ผู้จัดการรายวัน - LH BANK โชว์แผนปี 51 ระบุเน้นระดมเงินฝากและปล่อยสินเชื่อเคหะนอกโครงการ-สินเชื่อเอสเอ็มอีเพิ่มหวังเปิดกว้างในการทำธุรกิจมากขึ้น ตั้งเป้าปล่อยกู้รวม 40,486 ล้านบาท หรือโต 58.1% พร้อมลดสัดส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก 90% เหลือ 85% ประเมินตลาดบ้านปีนี้เริ่มฟื้นกลางไตรมาส 2 หลังแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง
นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของธนาคารในปี 2551 ว่า ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อรวมในปีนี้เท่ากับ 40,486 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 14,885 ล้านบาท หรือคิดเป็น 58.1% โดยเป็นส่วนของสินเชื่อเคหะประมาณ 80%ของสินเชื่อรวม ซึ่งในปีนี้ธนาคารคาดว่าสินเชื่อเคหะจะมีอัตราการขยายตัวเป็น 33,247 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 20,046 ล้านบาท รวมทั้งตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(SME)เพิ่มเป็น 2,515 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6%ของสินเชื่อรวม และสินเชื่ออื่นๆเพิ่มเป็น 4,724 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12%ของสินเชื่อรวม
"ในปีนี้ธนาคารจะมุ่งเน้นผลักดันปล่อยสินเชื่อนอกโครงการทั้งการขายตรงและผ่านสาขาให้มากขึ้น โดยในปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อเคหะในโครงการ ณ สิ้นปี 2550 คิดเป็น 90%ของสินเชื่อเคหะรวม และคาดว่าจะลดลงเหลือ 85%ในปีนี้"นางศศิธรกล่าว
ด้านของเงินฝาก ธนาคารมีนโยบายที่จะระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น โดยผ่านทางสาขาของธนาคารที่มีอยู่ในขณะนี้ 16 แห่ง(รวมสำนักลุมพินี) และในปีนี้ธนาคารจะเพิ่มจำนวนสาขาอีก 10 แห่งทั้งในส่วนของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัด จนครบ 50 สาขา โดยธนาคารจะดำรงสัดสวนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากและเงินกู้ยืมที่ 95-100% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 112% ซึ่งสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารในระดับ 112%นั้น ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับธนาคารเกิดใหม่ทั่วไป ซึ่งธนาคารพยายามระดมเงินฝากเพิ่มเพื่อลดสัดส่วนดังกล่าว และเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการระดมเงินทุนด้วย โดย NIM ของธนาคาร ณ สิ้นปี 2549 อยู่ในระดับ 2.33% และในปีนี้หากสามารถระดมเงินฝากได้ตามเป้าหมายก็จะอยู่ที่ระดับ 2.59% ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
"การขยายสาขาของธนาคารนั้น จะทำให้ธนาคารมีช่องทางในการปล่อยกู้และระดมเงินฝากได้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านของสินเชื่อที่ธนาคารจะเน้นการทำการตลาดกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆมากขึ้น รวมถึงบ้านมือสองด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ธนาคารได้รับการยอมรับในเชิงที่กว้างมากขึ้น จากเดิมที่อาจจะถูกมองว่าเป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์เท่านั้น โดยในขั้นต้นเดือนมีนาคมนี้ธนาคารจะเปิดสาขาเพิ่มที่เดอะมอลล์ ท่าพระ และในเดือนเมษายนจะเปิดเพิ่มที่จังหวัดภูเก็ต"นางศศิธรกล่าว
ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อนให้เกิดรายได้(NPL)ของธนาคารนั้น ธนาคารมีความเข้มงวดและติดตามไม่ให้อัตราส่วน NPL(gross)สูงเกิน 2% (จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 1.64%) ซึ่งจะทำให้ธนาคารมี BIS ratio อยู่ที่ 11% ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของสินเชื่อของธนาคาร อย่างไรก็ดี หากมีการนำเอามาตรฐาน Basel II มาปรับใช้ ธนาคารจะได้ประโยชน์จากลักษณะของพอร์ตสินเชื่อ และทำให้ BIS ratio อยู่ที่ 14% แต่ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความไม่ชัดเจนและสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีนโยบายในในการกันเงินสำรองในเกณฑ์ที่สูง โดยพิจารณาจากสัดส่วนสำรองหนี้สูญต่อสำรองพึงกันตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อยู่ที่ 133% ในขณะที่สำรองหนี้สูญต่อ NPL ไม่ต่ำกว่า 50%
และผลการดำเนินงานของธนาคารในปี 2550 ที่ผ่านมาว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งธนาคารมีผลขาดทุน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 262 ล้านบาทในปีนี้ หรือเติบโตคิดเป็น 159%
ด้านนายไพโรจน์ ไพศาลศรีสมสุข รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสนับสนุนธุรกิจ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้นั้น คาดว่าในไตรมาสแรกของปีนี้จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากปัจจัยต่างๆไม่เอื้ออำนวย แต่เชื่อว่าในกลางไตรมาส 2 จะเริ่มขยับฟื้นตัวขึ้น โดยรับปัจจัยบวกจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาลง และราคาน้ำมันที่ทรงตัวหรือปรับลดลงบ้างหลังจากที่เพิ่มขึ้นสูงในปีก่อน ขณะที่ราคาบ้านอาจจะปรับตัวสูงขึ้นบ้างจากวัสดุก่อสร้างบางอย่างที่ปรับราคาขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น
ขณะที่การปล่อยสินเชื่อที่อาศัยของสถาบันการเงินในปีนี้ น่าจะมีการแข่งขันที่สูงต่อไป ดังจะเห็นได้จากแคมเปญต่างๆของธนาคารพาณิชย์ที่เริ่มทยอยออกมา ซึ่งสินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินมากขึ้น เพราะถือเป็นสินเชื่อที่ได้รับประโยชน์กว่าประเภทอื่นๆหากมีการใช้มาตรฐาน Basel II
นางศศิธร พงศธร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานของธนาคารในปี 2551 ว่า ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อรวมในปีนี้เท่ากับ 40,486 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 14,885 ล้านบาท หรือคิดเป็น 58.1% โดยเป็นส่วนของสินเชื่อเคหะประมาณ 80%ของสินเชื่อรวม ซึ่งในปีนี้ธนาคารคาดว่าสินเชื่อเคหะจะมีอัตราการขยายตัวเป็น 33,247 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 20,046 ล้านบาท รวมทั้งตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(SME)เพิ่มเป็น 2,515 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6%ของสินเชื่อรวม และสินเชื่ออื่นๆเพิ่มเป็น 4,724 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12%ของสินเชื่อรวม
"ในปีนี้ธนาคารจะมุ่งเน้นผลักดันปล่อยสินเชื่อนอกโครงการทั้งการขายตรงและผ่านสาขาให้มากขึ้น โดยในปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อเคหะในโครงการ ณ สิ้นปี 2550 คิดเป็น 90%ของสินเชื่อเคหะรวม และคาดว่าจะลดลงเหลือ 85%ในปีนี้"นางศศิธรกล่าว
