"จาตุรนต์" อัด คมช.ไม่ยอมรับความจริง ชี้ประชาชนเบื่อจนสะท้อนออกมาด้วยผลการเลือกตั้ง โดดป้อง"ครม.หมัก" ถูกตั้งวงวิจารณ์เร็วเกินไป แนะเร่งทำงานลบคำสบประมาท แถมไม่ต้องเร่งออกกม.นิรโทษกรรม 111 อดีต กก.บห.ทรท. เชื่อ"แม้ว"กลับไทยเร็วขึ้น ไม่น่าส่งผลกระทบบ้านเมือง
วานนี้ (10 ก.พ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เปิดแถลงข่าวในหัวข้อ"แก้ปัญหาบ้านเมืองด้วยวิถีทางประชาธิปไตย" ว่า การที่ คมช.ได้แถลงยุติบทบาทการทำหน้าที่ และระบุว่าที่ผ่านมาไม่สามารถทำงานให้บรรลุภารกิจตามที่ตั้งไว้ คำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คมช.ไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้งที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย
นอกจากนี้ยังมีเสียงออกมาในทำนองว่า การเลือกตั้งไม่สามารถที่จะแก้ไขให้ประเทศเข้าสู่วิถีประชาธิปไตยได้ มีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่มีต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน เห็นว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่เร็วเกินไป เพราะต้องยอมรับว่า หลังจากผ่านช่วงการทำรัฐประหารถึงการเลือกตั้งไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล แสดงให้เห็นว่า ประชาชนต้องการอะไร คมช.จึงน่าจะยอมรับผลการเลือกตั้งและเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่มองว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาประชาชนถูกซื้อได้ แต่เป็นเพราะ1 ปีที่ผ่านมา ประชาชนเรียนรู้ถึงภัยจากอำนาจเผด็จการ และสะท้อนออกมาด้วยผลของการเลือกตั้ง ทำให้มีรัฐบาลเสียงข้างมากได้
"ผมอยากให้มองว่า ผลของการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่เอาคำวิจารณ์ ของกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วย นำไปปูทางสู่การสร้างสถานการณ์ ยึดอำนาจรัฐประหารอีกครั้งในอนาคต หลังจากนี้ ประชาชนจะต้องเรียนรู้และศึกษาเพื่อรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย และทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำความเข้าใจกับประชาชน และให้ประชาชนได้มีการติดตามและศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของพรรคการเมือง ว่ามีแนวทางในการบริหารและนโยบายทางด้านการเมือง เพื่อนำประเทศไปสู่ความก้าวหน้าอย่างไร"
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า หลังจากมีการตั้งรัฐบาล มีรัฐสภา ทุกฝ่ายก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ โดยเฉพาะต้องร่วมกันแก้ปัญหาบ้านเมือง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม เพราะประชาชนคาดหวังกับรัฐบาลนี้สูงมาก ดังนั้นเพื่อให้ประเทศชาติก้าวต่อไป จะต้องช่วยกันแก้ปมที่เผด็จการผูกไว้ รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายเผด็จการ ส่งเสริมระบบการเมืองที่แข็งแรง สร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ทั้งหมดนี้ ต้องทำอย่างจริงจัง ควรนำบทเรียนที่ผ่านมามาสรุปเป็นบทเรียนของประเทศ หากไม่ทำอย่างจริงจังเผด็จการก็จะหวนกลับมาอีก
