เด็กในคาถาสุดารัตน์ "สุธา ชันแสง" รมว.พม.ปลุกผีประชานิยมโครงการบ้านเอื้ออาทร อ้างความต้องการบ้านเอื้ออาทรในอนาคตขยายตัวขออนุมัติสร้างเพิ่มขึ้นได้อีก แฉหนี้ก้อนโตกว่า 60,000 ล้าน เรื่องใหญ่ที่ต้องสะสางก่อน กคช.เข้าสู่ภาวะล้มละลาย พร้อมหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำช่วยลูกค้าถูกแบงก์ปฏิเสธสินเชื่อกว่า 2 แสนรายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง วอน คตส.ให้ความเป็นธรรมกับพนักงาน-ผู้บริหาร กคช. พร้อมเตรียมตั้งกรรมการกลางแก้ปัญหาแฟลตดินแดง
นายสุธา ชันแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งกำกับดูแลการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทรภายหลังเป็นประธานเปิดงาน สัมมนาทางวิชาการ “ 35ปีการเคหะแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาและฟื้นฟูชุมชนเมือง” ว่า จะดำเนินการโครงการบ้านเอื้ออาทรไปตามแนวทางเดิมที่รัฐบาลชุดก่อนหน้าได้ดำเนินการไว้ โดยในส่วนของเรื่องจำนวนการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร ยังคงจำนวนก่อสร้างไว้ 300,504 หน่วยตามที่มีการปรับลดจำนวนการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรลง
ทั้งนี้ ในการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรนั้น จะต้องคำนึงถึงความต้องการที่มีอยู่จริง เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งในด้านจำนวนบ้านที่มีการก่อสร้างและคว่ามต้องการที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งหลังจากนี้ หากในอนาคตเกิดมีการขยายตัวของตลาดพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนบ้านที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็อาจจะมีการขออนุมัติให้เพิ่มจำนวนการก่อสร้างใหม่ได้
แหล่งข่าวจาก กคช. กล่าวว่า ความเป็นไปได้ในการเพิ่มจำนวนหน่วยก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร จากที่ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 300,504 หน่วย ขึ้นกับนโยบายรัฐบาลและความต้องการในอนาคตว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกมากน้อยเท่าใด แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนหน่วยที่มีการก่อสร้างเสร็จแล้ว ณ 31 ธันวาคม 2550 มีจำนวน 95,923 หน่วยนั้น ขณะนี้สามารถทำการส่งมอบได้เพียง 45,900 กว่าหน่วย ที่เหลือบางส่วนถูกนำไปเข้าโครงการเช่าซื้อ สำหรับลูกค้าที่ถูกสถาบันการเงินปฏิเสธปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นสถานการณ์ปัจจุบันจึงสะท้อนให้เห็นว่ายังมีบ้านคงเหลืออยู่
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นรัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ปัญหาหลักของ กคช.ที่มีอยู่ในขณะนี้ก่อน คือ ปัญหาการขาดแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยจำนวน 204,581 หน่วย ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างก่อน อีกปัญหาคือ หนี้ที่เกิดจากการดำเนินโครงการในช่วงแรก ขณะนี้มีถึง 62,380 ล้านบาท จนส่งผลให้ในอนาคต กคช.จะมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดชอบต่อโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวนมาก
อนึ่ง โครงการบ้านเอื้ออาทรเริ่มดำเนินการในปี 2546 กำหนดจำนวนหน่วยการก่อสร้างบ้านในโครงการรวม 601,727 หน่วย โดยประมาณการและกำหนดจำนวนหน่วยการก่อสร้างในโครงการ จากตัวเลขความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย ผ่านการลงทะเบียนต่อสู้ความยากจนของประชาชนทั่วประเทศ แต่หลังจากที่มีการเข้ามาตรวจสอบความต้องการที่อยู่อาศัย ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทร ในรัฐบาลชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับลดสัดส่วนการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรลงมาเหลือ 300,504 หน่วย ตามแนวทางการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรที่คณะกรรมการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรได้นำเสนอผลสรุป
โดยปัญหาของโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ผ่านมาคือ จำนวนหน่วยที่เปิดขายในแต่ละพื้นที่มากเกินความต้องการ (ดีมานด์เทียม) ปัญหาดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขยับสูงขึ้น ปัญหาการปฏิเสธปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ปัญหาการซื้อคืนบ้านเอื้ออาทรจากสถาบันการเงิน ปัญหาค่าผ่อนจ่ายรายเดือนที่สูงขึ้นจากเดิม จนเริ่มเกินความสามารถในการผ่อนชำระของประชาชน ส่งผลต่อการทิ้งบ้าน
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ กคช.ต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมหาศาล ปัจจุบันกคช.มีมูลหนี้จากการกู้เงินกับสถาบันการเงิน เพื่อมาสนองต่อการพัฒนาโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 62,380 ล้านบาท จากการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทรในปี 2547-2548 ล่าสุดในปี 2551 กคช.มีปัญหาใหญ่ คือ การครบกำหนดต้องชำระหนี้รวมทั้งสิ้น 46,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จากการกู้เงินในโครงการบ้านเอื้ออาทร 43,000 ล้านบาท และหนี้จากการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงการเคหะชุมชนอีก 3,000 ล้านบาท
ขณะที่ปี 2552 นั้น กคช. จะมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระอีก 17,000 ล้านบาท ส่งผลให้ในปีนี้ กคช.ต้องเร่งดำเนินการ จัดหาแหล่งเงินกู้ใหม่เพื่อชำระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากคช.ได้หารือกับกระทรวงการคลัง ถึงแนวทางการแก้ปัญหาการชำระหนี้ดังกล่าว และได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งครม.มีมติให้กระทรวงการคลัง เข้ามาดูแลและดำเนินการจัดการหาแหล่งเงินกู้ในการชำระหนีดังกล่าวให้ กคช.
