ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า วานนี้ (7 ก.พ.) นายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปก.) พร้อมกับกลุ่มองค์กรประชาธิปไตย10 คน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องไม่ให้กกต.ยุบพรรคการเมือง ที่กรรมการบริหารพรรคได้รับใบแดงจากการทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน จะเริ่มประชุมครั้งแรก เพื่อวางกรอบการดำเนินการสืบสวนสอบสวน ในบ่ายวันเดียวกัน โดยอ้างว่าประเทศไทยเดินหน้ามามากแล้ว และการยุบพรรคการเมืองถือว่าเป็นเรื่องล้าหลัง ซึ่งไม่มีประเทศไหนทำกัน
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า กกต.ไม่มีอำนาจ ยุบพรรคการเมือง แต่ กกต.ต้องเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัญหาในกรณีนี้มีอยู่ว่า กกต.ไม่เคยเจอเรื่องนี้มาก่อน จึงไม่แน่ใจว่า กกต.ต้องสืบสวน สอบสวนและพิจารณาว่ากรรมการบริหารพรรคเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก่อนหรือไม่ หรือ กกต.สามารถเสนอความเห็น ให้ยุบพรรคอย่างอัตโนมัติได้เลย ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาด้านข้อกฎหมาย ซึ่ง กกต. ต้องสอบข้อเท็จจริงก่อนว่า หากกรรมการบริหารพรรคคนหนึ่งทำผิด กรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ได้รู้เห็นกับการทำผิดด้วยหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องพิจารณากฎหมาย ว่ากฎหมายหมายความไว้แค่ไหน
“หาก กกต.จะยุบพรรคการเมืองใด ต้องมีเหตุผลที่ดีและสามารถนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญได้ กกต.มีหน้าที่เพียงเสนอความเห็นเท่านั้น ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจ มีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็ได้”
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ขั้นตอนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเสนอเรื่องยุบพรรคยังมีอีกหลายขั้นตอน กกต.จะดำเนินการตามกรอบกฎหมาย ที่กำหนดว่า กกต.ต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และเมื่อส่งไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำสั่งให้ยุบพรรคเสมอไป ตอนนี้คงจะเร็วไปที่จะสรุปว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง นอกจากนี้ กกต.ก็ไม่ได้ตั้งใจจะยุบพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่หาก กกต. ไม่ทำตามที่กฎหมายระบุไว้ กกต.จะถูกดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
ส่วนที่นายจรัล ระบุว่า การยุบพรรคเป็นเรื่องล่าหลังนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เมื่อกฎหมายระบุไว้อย่างนี้ กกต.ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้ก็คงไม่สามารถมากดดันกกต.ได้ เพราะคณะกรรมการทราบว่า อำนาจสูงสุดที่จะพิจารณาเรื่องนี้คือศาลรัฐธรรมนูญ ตอนนี้ยังไม่อยากให้มองว่าจะมีการยุบพรรคเกิดขึ้นจริง เพราะทุกคนคงเห็นตรงกันว่าประเทศไทยใกล้จะมีประชาธิปไตยเต็มใบแล้ว แต่สิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยยังขาดอยู่ คือความรักความสามัคคีในชาติ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาล และนิติบัญญัติ หากเน้นในเรื่อง ความปรองดอง สามัคคีกันและไม่เอาคืน เพราะทุกคนต่างก็มีบทบาท ก็จะทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตไปได้