"ที่ผ่านมา มีการแทรกแซงทางการเมืองของ คมช.ทำให้เกิดข้อจำกัดในการตั้งรัฐบาล จนนำไปสู่การวิจารณ์การตั้งรัฐบาล ซึ่งถือว่าเร็วกว่าปกติ เพราะพึ่งผ่านมาเพียง 2 สัปดาห์ เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะการวิจารณ์ว่าเสียงข้างมากไม่ดี ประเทศชาติจะอยู่ไม่ได้ และจะกลับไปสู่วิกฤติ ทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาประชาธิปไตยได้ รัฐธรรมนูญไม่สามารถเปลี่ยนเผด็จการเป็นประชาธิปไตยได้ ซึ่งดูเหมือนจะเห็นเจตนาที่ดี แต่หากติดตามถ้อยคำผู้ออกมาวิจารณ์จะเห็นว่า บุคคลเหล่านี้ คือเบื้องหลังของผู้สนับสนุนการยึดอำนาจ และจะเห็นว่า คมช.ไม่ได้แสดงความเข้าใจถึงความล้มเหลวของการรัฐประหาร แต่กลับแสดงความเสียใจที่ทำรัฐประหารไม่ได้ถึง 100 % ผมคิดว่าหากเขาทำได้ บ้านเมืองจะเสียหายมากกว่านี้ และดูเหมือนพวกเขาเหล่านี้พร้อมที่จะส่งเสริมการยึดอำนาจ แสดงให้เห็นว่า คมช.ไม่ยอมรับประชาธิปไตยเสียงข้างมาก นั้นแสดงให้เห็นว่า เขาไม่ยอมรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และรัฐบาลหลังรัฐประหารไม่ได้ดีในสายตาพวกเขา ทั้งที่จริงแล้ว การที่จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ก็ควรที่จะเสนอทางออกที่ดี ซึ่งหากรัฐบาลไม่ดี ก็มีกระบวนการตรวจสอบทางประชาธิปไตย มีทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย มีการอภิปรายในสภา หรือสุดท้ายแล้วก็คือ การยุบสภาเพื่อใช้กลไกในการเลือกตั้ง เพื่อให้เสียงข้างน้อยได้มีโอกาสได้นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับและเลือกเสียงข้างน้อยมาเป็นเสียงข้างมาก แต่ไม่ใช่การวิจารณ์เสียงข้างมาก เพื่อนำไปสู่การยึดอำนาจ เพราะถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด"
เมื่อถามว่าเหตุใดจึงมีความคิดว่า จะมีการก่อรัฐประหารเกิดขึ้นอีก มีอะไรเป็นตัวส่งสัญญาณ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนไม่ได้บอกว่าจะมีการรัฐประหาร แต่เห็นจากผลต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นตัวรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งรัฐมนตรีที่ไม่สามารถทำได้อย่างที่ควรจะเป็น ข้อจำกัดต่างๆ ก็ล้วนแล้วมาจากคมช.ทั้งสิ้น ถ้าหากนำเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้มาตั้งใจอ่านกันดีๆ จะทำให้เห็นว่า มันเหมือนกับการเกิดขึ้นของพันธมิตรของคมช. ที่มีการพูดคล้าย ๆ กันในลักษณะนี้ เช่น ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว เลือกตั้งก็นำเผด็จการมาได้ เสียงข้างมากไม่ดีก็จะนำประเทศชาติไม่รอดพ้นไปได้ การพูดอย่างนี้เป็นการปูทางไปสู่กระบวนการอย่างเก่า ใครจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เขาก็จะรุกคืบหน้าไปสู่การรัฐประหารในอนาคต
เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่ นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน 1ในกรรมการบริหารพรรค 111 คน เห็นว่าไม่ควรนิรโทษกรรมให้กับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนอยากให้บรรยากาศทางการเมืองเดินไปในทางที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาใหญ่ๆที่สำคัญ ของประเทศก่อน ที่จะคิดถึงเรื่องนี้
