล้ว จะเหลือผลตอบแทนให้กับลูกค้าเท่าไหร่ แล้วบริษัทเองก็ได้ค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการด้วย
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการตลาด-กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทกำลังอยู่ระหว่างศึกษาการจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรประเทศเกาหลีจำนวน 2 กองทุนมูลค่าโครงการกองทุนละ 3,000 ล้านบาท โดยรูปแบบการลงทุนของกองทุนดังกล่าว บริษัทจะเข้าไปลงทุนโดยตรงในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี รวมทั้งผสมกับเครดิตลิ้งค์โน้ต ซึ่งเป็นตราสารหนี้พูกติดกับพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะทำการป้องกันควาเสี่ยงค่าเงิน (เฮจด์) เต็ม 100% ด้วย
สำหรับสาเหตุที่เราสนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี เนื่องจากให้ผลตอบแทนในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอายุ 1 ปีอยู่ในระดับ 3.2-3.3% ซึ่งถือว่าสูงกว่าตราสารหนี้หรือการฝากเงินในประเทศ
"หลังจากกองทุนประเภท ECP ให้ผลตอบแทนได้ไม่น่าสนใจจากการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดแล้ว เชื่อว่าการลงทุนตรงในพันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศและลงทุนผ่านเครดิตลิ้งค์โน้ต น่าจะเป็นตัวตายตัวแทนที่จะเข้าเป็นเป็นทางเลือกต่อจากกองทุน ECP ซึ่งเร็วๆนี้ น่าจะได้เห็นบลจ.ทยอยเปิดขายกองทุนดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง"นายจุมพลกล่าว
รายงานข่าวเปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศให้ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภท Credit Linked Note หรือ Credit Linked Deposit ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชำระหนี้ของตราสารภาครัฐไทยหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลต่างประเทศ เป็นทรัพย์สินที่กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยลงทุน หรือมีไว้ได้
โดยการลงทุนดังกล่าวมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ทำให้การจัดการกองทุนเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น และต้องไม่ทำให้กองทุนขาดทุนเป็นมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการลงทุน โดยในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวจะมีผลทำให้กองทุนต้องรับมอบ ตราสารภาครัฐไทยหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลต่างประเทศ ตราสารดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่กองทุน สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้
นอกจากนี้ ต้องกำหนดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร กล่าวคือ ตราสารและ/หรือผู้ออก หรือ ผู้ค้ำประกันตราสาร และตราสารหนี้ของรัฐบาลต่างประเทศที่อ้างอิง (ถ้ามี) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว ไม่ต่ำกว่าสามอันดับแรก ในกรณีของตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปี หรือมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น ไม่ต่ำกว่าสองอันดับแรก ในกรณีของตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี
ขณะเดียวกัน ต้องจัดทำและจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจในลักษณะการลงทุนและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ตลอดจนมีการควบคุมและบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งก่อนการลงทุนและตลอดระยะเวลาที่ลงทุน
อย่างไรก็ตาม กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง Credit Linked Note หรือ Credit Linked Deposit ดังกล่าวได้ เนื่องจากประกาศปัจจุบันกำหนดให้กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้สามารถลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีการคุ้มครองเงินต้นเต็มจำนวนเท่านั้น ทั้งนี้ สำนักงานอยู่ระหว่างแก้ไขประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อให้กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้สามารถลงทุนใน ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีลักษณะเป็นตราสารหนี้และมีการอ้างอิงกับเหตุการณ์ ที่มีผลต่อการชำระหนี้ (credit events) และอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องมีการคุ้มครองเงินต้นเต็มจำนวนได้