ด้านนายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคชาติไทยถูก กกต.สั่งเพิกถอน สิทธิเลือกตั้ง เปิดเผยภายหลังการประชุมว่าเป็นการประชุมครั้งแรกเพื่อวางกรอบ ในการทำงาน ตามที่กกต.ได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาสอบสวน ถึงความเชื่อมโยงการกระทำว่า ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิกับกรรมการบริหารพรรค มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร มีความเชื่อมโยงไปถึงกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ อีกหรือไม่ และ พรรคมีส่วนรู้เห็นหรือไม่
นายบุญทัน กล่าวว่า ประเด็นหลัก เช่น ทางพรรคได้ให้เงินในการไปซื้อเสียง หรือไม่ โดยจะต้องดูประเด็นที่กกต.และคณะกรรมการกฤษฏีกาได้พิจารณาตัดสินไปแล้วมาประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม กกต.ไม่ได้กำหนดระยะเวลา แต่ก็อยากให้พิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว ซึ่งคิดว่าคงจะใช้เวลาไม่นาน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
นายบุญทัน กล่าวว่า คณะกรรมการสอบฯได้ทำหนังวสือเชิญหัวหน้าพรรคทั้ง 2 พรรคมาชี้แจง โดยกำหนดให้นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย พร้อมด้วย นายมณเฑียร สงฆ์ประชา กรรมการบริหารพรรค ที่ถูกกกต.เพิกถอนสิทธิมาให้ปากคำ ในวันที่ 12 ก.พ. เวลา 10.00 น. ส่วนพรรคมัชฌิมาธิปไตย นั้นได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 18 ก.พ.โดยจะเชิญหัวหน้าพรรคหรือผู้ที่รักษาการณ์หัวหน้าพรรคมาพร้อมกับ นายสุนทร วิลาวัลย์ ซึ่งทางคณะกรรมการก็ต้องดูก่อนว่าเขาจะมาได้หรือไม่ได้อย่างไร ส่วนจะให้เลื่อนได้กี่ครั้งจะต้องไปตามคณะกรรมการสอบฯอีกที่ว่าจะสามารถให้เลื่อนได้ ประมาณกี่ครั้ง แต่หากไม่สามารถมาได้ด้วยตนเองคณะกรรมการก็ไม่ขัดข้องหากจะชี้แจงมาเป็นเอกสาร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่กกต.ให้ใบแดงว่าที่ส.ส. และกฎหมายระบุว่าหาก กรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ความผิดถึงขั้นยุบพรรค ทำให้คณะกรรมการฯต้องพิจารณายุบพรรคด้วยหรือไม่ นายบุญทัน กล่าวว่า กกต.มอบหมายให้ คณะกรรมการฯ ขุดคุ้ยข้อมูลให้กว้างและลึก เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้มีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดี คงจะมองภาพให้เด่นชัดขึ้น เมื่อเราเห็นอะไร พบอะไรก็ต้องเสนอต่อ กกต. โดยส่วนตัวตนเห็นว่าเราต้องดูข้อมูลทั้งในกรอบและนอกกรอบ เพื่อตอบสังคมในเรื่องนี้ให้ได้
“ที่มีปัญหาทุกวันนี้เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเขียนค่อนข้างจุกจิก และรัดกุมมาก แต่เมื่อเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สังคมยอมรับ เราจะไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ได้ เป็นประเด็นที่กกต.ต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ทำก็จะถูกฟ้องร้องได้ และในฐานะที่กกต.ไว้วางใจเราให้มาทำหน้าที่ตรงนี้ พวกผมไม่ใช่ตำรวจและไม่ใช่ศาล แต่เป็นคนหาข้อมูลเท่านั้น เราต้องดูเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญด้วย แม้รัฐธรรมนูญเขียนค่อนข้างจะรุนแรง แต่เจตนาจริง ๆ ต้องการให้โอกาสทุกพรรค”