"เราไม่ต้องการที่จะให้มาเร่งรีบในเรื่องนี้ และเรายืนยันว่าไม่ได้ทำความผิดอะไร แต่ถ้ามองย้อนหลังกลับไปมีขบวนการเผด็จการทำให้เกิดขึ้น โดยไม่สอดคล้องกับหลักยุติธรรม เรายืนยันว่าเราถูกเพิกถอนสิทธิจากกฎหมายเผด็จการ ดังนั้นหากจะนิรโทษกรรมให้ก็ต้องนิรโทษกรรมเนื่องจากเราไม่มีความผิด และเรื่องนี้ไม่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะจะทำให้บรรยากาศทางการเมืองไม่สดใส นอกจากนี้หากจะมานิรโทษกรรมโดยอ้างว่าไม่มีบุคลากรนั้น พวกผมยิ่งไม่เห็นด้วย เพราะฟังแล้วมันแปลกๆ ผมไม่อยากจะให้ใช้เหตุผลอย่างนี้"
ต่อข้อถามว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางมาสู้คดีในประเทศเร็วขึ้น นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบกำหนดการที่ชัดเจนว่าจะเดินทางกลับมาเมื่อไร ตอนนี้อาจจะอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า จะกลับมาในช่วงไหนดี เป็นการประเมินสถานการณ์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อบรรยากาศทางการเมือง แต่ส่วนตัวเห็นว่าช้า เร็ว คงไม่ต่างกันมาก และเป็นเรื่องที่ดีที่อดีตนายกฯ จะเดินทางมาสู้คดีในทางยุติธรรม ส่วนที่ผบ.ส.ส.และรมว.ยุติธรรม ยังเห็นว่าช่วงนี้ไม่เหมาะสนั้น ตนว่า ถ้าเป็นการเดินทางมาเพื่อสู้คดีไม่น่าจะมีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อบ้านเมือง
นายจาตุรนต์ ยังกล่าวถึงตัวคณะรัฐมนตรีที่ถูกวิจารณ์ว่า จัดคนไม่เหมาะสมกับงานว่า ต้องยอมรับว่าการจัดตั้ง ครม.ชุดนี้ตั้งยากมาก เพราะว่าเราได้ผ่านเหตุการณ์ต่อสู้มาอย่างเข้มข้น มีคนที่สู้ด้วยกันมาและช่วยเหลือด้วยกันมา ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับ เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องทำให้คนนอกไม่กล้าเข้ามารับตำแหน่ง โดยเฉพาะกฎหมาย 7 ชั่วโคตร ประกอบกับการวางยุทธศาสตร์ที่ไม่ชัดเจน ว่าควรจะตั้งครม.ให้ดีแค่ไหน อย่างไร ครม.ที่ออกมาจึงไม่ได้อย่างที่คาดหวัง คนที่น่าเห็นใจมากคือ นายกรัฐมนตรีเอง เพราะที่ผ่านมาก็พยายามที่จะปรับให้ดีขึ้นแล้ว ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องยอมรับความจริงว่า นี่เป็นผลที่มาจากการแทรแซง คมช.และ รัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนจากบุคคลที่ตั้ง ครม. และการจำกัดของจำนวนบุคลากร สิ่งที่ตนอยากเห็นจากนี้คือ เมื่อมีการตั้งครม.ขึ้นมาแล้วก็ขอให้พยายามทำงานเต็มความสามารถ และสิ่งที่อยากจะฝากหากทำงานไประยะหนึ่งแล้ว ยังไม่สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ ก็ควรจะปรับการทำงานหลังจากนี้ ไม่ควรที่จะมาคำนึงว่าใครเป็นตัวแทนใคร ใครเป็นคนฝากมา ถึงเวลาเมื่อต้องมีการปรับถ้าจำเป็นจะต้องปรับมาก็ต้องปรับมาก แต่ถ้าหากสอบผ่านกันก็ปล่อยให้ทำงานกันต่อไป
"หากจำเป็นจะต้องมีการปรับมาก ก็จะต้องปรับ และขอให้พรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน และสมาชิกพรรคช่วยกันสนับสนุนให้นายกฯ ในการที่จะเสริมสร้างผู้นำให้มีความเข้มแข็ง กล้าที่นำนโยบายของพรรคและรัฐบาลให้เดินหน้าต่อไปได้ " นายจาตุรนต์ กล่าว
เมื่อถามว่า ควรให้ระยะเวลารัฐบาลในการทำงานก่อนที่จะปรับครม.กี่เดือน นายจาตุรนต์ กล่าว ไม่ควรกำหนดเวลา แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามสถานการณ์ แต่หากเห็นว่าควรปรับก็ต้องปรับ
