คมนาคมเร่งปรับแนวรถไฟฟ้า ตามแนวคิด”สมัคร” 9 สาย ระยะทาง 311 กม. รฟม.ปรับแนวสีน้ำเงิน ตัด ช่วงหัวลำโพง-บางแค ต่อสีม่วงไปถึงไทรน้อย “สันติ”สั่งจัดลำดับความสำคัญดูภาพรวมก่อนตัดสินใจ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าได้สอบถามแผนงานโครงการรถไฟฟ้าในส่วนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมแนวทางในการปรับแผนว่าให้เน้นแนวทางรถไฟฟ้า 9 สาย ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นหลัก รวมทั้งให้รฟม.จัดลำดับโครงการว่า เส้นทางใดมีความพร้อมที่จะก่อสร้างได้ก่อนและเส้นทางที่มีความพร้อมรองลงมา รวมถึงการเวนคืน และการลงทุน ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นของรฟม.พบว่าแผนรถไฟฟ้าทั้งทีเป็น 10 สาย 7 สายและ 9 สายล่าสุดไม่ค่อยต่างกันมากนัก
โดยสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) นายกรัฐมนตรีต้องการให้ขยายจากปลายทางที่บางใหญ่ออกไปถึงไทรน้อย ซึ่งไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการเปิดประกวดราคาก่อสร้างหรือทำให้โครงการล่าช้า โดยส่วนที่มีความพร้อมรฟม.สามารถเปิดประมูลก่อนได้ส่วนต่อขยายเพิ่มเข้าไปภายหลังได้ ดังนั้นในเดือนมี.ค.นี้เชื่อว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงจะสามารถเปิดประมูลได้ และได้ผู้รับเหมาในเดือนเม.ย.และจะเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 2552 และในวันที่ 13 ก.พ.นี้จะประชุมร่วมกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รฟม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูภาพรวมของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการฯรฟม. กล่าวว่า รฟม.ได้จัดทำแผนเบื้องต้น รถไฟฟ้า 9 สายระยะทาง 311 กม.จากที่นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งเมื่อเทียบกับแผนเดิมมีบางเส้นทางที่ต่อขยายเพิ่มเติมจากแนวเดิมบ้าง ซึ่งได้นำเสนอต่อรมว.คมนาคมแล้ว ประกอบด้วย 1. สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ไทรน้อย-ดาวคะนอง ระยะทาง 35 กม. 2. สายสีเขียว ช่วง สำโรง-เมืองโบราณ ระยะทาง 17 กม. 3. สายสีเขียว ช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา-ฟิวเจอร์รังสิต ระยะทาง 36.6 กม. 4. สายสีแดง ช่วง ตากสิน-มหาชัย ระยะทาง 20 กม. 5. สายสีฟ้า ช่วงบางซื่อ-+คลองเตย Loop 1ระยะทาง 29 กม.6. สายสีฟ้า ช่วงมีนบุรี-ศาลายา ระยะทาง 51 กม. 7. สายสีเขียว ช่วง ตากสิน-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 21.7 กม. 8. สายสีส้ม ช่วง วัดใหญ่-ป้อมพระจุล ระยะทาง 6 กม. 9.บางกะปิ Loop2ระยะทาง 95 กม.