รายงานข่าวกล่าวว่า ในปีนี้การลงทุนในตราสารหนี้ประเภทเครดิตลิ้งค์โน้ต (Credit Linked Note) น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่จะได้รับความสนใจจากผู้ลงทุน หลังจากผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในตั๋ว ECP (Euro Commercial Paper) หรือตราสารหนี้คุณภาพดีของสถาบันการเงินในต่างประเทศ ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับลดดอกเบี้ยไปถึง 1.25%ในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อลดผลกระทบปัญหาซับไพรม์ที่จะฉุดให้เศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย
ทั้งนี้ การลงทุนในตั๋ว ECP ปัจจุบันในผลตอบแทนในระดับที่ใกล้เคียงกับการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งในบางช่วงอายุยังต่ำกว่าอีกด้วย ดังนั้น เมื่อผลตอบแทนดังกล่าวลดลงทำให้บริษัทจัดการกองทุนต้่องหาโปรดักส์อื่นมาชดเชย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ (REITS) สตรัคเจอร์โน้ต รวมถึงเครดิตลิ้งค์โน้ตด้วย ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้ ยังให้ผลตอบแทนอยู่ในระดับที่น่าสนใจและสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศ
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมจัดตั้งกองทุนเครดิตลิ้งค์โน้ต ที่จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเกาหลี โดยรูปแบบการลงทุน กองทุนจะไม่ได้เข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีโดยตรง แต่กองทุนจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารต่างประเทศในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตราสารดังกล่าวเป็นตราสารหนี้ลิงค์กับการลงทุนในพันธบัตรของประเทศเกาหลี โดยการลงทุนแบบนี้ จะไม่เสียภาษีและไม่เสียค่าคัสโตเดียน (ค่าดูแลผลประโยชน์ทรัพย์สินของนักลงทุนต่างประเทศ) อีกด้วย
โดยการลงทุนในเครดิตลิ้งค์โน้ต ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า เพราะตราสารหนี้ดังกล่าวมีอันดับเครดิตในระดับ A+ ขึ้นไป ซึ่งสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลไทยที่มีอันดับเครดิตเพียง BBB เท่านั้น นอกจากนี้ เครดิตลิ้งค์โน้ตยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการตราสารหนี้ในประเทศอีกด้วย
"การลงทุนในเครดิตลิ้งค์โน้ต ถือเป็นการสรรหาทางเลือกในการกระจายความเสี่ยง ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่เครดิตดีกว่า และให้ผลตอบแทนสูงกว่าตราสารหนี้ในประเทศ "นายสมชัยกล่าว
สำหรับสาเหตุที่บริษัทสนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี เนื่องจากในปัจจุบันยังให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจากการคำนวนผลตอบแทนเบื้องต้นอยู่ที่ 3% กว่าๆ โดยผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนสุทธิที่หักค่าความเสี่ยงจากการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (เฮจด์) เต็ม 100% ไปแล้ว ทั้งนี้ การลงทุนในเครดิตลิ้งค์โน้ต เป็นการลงทุนในระยะสั้นๆ เช่นเดียวกับ ECP โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 3 เดือน หรือ 6 เดือน
อย่างไรก็ตาม นอกจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีแล้ว บริษัทยังสนใจตั้งกองทุนเครดิตลิ้งค์โน้ต เพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยด้วย แต่ในปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลไทยยังจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่า ซึ่งพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีอายุ 3 ปี ในปัจจุบันให้ผลตอบแทนประมาณ 4-4.3% ส่วนพันธบัตรอายุ 5 ปีให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 5% ซึ่งผลตอบแทนดังกล่าวเป็นผลตอบแทนที่ออกตราสารมาในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลในช่วงอายุตราสารที่ใกล้เคียงกันอยู่ที่ระดับ 3% กว่าๆ เท่านั้น
นายสมชัยกล่าวต่อว่า ภาวะการลงทุนที่เปลี่ยนไป ทำให้เราต้องการทางเลือกการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจให้ลูกค้า ขณะเดียวกัน เราต้องคำนวนต้นทุนออกมาด้วยว่า หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสี่ยงแล้ว จะเหลือผลตอบแทนให้กับลูกค้าเท่าไหร่ แล้วบริษัทเองก็ได้ค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการด้วย
นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายการตลาด-กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทกำลังอยู่ระหว่างศึกษาการจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในพันธบัตรประเทศเกาหลีจำนวน 2 กองทุนมูลค่าโครงการกองทุนละ 3,000 ล้านบาท โดยรูปแบบการลงทุนของกองทุนดังกล่าว บริษัทจะเข้าไปลงทุนโดยตรงในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี รวมทั้งผสมกับเครดิตลิ้งค์โน้ต ซึ่งเป็นตราสารหนี้พูกติดกับพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะทำการป้องกันควาเสี่ยงค่าเงิน (เฮจด์) เต็ม 100% ด้วย
สำหรับสาเหตุที่เราสนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลี เนื่องจากให้ผลตอบแทนในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอายุ 1 ปีอยู่ในระดับ 3.2-3.3% ซึ่งถือว่าสูงกว่าตราสารหนี้หรือการฝากเงินในประเทศ
"หลังจากกองทุนประเภท ECP ให้ผลตอบแทนได้ไม่น่าสนใจจากการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดแล้ว เชื่อว่าการลงทุนตรงในพันธบัตรรัฐบาลในต่างประเทศและลงทุนผ่านเครดิตลิ้งค์โน้ต น่าจะเป็นตัวตายตัวแทนที่จะเข้าเป็นเป็นทางเลือกต่อจากกองทุน ECP ซึ่งเร็วๆนี้ น่าจะได้เห็นบลจ.ทยอยเปิดขายกองทุนดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง"นายจุมพลกล่าว
รายงานข่าวเปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ออกประกาศให้ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงประเภท Credit Linked Note หรือ Credit Linked Deposit ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชำระหนี้ของตราสารภาครัฐไทยหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลต่างประเทศ เป็นทรัพย์สินที่กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อยลงทุน หรือมีไว้ได้
โดยการลงทุนดังกล่าวมีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ทำให้การจัดการกองทุนเบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์หรือนโยบายการลงทุนของกองทุนนั้น และต้องไม่ทำให้กองทุนขาดทุนเป็นมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการลงทุน โดยในกรณีที่การลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารดังกล่าวจะมีผลทำให้กองทุนต้องรับมอบ ตราสารภาครัฐไทยหรือตราสารหนี้ของรัฐบาลต่างประเทศ ตราสารดังกล่าวต้องเป็นประเภทที่กองทุน สามารถลงทุนในหรือมีไว้ได้
นอกจากนี้ ต้องกำหนดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสาร กล่าวคือ ตราสารและ/หรือผู้ออก หรือ ผู้ค้ำประกันตราสาร และตราสารหนี้ของรัฐบาลต่างประเทศที่อ้างอิง (ถ้ามี) ต้องมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาว ไม่ต่ำกว่าสามอันดับแรก ในกรณีของตราสารที่มีอายุมากกว่า 1 ปี หรือมีอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้น ไม่ต่ำกว่าสองอันดับแรก ในกรณีของตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี
ขณะเดียวกัน ต้องจัดทำและจัดเก็บข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีความเข้าใจในลักษณะการลงทุนและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ ตลอดจนมีการควบคุมและบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ทั้งก่อนการลงทุนและตลอดระยะเวลาที่ลงทุน
อย่างไรก็ตาม กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ไม่สามารถลงทุนในหรือมีไว้ซึ่ง Credit Linked Note หรือ Credit Linked Deposit ดังกล่าวได้ เนื่องจากประกาศปัจจุบันกำหนดให้กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้สามารถลงทุนในตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีการคุ้มครองเงินต้นเต็มจำนวนเท่านั้น ทั้งนี้ สำนักงานอยู่ระหว่างแก้ไขประกาศฉบับดังกล่าวเพื่อให้กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้สามารถลงทุนใน ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝงที่มีลักษณะเป็นตราสารหนี้และมีการอ้างอิงกับเหตุการณ์ ที่มีผลต่อการชำระหนี้ (credit events) และอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ต้องมีการคุ้มครองเงินต้นเต็มจำนวนได้