ผู้จัดการายวัน - ผู้จัดการกองทุน เชื่อลงทุนตราสารหนี้ช่วงนี้ดีสุด เหตุภาพรวมอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมกองทุนรวมฝืดจากปัญหาซับไพรม์ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน และการแข่งด้านดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ พร้อมเตือนภัยต่างชาติโยกเงินเข้าไทยไม่หยุด หวังกินกำไรส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท แม้จะต้องถูกกันสำรองไว้ 30% แต่จะโอนไปลงทุนในตลาดหุ้นแทน ก่อนจะเทขายหลังรัฐบาลชุดใหม่ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ตามที่ประกาศไว้ ขณะที่ผู้บริหารบลจ.เอ็มเอฟซี ยันยกเลิก 30% ไม่กระทบตลาดหุ้นไทย
แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กล่าวถึง ภาพรวมการลงทุนในตลาดการเงินและตลาดทุน กล่าวว่า ช่วงนี้การลงทุนในตลาดตราสารนี้ถือเป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพรม์) ในสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ทำให้ผู้ลงทุนยังมีความไม่มั่นใจต่อการลงทุฯ
ขณะที่วัตถุประสงค์ในการลงทุนของกองทุนรวม คือ การสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหน่วย รวมทั้งการขยายมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนให้เติบโตเพิ่ม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมตลอดเวลา แต่เมื่อขาดเม็ดเงินเข้าลงทุนเพิ่มเพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจ ยิ่งทำให้สภาพการลงทุน ของกองทุนรวมในปัจจุบันอยู่ระดับที่ชะลอตัว หรือทรงตัวอยู่ในระดับเดิมไม่มีการปรับตัวเพิ่มอย่างที่ควรเป็น
"ตัวอย่างเช่น กองทุนแอลทีเอฟ ซึ่งผู้ลงทุนที่เข้ามาลงทุนส่วนมากจะเป็นนักลงทุนที่พอใจกับการลงทุนในหุ้นระยะยาว เพื่อรับผลตอบแทนที่ดี แต่เมื่อภาวะตลาดมีความผันผวนตลอดเวลา ทำให้ผู้ลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ ซึ่งจะส่งผลให้ยอดเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนในกองทุนประเภทนี้หดตัวลงไป หรือทรงตัวอยู่เพียงระดับเดิมเท่านั้น"
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนต้องยอมรับว่าการเข้าลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) นั้น จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ลดลง ไม่เหมือนกับการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ส่วนจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุน รวมถึงความเสี่ยงในการลงทุนด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่กระทบต่อการลงทุนของกองทุนรวม คือ การออมภายในประเทศ ซึ่งสังเกตได้จากธนาคารพาณิชย์ในช่วงนี้จะออกแคมเปญระดมเงินฝากที่นำเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น ภายใต้เงื่อนไขจะต้องฝากเงินอย่างน้อยตามจำนวนที่ธนาคารกำหนด รวมถึงระยะเวลาในการฝากเงินต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้เช่นกัน โดยอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับอาจน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศเล็กหน่อย จึงถือเป็นอีกธุรกรรมหนึ่งที่เข้ามาแข่งขันกับธุรกิจกองทุนรวมในขณะนี้ แต่สาเหตุที่แท้จริงแล้วภาคธนาคารต้องการที่จะระดมทุนนำเงินไปลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และกำไร
สำหรับสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทยนั้น ยังต้องเผชิญปัญหาเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท ซึ่งจะให้ได้เห็นอยู่ตลอดในช่วง 1 -2 เดือนนี้ เพราะ ณ ขณะนี้อัตราแลกเปลี่ยนในต่างประเทศของค่าเงินบาทไทย (ออฟชอร์) อยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 29 บาท ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนในประเทศอยู่ที่ประมาณ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีส่วนต่างระหว่างกันอยู่ถึง 4 บาท ทำให้ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จะมีทุนจากนอกประเทศไหลเข้าเป็นจำนวนมาก เพื่อมากอบโกยผลประโยชน์ในเรื่องนี้
"ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรสำหรับต่างชาติเพราะเมื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ก็เหมือนกับการพักฐานหรือพักเงินทุนไว้นั่นเอง นี่ถ้าไม่ติดมาตรการกันสำรอง 30% คงจะเห็นการเข้าออกของเงินทุนแบบวันต่อวันมากกว่าเป็นอยู่แน่"
แหล่งข่าวกล่าวว่า จากที่ได้ติดต่อประสานงาน หรือเจรจาธุรกิจกับนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงผู้จัดการกองทุนในภูมิภาคต่างๆ ส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าประเทศไทยเป็นตลาดอีกแห่งที่น่าสนใจเข้าลงทุนเพิ่มเติม แม้ว่าจะติดปัญหาเรื่องมาตรการกันสำรอง 30% เพราะทุกคนมั่นใจว่าคณะรัฐบาลชุดใหม่ของไทย จะทำการยกเลิกมาตรการดังกล่าวแน่นอน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนในรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ไม่ยอมรับ และได้ประกาศไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่าจะทำการยกเลิก
ดังนั้นแม้จะรู้ว่าเมื่อเข้ามาลงทุนและรับรู้กำไรส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนในไทยแล้วเงินบางส่วนจะถูกกันสำรองไว้ในประเทศไทย แต่นักลงทุนต่างชาติเหล่านี้จะปล่อยให้เงินในส่วนนี้อยู่ไป แต่จะปรับเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นไทยที่มีราคาต่ำอยู่แล้วแทน
"ต่างประเทศเขามั่นใจกันมากว่าการกันสำรอง 30% จะถูกยกเลิกไปในรับบาลชุดใหม่นี้ อย่างช้าประมาณช่วงกลางปีนี้แน่ ดังนั้นเขาจะเริ่มนำเงินมาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น และนำออกไปบางส่วนเท่าที่จะนำออกไปได้เพื่อเคลื่อนย้ายไปลงทุนต่อในประเทศอื่น ขณะที่ส่วนที่เหลือจะสะสมไว้ และโยกไปลงทุนในหุ้นแทนเพราะช่วงนี้หุ้นมีราคาถูก แต่ในอีกประมาณ 2 - 3 เดือนข้างหน้าหลังจากยกเลิก 30% ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวขึ้น แล้ว จะมีแรงเทขายหุ้นทำกำไรเข้ามาเพื่อโยกเงินไปลงทุนในตลาดอื่นๆ ต่อไป"
นอกจากนี้ แหล่งข่าวเชื่อมั่นว่า เมื่อมาตรการกันสำรอง 30% ถูกปลดล็อกเมื่อใด ราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทันที และจะเกิดการขายทำกำไรออกมาเช่นกัน โดยหากมองในแง่ดีอาจจะเป็นการทยอยขายออก
***ยันยกเลิก30%ไม่กระทบตลาดหุ้น
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถ้าหลังจากการยกเลิกมาตรการ 30% แล้ว ภาครัฐไม่มีมาตรการอื่นที่จะออกมารองรับแทน จะทำให้ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วได้ในทันที และส่งผลทำให้เหลือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนแค่ตลาดเดียว จากปัจจุบันที่มีตลาดอัตราแลกเปลี่ยน 2 ตลาด ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับใด เนื่องมาจากคงต้องขึ้นอยู่กับกระแสเงินที่ไหลเข้าและออกในประเทศไทย
ด้านการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น เชื่อว่าการยกเลิกมาตรการ 30% ไม่น่าจะส่งผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องมาจากในขณะนี้มาตราการดังกล่าวไม่ได้ควบคุมไปถึงการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว
นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่จะออกมารองรับหลังจากยกเลิกมาตรการ 30% นั้น สามารถทำได้หลายมาตรการ ซึ่งมาตรการเก็บภาษีขาออกที่เคยมีการเสนอก่อนหน้านี้ ยังถือเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่จะออกมารองรับหลังยกเลิกมาตรการ 30%
"ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงจะมีมาตรการรองรับอยู่ในใจอยู่แล้ว แต่ก็มีทางเลือกเยอะซึ่งควรจะใช้ทางใดต้องขึ้นอยู่กับการเก็งกำไรค่าเงินที่เกิดขึ้น แต่คนที่รู้ดีที่สุดคือแบงก์ชาติ" นายพิชิต กล่าว
แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กล่าวถึง ภาพรวมการลงทุนในตลาดการเงินและตลาดทุน กล่าวว่า ช่วงนี้การลงทุนในตลาดตราสารนี้ถือเป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุด เมื่อพิจารณาจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังต้องเผชิญกับผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพรม์) ในสหรัฐอเมริกา ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว ทำให้ผู้ลงทุนยังมีความไม่มั่นใจต่อการลงทุฯ
ขณะที่วัตถุประสงค์ในการลงทุนของกองทุนรวม คือ การสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหน่วย รวมทั้งการขยายมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนให้เติบโตเพิ่ม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับเม็ดเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมตลอดเวลา แต่เมื่อขาดเม็ดเงินเข้าลงทุนเพิ่มเพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจ ยิ่งทำให้สภาพการลงทุน ของกองทุนรวมในปัจจุบันอยู่ระดับที่ชะลอตัว หรือทรงตัวอยู่ในระดับเดิมไม่มีการปรับตัวเพิ่มอย่างที่ควรเป็น
"ตัวอย่างเช่น กองทุนแอลทีเอฟ ซึ่งผู้ลงทุนที่เข้ามาลงทุนส่วนมากจะเป็นนักลงทุนที่พอใจกับการลงทุนในหุ้นระยะยาว เพื่อรับผลตอบแทนที่ดี แต่เมื่อภาวะตลาดมีความผันผวนตลอดเวลา ทำให้ผู้ลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ ซึ่งจะส่งผลให้ยอดเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนในกองทุนประเภทนี้หดตัวลงไป หรือทรงตัวอยู่เพียงระดับเดิมเท่านั้น"
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนต้องยอมรับว่าการเข้าลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนรวมที่ลงทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) นั้น จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ลดลง ไม่เหมือนกับการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา ส่วนจะมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของกองทุน รวมถึงความเสี่ยงในการลงทุนด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่กระทบต่อการลงทุนของกองทุนรวม คือ การออมภายในประเทศ ซึ่งสังเกตได้จากธนาคารพาณิชย์ในช่วงนี้จะออกแคมเปญระดมเงินฝากที่นำเสนออัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น ภายใต้เงื่อนไขจะต้องฝากเงินอย่างน้อยตามจำนวนที่ธนาคารกำหนด รวมถึงระยะเวลาในการฝากเงินต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้เช่นกัน โดยอัตราดอกเบี้ยที่จะได้รับอาจน้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ในประเทศเล็กหน่อย จึงถือเป็นอีกธุรกรรมหนึ่งที่เข้ามาแข่งขันกับธุรกิจกองทุนรวมในขณะนี้ แต่สาเหตุที่แท้จริงแล้วภาคธนาคารต้องการที่จะระดมทุนนำเงินไปลงทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และกำไร
สำหรับสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทยนั้น ยังต้องเผชิญปัญหาเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาท ซึ่งจะให้ได้เห็นอยู่ตลอดในช่วง 1 -2 เดือนนี้ เพราะ ณ ขณะนี้อัตราแลกเปลี่ยนในต่างประเทศของค่าเงินบาทไทย (ออฟชอร์) อยู่ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 29 บาท ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนในประเทศอยู่ที่ประมาณ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีส่วนต่างระหว่างกันอยู่ถึง 4 บาท ทำให้ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จะมีทุนจากนอกประเทศไหลเข้าเป็นจำนวนมาก เพื่อมากอบโกยผลประโยชน์ในเรื่องนี้