ผู้สื่อข่าวถามว่ากดดันหรือไม่ เพราะทั้งสองพรรคเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หากคณะกรรมการฯมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะกระทบต่อรัฐบาล นายบุญทัน กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดถึงขั้นนั้น คิดแต่ว่าทำให้ดีที่สุดบนพื้นฐานของข้อมูลและความถูกต้อง เราไม่ได้หนักใจอะไร เพราะเราจะทำอะไรตามพยานหลักฐาน เพราะเป็นภาระที่ต้องตอบสังคมด้วย ซึ่งสังคมต่างก็ต้องการไม่เหมือนกัน ดังนั้น ขึ้นอยู่กับเราจะทำอย่างไรให้สังคมเห็นว่ากรรมการบริหารพรรคคนหนึ่งมีเจตนาหรือไม่ในการทำลาย การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทางคณะกรรมการจะหาข้อมูลให้ชัดที่สุด
ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวว่า กกต.ไม่มีอำนาจ ยุบพรรคการเมือง แต่ กกต.ต้องเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัญหาในกรณีนี้มีอยู่ว่า กกต.ไม่เคยเจอเรื่องนี้มาก่อน จึงไม่แน่ใจว่า กกต.ต้องสืบสวน สอบสวนและพิจารณาว่ากรรมการบริหารพรรคเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งก่อนหรือไม่ หรือ กกต.สามารถเสนอความเห็น ให้ยุบพรรคอย่างอัตโนมัติได้เลย ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาด้านข้อกฎหมาย ซึ่ง กกต. ต้องสอบข้อเท็จจริงก่อนว่า หากกรรมการบริหารพรรคคนหนึ่งทำผิด กรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ได้รู้เห็นกับการทำผิดด้วยหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องพิจารณากฎหมาย ว่ากฎหมายหมายความไว้แค่ไหน
“หาก กกต.จะยุบพรรคการเมืองใด ต้องมีเหตุผลที่ดีและสามารถนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญได้ กกต.มีหน้าที่เพียงเสนอความเห็นเท่านั้น ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจ มีความเห็นเป็นอย่างอื่นก็ได้”
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า ขั้นตอนของคณะกรรมการสอบสวนเพื่อเสนอเรื่องยุบพรรคยังมีอีกหลายขั้นตอน กกต.จะดำเนินการตามกรอบกฎหมาย ที่กำหนดว่า กกต.ต้องส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และเมื่อส่งไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำสั่งให้ยุบพรรคเสมอไป ตอนนี้คงจะเร็วไปที่จะสรุปว่าจะมีการยุบพรรคการเมือง นอกจากนี้ กกต.ก็ไม่ได้ตั้งใจจะยุบพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่หาก กกต. ไม่ทำตามที่กฎหมายระบุไว้ กกต.จะถูกดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้
ส่วนที่นายจรัล ระบุว่า การยุบพรรคเป็นเรื่องล่าหลังนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เมื่อกฎหมายระบุไว้อย่างนี้ กกต.ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้ก็คงไม่สามารถมากดดันกกต.ได้ เพราะคณะกรรมการทราบว่า อำนาจสูงสุดที่จะพิจารณาเรื่องนี้คือศาลรัฐธรรมนูญ ตอนนี้ยังไม่อยากให้มองว่าจะมีการยุบพรรคเกิดขึ้นจริง เพราะทุกคนคงเห็นตรงกันว่าประเทศไทยใกล้จะมีประชาธิปไตยเต็มใบแล้ว แต่สิ่งจำเป็นที่ประเทศไทยยังขาดอยู่ คือความรักความสามัคคีในชาติ ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาล และนิติบัญญัติ หากเน้นในเรื่อง ความปรองดอง สามัคคีกันและไม่เอาคืน เพราะทุกคนต่างก็มีบทบาท ก็จะทำให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตไปได้
ด้านนายบุญทัน ดอกไธสง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีกรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยและพรรคชาติไทยถูก กกต.สั่งเพิกถอน สิทธิเลือกตั้ง เปิดเผยภายหลังการประชุมว่าเป็นการประชุมครั้งแรกเพื่อวางกรอบ ในการทำงาน ตามที่กกต.ได้มอบหมาย ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาสอบสวน ถึงความเชื่อมโยงการกระทำว่า ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิกับกรรมการบริหารพรรค มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร มีความเชื่อมโยงไปถึงกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ อีกหรือไม่ และ พรรคมีส่วนรู้เห็นหรือไม่