ด้านของเงินฝาก ธนาคารมีนโยบายที่จะระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น โดยผ่านทางสาขาของธนาคารที่มีอยู่ในขณะนี้ 16 แห่ง(รวมสำนักลุมพินี) และในปีนี้ธนาคารจะเพิ่มจำนวนสาขาอีก 10 แห่งทั้งในส่วนของกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัด จนครบ 50 สาขา โดยธนาคารจะดำรงสัดสวนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากและเงินกู้ยืมที่ 95-100% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 112% ซึ่งสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารในระดับ 112%นั้น ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับธนาคารเกิดใหม่ทั่วไป ซึ่งธนาคารพยายามระดมเงินฝากเพิ่มเพื่อลดสัดส่วนดังกล่าว และเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการระดมเงินทุนด้วย โดย NIM ของธนาคาร ณ สิ้นปี 2549 อยู่ในระดับ 2.33% และในปีนี้หากสามารถระดมเงินฝากได้ตามเป้าหมายก็จะอยู่ที่ระดับ 2.59% ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
"การขยายสาขาของธนาคารนั้น จะทำให้ธนาคารมีช่องทางในการปล่อยกู้และระดมเงินฝากได้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านของสินเชื่อที่ธนาคารจะเน้นการทำการตลาดกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆมากขึ้น รวมถึงบ้านมือสองด้วย ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้ธนาคารได้รับการยอมรับในเชิงที่กว้างมากขึ้น จากเดิมที่อาจจะถูกมองว่าเป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มแลนด์แอนด์เฮ้าส์เท่านั้น โดยในขั้นต้นเดือนมีนาคมนี้ธนาคารจะเปิดสาขาเพิ่มที่เดอะมอลล์ ท่าพระ และในเดือนเมษายนจะเปิดเพิ่มที่จังหวัดภูเก็ต"นางศศิธรกล่าว
ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อนให้เกิดรายได้(NPL)ของธนาคารนั้น ธนาคารมีความเข้มงวดและติดตามไม่ให้อัตราส่วน NPL(gross)สูงเกิน 2% (จากปีก่อนที่อยู่ในระดับ 1.64%) ซึ่งจะทำให้ธนาคารมี BIS ratio อยู่ที่ 11% ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของสินเชื่อของธนาคาร อย่างไรก็ดี หากมีการนำเอามาตรฐาน Basel II มาปรับใช้ ธนาคารจะได้ประโยชน์จากลักษณะของพอร์ตสินเชื่อ และทำให้ BIS ratio อยู่ที่ 14% แต่ธนาคารได้เล็งเห็นถึงความไม่ชัดเจนและสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีนโยบายในในการกันเงินสำรองในเกณฑ์ที่สูง โดยพิจารณาจากสัดส่วนสำรองหนี้สูญต่อสำรองพึงกันตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)อยู่ที่ 133% ในขณะที่สำรองหนี้สูญต่อ NPL ไม่ต่ำกว่า 50%
และผลการดำเนินงานของธนาคารในปี 2550 ที่ผ่านมาว่า ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ซึ่งธนาคารมีผลขาดทุน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 262 ล้านบาทในปีนี้ หรือเติบโตคิดเป็น 159%
ด้านนายไพโรจน์ ไพศาลศรีสมสุข รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสนับสนุนธุรกิจ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในปีนี้นั้น คาดว่าในไตรมาสแรกของปีนี้จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เนื่องจากปัจจัยต่างๆไม่เอื้ออำนวย แต่เชื่อว่าในกลางไตรมาส 2 จะเริ่มขยับฟื้นตัวขึ้น โดยรับปัจจัยบวกจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่เป็นขาลง และราคาน้ำมันที่ทรงตัวหรือปรับลดลงบ้างหลังจากที่เพิ่มขึ้นสูงในปีก่อน ขณะที่ราคาบ้านอาจจะปรับตัวสูงขึ้นบ้างจากวัสดุก่อสร้างบางอย่างที่ปรับราคาขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น
ขณะที่การปล่อยสินเชื่อที่อาศัยของสถาบันการเงินในปีนี้ น่าจะมีการแข่งขันที่สูงต่อไป ดังจะเห็นได้จากแคมเปญต่างๆของธนาคารพาณิชย์ที่เริ่มทยอยออกมา ซึ่งสินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินมากขึ้น เพราะถือเป็นสินเชื่อที่ได้รับประโยชน์กว่าประเภทอื่นๆหากมีการใช้มาตรฐาน Basel II