วานนี้ (10 ก.พ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เปิดแถลงข่าวในหัวข้อ"แก้ปัญหาบ้านเมืองด้วยวิถีทางประชาธิปไตย" ว่า การที่ คมช.ได้แถลงยุติบทบาทการทำหน้าที่ และระบุว่าที่ผ่านมาไม่สามารถทำงานให้บรรลุภารกิจตามที่ตั้งไว้ คำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คมช.ไม่ยอมรับกระบวนการเลือกตั้งที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย
นอกจากนี้ยังมีเสียงออกมาในทำนองว่า การเลือกตั้งไม่สามารถที่จะแก้ไขให้ประเทศเข้าสู่วิถีประชาธิปไตยได้ มีการวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่าย โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่มีต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน เห็นว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ที่เร็วเกินไป เพราะต้องยอมรับว่า หลังจากผ่านช่วงการทำรัฐประหารถึงการเลือกตั้งไปสู่การจัดตั้งรัฐบาล แสดงให้เห็นว่า ประชาชนต้องการอะไร คมช.จึงน่าจะยอมรับผลการเลือกตั้งและเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่มองว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาประชาชนถูกซื้อได้ แต่เป็นเพราะ1 ปีที่ผ่านมา ประชาชนเรียนรู้ถึงภัยจากอำนาจเผด็จการ และสะท้อนออกมาด้วยผลของการเลือกตั้ง ทำให้มีรัฐบาลเสียงข้างมากได้
"ผมอยากให้มองว่า ผลของการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่เอาคำวิจารณ์ ของกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วย นำไปปูทางสู่การสร้างสถานการณ์ ยึดอำนาจรัฐประหารอีกครั้งในอนาคต หลังจากนี้ ประชาชนจะต้องเรียนรู้และศึกษาเพื่อรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย และทุกฝ่ายต้องร่วมกันทำความเข้าใจกับประชาชน และให้ประชาชนได้มีการติดตามและศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของพรรคการเมือง ว่ามีแนวทางในการบริหารและนโยบายทางด้านการเมือง เพื่อนำประเทศไปสู่ความก้าวหน้าอย่างไร"
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า หลังจากมีการตั้งรัฐบาล มีรัฐสภา ทุกฝ่ายก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศ โดยเฉพาะต้องร่วมกันแก้ปัญหาบ้านเมือง ทั้งเศรษฐกิจ สังคม เพราะประชาชนคาดหวังกับรัฐบาลนี้สูงมาก ดังนั้นเพื่อให้ประเทศชาติก้าวต่อไป จะต้องช่วยกันแก้ปมที่เผด็จการผูกไว้ รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กฎหมายเผด็จการ ส่งเสริมระบบการเมืองที่แข็งแรง สร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ทั้งหมดนี้ ต้องทำอย่างจริงจัง ควรนำบทเรียนที่ผ่านมามาสรุปเป็นบทเรียนของประเทศ หากไม่ทำอย่างจริงจังเผด็จการก็จะหวนกลับมาอีก
