เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (11ก.พ.) นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น ได้ให้เจ้าหน้าที่ของเครือข่าย เดินทางมายื่นหนังสือ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีอาจมีการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบ มาตรา 83
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่21ส.ค.49 ได้มีการชุมนุมของประชาชนฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นเหตุให้นายวิชัย เอื้อสิยาพันธ์ และนายฤทธิรงค์ ลิขิตประเสริฐกุล ฝ่ายต่อต้านที่ตะโกนขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกทำร้ายร่างกาย ต่อมาวันที่ 25 ส.ค.49 บุคคลทั้งสองได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ให้ดำเนินคดีอาญา พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ขณะดำรงตำแหน่งผู้กำกับการกองกำกับ ซึ่งต่อมา พนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อไต่สวน และวินิจฉัย
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องดังกล่าว และมีมติ เมื่อวันที่ 8 ก.พ.50 ว่า การกระทำของ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา มีมูลเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79 (2)(5) และ (6) และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 200 ในความผิดทางวินัย ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้ส่งรายงานพร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ ป.ป.ช.ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ส่วนทางอาญาได้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล
อย่างไรก็ตาม ต่อมา ปรากฏว่า พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ได้นำคดีที่ตนถูกคำสั่งปลดออกจากราชการไปฟ้องที่ศาลปกครองเชียงใหม่ หลังจากที่ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทั้งทางวินัยร้ายแรง และอาญาดังกล่าว แล้วได้ทำการเปลี่ยนทั้งชื่อ และนามสกุลใหม่ เป็น พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง และทำการย้ายภูมิลำเนา จากจ.นครราชสีมา ไป จ.เชียงใหม่ โดยขอให้ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่ง ซึ่งศาลปกครองเชียงใหม่ ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
ทั้งนี้ การที่ผู้ฟ้องคดีไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ และศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว มีประเด็นข้อสงสัยที่ต้องตรวจสอบ ดังต่อไปนี้
1 . เหตุใดผู้ฟ้องคดีจึงต้องเปลี่ยนชื่อ และนามสกุลใหม่ทั้งหมด จาก พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา
เป็น พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง
2. ผู้ฟ้องคดีได้ย้ายภูมิลำเนาจากจ.นครราชสีมาไปจ.เชียงใหม่ ต่อมาก็นำคดีดังกล่าวฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ และยื่นคำขอให้ศาลปกครองเชียงใหม่มีคำสั่งทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีถูกคำสั่งลงโทษจากสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มูลคดีจึง เกิดที่กรุงเทพฯ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีควรจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตอำนาจของศาลปกครองที่มูลคดีเกิดขึ้น แต่กลับไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง "กำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา หรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลปกครองชั้นต้นนั้นได้") แต่ภูมิลำเนาที่ จ.เชียงใหม่ เป็นภูมิลำเนาใหม่ ซึ่ง พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ได้ย้ายไปหลังจากที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว สาเหตุที่ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เลือกที่จะใช้ประโยชน์จากภูมิลำเนาที่จ.เชียงใหม่ ทราบว่าเนื่องจากมีตุลาการศาลปกครองเชียงใหม่คนหนึ่งเป็นอดีตนายตำรวจซึ่งรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน
3. คดีดังกล่าวได้มอบให้องค์คณะคดีนี้พิจารณาพิพากษา ซึ่งองค์คณะคดีนี้มีตุลาการศาลปกครองท่านหนึ่งอดีตเป็นข้าราชการตำรวจยศ พ.ต.ต.
4. คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งที่ให้ลดโทษผู้ฟ้องคดีจากไล่ออกจาก
ราชการ เป็นปลดออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่ออกตามมติอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ ไม่ใช่ มติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
5. การที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งทางปกครอง โดยให้เหตุผล
ว่าตามข้อ 72 วรรคสาม กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่า คำสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนั้น น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 80 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าศาลปกครองเชียงใหม่ ก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่า ไม่ได้มีการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตราใด บัญญัติว่าอย่างไร และ มิได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 80 วรรคสอง ก็ไม่ได้มีการระบุข้อความให้เห็นชัดเจนอย่างไรว่าไม่ปฏิบัติตาม เนื่องจากมีหลายประเด็น ซึ่งมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า " การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ และแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการนั้นจะได้ทราบการบอกนัดในที่ประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวจะทำหนังสือแจ้งนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ได้มาประชุมก็ได้"
จะเห็นได้ว่ามาตรา 80 วรรคสอง ดังกล่าว บัญญัติคำว่า "กรรมการ" ไม่ใช่ "อนุกรรมการ" และ
มติที่จะทำให้มีผลตามกฎหมายในการออกคำสั่งดังกล่าว จะต้องเป็นมติคณะกรรมการข้าราชการดำรวจ (ก.ตร.) ไม่ใช่มติอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ดังจะเห็นได้จาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 105 วรรคหนึ่ง (2 ) กำหนดว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกลงโทษไล่ออก ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ ก.ตร. วรรคสี่ กำหนดว่าหลักเกณฑ์ และวิธีการและการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. ที่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547 ข้อ 23 กำหนดว่า เมื่อ ก.ตร. ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และมีมติเป็นประการใด แจ้งให้สำนักงาน ก.ตร. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ตร.หรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ตร.
" ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นชัดว่า ผู้มีอำนาจพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว คือ ก.ตร. ไม่ใช่
อนุกรรมการ ก.ตร. ดังนั้น คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งที่ให้ลดโทษผู้ฟ้องคดีจากไล่ออกจากราชการ เป็นปลดออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่ออกตามมติอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จึงยังไม่มีผลใช้บังคับ เพราะจะต้องเป็น อ.ก.ตร. พิจารณา การที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 165 /2550 ลงวันที่ 1ต.ค.50 (คำสั่งปลดออกจากราชการ) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุผลเพราะคำสั่งปลดออกจากราชการยังไม่มีผลใช้บังคับ ที่สำคัญศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งไม่รับคำขอที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 17/2550 ลงวันที่ 20ก.พ.50 เมื่อคำสั่งปลดออกจากราชการยังไม่มีผลใช้บังคับ คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 17/2550 ลงวันที่ 20ก.พ. 50 (คำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ) จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า คำสั่งไล่ออกยังมีผลบังคับอยู่ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจะขอกลับเข้ารับราชการไม่ได้ และไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ และหากผู้ใดทำการช่วยเหลือให้ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ กลับเข้ารับราชการโดยมิชอบ ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย"
ดังนั้น การที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็ไม่น่าจะสมเหตุ สมผล หรือมีน้ำหนักเพียงพอ เนื่องจากในอนาคต หากศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า คำสั่งทางปกครองดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ก็จะเกิดความเสียหายแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ เพราะให้คืนเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินที่ได้จากการมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้ไปโดยไม่มีสิทธิ เนื่องจากถูกคำสั่งไล่ออก หรือ ปลดออกจากราชการ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ยอมคืนเงิน และจะมีปัญหาที่รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่สูงขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ยังมีระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 72 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ การมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้กระทำโดยองค์คณะหลังจากตุลาการผู้แถลงคดีได้ เสนอคำแถลงการณ์แล้ว ข้อ 90 กำหนดให้คำสั่งชี้ขาดคดี นอกจากจะต้องระบุรายการตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และจำนวนค่าธรรมเนียมที่คู่กรณีจะได้รับคืนแล้ว ให้ระบุชื่อตุลาการเจ้าของสำนวน และ ตุลาการผู้แถลงคดีด้วย ปรากฏว่า ในคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
"ในกรณีดังกล่าวนี้ ไม่ได้มีการระบุชื่อตุลาการผู้แถลงคดีแต่อย่างใด ประเด็นนี้ น่าสงสัยอย่างมากว่า ทำไม จึงไม่ยอมใส่ชื่อผู้แถลงคดี ทำให้น่าเชื่อว่า ผู้แถลงคดีอาจมีความเห็นขัดแย้งกับองค์คณะตุลาการศาลปกครองคณะดังกล่าว จึงต้องการจะปกปิดหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงนี้ ไม่ให้สาธารณะได้รับทราบ"
จากเหตุผลดังกล่าวมาทั้งหมดจึงน่าเชื่อว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองในคดีดังกล่าวนี้ น่าจะกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (ตาม ป.อาญา มาตรา 157 ) จึงขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อ ลงโทษตามกฎหมายจนถึงที่สุดต่อไป
ทั้งนี้สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่21ส.ค.49 ได้มีการชุมนุมของประชาชนฝ่ายที่สนับสนุน และฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นเหตุให้นายวิชัย เอื้อสิยาพันธ์ และนายฤทธิรงค์ ลิขิตประเสริฐกุล ฝ่ายต่อต้านที่ตะโกนขับไล่พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกทำร้ายร่างกาย ต่อมาวันที่ 25 ส.ค.49 บุคคลทั้งสองได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ให้ดำเนินคดีอาญา พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ขณะดำรงตำแหน่งผู้กำกับการกองกำกับ ซึ่งต่อมา พนักงานสอบสวนได้ส่งเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อไต่สวน และวินิจฉัย
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนเรื่องดังกล่าว และมีมติ เมื่อวันที่ 8 ก.พ.50 ว่า การกระทำของ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา มีมูลเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79 (2)(5) และ (6) และมีมูลความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และมาตรา 200 ในความผิดทางวินัย ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ได้ส่งรายงานพร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ ป.ป.ช.ได้มีมติ โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอีก ส่วนทางอาญาได้ส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล
อย่างไรก็ตาม ต่อมา ปรากฏว่า พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ ได้นำคดีที่ตนถูกคำสั่งปลดออกจากราชการไปฟ้องที่ศาลปกครองเชียงใหม่ หลังจากที่ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทั้งทางวินัยร้ายแรง และอาญาดังกล่าว แล้วได้ทำการเปลี่ยนทั้งชื่อ และนามสกุลใหม่ เป็น พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง และทำการย้ายภูมิลำเนา จากจ.นครราชสีมา ไป จ.เชียงใหม่ โดยขอให้ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่ง ซึ่งศาลปกครองเชียงใหม่ ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
ทั้งนี้ การที่ผู้ฟ้องคดีไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ และศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว มีประเด็นข้อสงสัยที่ต้องตรวจสอบ ดังต่อไปนี้
1 . เหตุใดผู้ฟ้องคดีจึงต้องเปลี่ยนชื่อ และนามสกุลใหม่ทั้งหมด จาก พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา
เป็น พ.ต.อ.ธนายุตม์ วุฒิจรัสธำรง
2. ผู้ฟ้องคดีได้ย้ายภูมิลำเนาจากจ.นครราชสีมาไปจ.เชียงใหม่ ต่อมาก็นำคดีดังกล่าวฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ และยื่นคำขอให้ศาลปกครองเชียงใหม่มีคำสั่งทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งทางปกครองที่ผู้ฟ้องคดีถูกคำสั่งลงโทษจากสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มูลคดีจึง เกิดที่กรุงเทพฯ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีควรจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตอำนาจของศาลปกครองที่มูลคดีเกิดขึ้น แต่กลับไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่ (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 47 วรรคหนึ่ง "กำหนดให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น ที่ผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนา หรือที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลปกครองชั้นต้นนั้นได้") แต่ภูมิลำเนาที่ จ.เชียงใหม่ เป็นภูมิลำเนาใหม่ ซึ่ง พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา ได้ย้ายไปหลังจากที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว สาเหตุที่ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เลือกที่จะใช้ประโยชน์จากภูมิลำเนาที่จ.เชียงใหม่ ทราบว่าเนื่องจากมีตุลาการศาลปกครองเชียงใหม่คนหนึ่งเป็นอดีตนายตำรวจซึ่งรู้จักคุ้นเคยกันมาก่อน
3. คดีดังกล่าวได้มอบให้องค์คณะคดีนี้พิจารณาพิพากษา ซึ่งองค์คณะคดีนี้มีตุลาการศาลปกครองท่านหนึ่งอดีตเป็นข้าราชการตำรวจยศ พ.ต.ต.
4. คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งที่ให้ลดโทษผู้ฟ้องคดีจากไล่ออกจาก
ราชการ เป็นปลดออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่ออกตามมติอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ ซึ่งยังไม่มีผลบังคับใช้ ไม่ใช่ มติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
5. การที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับคดีตามคำสั่งทางปกครอง โดยให้เหตุผล
ว่าตามข้อ 72 วรรคสาม กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองได้ ในกรณีที่ศาลเห็นว่า คำสั่งทางปกครองที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนั้น น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมิได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และ พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 80 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าศาลปกครองเชียงใหม่ ก็ไม่ได้ระบุเหตุผลว่า ไม่ได้มีการปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ มาตราใด บัญญัติว่าอย่างไร และ มิได้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 80 วรรคสอง ก็ไม่ได้มีการระบุข้อความให้เห็นชัดเจนอย่างไรว่าไม่ปฏิบัติตาม เนื่องจากมีหลายประเด็น ซึ่งมาตรา 80 วรรคสอง บัญญัติว่า " การนัดประชุมต้องทำเป็นหนังสือ และแจ้งให้กรรมการทุกคนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามวัน เว้นแต่กรรมการนั้นจะได้ทราบการบอกนัดในที่ประชุมแล้ว กรณีดังกล่าวจะทำหนังสือแจ้งนัดเฉพาะกรรมการที่ไม่ได้มาประชุมก็ได้"
จะเห็นได้ว่ามาตรา 80 วรรคสอง ดังกล่าว บัญญัติคำว่า "กรรมการ" ไม่ใช่ "อนุกรรมการ" และ
มติที่จะทำให้มีผลตามกฎหมายในการออกคำสั่งดังกล่าว จะต้องเป็นมติคณะกรรมการข้าราชการดำรวจ (ก.ตร.) ไม่ใช่มติอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ดังจะเห็นได้จาก พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 105 วรรคหนึ่ง (2 ) กำหนดว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดถูกลงโทษไล่ออก ให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อ ก.ตร. วรรคสี่ กำหนดว่าหลักเกณฑ์ และวิธีการและการพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ตร. ที่ กฎ ก.ตร. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ. 2547 ข้อ 23 กำหนดว่า เมื่อ ก.ตร. ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์และมีมติเป็นประการใด แจ้งให้สำนักงาน ก.ตร. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ตร.หรือดำเนินการให้เป็นไปตามมติ ก.ตร.
" ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นชัดว่า ผู้มีอำนาจพิจารณาชี้ขาดอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว คือ ก.ตร. ไม่ใช่
อนุกรรมการ ก.ตร. ดังนั้น คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และคำสั่งที่ให้ลดโทษผู้ฟ้องคดีจากไล่ออกจากราชการ เป็นปลดออกจากราชการ เป็นคำสั่งที่ออกตามมติอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จึงยังไม่มีผลใช้บังคับ เพราะจะต้องเป็น อ.ก.ตร. พิจารณา การที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 165 /2550 ลงวันที่ 1ต.ค.50 (คำสั่งปลดออกจากราชการ) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุผลเพราะคำสั่งปลดออกจากราชการยังไม่มีผลใช้บังคับ ที่สำคัญศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งไม่รับคำขอที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 17/2550 ลงวันที่ 20ก.พ.50 เมื่อคำสั่งปลดออกจากราชการยังไม่มีผลใช้บังคับ คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ 17/2550 ลงวันที่ 20ก.พ. 50 (คำสั่งไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ) จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า คำสั่งไล่ออกยังมีผลบังคับอยู่ ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจะขอกลับเข้ารับราชการไม่ได้ และไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะให้ผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการ และหากผู้ใดทำการช่วยเหลือให้ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ กลับเข้ารับราชการโดยมิชอบ ก็จะมีความผิดตามกฎหมาย"
ดังนั้น การที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าวก็ไม่น่าจะสมเหตุ สมผล หรือมีน้ำหนักเพียงพอ เนื่องจากในอนาคต หากศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า คำสั่งทางปกครองดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ก็จะเกิดความเสียหายแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ เพราะให้คืนเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินที่ได้จากการมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้ไปโดยไม่มีสิทธิ เนื่องจากถูกคำสั่งไล่ออก หรือ ปลดออกจากราชการ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ยอมคืนเงิน และจะมีปัญหาที่รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่สูงขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ยังมีระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ข้อ 72 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ การมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้กระทำโดยองค์คณะหลังจากตุลาการผู้แถลงคดีได้ เสนอคำแถลงการณ์แล้ว ข้อ 90 กำหนดให้คำสั่งชี้ขาดคดี นอกจากจะต้องระบุรายการตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 69 วรรคหนึ่ง และจำนวนค่าธรรมเนียมที่คู่กรณีจะได้รับคืนแล้ว ให้ระบุชื่อตุลาการเจ้าของสำนวน และ ตุลาการผู้แถลงคดีด้วย ปรากฏว่า ในคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
"ในกรณีดังกล่าวนี้ ไม่ได้มีการระบุชื่อตุลาการผู้แถลงคดีแต่อย่างใด ประเด็นนี้ น่าสงสัยอย่างมากว่า ทำไม จึงไม่ยอมใส่ชื่อผู้แถลงคดี ทำให้น่าเชื่อว่า ผู้แถลงคดีอาจมีความเห็นขัดแย้งกับองค์คณะตุลาการศาลปกครองคณะดังกล่าว จึงต้องการจะปกปิดหลักฐาน หรือข้อเท็จจริงนี้ ไม่ให้สาธารณะได้รับทราบ"
จากเหตุผลดังกล่าวมาทั้งหมดจึงน่าเชื่อว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองในคดีดังกล่าวนี้ น่าจะกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต (ตาม ป.อาญา มาตรา 157 ) จึงขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง เพื่อ ลงโทษตามกฎหมายจนถึงที่สุดต่อไป