โดยกระทรวงการคลังรับหน้าที่ค้ำประกันกคช. และได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เข้ามาดำเนินการนำหนี้ดังกล่าวมาจัดการประมูลอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับโครงสร้างทางการเงิน(รีไฟแนนซ์) เพื่อนำเงินกู้จากสถาบันการเงินไปชำระหนี้ที่ครบกำหนดชำระจำนวน 46,000 ล้านบาทต่อธนาคารกรุงไทยฯ และสถาบันการเงินอื่นๆในปี51
ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.50 กคช. เซ็นสัญญาความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด ในการปล่อยกู้ลูกค้าในโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อดังกล่าวแล้ว โดยสหกรณ์ฯมีวงเงินในการปล่อยกู้ลูกค้าบ้านเอื้ออาทร 5,000-6,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ลูกค้าบ้านเอื้ออาทรนั้น ทางสหกรณ์ฯได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน ในอัตรา 7.5% - 8.5% ทำให้ผู้กู้ต้องจ่ายค่างวดต่อเดือน 2,500 -2,600บาทต่อเดือน นอกจากนี้ กคช. ยังเตรียมที่จะเสนอของงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลใหม่จำนวน 30,000 บาทต่อหน่วย เพื่อใช้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างโครงการ และบ้านที่ยังไม่มีการส่งมอบ ซึ่งส่งผลให้ กคช. มีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
อย่าเล่นผู้น้อย-จี้ผู้บังคับบัญชาถูกทาง
สำหรับกรณีการสอบส่วนการกระทำธุจริตของในโครงการบ้านเอื้ออาทรของพนักงานและผู้บริหาร กคช.นั้น นายสุธากล่าวว่า ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมตรวจสอบการกระที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ซึ่งทางกระทรวงฯไม่มีอำนาจเข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการดังกล่าวได้ แต่อยากจะขอร้องให้คตส.ให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานกคช.ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการขอตรวจสอบเอกสาร และการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งต้องการให้ คตส. ดำเนินการอยากถูกต้องตามขั้นตอน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คตส. มีการบีบบังคับและกล่าวหาว่าพนักงาน กคช.ไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูล โดยเฉพาะการขอเอกสารจากเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยที่ไม่มีอำนาจในการอนุมัติให้ข้อมูลหรือเอกสารได้ ทำให้ คตส. อ้างว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าพนักงานในการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งเรื่องดังกล่าว คตส.ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยในการข้อเอกสารต่างๆ ต้องขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยตรงไม่ใช่ไปขอจากเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยที่ไม่มีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการ
ตั้ง คกก.กลางสางปมแฟลตดินแดง
รมว.พม.กล่าวถึงการแก้ปัญหาแฟลตดินแดงว่า จากข้อมูลการตรวจสอบโครงสร้างอาคารแฟลตดินแดงของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียง (AIT) และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นั้น ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ดังนั้นกระทรวงพม. ในฐานะกำกับดูแลกคช.ที่รับผิดชอบดูแลแฟลตดินแดงอยู่ จึงเห็นว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการกลางที่เป็นกลางอย่างแท้จริงขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อเข้ามาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่กคช.มีการดำเนินการเกี่ยวกับแฟลตดินแดงอยู่นั้น พม.จะไม่ให้ยุติการดำเนินการ ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการกลางที่ตั้งเข้ามาใหม่ จะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาดังกล่าวและดำเนินการเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป
นายสุธา ชันแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งกำกับดูแลการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาโครงการบ้านเอื้ออาทรภายหลังเป็นประธานเปิดงาน สัมมนาทางวิชาการ “ 35ปีการเคหะแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาและฟื้นฟูชุมชนเมือง” ว่า จะดำเนินการโครงการบ้านเอื้ออาทรไปตามแนวทางเดิมที่รัฐบาลชุดก่อนหน้าได้ดำเนินการไว้ โดยในส่วนของเรื่องจำนวนการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร ยังคงจำนวนก่อสร้างไว้ 300,504 หน่วยตามที่มีการปรับลดจำนวนการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรลง
ทั้งนี้ ในการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรนั้น จะต้องคำนึงถึงความต้องการที่มีอยู่จริง เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งในด้านจำนวนบ้านที่มีการก่อสร้างและคว่ามต้องการที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งหลังจากนี้ หากในอนาคตเกิดมีการขยายตัวของตลาดพิ่มขึ้นสูงกว่าจำนวนบ้านที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็อาจจะมีการขออนุมัติให้เพิ่มจำนวนการก่อสร้างใหม่ได้
แหล่งข่าวจาก กคช. กล่าวว่า ความเป็นไปได้ในการเพิ่มจำนวนหน่วยก่อสร้างโครงการบ้านเอื้ออาทร จากที่ปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ 300,504 หน่วย ขึ้นกับนโยบายรัฐบาลและความต้องการในอนาคตว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกมากน้อยเท่าใด แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนหน่วยที่มีการก่อสร้างเสร็จแล้ว ณ 31 ธันวาคม 2550 มีจำนวน 95,923 หน่วยนั้น ขณะนี้สามารถทำการส่งมอบได้เพียง 45,900 กว่าหน่วย ที่เหลือบางส่วนถูกนำไปเข้าโครงการเช่าซื้อ สำหรับลูกค้าที่ถูกสถาบันการเงินปฏิเสธปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นสถานการณ์ปัจจุบันจึงสะท้อนให้เห็นว่ายังมีบ้านคงเหลืออยู่
ทั้งนี้ ในเบื้องต้นรัฐบาลควรเข้ามาช่วยแก้ปัญหาหลักของ กคช.ที่มีอยู่ในขณะนี้ก่อน คือ ปัญหาการขาดแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยจำนวน 204,581 หน่วย ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างก่อน อีกปัญหาคือ หนี้ที่เกิดจากการดำเนินโครงการในช่วงแรก ขณะนี้มีถึง 62,380 ล้านบาท จนส่งผลให้ในอนาคต กคช.จะมีภาระดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดชอบต่อโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวนมาก
อนึ่ง โครงการบ้านเอื้ออาทรเริ่มดำเนินการในปี 2546 กำหนดจำนวนหน่วยการก่อสร้างบ้านในโครงการรวม 601,727 หน่วย โดยประมาณการและกำหนดจำนวนหน่วยการก่อสร้างในโครงการ จากตัวเลขความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย ผ่านการลงทะเบียนต่อสู้ความยากจนของประชาชนทั่วประเทศ แต่หลังจากที่มีการเข้ามาตรวจสอบความต้องการที่อยู่อาศัย ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทร ในรัฐบาลชุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับลดสัดส่วนการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทรลงมาเหลือ 300,504 หน่วย ตามแนวทางการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรที่คณะกรรมการแก้ปัญหาบ้านเอื้ออาทรได้นำเสนอผลสรุป
โดยปัญหาของโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ผ่านมาคือ จำนวนหน่วยที่เปิดขายในแต่ละพื้นที่มากเกินความต้องการ (ดีมานด์เทียม) ปัญหาดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มขยับสูงขึ้น ปัญหาการปฏิเสธปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ปัญหาการซื้อคืนบ้านเอื้ออาทรจากสถาบันการเงิน ปัญหาค่าผ่อนจ่ายรายเดือนที่สูงขึ้นจากเดิม จนเริ่มเกินความสามารถในการผ่อนชำระของประชาชน ส่งผลต่อการทิ้งบ้าน
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ กคช.ต้องแบกรับภาระหนี้จำนวนมหาศาล ปัจจุบันกคช.มีมูลหนี้จากการกู้เงินกับสถาบันการเงิน เพื่อมาสนองต่อการพัฒนาโครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 62,380 ล้านบาท จากการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงการบ้านเอื้ออาทรในปี 2547-2548 ล่าสุดในปี 2551 กคช.มีปัญหาใหญ่ คือ การครบกำหนดต้องชำระหนี้รวมทั้งสิ้น 46,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้จากการกู้เงินในโครงการบ้านเอื้ออาทร 43,000 ล้านบาท และหนี้จากการกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงการเคหะชุมชนอีก 3,000 ล้านบาท
ขณะที่ปี 2552 นั้น กคช. จะมีหนี้ที่ครบกำหนดชำระอีก 17,000 ล้านบาท ส่งผลให้ในปีนี้ กคช.ต้องเร่งดำเนินการ จัดหาแหล่งเงินกู้ใหม่เพื่อชำระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากคช.ได้หารือกับกระทรวงการคลัง ถึงแนวทางการแก้ปัญหาการชำระหนี้ดังกล่าว และได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งครม.มีมติให้กระทรวงการคลัง เข้ามาดูแลและดำเนินการจัดการหาแหล่งเงินกู้ในการชำระหนีดังกล่าวให้ กคช.