"ที่ผ่านมา มีการแทรกแซงทางการเมืองของ คมช.ทำให้เกิดข้อจำกัดในการตั้งรัฐบาล จนนำไปสู่การวิจารณ์การตั้งรัฐบาล ซึ่งถือว่าเร็วกว่าปกติ เพราะพึ่งผ่านมาเพียง 2 สัปดาห์ เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตย โดยเฉพาะการวิจารณ์ว่าเสียงข้างมากไม่ดี ประเทศชาติจะอยู่ไม่ได้ และจะกลับไปสู่วิกฤติ ทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถแก้ปัญหาประชาธิปไตยได้ รัฐธรรมนูญไม่สามารถเปลี่ยนเผด็จการเป็นประชาธิปไตยได้ ซึ่งดูเหมือนจะเห็นเจตนาที่ดี แต่หากติดตามถ้อยคำผู้ออกมาวิจารณ์จะเห็นว่า บุคคลเหล่านี้ คือเบื้องหลังของผู้สนับสนุนการยึดอำนาจ และจะเห็นว่า คมช.ไม่ได้แสดงความเข้าใจถึงความล้มเหลวของการรัฐประหาร แต่กลับแสดงความเสียใจที่ทำรัฐประหารไม่ได้ถึง 100 % ผมคิดว่าหากเขาทำได้ บ้านเมืองจะเสียหายมากกว่านี้ และดูเหมือนพวกเขาเหล่านี้พร้อมที่จะส่งเสริมการยึดอำนาจ แสดงให้เห็นว่า คมช.ไม่ยอมรับประชาธิปไตยเสียงข้างมาก นั้นแสดงให้เห็นว่า เขาไม่ยอมรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และรัฐบาลหลังรัฐประหารไม่ได้ดีในสายตาพวกเขา ทั้งที่จริงแล้ว การที่จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ก็ควรที่จะเสนอทางออกที่ดี ซึ่งหากรัฐบาลไม่ดี ก็มีกระบวนการตรวจสอบทางประชาธิปไตย มีทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย มีการอภิปรายในสภา หรือสุดท้ายแล้วก็คือ การยุบสภาเพื่อใช้กลไกในการเลือกตั้ง เพื่อให้เสียงข้างน้อยได้มีโอกาสได้นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้กับประเทศ เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับและเลือกเสียงข้างน้อยมาเป็นเสียงข้างมาก แต่ไม่ใช่การวิจารณ์เสียงข้างมาก เพื่อนำไปสู่การยึดอำนาจ เพราะถือว่าเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องมากที่สุด"
เมื่อถามว่าเหตุใดจึงมีความคิดว่า จะมีการก่อรัฐประหารเกิดขึ้นอีก มีอะไรเป็นตัวส่งสัญญาณ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนไม่ได้บอกว่าจะมีการรัฐประหาร แต่เห็นจากผลต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็นตัวรัฐธรรมนูญ การจัดตั้งรัฐมนตรีที่ไม่สามารถทำได้อย่างที่ควรจะเป็น ข้อจำกัดต่างๆ ก็ล้วนแล้วมาจากคมช.ทั้งสิ้น ถ้าหากนำเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้มาตั้งใจอ่านกันดีๆ จะทำให้เห็นว่า มันเหมือนกับการเกิดขึ้นของพันธมิตรของคมช. ที่มีการพูดคล้าย ๆ กันในลักษณะนี้ เช่น ประชาธิปไตยไม่ใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว เลือกตั้งก็นำเผด็จการมาได้ เสียงข้างมากไม่ดีก็จะนำประเทศชาติไม่รอดพ้นไปได้ การพูดอย่างนี้เป็นการปูทางไปสู่กระบวนการอย่างเก่า ใครจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เขาก็จะรุกคืบหน้าไปสู่การรัฐประหารในอนาคต
เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่ นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน 1ในกรรมการบริหารพรรค 111 คน เห็นว่าไม่ควรนิรโทษกรรมให้กับอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนอยากให้บรรยากาศทางการเมืองเดินไปในทางที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาใหญ่ๆที่สำคัญ ของประเทศก่อน ที่จะคิดถึงเรื่องนี้
