ถกยกเลิกกันสำรอง 30% ยกแรก คลังยอมถอยคงมาตรการไว้ อ้างข้อมูลแบงก์ชาติยังไม่ครบ รอหารืออีกครั้งก่อนโรดโชว์ญี่ปุ่นเดือนมีนาคม รับคลัง-แบงก์ชาติมีความเห็นต่างกัน แต่ไม่มาก ถือเป็นเรื่องธรรมดา ขณะที่วอร์รูมเศรษฐกิจร่วมกับ 4 หน่วยงาน ยังเน้นแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจ มั่นใจเรียกความชื่อมั่นกลับได้ ดันจีดีพีโต 5.5-6% ย้ำนโยบายการเงิน-คลังต้องสอดคล้องกัน ม.หอการค้าไทยแนะยกเลิกเดือน พ.ค.หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งออกผวาอ้างไทยต้องพึ่งพาส่งออก
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (12 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังพร้อมด้วยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และผู้บริหาร ธปท. ได้ร่วมหารือความชัดเจนของมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30 % และต่อมาในช่วงเวลา 15.00 น.ได้มีการประชุมวอร์รูมเศรษฐกิจร่วมกับ 4 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธปท. และสำนักงบประมาณ
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมมีความเห็นว่าขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิกมาตรการ30% แต่ได้ขอดูข้อมูลบางส่วนเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเฉพาะของธปท.อย่างไรก็ตาม คาดว่าธปท.จะนำข้อมูลเพิ่มเติมนี้มาหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงก่อนไปโรดโชว์ประเทศญี่ปุ่น
“การประชุมในครั้งนี้เป็นการรับฟังข้อมูลมากกว่า จึงไม่มีการตัดสินใจอะไรทั้งสิ้นจนกว่าจะได้ข้อมูล ทำให้ยังไม่มีทางเลือกหรือตัดสินใจไปทางไหนในขณะนี้ ซึ่งธปท.เองก็มีการเตรียมข้อมูลมามาก แต่ยังมีบางส่วนที่ต้องขอข้อมูลให้มีรายละเอียดและความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและทำให้การตัดสินใจได้ประโยชน์สูงสุด”
อย่างไรก็ตาม การชะลอการตัดสินใจยกเลิกมาตรการ30%นี้ ไม่ได้เป็นการประวิงเวลา และแม้จะไม่ได้มีการยกเลิกมาตรการนี้ก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อความมั่นเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะมาตรการนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งนักลงทุนไม่ได้คาดเดาว่าผลจะเกิดขึ้นโดยเร็ว จึงจำเป็นต้องรอทุกอย่างให้มีความชัดเจนก่อน
“ยอมรับว่าทางกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติ มีความเห็นแตกต่างกันบ้าง เหมือน 2 คนโยนตามช่อง แต่ก็ถือว่าน้อย แต่ไม่ใช่ความแตกต่างถึงกับคนละขั้วก็ย่อมมีจุดต่างบางจุดบ้างเป็นเรื่องธรรมดา”
สำหรับการหารือร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน ส่วนใหญ่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐกิจโดยรวม และการแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคตอย่างไร ถือเป็นการหารือกรอบโดยกว้างทั้งแง่ของนโยบายการเงินและการคลัง และที่ประชุมมองว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งอยู่สามารถผลักดัน และฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ทั้งนักลงทุนและประชาชนทั่วไป ทำให้ในอนาคตยังสามารถเน้นการเติบโตเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงได้ฝากการบ้านให้แต่ละหน่วยงานหาข้อมูลที่ลงรายละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ออกมา เพื่อเป็นแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
“คนกำหนดนโยบายต้องดูทุกอย่างให้รอบคอบ เพราะหากตัดสินใจอะไรแล้วก็ต้องพร้อมที่จะรับผิดชอบเต็มที่”
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ของสหรัฐอเมริกา และปัญหาราคาน้ำมันแพง ซึ่งกระทบเศรษฐกิจไทยบ้าง แต่เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน ถือว่าปัญหาไม่มากนัก จึงควรมีการเน้นการเติบโตเศรษฐกิจไทย เพราะเชื่อว่าศักยภาพเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ และหากมีการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ดีจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตได้ถึง 5.5-6%แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะเติบโตช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค
“นโยบายการเงินและการคลังต้องสอดคล้องกัน แต่ก็ยอมรับว่าการใช้นโยบายการเงิน ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ การปรับการตัดสินใจทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)เป็นหลัก ดังนั้น การตัดสินใจหรือการปฏิบัติยังเป็นส่วนของธปท.อยู่ ซึ่งเรายังคงให้ความอิสระต่อการทำงาน แต่ไม่อิสระจากนโยบายจากรัฐบาล เพราะเราต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อประชาชนด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็ต้องรับฟังความคิดเห็นจากทางอื่น เพื่อนำมาหารือกับแบงก์ชาติอีกทางเช่นกัน”
ม.หอการค้าแนะเลิก พ.ค.