"ไม่น่าจะมีปัญหาอะไรสำหรับต่างชาติเพราะเมื่อเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ก็เหมือนกับการพักฐานหรือพักเงินทุนไว้นั่นเอง นี่ถ้าไม่ติดมาตรการกันสำรอง 30% คงจะเห็นการเข้าออกของเงินทุนแบบวันต่อวันมากกว่าเป็นอยู่แน่"
แหล่งข่าวกล่าวว่า จากที่ได้ติดต่อประสานงาน หรือเจรจาธุรกิจกับนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงผู้จัดการกองทุนในภูมิภาคต่างๆ ส่วนใหญ่ให้ความเห็นตรงกันว่าประเทศไทยเป็นตลาดอีกแห่งที่น่าสนใจเข้าลงทุนเพิ่มเติม แม้ว่าจะติดปัญหาเรื่องมาตรการกันสำรอง 30% เพราะทุกคนมั่นใจว่าคณะรัฐบาลชุดใหม่ของไทย จะทำการยกเลิกมาตรการดังกล่าวแน่นอน เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนในรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ไม่ยอมรับ และได้ประกาศไว้ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่าจะทำการยกเลิก
ดังนั้นแม้จะรู้ว่าเมื่อเข้ามาลงทุนและรับรู้กำไรส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนในไทยแล้วเงินบางส่วนจะถูกกันสำรองไว้ในประเทศไทย แต่นักลงทุนต่างชาติเหล่านี้จะปล่อยให้เงินในส่วนนี้อยู่ไป แต่จะปรับเปลี่ยนไปลงทุนในหุ้นไทยที่มีราคาต่ำอยู่แล้วแทน
"ต่างประเทศเขามั่นใจกันมากว่าการกันสำรอง 30% จะถูกยกเลิกไปในรับบาลชุดใหม่นี้ อย่างช้าประมาณช่วงกลางปีนี้แน่ ดังนั้นเขาจะเริ่มนำเงินมาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น และนำออกไปบางส่วนเท่าที่จะนำออกไปได้เพื่อเคลื่อนย้ายไปลงทุนต่อในประเทศอื่น ขณะที่ส่วนที่เหลือจะสะสมไว้ และโยกไปลงทุนในหุ้นแทนเพราะช่วงนี้หุ้นมีราคาถูก แต่ในอีกประมาณ 2 - 3 เดือนข้างหน้าหลังจากยกเลิก 30% ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวขึ้น แล้ว จะมีแรงเทขายหุ้นทำกำไรเข้ามาเพื่อโยกเงินไปลงทุนในตลาดอื่นๆ ต่อไป"
นอกจากนี้ แหล่งข่าวเชื่อมั่นว่า เมื่อมาตรการกันสำรอง 30% ถูกปลดล็อกเมื่อใด ราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นทันที และจะเกิดการขายทำกำไรออกมาเช่นกัน โดยหากมองในแง่ดีอาจจะเป็นการทยอยขายออก
***ยันยกเลิก30%ไม่กระทบตลาดหุ้น
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถ้าหลังจากการยกเลิกมาตรการ 30% แล้ว ภาครัฐไม่มีมาตรการอื่นที่จะออกมารองรับแทน จะทำให้ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วได้ในทันที และส่งผลทำให้เหลือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนแค่ตลาดเดียว จากปัจจุบันที่มีตลาดอัตราแลกเปลี่ยน 2 ตลาด ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ระดับใด เนื่องมาจากคงต้องขึ้นอยู่กับกระแสเงินที่ไหลเข้าและออกในประเทศไทย
ด้านการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น เชื่อว่าการยกเลิกมาตรการ 30% ไม่น่าจะส่งผลกระทบแต่อย่างใด เนื่องมาจากในขณะนี้มาตราการดังกล่าวไม่ได้ควบคุมไปถึงการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว
นายพิชิต กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่จะออกมารองรับหลังจากยกเลิกมาตรการ 30% นั้น สามารถทำได้หลายมาตรการ ซึ่งมาตรการเก็บภาษีขาออกที่เคยมีการเสนอก่อนหน้านี้ ยังถือเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่จะออกมารองรับหลังยกเลิกมาตรการ 30%
"ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงจะมีมาตรการรองรับอยู่ในใจอยู่แล้ว แต่ก็มีทางเลือกเยอะซึ่งควรจะใช้ทางใดต้องขึ้นอยู่กับการเก็งกำไรค่าเงินที่เกิดขึ้น แต่คนที่รู้ดีที่สุดคือแบงก์ชาติ" นายพิชิต กล่าว