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดิม ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค แต่ตามแนวคิดรถไฟฟ้า 9 สาย แนวเส้นทางจะเป็น บางซื่อ-ท่าพระ-พระราม-คลองเตย ส่วนหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแคจะหายไป เพราะต้องการให้เกิดเป็น Loop หรือวงกลมแทน ซึ่งแนวคิดเดิมต้องการให้ช่วง หัวลำโพง-บางแค นั้น เพื่อลดความแออัดภายในเมืองตามแนวเส้นทาง ซึ่งรฟม.ก็ต้องนำเสนอข้อมูลว่า การตัดช่วงดังกล่าวออกจะกระทบกับประสิทธิภาพหรือไม่ หากพบว่าแนวเดิมยังมีความจำเป็นก็ต้องบอกถึงข้อเท็จจริงส่วนการตัดสินใจอยู่ที่นโยบาย
“จะต้องนำแผนของรฟม. ประสานกับแผนแม่บทของสนข.และเพื่อให้เป็นแผนที่สอดคล้องกับนโยบายของนายกฯด้วยโดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันโครงการที่มีความพร้อมได้เริ่มดำเนินงาน“
สั่ง ร.ฟ.ท.ชี้แจงอตก.เช่าที่ดินแพง
นายสันติ กล่าวว่า สืบเนื่องจากนายกฯได้ไปจ่ายตลาดที่ อตก. และได้รับการร้องเรียนจากผู้ค้าว่าถูกเรียกเก็บค่าเช่า ค่าแรกเข้าค่าทำเลในการค้าขายสูง ดังนั้นในฐานะที่กระทรวงคมนาคมกำกับดูแล การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งป็นเจ้าของที่ดินและให้ อตก.เช่าต่อนั้น จึงได้เรียก นายนคร จันทรศร รักษาการฯ ผู้ว่าร.ฟ.ท. มาสอบถามข้อมูลการให้เช่าที่ดินดังกล่าว แต่ยังขาดรายละเอียดดังนั้นจึงให้ร.ฟ.ท.รวบรวมข้อมูลและชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 11 ก.พ.นี้ ซึ่งเบื้องต้น ร.ฟ.ท.รายงานว่า ได้ให้ อตก.เช่าที่ดินบริเวณดังกล่าว พื้นที่ 40 ไร่ ค่าเช่า 34 ล้านบาทต่อปี ส่วนการที่อตก.เอาที่ดินไปจัดแบ่งให้ผู้ค้าเช่าต่อนั้น ร.ฟ.ท.ต้องประสานกับอตก.เพื่อขอข้อมูล และดูว่าเกิดปัญหาอย่างไรตรงไหน
นายสันติ ยอมรับว่า ที่ดิน ร.ฟ.ท.ที่มีทั่วประเทศมีปัญหาในเรื่องข้อมูล ทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าเช่าไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลการเช่าที่ดินทั้งหมดมาดูว่า มีปัญหาติดขัดที่ระบบหรือเจ้าหน้าที่ร.ฟ.ท.ที่ดูแล ปล่อยปะละเลยทำให้ การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เช่น บางแห่งทำสัญญาแล้วจ่ายผลตอบแทนให้ครั้งเดียวจากนั้นก็ไม่ยอมจ่าย ร.ฟ.ท.อยากได้ก็ต้องไปฟ้องร้องกันเป็นต้น
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าได้สอบถามแผนงานโครงการรถไฟฟ้าในส่วนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมแนวทางในการปรับแผนว่าให้เน้นแนวทางรถไฟฟ้า 9 สาย ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นหลัก รวมทั้งให้รฟม.จัดลำดับโครงการว่า เส้นทางใดมีความพร้อมที่จะก่อสร้างได้ก่อนและเส้นทางที่มีความพร้อมรองลงมา รวมถึงการเวนคืน และการลงทุน ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นของรฟม.พบว่าแผนรถไฟฟ้าทั้งทีเป็น 10 สาย 7 สายและ 9 สายล่าสุดไม่ค่อยต่างกันมากนัก
โดยสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) นายกรัฐมนตรีต้องการให้ขยายจากปลายทางที่บางใหญ่ออกไปถึงไทรน้อย ซึ่งไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการเปิดประกวดราคาก่อสร้างหรือทำให้โครงการล่าช้า โดยส่วนที่มีความพร้อมรฟม.สามารถเปิดประมูลก่อนได้ส่วนต่อขยายเพิ่มเข้าไปภายหลังได้ ดังนั้นในเดือนมี.ค.นี้เชื่อว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงจะสามารถเปิดประมูลได้ และได้ผู้รับเหมาในเดือนเม.ย.และจะเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 2552 และในวันที่ 13 ก.พ.นี้จะประชุมร่วมกับสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รฟม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูภาพรวมของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการฯรฟม. กล่าวว่า รฟม.ได้จัดทำแผนเบื้องต้น รถไฟฟ้า 9 สายระยะทาง 311 กม.จากที่นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งเมื่อเทียบกับแผนเดิมมีบางเส้นทางที่ต่อขยายเพิ่มเติมจากแนวเดิมบ้าง ซึ่งได้นำเสนอต่อรมว.คมนาคมแล้ว ประกอบด้วย 1. สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-ไทรน้อย-ดาวคะนอง ระยะทาง 35 กม. 2. สายสีเขียว ช่วง สำโรง-เมืองโบราณ ระยะทาง 17 กม. 3. สายสีเขียว ช่วง หมอชิต-สะพานใหม่-ลำลูกกา-ฟิวเจอร์รังสิต ระยะทาง 36.6 กม. 4. สายสีแดง ช่วง ตากสิน-มหาชัย ระยะทาง 20 กม. 5. สายสีฟ้า ช่วงบางซื่อ-+คลองเตย Loop 1ระยะทาง 29 กม.6. สายสีฟ้า ช่วงมีนบุรี-ศาลายา ระยะทาง 51 กม. 7. สายสีเขียว ช่วง ตากสิน-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 21.7 กม. 8. สายสีส้ม ช่วง วัดใหญ่-ป้อมพระจุล ระยะทาง 6 กม. 9.บางกะปิ Loop2ระยะทาง 95 กม.
แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดิม ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค แต่ตามแนวคิดรถไฟฟ้า 9 สาย แนวเส้นทางจะเป็น บางซื่อ-ท่าพระ-พระราม-คลองเตย ส่วนหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแคจะหายไป เพราะต้องการให้เกิดเป็น Loop หรือวงกลมแทน ซึ่งแนวคิดเดิมต้องการให้ช่วง หัวลำโพง-บางแค นั้น เพื่อลดความแออัดภายในเมืองตามแนวเส้นทาง ซึ่งรฟม.ก็ต้องนำเสนอข้อมูลว่า การตัดช่วงดังกล่าวออกจะกระทบกับประสิทธิภาพหรือไม่ หากพบว่าแนวเดิมยังมีความจำเป็นก็ต้องบอกถึงข้อเท็จจริงส่วนการตัดสินใจอยู่ที่นโยบาย
“จะต้องนำแผนของรฟม. ประสานกับแผนแม่บทของสนข.และเพื่อให้เป็นแผนที่สอดคล้องกับนโยบายของนายกฯด้วยโดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันโครงการที่มีความพร้อมได้เริ่มดำเนินงาน“
สั่ง ร.ฟ.ท.ชี้แจงอตก.เช่าที่ดินแพง
นายสันติ กล่าวว่า สืบเนื่องจากนายกฯได้ไปจ่ายตลาดที่ อตก. และได้รับการร้องเรียนจากผู้ค้าว่าถูกเรียกเก็บค่าเช่า ค่าแรกเข้าค่าทำเลในการค้าขายสูง ดังนั้นในฐานะที่กระทรวงคมนาคมกำกับดูแล การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งป็นเจ้าของที่ดินและให้ อตก.เช่าต่อนั้น จึงได้เรียก นายนคร จันทรศร รักษาการฯ ผู้ว่าร.ฟ.ท. มาสอบถามข้อมูลการให้เช่าที่ดินดังกล่าว แต่ยังขาดรายละเอียดดังนั้นจึงให้ร.ฟ.ท.รวบรวมข้อมูลและชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 11 ก.พ.นี้ ซึ่งเบื้องต้น ร.ฟ.ท.รายงานว่า ได้ให้ อตก.เช่าที่ดินบริเวณดังกล่าว พื้นที่ 40 ไร่ ค่าเช่า 34 ล้านบาทต่อปี ส่วนการที่อตก.เอาที่ดินไปจัดแบ่งให้ผู้ค้าเช่าต่อนั้น ร.ฟ.ท.ต้องประสานกับอตก.เพื่อขอข้อมูล และดูว่าเกิดปัญหาอย่างไรตรงไหน
นายสันติ ยอมรับว่า ที่ดิน ร.ฟ.ท.ที่มีทั่วประเทศมีปัญหาในเรื่องข้อมูล ทำให้ร.ฟ.ท.มีรายได้จากค่าเช่าไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูลการเช่าที่ดินทั้งหมดมาดูว่า มีปัญหาติดขัดที่ระบบหรือเจ้าหน้าที่ร.ฟ.ท.ที่ดูแล ปล่อยปะละเลยทำให้ การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เช่น บางแห่งทำสัญญาแล้วจ่ายผลตอบแทนให้ครั้งเดียวจากนั้นก็ไม่ยอมจ่าย ร.ฟ.ท.อยากได้ก็ต้องไปฟ้องร้องกันเป็นต้น