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% ว่า เห็นด้วยที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพื่อส่งสัญญาณว่า รัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ปิดกั้นเงินทุนไหลเข้าอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ทำให้ต่างชาติเห็นว่า ไทยปิดกั้นการลงทุนเสรี ทำให้ไทยเสียโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งเงินที่จะเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตาม การยกเลิกต้องทำในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว ประมาณกลางไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 หรือตั้งแต่เดือน พ.ค.51 เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน หลังจากการยกเลิกแล้ว รัฐบาลจะต้องมีมาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสม และเป็นมาตรการที่ส่งสัญญาณในเชิงบวกมากกว่ามาตรการกันสำรอง 30% โดยในระยะสั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ลงอีก 0.25-0.50 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ เพื่อชะลอเงินไหลเข้ามาเก็งกำไร
ส่วนในระยะกลางจะต้องมีมาตรการเสริมในการดูแลเงินทุนไหลเข้า เช่น ประกันความเสี่ยง 100 % หรือเก็บภาษีเมื่อนักลงทุนต้องการนำเงินอายุน้อยกว่า 1 ปีออกนอกประเทศ โดยอาจดำเนินมาตรการเหล่านี้ในระยะสั้นเพียง 1 ปีเท่านั้น และระยะยาว รัฐบาลจะต้องบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้เหมือนกับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ หรือกองทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน พร้อมกันนั้น รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ หรืออนุญาตให้กองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไปลงทุนต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อเอาเงินออกนอกประเทศ
“หากจะยกเลิกจะต้องทำในเวลาที่เหมาะสม อย่ายกเลิกทันที เพราะจะมีแรงกดดันต่อค่าเงินบาท และหลังยกเลิกแล้ว จะต้องมีมาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้น ค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าอีก เพราะในปีนี้ เชื่อว่า ไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 8,000-9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าได้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า ในช่วง 1-2 ปีนี้ ค่าเงินบาทจะมีโอกาสไปแตะที่ระดับ 30-31 บาท/เหรียญ จากการที่ไทยเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น”นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่ค่าเงินบาทในปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้น ไม่ใช่เพราะจากการเก็งกำไรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะความสามารถในการส่งออกของไทย และการที่ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึงประมาณ 15,000 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุลประมาณ 2,000 ล้านเหรียญเท่านั้น
ส่งออกผวา-จี้รัฐต้องรอบคอบ
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมีแนวโน้มว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐจะยังอ่อนค่าลง และยังไม่ชัดเจน ว่า ปัญหาซับไพรม์จะแก้ไขได้อีกจึงต้องการรอดูทิศทางอย่างน้อย 2 เดือนหากเห็นว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาจึงค่อยตัดสินใจยกเลิก และหากยกเลิกก็ควรจะต้องมีมาตรการอื่นมาดูแลความผันผวนของค่าเงินบาทด้วย ซึ่งการลดดอกเบี้ยลงคงไม่ใช่คำตอบทั้งหมด
“ที่ผ่านมาผมเองก็ไม่เคยสนับสนุนมาตรการนี้ 3-4 เดือนที่ผ่านมาเห็นว่าควรจะยกเลิกได้แต่เมื่อเวลานี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไปเงินไหลเข้ามามากมาตรการนี้ก็ถือว่าช่วยทำให้น้ำที่ไหลแรงลดลงได้บ้างไม่มากก็น้อยเราไม่ได้คัดค้านว่าไม่ควรยกเลิกแต่เห็นว่ายังไม่ใช่จังหวะและยังไม่เห็นว่าจะมีมาตรการอื่นมาดูแล”นายธนิต กล่าว
หากพิจารณาการยกเลิกควรจะต้องมองผลดีและผลเสียประกอบด้วยโดยหากยกเลิกทันทีผลดีย่อมเกิดขึ้นกับภาวะตลาดหุ้น และการนำเข้าน้ำมันจะลดลงแน่นอน แต่ตรงกันข้ามก็จะต้องหันมาพิจารณาภาคการส่งออกของไทยที่คิดเป็น 67 % ของจีดีพีด้วยเพราะหากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วทันทีไปสู่ระดับ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เช่น นักวิชาการบางคนมองนั้นก็จะกระทบภาคส่งออกแน่นอนดังนั้นจะต้องคิดให้รอบคอบด้วย