นายบุญทัน กล่าวว่า ประเด็นหลัก เช่น ทางพรรคได้ให้เงินในการไปซื้อเสียง หรือไม่ โดยจะต้องดูประเด็นที่กกต.และคณะกรรมการกฤษฏีกาได้พิจารณาตัดสินไปแล้วมาประกอบการพิจารณา อย่างไรก็ตาม กกต.ไม่ได้กำหนดระยะเวลา แต่ก็อยากให้พิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว ซึ่งคิดว่าคงจะใช้เวลาไม่นาน คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
นายบุญทัน กล่าวว่า คณะกรรมการสอบฯได้ทำหนังวสือเชิญหัวหน้าพรรคทั้ง 2 พรรคมาชี้แจง โดยกำหนดให้นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย พร้อมด้วย นายมณเฑียร สงฆ์ประชา กรรมการบริหารพรรค ที่ถูกกกต.เพิกถอนสิทธิมาให้ปากคำ ในวันที่ 12 ก.พ. เวลา 10.00 น. ส่วนพรรคมัชฌิมาธิปไตย นั้นได้กำหนดไว้เป็นวันที่ 18 ก.พ.โดยจะเชิญหัวหน้าพรรคหรือผู้ที่รักษาการณ์หัวหน้าพรรคมาพร้อมกับ นายสุนทร วิลาวัลย์ ซึ่งทางคณะกรรมการก็ต้องดูก่อนว่าเขาจะมาได้หรือไม่ได้อย่างไร ส่วนจะให้เลื่อนได้กี่ครั้งจะต้องไปตามคณะกรรมการสอบฯอีกที่ว่าจะสามารถให้เลื่อนได้ ประมาณกี่ครั้ง แต่หากไม่สามารถมาได้ด้วยตนเองคณะกรรมการก็ไม่ขัดข้องหากจะชี้แจงมาเป็นเอกสาร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่กกต.ให้ใบแดงว่าที่ส.ส. และกฎหมายระบุว่าหาก กรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ความผิดถึงขั้นยุบพรรค ทำให้คณะกรรมการฯต้องพิจารณายุบพรรคด้วยหรือไม่ นายบุญทัน กล่าวว่า กกต.มอบหมายให้ คณะกรรมการฯ ขุดคุ้ยข้อมูลให้กว้างและลึก เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้มีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดี คงจะมองภาพให้เด่นชัดขึ้น เมื่อเราเห็นอะไร พบอะไรก็ต้องเสนอต่อ กกต. โดยส่วนตัวตนเห็นว่าเราต้องดูข้อมูลทั้งในกรอบและนอกกรอบ เพื่อตอบสังคมในเรื่องนี้ให้ได้
“ที่มีปัญหาทุกวันนี้เพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเขียนค่อนข้างจุกจิก และรัดกุมมาก แต่เมื่อเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สังคมยอมรับ เราจะไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ได้ เป็นประเด็นที่กกต.ต้องปฏิบัติตาม ถ้าไม่ทำก็จะถูกฟ้องร้องได้ และในฐานะที่กกต.ไว้วางใจเราให้มาทำหน้าที่ตรงนี้ พวกผมไม่ใช่ตำรวจและไม่ใช่ศาล แต่เป็นคนหาข้อมูลเท่านั้น เราต้องดูเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญด้วย แม้รัฐธรรมนูญเขียนค่อนข้างจะรุนแรง แต่เจตนาจริง ๆ ต้องการให้โอกาสทุกพรรค”
ผู้สื่อข่าวถามว่ากดดันหรือไม่ เพราะทั้งสองพรรคเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หากคณะกรรมการฯมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งอาจจะกระทบต่อรัฐบาล นายบุญทัน กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดถึงขั้นนั้น คิดแต่ว่าทำให้ดีที่สุดบนพื้นฐานของข้อมูลและความถูกต้อง เราไม่ได้หนักใจอะไร เพราะเราจะทำอะไรตามพยานหลักฐาน เพราะเป็นภาระที่ต้องตอบสังคมด้วย ซึ่งสังคมต่างก็ต้องการไม่เหมือนกัน ดังนั้น ขึ้นอยู่กับเราจะทำอย่างไรให้สังคมเห็นว่ากรรมการบริหารพรรคคนหนึ่งมีเจตนาหรือไม่ในการทำลาย การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทางคณะกรรมการจะหาข้อมูลให้ชัดที่สุด