"เราไม่ต้องการที่จะให้มาเร่งรีบในเรื่องนี้ และเรายืนยันว่าไม่ได้ทำความผิดอะไร แต่ถ้ามองย้อนหลังกลับไปมีขบวนการเผด็จการทำให้เกิดขึ้น โดยไม่สอดคล้องกับหลักยุติธรรม เรายืนยันว่าเราถูกเพิกถอนสิทธิจากกฎหมายเผด็จการ ดังนั้นหากจะนิรโทษกรรมให้ก็ต้องนิรโทษกรรมเนื่องจากเราไม่มีความผิด และเรื่องนี้ไม่ต้องเร่งดำเนินการ เพราะจะทำให้บรรยากาศทางการเมืองไม่สดใส นอกจากนี้หากจะมานิรโทษกรรมโดยอ้างว่าไม่มีบุคลากรนั้น พวกผมยิ่งไม่เห็นด้วย เพราะฟังแล้วมันแปลกๆ ผมไม่อยากจะให้ใช้เหตุผลอย่างนี้"
ต่อข้อถามว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จะเดินทางมาสู้คดีในประเทศเร็วขึ้น นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบกำหนดการที่ชัดเจนว่าจะเดินทางกลับมาเมื่อไร ตอนนี้อาจจะอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า จะกลับมาในช่วงไหนดี เป็นการประเมินสถานการณ์ให้เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัย และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อบรรยากาศทางการเมือง แต่ส่วนตัวเห็นว่าช้า เร็ว คงไม่ต่างกันมาก และเป็นเรื่องที่ดีที่อดีตนายกฯ จะเดินทางมาสู้คดีในทางยุติธรรม ส่วนที่ผบ.ส.ส.และรมว.ยุติธรรม ยังเห็นว่าช่วงนี้ไม่เหมาะสนั้น ตนว่า ถ้าเป็นการเดินทางมาเพื่อสู้คดีไม่น่าจะมีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อบ้านเมือง
นายจาตุรนต์ ยังกล่าวถึงตัวคณะรัฐมนตรีที่ถูกวิจารณ์ว่า จัดคนไม่เหมาะสมกับงานว่า ต้องยอมรับว่าการจัดตั้ง ครม.ชุดนี้ตั้งยากมาก เพราะว่าเราได้ผ่านเหตุการณ์ต่อสู้มาอย่างเข้มข้น มีคนที่สู้ด้วยกันมาและช่วยเหลือด้วยกันมา ซึ่งตรงนี้ต้องยอมรับ เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ซึ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องทำให้คนนอกไม่กล้าเข้ามารับตำแหน่ง โดยเฉพาะกฎหมาย 7 ชั่วโคตร ประกอบกับการวางยุทธศาสตร์ที่ไม่ชัดเจน ว่าควรจะตั้งครม.ให้ดีแค่ไหน อย่างไร ครม.ที่ออกมาจึงไม่ได้อย่างที่คาดหวัง คนที่น่าเห็นใจมากคือ นายกรัฐมนตรีเอง เพราะที่ผ่านมาก็พยายามที่จะปรับให้ดีขึ้นแล้ว ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องยอมรับความจริงว่า นี่เป็นผลที่มาจากการแทรแซง คมช.และ รัฐธรรมนูญ รวมทั้งไม่มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนจากบุคคลที่ตั้ง ครม. และการจำกัดของจำนวนบุคลากร สิ่งที่ตนอยากเห็นจากนี้คือ เมื่อมีการตั้งครม.ขึ้นมาแล้วก็ขอให้พยายามทำงานเต็มความสามารถ และสิ่งที่อยากจะฝากหากทำงานไประยะหนึ่งแล้ว ยังไม่สามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ ก็ควรจะปรับการทำงานหลังจากนี้ ไม่ควรที่จะมาคำนึงว่าใครเป็นตัวแทนใคร ใครเป็นคนฝากมา ถึงเวลาเมื่อต้องมีการปรับถ้าจำเป็นจะต้องปรับมาก็ต้องปรับมาก แต่ถ้าหากสอบผ่านกันก็ปล่อยให้ทำงานกันต่อไป
"หากจำเป็นจะต้องมีการปรับมาก ก็จะต้องปรับ และขอให้พรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน และสมาชิกพรรคช่วยกันสนับสนุนให้นายกฯ ในการที่จะเสริมสร้างผู้นำให้มีความเข้มแข็ง กล้าที่นำนโยบายของพรรคและรัฐบาลให้เดินหน้าต่อไปได้ " นายจาตุรนต์ กล่าว
เมื่อถามว่า ควรให้ระยะเวลารัฐบาลในการทำงานก่อนที่จะปรับครม.กี่เดือน นายจาตุรนต์ กล่าว ไม่ควรกำหนดเวลา แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามสถานการณ์ แต่หากเห็นว่าควรปรับก็ต้องปรับ