“กรณีที่มีบางฝ่ายมองว่าการเลิกมาตรการ 30% นั้นจะกระทบกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI นั้นคงจะไม่จริงเพราะไม่เช่นนั้นปีที่ผ่านมาการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอคงไม่เพิ่มขึ้นขนาดนั้น”นายธนิต กล่าว
เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (12 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังพร้อมด้วยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และผู้บริหาร ธปท. ได้ร่วมหารือความชัดเจนของมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30 % และต่อมาในช่วงเวลา 15.00 น.ได้มีการประชุมวอร์รูมเศรษฐกิจร่วมกับ 4 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธปท. และสำนักงบประมาณ
นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ในที่ประชุมมีความเห็นว่าขณะนี้ยังไม่มีการยกเลิกมาตรการ30% แต่ได้ขอดูข้อมูลบางส่วนเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเฉพาะของธปท.อย่างไรก็ตาม คาดว่าธปท.จะนำข้อมูลเพิ่มเติมนี้มาหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงก่อนไปโรดโชว์ประเทศญี่ปุ่น
“การประชุมในครั้งนี้เป็นการรับฟังข้อมูลมากกว่า จึงไม่มีการตัดสินใจอะไรทั้งสิ้นจนกว่าจะได้ข้อมูล ทำให้ยังไม่มีทางเลือกหรือตัดสินใจไปทางไหนในขณะนี้ ซึ่งธปท.เองก็มีการเตรียมข้อมูลมามาก แต่ยังมีบางส่วนที่ต้องขอข้อมูลให้มีรายละเอียดและความชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและทำให้การตัดสินใจได้ประโยชน์สูงสุด”
อย่างไรก็ตาม การชะลอการตัดสินใจยกเลิกมาตรการ30%นี้ ไม่ได้เป็นการประวิงเวลา และแม้จะไม่ได้มีการยกเลิกมาตรการนี้ก็เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อความมั่นเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะมาตรการนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งนักลงทุนไม่ได้คาดเดาว่าผลจะเกิดขึ้นโดยเร็ว จึงจำเป็นต้องรอทุกอย่างให้มีความชัดเจนก่อน
“ยอมรับว่าทางกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติ มีความเห็นแตกต่างกันบ้าง เหมือน 2 คนโยนตามช่อง แต่ก็ถือว่าน้อย แต่ไม่ใช่ความแตกต่างถึงกับคนละขั้วก็ย่อมมีจุดต่างบางจุดบ้างเป็นเรื่องธรรมดา”
สำหรับการหารือร่วมกันระหว่าง 4 หน่วยงาน ส่วนใหญ่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐกิจโดยรวม และการแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคตอย่างไร ถือเป็นการหารือกรอบโดยกว้างทั้งแง่ของนโยบายการเงินและการคลัง และที่ประชุมมองว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งอยู่สามารถผลักดัน และฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้ทั้งนักลงทุนและประชาชนทั่วไป ทำให้ในอนาคตยังสามารถเน้นการเติบโตเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงได้ฝากการบ้านให้แต่ละหน่วยงานหาข้อมูลที่ลงรายละเอียดเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ออกมา เพื่อเป็นแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
“คนกำหนดนโยบายต้องดูทุกอย่างให้รอบคอบ เพราะหากตัดสินใจอะไรแล้วก็ต้องพร้อมที่จะรับผิดชอบเต็มที่”
อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ(ซับไพรม์) ของสหรัฐอเมริกา และปัญหาราคาน้ำมันแพง ซึ่งกระทบเศรษฐกิจไทยบ้าง แต่เมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน ถือว่าปัญหาไม่มากนัก จึงควรมีการเน้นการเติบโตเศรษฐกิจไทย เพราะเชื่อว่าศักยภาพเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่ และหากมีการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ดีจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตได้ถึง 5.5-6%แม้ในช่วงที่ผ่านมาจะเติบโตช้ากว่าประเทศอื่นในภูมิภาค
“นโยบายการเงินและการคลังต้องสอดคล้องกัน แต่ก็ยอมรับว่าการใช้นโยบายการเงิน ถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ การปรับการตัดสินใจทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต แต่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)เป็นหลัก ดังนั้น การตัดสินใจหรือการปฏิบัติยังเป็นส่วนของธปท.อยู่ ซึ่งเรายังคงให้ความอิสระต่อการทำงาน แต่ไม่อิสระจากนโยบายจากรัฐบาล เพราะเราต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อประชาชนด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังเองก็ต้องรับฟังความคิดเห็นจากทางอื่น เพื่อนำมาหารือกับแบงก์ชาติอีกทางเช่นกัน”
ม.หอการค้าแนะเลิก พ.ค.
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% ว่า เห็นด้วยที่จะยกเลิกมาตรการดังกล่าว เพื่อส่งสัญญาณว่า รัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งไม่ได้ปิดกั้นเงินทุนไหลเข้าอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ทำให้ต่างชาติเห็นว่า ไทยปิดกั้นการลงทุนเสรี ทำให้ไทยเสียโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งเงินที่จะเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ตาม การยกเลิกต้องทำในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว ประมาณกลางไตรมาส 2 ถึงต้นไตรมาส 3 หรือตั้งแต่เดือน พ.ค.51 เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน หลังจากการยกเลิกแล้ว รัฐบาลจะต้องมีมาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสม และเป็นมาตรการที่ส่งสัญญาณในเชิงบวกมากกว่ามาตรการกันสำรอง 30% โดยในระยะสั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายภายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ลงอีก 0.25-0.50 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และทำให้อัตราดอกเบี้ยของไทยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ เพื่อชะลอเงินไหลเข้ามาเก็งกำไร
ส่วนในระยะกลางจะต้องมีมาตรการเสริมในการดูแลเงินทุนไหลเข้า เช่น ประกันความเสี่ยง 100 % หรือเก็บภาษีเมื่อนักลงทุนต้องการนำเงินอายุน้อยกว่า 1 ปีออกนอกประเทศ โดยอาจดำเนินมาตรการเหล่านี้ในระยะสั้นเพียง 1 ปีเท่านั้น และระยะยาว รัฐบาลจะต้องบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้เหมือนกับกองทุนเทมาเส็กของสิงคโปร์ หรือกองทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน พร้อมกันนั้น รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้คนไทยไปลงทุนต่างประเทศ หรืออนุญาตให้กองทุนต่างๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ไปลงทุนต่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อเอาเงินออกนอกประเทศ
“หากจะยกเลิกจะต้องทำในเวลาที่เหมาะสม อย่ายกเลิกทันที เพราะจะมีแรงกดดันต่อค่าเงินบาท และหลังยกเลิกแล้ว จะต้องมีมาตรการบริหารจัดการที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้น ค่าเงินบาทจะกลับมาแข็งค่าอีก เพราะในปีนี้ เชื่อว่า ไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 8,000-9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าได้ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า ในช่วง 1-2 ปีนี้ ค่าเงินบาทจะมีโอกาสไปแตะที่ระดับ 30-31 บาท/เหรียญ จากการที่ไทยเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น”นายธนวรรธน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่ค่าเงินบาทในปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้น ไม่ใช่เพราะจากการเก็งกำไรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะความสามารถในการส่งออกของไทย และการที่ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลถึงประมาณ 15,000 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เกินดุลประมาณ 2,000 ล้านเหรียญเท่านั้น
ส่งออกผวา-จี้รัฐต้องรอบคอบ
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสายงานเศรษฐกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปมีแนวโน้มว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐจะยังอ่อนค่าลง และยังไม่ชัดเจน ว่า ปัญหาซับไพรม์จะแก้ไขได้อีกจึงต้องการรอดูทิศทางอย่างน้อย 2 เดือนหากเห็นว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาจึงค่อยตัดสินใจยกเลิก และหากยกเลิกก็ควรจะต้องมีมาตรการอื่นมาดูแลความผันผวนของค่าเงินบาทด้วย ซึ่งการลดดอกเบี้ยลงคงไม่ใช่คำตอบทั้งหมด
“ที่ผ่านมาผมเองก็ไม่เคยสนับสนุนมาตรการนี้ 3-4 เดือนที่ผ่านมาเห็นว่าควรจะยกเลิกได้แต่เมื่อเวลานี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไปเงินไหลเข้ามามากมาตรการนี้ก็ถือว่าช่วยทำให้น้ำที่ไหลแรงลดลงได้บ้างไม่มากก็น้อยเราไม่ได้คัดค้านว่าไม่ควรยกเลิกแต่เห็นว่ายังไม่ใช่จังหวะและยังไม่เห็นว่าจะมีมาตรการอื่นมาดูแล”นายธนิต กล่าว
หากพิจารณาการยกเลิกควรจะต้องมองผลดีและผลเสียประกอบด้วยโดยหากยกเลิกทันทีผลดีย่อมเกิดขึ้นกับภาวะตลาดหุ้น และการนำเข้าน้ำมันจะลดลงแน่นอน แต่ตรงกันข้ามก็จะต้องหันมาพิจารณาภาคการส่งออกของไทยที่คิดเป็น 67 % ของจีดีพีด้วยเพราะหากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วทันทีไปสู่ระดับ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เช่น นักวิชาการบางคนมองนั้นก็จะกระทบภาคส่งออกแน่นอนดังนั้นจะต้องคิดให้รอบคอบด้วย
“กรณีที่มีบางฝ่ายมองว่าการเลิกมาตรการ 30% นั้นจะกระทบกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI นั้นคงจะไม่จริงเพราะไม่เช่นนั้นปีที่ผ่านมาการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอคงไม่เพิ่มขึ้นขนาดนั้น”นายธนิต กล่าว