สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ รับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อธิบดีกรมศิลปากรเผยในครั้งงานพระเมรุสมเด็จย่า ทั้ง 2 พระองค์เสด็จฯ ทรงร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง เตรียมตั้งกล้องบันทึกการก่อสร้างพระเมรุทุกขั้นตอนเพื่อทำจดหมายเหตุ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย เป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสัตตมวารที่ 5
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า หลังจากที่หมดวาระจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรมแล้ว ตนไม่มีความเป็นห่วงเรื่องการดำเนินงานจัดสร้างพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)จะต้องรับผิดชอบต่อไป เพราะทุกกรม ทุกสำนักมีผู้เชี่ยวชาญ ช่างเทคนิคทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว มั่นใจว่า การบูรณะราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบทั้งหมดจะเสร็จภายใน 3-4 เดือนตามที่ น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะกรรมการออกแบบและก่อสร้างพระเมรุฯ ตั้งเป้าไว้ และจากที่ได้เข้ามาทำงานเรื่องการก่อสร้างพระเมรุ ได้รับทราบปัญหาขาดช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ทั้งสำนักช่างสิบหมู่ สำนักการสังคีต เบื้องต้นได้เร่งให้มีการศึกษาปัญหาหาสาเหตุที่ขาดบุคลากรด้านนี้ พร้อมกับวางแผนพัฒนาบุคลากร งบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
สมเด็จพระบรมฯ-พระเทพฯ รับเป็นองค์ประธาน
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการอำนวยจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งจากการศึกษาภาพบันทึกเมื่อครั้งงานพระราชพิธีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประชุมร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการฯ ทุกครั้ง
ในครั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการฯจะกราบบังคมทูลเชิญทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานในการประชุมคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อถวายรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ด้วย ส่วนในเรื่องของวันเวลาการประชุมนั้น คงจะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่
สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดสร้างพระเมรุ และการจัดทำจดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทางกรมศิลปกร จะดำเนินการตั้งกล้องวีดีโอบันทึกความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุอย่างต่อเนื่อง บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศใต้ เพื่อบันทึกวิธีการ กระบวนการก่อสร้างพระเมรุ ตลอดจนบันทึกความคืบหน้า ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสร้างเสร็จตลอด 24 ชั่วโมง ในการนำมาทำเป็นจดหมายเหตุ รวมถึงเก็บรวบรวมไว้ให้ประชาชนที่สนใจได้ศึกษาที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติด้วย
นอกจากนี้ ตนยังมีความเป็นห่วงงานพิธีสำคัญๆ ซึ่งจะมีสื่อมวลชนมาทำข่าวเป็นจำนวนมาก เกรงว่า ภาพที่ออกมาจะไม่งดงาม ดังนั้น เมื่อมีการจัดงานสำคัญในครั้งต่อไปอาจจะมีการจัดพื้นที่ให้สื่อมวลชนเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ภาพที่สื่อออกมามีความสวยงามมากขึ้น
นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดำเนินการบันทึกและรวบรวมจัดทำจดหมายเหตุชาวบ้าน ทั้งเหตุการณ์การทำกิจกรรมการถวายสักการะของประชาชน และข่าวสาร บทความ จากสื่อมวลชน ที่เผยแพร่งานพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯด้วย เพื่อเก็บบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ในส่วนความจงรักภักดีของราษฎรที่มีต่อพระองค์ ส่วนพระราชพิธีในด้านอื่นๆ ขณะนี้ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ในส่วนที่นักจดหมายเหตุไม่สามารถเข้าไปบันทึกได้ กรมศิลปากร ก็จะประสานกับสำนักพระราชวัง เพื่อดำเนินการขอข้อมูลต่างๆ ให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป
ทดสอบเชือกลากราชรถ-ราชยาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(6 ก.พ.)เจ้าหน้าที่ทหารจากกรมอู่ทหารเรือ เข้าตรวจสอบห่วงที่ราชรถ-ราชยาน สำหรับใช้เชือกมัดชักลาก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการเข้าวัดความยาวเชือกที่เหมาะสม สำหรับชักลากราชรถราชยานที่ใช้ในงานราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทั้งนี้กรมอู่ทหารเรือตรวจสอบเชือกที่ใช้สำหรับชักลากพระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ ซึ่งใช้เชือกขนาดใหญ่สำหรับชักลากด้านหน้า 4 สาย ด้านหลัง 2 สาย ใช้ผู้ชักลากทั้งหมด 216 คน ส่วนราชรถน้อยจะใช้เชือกชักลากจำนวนเท่ากัน แต่ใช้คนเพียง 74 คนในการชักลาก
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะมีการปรับเปลี่ยนเชือกสำหรับชักลาก จากเดิมใช้เชือกมะลิลาเป็นเชือกที่กองทัพเรือใช้กับเรือรบแทน เนื่องจากมีความเหนียวไม่ยืดง่าย ทนทานและนิ่ง อีกทั้งจะมีการเพิ่มตะขอเกี่ยวเป็น 2 ตะขอกับราชรถทุกองค์ โดยจะต้องมีการนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ
วานนี้ (6 ก.พ.) เวลา10.00 น. ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พร้อมด้วย พล.อ.สินธู ศรสงคราม และ ร.อ.จิทัศ ศรสงคราม ได้เดินทางไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ที่หน้าพระโกศพระศพ จากนั้นจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูป เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยจุดเทียนดูหนังสือเทศน์ให้เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญไปตั้งบนธรรมาสน์
จากนั้นท่านผู้หญิงทัศนาวลัย จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับฟังธรรมแล้วไปจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยที่หน้าพระโกศพระศพสำหรับพระศพทรงธรรม และไปประเคนสำรับภัตตาหารแด่ผู้เป็นประธานสงฆ์ และไปประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ และทอดผ้าไตร 10 ไตร จากนั้นไปกราบพระพุทธรูปที่หน้าเครื่องนมัสการแล้วไปกราบที่เครื่องทองน้อยหน้าพระโกศพระศพ
หลังจากเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และครอบครัวได้เดินลงมาทักทายผู้ที่มาร่วมงานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพอย่างเป็นกันเองแล้วจึงเดินทางกลับ
วานนี้ (6 ก.พ.51) สำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระศพในเวลา 12.00 น.โดยตลอดทั้งวันยังคงมีประชาชน และคณะบุคคลต่างๆ เดินทางมาสักการะพระศพอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สำนักพระราชวังเปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 13 ก.พ. 51 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้สมาชิกราชสกุลทุกมหาสาขา และราชินีกุล ร่วมเป็นเจ้าภาพ สำนักพระราชวังจึงขอเชิญชวนให้ราชสกุล (ณ อยุธยา) และราชินีกุล (ชูโต, บุนนาค, ณ บางช้าง, ณ พัทลุง, จันทโรจนวงศ์, บูรณศิริ, สุจริตกุล ฯลฯ) เข้าร่วมบำเพ็ญพระกุศลในวันดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า หลังจากที่หมดวาระจากตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรมแล้ว ตนไม่มีความเป็นห่วงเรื่องการดำเนินงานจัดสร้างพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)จะต้องรับผิดชอบต่อไป เพราะทุกกรม ทุกสำนักมีผู้เชี่ยวชาญ ช่างเทคนิคทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว มั่นใจว่า การบูรณะราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบทั้งหมดจะเสร็จภายใน 3-4 เดือนตามที่ น.อ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ประธานคณะกรรมการออกแบบและก่อสร้างพระเมรุฯ ตั้งเป้าไว้ และจากที่ได้เข้ามาทำงานเรื่องการก่อสร้างพระเมรุ ได้รับทราบปัญหาขาดช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ทั้งสำนักช่างสิบหมู่ สำนักการสังคีต เบื้องต้นได้เร่งให้มีการศึกษาปัญหาหาสาเหตุที่ขาดบุคลากรด้านนี้ พร้อมกับวางแผนพัฒนาบุคลากร งบประมาณให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
สมเด็จพระบรมฯ-พระเทพฯ รับเป็นองค์ประธาน
นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตนได้รับแจ้งจากคณะกรรมการอำนวยจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ซึ่งจากการศึกษาภาพบันทึกเมื่อครั้งงานพระราชพิธีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทั้ง 2 พระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประชุมร่วมกับคณะกรรมการอำนวยการฯ ทุกครั้ง
ในครั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการฯจะกราบบังคมทูลเชิญทั้ง 2 พระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานในการประชุมคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อถวายรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ด้วย ส่วนในเรื่องของวันเวลาการประชุมนั้น คงจะต้องรอรัฐบาลชุดใหม่
สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดสร้างพระเมรุ และการจัดทำจดหมายเหตุพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทางกรมศิลปกร จะดำเนินการตั้งกล้องวีดีโอบันทึกความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุอย่างต่อเนื่อง บริเวณท้องสนามหลวงด้านทิศใต้ เพื่อบันทึกวิธีการ กระบวนการก่อสร้างพระเมรุ ตลอดจนบันทึกความคืบหน้า ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสร้างเสร็จตลอด 24 ชั่วโมง ในการนำมาทำเป็นจดหมายเหตุ รวมถึงเก็บรวบรวมไว้ให้ประชาชนที่สนใจได้ศึกษาที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติด้วย
นอกจากนี้ ตนยังมีความเป็นห่วงงานพิธีสำคัญๆ ซึ่งจะมีสื่อมวลชนมาทำข่าวเป็นจำนวนมาก เกรงว่า ภาพที่ออกมาจะไม่งดงาม ดังนั้น เมื่อมีการจัดงานสำคัญในครั้งต่อไปอาจจะมีการจัดพื้นที่ให้สื่อมวลชนเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ภาพที่สื่อออกมามีความสวยงามมากขึ้น
นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดำเนินการบันทึกและรวบรวมจัดทำจดหมายเหตุชาวบ้าน ทั้งเหตุการณ์การทำกิจกรรมการถวายสักการะของประชาชน และข่าวสาร บทความ จากสื่อมวลชน ที่เผยแพร่งานพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯด้วย เพื่อเก็บบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ในส่วนความจงรักภักดีของราษฎรที่มีต่อพระองค์ ส่วนพระราชพิธีในด้านอื่นๆ ขณะนี้ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ในส่วนที่นักจดหมายเหตุไม่สามารถเข้าไปบันทึกได้ กรมศิลปากร ก็จะประสานกับสำนักพระราชวัง เพื่อดำเนินการขอข้อมูลต่างๆ ให้เกิดความครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป
ทดสอบเชือกลากราชรถ-ราชยาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(6 ก.พ.)เจ้าหน้าที่ทหารจากกรมอู่ทหารเรือ เข้าตรวจสอบห่วงที่ราชรถ-ราชยาน สำหรับใช้เชือกมัดชักลาก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในการเข้าวัดความยาวเชือกที่เหมาะสม สำหรับชักลากราชรถราชยานที่ใช้ในงานราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทั้งนี้กรมอู่ทหารเรือตรวจสอบเชือกที่ใช้สำหรับชักลากพระมหาพิชัยราชรถ เวชยันตราชรถ ซึ่งใช้เชือกขนาดใหญ่สำหรับชักลากด้านหน้า 4 สาย ด้านหลัง 2 สาย ใช้ผู้ชักลากทั้งหมด 216 คน ส่วนราชรถน้อยจะใช้เชือกชักลากจำนวนเท่ากัน แต่ใช้คนเพียง 74 คนในการชักลาก
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะมีการปรับเปลี่ยนเชือกสำหรับชักลาก จากเดิมใช้เชือกมะลิลาเป็นเชือกที่กองทัพเรือใช้กับเรือรบแทน เนื่องจากมีความเหนียวไม่ยืดง่าย ทนทานและนิ่ง อีกทั้งจะมีการเพิ่มตะขอเกี่ยวเป็น 2 ตะขอกับราชรถทุกองค์ โดยจะต้องมีการนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ
วานนี้ (6 ก.พ.) เวลา10.00 น. ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พร้อมด้วย พล.อ.สินธู ศรสงคราม และ ร.อ.จิทัศ ศรสงคราม ได้เดินทางไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ที่หน้าพระโกศพระศพ จากนั้นจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูป เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัยจุดเทียนดูหนังสือเทศน์ให้เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญไปตั้งบนธรรมาสน์
จากนั้นท่านผู้หญิงทัศนาวลัย จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับฟังธรรมแล้วไปจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยที่หน้าพระโกศพระศพสำหรับพระศพทรงธรรม และไปประเคนสำรับภัตตาหารแด่ผู้เป็นประธานสงฆ์ และไปประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ และทอดผ้าไตร 10 ไตร จากนั้นไปกราบพระพุทธรูปที่หน้าเครื่องนมัสการแล้วไปกราบที่เครื่องทองน้อยหน้าพระโกศพระศพ
หลังจากเสร็จพิธีบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม และครอบครัวได้เดินลงมาทักทายผู้ที่มาร่วมงานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพอย่างเป็นกันเองแล้วจึงเดินทางกลับ
วานนี้ (6 ก.พ.51) สำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระศพในเวลา 12.00 น.โดยตลอดทั้งวันยังคงมีประชาชน และคณะบุคคลต่างๆ เดินทางมาสักการะพระศพอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สำนักพระราชวังเปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 13 ก.พ. 51 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้สมาชิกราชสกุลทุกมหาสาขา และราชินีกุล ร่วมเป็นเจ้าภาพ สำนักพระราชวังจึงขอเชิญชวนให้ราชสกุล (ณ อยุธยา) และราชินีกุล (ชูโต, บุนนาค, ณ บางช้าง, ณ พัทลุง, จันทโรจนวงศ์, บูรณศิริ, สุจริตกุล ฯลฯ) เข้าร่วมบำเพ็ญพระกุศลในวันดังกล่าว ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง