ผู้จัดการรายวัน -ประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุ ประชุมแบ่งงาน ระบุแบบพิมพ์เขียวโครงสร้างรูปตัดพระเมรุแล้วเสร็จแล้ว 50% วางแผนพิมพ์เขียวเสร็จต้นมีนาคมนี้ เผยติดตั้งลิฟท์ 3 จุด โดยลงนามอนุมัติแบบโรงขยายแบบให้สำนักสถาปัตกรรมลงมือสร้างโรงขยายแบบ 3 โรงในท้องสนามหลวงได้ทันที
ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร สำหรับวันพุธที่ 30 มกราคม
วานนี้ ( 30 มค.) เวลา 10.15 น. สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในสัตตมวาร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกันนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี ทรงวางพวงมาลาของมูลนิธิเพชรรัตน-สุวัฒนาด้วย
โดยวานนี้สำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระศพในเวลา 12.00 น. ซึ่งตลอดทั้งวันมีประชาชนและคณะบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทยอยเดินทางมาถวายสักการะและถวายพวงมาลาพระศพอย่างต่อเนื่อง อาทิ นางฮิโรโกะ มัสซึยามา ประธานสถาบันกิโมโนฮังวะโสกากุเอะ , สมาคมขับร้องประสานเสียงแห่งประเทศไทย นำโดย ดร.ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย นายกสมาคมฯ และคุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช กรรมการสมาคมฯและศิลปินแห่งชาติ รวมทั้งคณะแม่ชี อาจารย์ อุโบสถศีล จากวัดธรรมมงคล จำนวน 85 คน นำโดยรพระครูปลัดบุรมณ์ ศิริสาธร เจ้าอาวาสวัด เป็นต้น
จัดงานร้องเพลงส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
ทางด้านคุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช กรรมการสมาคมขับร้องประสานเสียงฯและศิลปินแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ทางสมาคมเคยมีโอกาสแสดงดนตรีขับร้องประสานเสียงหน้าพระที่นั่งหลายครั้ง ซึ่งพระองค์ท่านทรงโปรดดนตรีคลาสสิกเป็นอย่างมาก มักจะรับสั่งชมทุกครั้งหลังจบการแสดงพร้อมกับทรงให้คำแนะนำและทรงให้กำลังใจกับสมาคมฯอยู่เสมอ
นอกจากนี้ทางสมาคมฯจะมีการจัดรายการพิเศษขับร้องเพลงประสานเสียง เพลงคลาสสิก เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย ซึ่งงานจะจัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรม ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ศกนี้
ติดลิฟท์ 3 จุด
ที่สำนักสถาปัตยกรรม เทเวศน์ นายอารักษ์ สังหิตกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับคณะวิศวกร กรมศิลปากรว่า ตนได้กำหนดแนวทางการออกแบบโครงสร้าง และอาคารประกอบให้แก่วิศวกร 4 ข้อ ได้แก่ 1.การก่อสร้างครั้งนี้เป็นอาคารแบบชั่วคราวทั้งหมด 2.อาคารที่ก่อสร้างเมื่อเลิกใช้แล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆได้ 3.โครงสร้างวัสดุที่ใช้ต้องมีความแข็งแรง ปลอดภัยในการใช้งาน และ 4.โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง อาทิ ไม้ยาง ไม้เต็ง เป็นต้น รวมทั้งเหล็กรูปพรรณประกอบกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับ ลิฟท์ทางเสด็จฯ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ รวมทั้งระบบการเคลื่อนตัวของลิฟท์ว่า จะใช้แรงคนหรือแรงเครื่องจักร โดยจะมีการติดตั้งลิฟท์ 3 จุด ได้แก่ พระที่นั่งทรงธรรม 2 จุด และบริเวณพระเมรุ 1 จุด ซึ่งในส่วนของพระเมรุจะติดตั้งลิฟท์ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ตนยังได้เน้นย้ำเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างโดยรอบของพระเมรุจะต้องสามารถรับน้ำหนักของคนจำนวนมากได้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่คณะทำงานจะต้องดูแลอย่างละเอียดรอบคอบ
“ขณะนี้ผมได้ลงนามอนุมัติแบบร่างโรงขยายแบบเพื่อให้สำนักสถาปัตยกรรม ลงมือปลูกสร้างโรงขยายแบบขนาด กว้าง 9.50 เมตร ยาว 25 เมตร ภายในท้องสนามหลวง จำนวน 3 โรง ประกอบด้วย โรงขยายแบบ โรงสร้างพระโกศจันทน์ และโรงปั้นหล่อ ได้ทันที โดยไม่ต้องรอพิธีบวงสรวง เนื่องจากพิธีบวงสรวงจะเกี่ยวข้องเฉพาะการก่อสร้างพระเมรุ และการบูรณะราชรถเท่านั้น เพราะการก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทย ต้องขยายรูปแบบลวดลายเท่ากับขนาดจริงในการก่อสร้าง หากไม่ขยายลายให้ถูกต้อง สิ่งก่อสร้างก็จะออกมาไม่สมส่วนและไม่สวยงาม อย่างไรก็ตาม การลงฐานรากของพระเมรุจะต้องทำในช่วงหน้าแล้งระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม เพราะหากทำในช่วงหน้าฝนอาจจะทำให้เกิดปัญหาการวางฐานรากได้”
แบบพิมพ์เขียวเสร็จแล้ว 50%
ด้าน นายไพบูลย์ ผลมาก ผอ.สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า ขณะนี้แบบพิมพ์เขียว โครงสร้างรูปตัดพระเมรุ ได้ดำเนินการเสร็จแล้วประมาณ 50 % จากนั้นตนจะมอบให้คณะวิศวกรรมพิจารณาเรื่องโครงสร้างความแข็งแรง ซึ่งมีนายอารักษ์ เป็นประธาน เพื่อคำนวณโครงสร้างความคงทนแข็งแรง ให้มีความสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้ ซึ่งหากแบบพิมพ์เขียวไม่ติดขัดหรือมีปัญหาใดๆ เมื่อโครงสร้างทางวิศวกรรมพระเมรุเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสามารถใส่ลวดลายทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมได้ทันที ทั้งนี้ การทำงานด้านวิศวกรรมถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ที่คาดว่าจะใช้เวลาในการออกแบบโครงสร้าง ประมาณ 1 เดือน โดยจะแล้วเสร็จในช่วงต้นเดือนมีนาคม
กทม.เร่งฉีดน้ำยาไล่นกพิราบสนามหลวงด้วย
นายถนอม อ่อนเกตุพล โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.ได้จัดเตรียมรถดับเพลิง รถสุขาเคลื่อนที่ และกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจเพื่อเข้าพื้นที่ท้องสนามหลวงตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.นี้ ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าปฏิบัติงานก่อสร้างและเตรียมพื้นที่งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
พร้อมกันนี้ยังได้ฉีดน้ำยาสำหรับไล่นกพิราบในท้องสนามหลวงด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้มาก่อความเดือดร้อนรำคาญให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งน้ำยาดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและนก นอกจากนี้ กทม.ยังขอความร่วมมือประชาชนห้ามเข้าในพื้นที่ฝั่งทิศใต้ของท้องสนามหลวงโดยเด็ดขาดเพื่อความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่
ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร สำหรับวันพุธที่ 30 มกราคม
วานนี้ ( 30 มค.) เวลา 10.15 น. สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาติ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในสัตตมวาร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกันนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี ทรงวางพวงมาลาของมูลนิธิเพชรรัตน-สุวัฒนาด้วย
โดยวานนี้สำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะพระศพในเวลา 12.00 น. ซึ่งตลอดทั้งวันมีประชาชนและคณะบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทยอยเดินทางมาถวายสักการะและถวายพวงมาลาพระศพอย่างต่อเนื่อง อาทิ นางฮิโรโกะ มัสซึยามา ประธานสถาบันกิโมโนฮังวะโสกากุเอะ , สมาคมขับร้องประสานเสียงแห่งประเทศไทย นำโดย ดร.ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย นายกสมาคมฯ และคุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช กรรมการสมาคมฯและศิลปินแห่งชาติ รวมทั้งคณะแม่ชี อาจารย์ อุโบสถศีล จากวัดธรรมมงคล จำนวน 85 คน นำโดยรพระครูปลัดบุรมณ์ ศิริสาธร เจ้าอาวาสวัด เป็นต้น
จัดงานร้องเพลงส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
ทางด้านคุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช กรรมการสมาคมขับร้องประสานเสียงฯและศิลปินแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ทางสมาคมเคยมีโอกาสแสดงดนตรีขับร้องประสานเสียงหน้าพระที่นั่งหลายครั้ง ซึ่งพระองค์ท่านทรงโปรดดนตรีคลาสสิกเป็นอย่างมาก มักจะรับสั่งชมทุกครั้งหลังจบการแสดงพร้อมกับทรงให้คำแนะนำและทรงให้กำลังใจกับสมาคมฯอยู่เสมอ
นอกจากนี้ทางสมาคมฯจะมีการจัดรายการพิเศษขับร้องเพลงประสานเสียง เพลงคลาสสิก เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย ซึ่งงานจะจัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรม ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ศกนี้
ติดลิฟท์ 3 จุด
ที่สำนักสถาปัตยกรรม เทเวศน์ นายอารักษ์ สังหิตกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ในฐานะประธานวิศวกรรมโครงสร้างพระเมรุสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับคณะวิศวกร กรมศิลปากรว่า ตนได้กำหนดแนวทางการออกแบบโครงสร้าง และอาคารประกอบให้แก่วิศวกร 4 ข้อ ได้แก่ 1.การก่อสร้างครั้งนี้เป็นอาคารแบบชั่วคราวทั้งหมด 2.อาคารที่ก่อสร้างเมื่อเลิกใช้แล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆได้ 3.โครงสร้างวัสดุที่ใช้ต้องมีความแข็งแรง ปลอดภัยในการใช้งาน และ 4.โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง อาทิ ไม้ยาง ไม้เต็ง เป็นต้น รวมทั้งเหล็กรูปพรรณประกอบกัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับ ลิฟท์ทางเสด็จฯ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ รวมทั้งระบบการเคลื่อนตัวของลิฟท์ว่า จะใช้แรงคนหรือแรงเครื่องจักร โดยจะมีการติดตั้งลิฟท์ 3 จุด ได้แก่ พระที่นั่งทรงธรรม 2 จุด และบริเวณพระเมรุ 1 จุด ซึ่งในส่วนของพระเมรุจะติดตั้งลิฟท์ทางทิศตะวันตกของพระเมรุ ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากนี้ตนยังได้เน้นย้ำเรื่องความแข็งแรงของโครงสร้างโดยรอบของพระเมรุจะต้องสามารถรับน้ำหนักของคนจำนวนมากได้ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่คณะทำงานจะต้องดูแลอย่างละเอียดรอบคอบ
“ขณะนี้ผมได้ลงนามอนุมัติแบบร่างโรงขยายแบบเพื่อให้สำนักสถาปัตยกรรม ลงมือปลูกสร้างโรงขยายแบบขนาด กว้าง 9.50 เมตร ยาว 25 เมตร ภายในท้องสนามหลวง จำนวน 3 โรง ประกอบด้วย โรงขยายแบบ โรงสร้างพระโกศจันทน์ และโรงปั้นหล่อ ได้ทันที โดยไม่ต้องรอพิธีบวงสรวง เนื่องจากพิธีบวงสรวงจะเกี่ยวข้องเฉพาะการก่อสร้างพระเมรุ และการบูรณะราชรถเท่านั้น เพราะการก่อสร้างสถาปัตยกรรมไทย ต้องขยายรูปแบบลวดลายเท่ากับขนาดจริงในการก่อสร้าง หากไม่ขยายลายให้ถูกต้อง สิ่งก่อสร้างก็จะออกมาไม่สมส่วนและไม่สวยงาม อย่างไรก็ตาม การลงฐานรากของพระเมรุจะต้องทำในช่วงหน้าแล้งระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม เพราะหากทำในช่วงหน้าฝนอาจจะทำให้เกิดปัญหาการวางฐานรากได้”
แบบพิมพ์เขียวเสร็จแล้ว 50%
ด้าน นายไพบูลย์ ผลมาก ผอ.สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า ขณะนี้แบบพิมพ์เขียว โครงสร้างรูปตัดพระเมรุ ได้ดำเนินการเสร็จแล้วประมาณ 50 % จากนั้นตนจะมอบให้คณะวิศวกรรมพิจารณาเรื่องโครงสร้างความแข็งแรง ซึ่งมีนายอารักษ์ เป็นประธาน เพื่อคำนวณโครงสร้างความคงทนแข็งแรง ให้มีความสอดคล้องกับสถาปัตยกรรมที่ออกแบบไว้ ซึ่งหากแบบพิมพ์เขียวไม่ติดขัดหรือมีปัญหาใดๆ เมื่อโครงสร้างทางวิศวกรรมพระเมรุเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะสามารถใส่ลวดลายทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมได้ทันที ทั้งนี้ การทำงานด้านวิศวกรรมถือว่าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ ที่คาดว่าจะใช้เวลาในการออกแบบโครงสร้าง ประมาณ 1 เดือน โดยจะแล้วเสร็จในช่วงต้นเดือนมีนาคม
กทม.เร่งฉีดน้ำยาไล่นกพิราบสนามหลวงด้วย
นายถนอม อ่อนเกตุพล โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.ได้จัดเตรียมรถดับเพลิง รถสุขาเคลื่อนที่ และกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจเพื่อเข้าพื้นที่ท้องสนามหลวงตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.นี้ ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าปฏิบัติงานก่อสร้างและเตรียมพื้นที่งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
พร้อมกันนี้ยังได้ฉีดน้ำยาสำหรับไล่นกพิราบในท้องสนามหลวงด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้มาก่อความเดือดร้อนรำคาญให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งน้ำยาดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและนก นอกจากนี้ กทม.ยังขอความร่วมมือประชาชนห้ามเข้าในพื้นที่ฝั่งทิศใต้ของท้องสนามหลวงโดยเด็ดขาดเพื่อความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่