โดยกระทรวงการคลังรับหน้าที่ค้ำประกันกคช. และได้มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เข้ามาดำเนินการนำหนี้ดังกล่าวมาจัดการประมูลอัตราดอกเบี้ย หรือการปรับโครงสร้างทางการเงิน(รีไฟแนนซ์) เพื่อนำเงินกู้จากสถาบันการเงินไปชำระหนี้ที่ครบกำหนดชำระจำนวน 46,000 ล้านบาทต่อธนาคารกรุงไทยฯ และสถาบันการเงินอื่นๆในปี51
ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.50 กคช. เซ็นสัญญาความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ สหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น จำกัด ในการปล่อยกู้ลูกค้าในโครงการบ้านเอื้ออาทรที่ถูกปฏิเสธสินเชื่อดังกล่าวแล้ว โดยสหกรณ์ฯมีวงเงินในการปล่อยกู้ลูกค้าบ้านเอื้ออาทร 5,000-6,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยกู้ลูกค้าบ้านเอื้ออาทรนั้น ทางสหกรณ์ฯได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน ในอัตรา 7.5% - 8.5% ทำให้ผู้กู้ต้องจ่ายค่างวดต่อเดือน 2,500 -2,600บาทต่อเดือน นอกจากนี้ กคช. ยังเตรียมที่จะเสนอของงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลใหม่จำนวน 30,000 บาทต่อหน่วย เพื่อใช้ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างโครงการ และบ้านที่ยังไม่มีการส่งมอบ ซึ่งส่งผลให้ กคช. มีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
อย่าเล่นผู้น้อย-จี้ผู้บังคับบัญชาถูกทาง
สำหรับกรณีการสอบส่วนการกระทำธุจริตของในโครงการบ้านเอื้ออาทรของพนักงานและผู้บริหาร กคช.นั้น นายสุธากล่าวว่า ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมตรวจสอบการกระที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) ซึ่งทางกระทรวงฯไม่มีอำนาจเข้าไปแทรกแซงการทำงานของคณะกรรมการดังกล่าวได้ แต่อยากจะขอร้องให้คตส.ให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานกคช.ด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของการขอตรวจสอบเอกสาร และการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งต้องการให้ คตส. ดำเนินการอยากถูกต้องตามขั้นตอน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คตส. มีการบีบบังคับและกล่าวหาว่าพนักงาน กคช.ไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูล โดยเฉพาะการขอเอกสารจากเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยที่ไม่มีอำนาจในการอนุมัติให้ข้อมูลหรือเอกสารได้ ทำให้ คตส. อ้างว่าไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าพนักงานในการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งเรื่องดังกล่าว คตส.ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยในการข้อเอกสารต่างๆ ต้องขออนุมัติจากผู้มีอำนาจโดยตรงไม่ใช่ไปขอจากเจ้าพนักงานชั้นผู้น้อยที่ไม่มีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการ
ตั้ง คกก.กลางสางปมแฟลตดินแดง
รมว.พม.กล่าวถึงการแก้ปัญหาแฟลตดินแดงว่า จากข้อมูลการตรวจสอบโครงสร้างอาคารแฟลตดินแดงของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียง (AIT) และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) นั้น ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ดังนั้นกระทรวงพม. ในฐานะกำกับดูแลกคช.ที่รับผิดชอบดูแลแฟลตดินแดงอยู่ จึงเห็นว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการกลางที่เป็นกลางอย่างแท้จริงขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพื่อเข้ามาตรวจสอบเรื่องดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่กคช.มีการดำเนินการเกี่ยวกับแฟลตดินแดงอยู่นั้น พม.จะไม่ให้ยุติการดำเนินการ ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการกลางที่ตั้งเข้ามาใหม่ จะเข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาดังกล่าวและดำเนินการเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป