ผู้จัดการรายวัน/เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ตลาดหุ้นไทยทรุด 13 จุด ตามตลาดหุ้นทั่วโลกที่ร่วงระนาว หลังตัวเลขดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ ดำดิ่งต่ำสุดตั้งแต่ปี 46 ส่งสัญญาณเตือนเศรษฐกิจถดถอยแน่ฉุดดัชนีดาวโจนส์วูบ 370 จุด ด้านกองทุนไทยแห่ขายหุ้นใหญ่ทำกำไรหลังราคาปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่โบรกเกอร์ เผยครม.รัฐบาลใหม่ไม่เข้าตา เตือนอย่างเร่งซื้ออสังหาริมทรัพย์-รับเหมา แม้นโยบาย "สมัคร" ประกาศเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ชี้แค่ซื้ออนาคต ระบุยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น แนะซื้อเก็งกำไรหุ้นที่มีผลการดำเนินงานปี 50 เด่น
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (6 ก.พ.) ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงหลังตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดปรับตัวลดลงกว่า 370 จุดมากที่สุดในรอบเกือบครึ่งปี เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุด คือ ดัชนีธุรกิจภาคบริการซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของกิจกรรมเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐ ในเดือน ม.ค. ดิ่งมาปิดสู่ระดับ 41.9 จุด ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2546 สะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสภาวะถดถอยอย่างชัดเจน
จากปัจจัยดังกล่าว กดดันให้ตลาดหุ้นไทยปิดที่ 794.63 จุด ลดลง 13.05 จุด หรือ 1.62% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 796.21 จุด ต่ำสุดที่ 787.87 จุด มูลค่าการซื้อขาย 16,415.30 ล้านบาท โดยมีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 81.66 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,630.98 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,712.64 ล้านบาท
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วเอเชียได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นดาวโจนส์ จากความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกครั้ง ประกอบกับนักลงทุนเริ่มชะลอการลงทุนในช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีนทำให้มูลค่าการซื้อขายตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ คาดว่าความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งแรงขายทำกำไรหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์ จะยังเป็นตัวแปรที่ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงได้ต่อเนื่อง โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำซื้อเก็งกำไรหุ้นที่ประกาศผลประกอบการออกมาเติบโตดี แนวรับ 780 จุด แนวต้าน 800 จุด
หน้าตารมต.ไม่หนุนดัชนี
นักวิเคราะห์บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า แม้ว่าตลาดหุ้นไทยจะได้รับข่าวเรื่องความชัดเจนในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแต่เรื่องดังกล่าวนักลงทุนรับทราบมาค่อนข้างนานแล้ว จึงไม่เป็นแรงหนุนให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนมากนัก แต่แรงขายที่ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเกิดจากความไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯหลังตัวเลขดัชนีธุรกิจบริการออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วเอเชียยังคงต้องติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในสหรัฐฯเป็นหลัก เนื่องจากความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน และรวดเร็วกับตลาดหุ้น ซึ่งเมื่อนักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นจะเข้ามาลงทุนและทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้
แนะถือเงินสดรอจังหวะลงทุน
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับฐานหลังจากปรับขึ้นแรงๆ ในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งมาจากการทรุดตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนกลับมากังวลต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกครั้ง
"ตลาดหุ้นไทยคงจะปรับตัวลดลงเป็นช่วงสั้นๆ เพราะยังไม่มีแรงขายแรงๆ จากนักลงทุนต่างชาติออกมา ทิศทางวันนี้ตลาดหุ้นยังคงผันผวน มีโอกาสปรับฐานค่อนข้างสูง รวมทั้งยังมีปัจจัยกดดันจากต่างประเทศเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยประเมินแนวรับที่ 785-790 จุด แนวต้านที่ 800-805 จุด"
อย่ารีบซื้ออสังหาฯ-รับหมา
ด้านความเคลื่อนไหวหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มก่อสร้าง หลังได้รับดีเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ภายในระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งการเปลี่ยนระบบรางเป็นรางคู่ รวมมูลค่า 8 แสนล้านบาท ส่งผลทำให้หุ้นในกลุ่มดังกล่าวต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับข่าวในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา
โดยหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับ ในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 5 ก.พ. 51 คือ บมจ.แนเชอรัล พาร์ค หรือ N-PARK ปิดที่ 0.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.26 บาท หรือ 185.71%, บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ UNIQ ปิดที่ 3.52 บาท เพิ่มขึ้น 0.62 บาท หรือ 21.38% และบมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN ปิดที่ 24.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.30 บาท หรือ 21.29%, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD ปิดที่ 9.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.35 บาท หรือ 17.65% และบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น หรือ STEC ปิดที่ 6.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.85 บาท หรือ 16.04%
ขณะที่กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ บมจ.ริช เอเชีย สตีล หรือ RICH ปิดที่ 15.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท หรือ 34.72% บมจ.ไทย แคปปิตอล คอร์ปอเรชั่น หรือ TCC ปิดที่ 4.34 บาท เพิ่มขึ้น 1.10 บาท หรือ 33.95% บมจ.ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ หรือ TGCI ปิดที่ 0.92 บาท เพิ่มขึ้น 0.19 บาท หรือ 26.03%
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. บีฟิท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาหุ้นในหมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างตอบรับข่าวเชิงบวกในการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาล โดยบริษัทที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการเข้าประมูลโครงการและบริษัทที่มีโครงการคอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรรที่อยู่ใกล้พื้นที่ที่รถไฟฟ้า
"แม้ว่ากลุ่มดังกล่าวจะได้รับข่าวดีจากโครงการภาครัฐ แต่ยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างที่สูง โดยราคาเหล็กเส้นปรับขึ้นตันละ 200-300 บาท เช่นเดียวกับราคาปูนซีเมนต์ปรับขึ้น 150-200 บาท/ตัน รวมถึงราคาน้ำมันดีเซลที่มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้กำไรของบริษัทต่ำลง"
สำหรับการลงทุนระยะยาวหุ้นในกลุ่มนี้ ถือเป็นการซื้ออนาคตของแผนงานลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในปีนี้ จึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แรงซื้อที่เข้ามาหนาแน่นทำให้ราคาหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจิตวิทยาจากนโยบายการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย และปรับปรุงระบบขนส่ง แต่มองว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็นการรับรู้รายได้ในอนาคตที่มากเกินไป เนื่องจากโครงการยังไม่เกิดขึ้นจริง โดยคาดว่าอาจจะมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมาในช่วง 1-2 วันนี้ แต่เมื่อราคาลงมาก็จะมีแรงซื้อกลับมาอีก เพราะในอนาคตกลุ่มยังได้ประโยชน์จากโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐ
ตลาดหุ้นร่วงระนาวทั่วโลก
ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกมีอันร่วงกันระนาวอีกรอบ นำโดยวอลล์สตรีทเมื่อคืนวันอังคาร(5) สืบเนื่องจากเกิดความหวั่นผวาขึ้นมาใหม่ ในเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯทำท่าถลำลงสู่ภาวะถดถอย
ความหวาดกลัวล่าสุด จุดชนวนโดยการแถลงรายงานดัชนีกิจกรรมนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต ของสถาบันเพื่อการบริหารจัดการซัปพลาย (ไอเอสเอ็ม) ประจำเดือนมกราคม ซึ่งปรากฏว่าลดฮวบลงกว่าที่คาดหมายกันไว้
กล่าวคือ ดัชนีตัวนี้ลงมาอยู่ที่ 41.9% ในเดือนมกราคม จากที่อยู่ในระดับ 54.4% ในเดือนธันวาคม แถมยังเป็นการตกฮวบแรงที่สุดของดัชนีนี้นับแต่ที่มีการคิดค้นขึ้นมาใช้ในปี 1997 อีกทั้งถอยลงจนสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2001 อันเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอยในรอบก่อน
เนื่องจากดัชนีตัวนี้เป็นมาตรวัดกิจกรรมของภาคบริการ ซึ่งปัจจุบันคือภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของอเมริกา จึงถูกมองว่าเป็นสัญญาณอีกประการหนึ่ง ที่ยืนยันถึงการชะลอตัวลงอย่างแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์บางรายบอกว่า ได้ถลำลงสู่ภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้วด้วยซ้ำ
“เป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในอาการขาลงเท่านั้น แต่ความกะทันหันและคการลงลึกของการเสื่อมถอยคราวนี้ ดังที่เห็นได้จากรายงานชิ้นนี้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการทรุดตัวของยอดขายรถในเดือนมกราคม และความตึงตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของภาวะสินเชื่อ ... ยิ่งทำให้เราเกิดความกังวลว่า เรากำลังเผชิญกับขาลงที่จะลงลึกยิ่งกว่าที่เราได้เคยเห็นเมื่อปี 2001 เสียอีก” เดวิด โรเซนเบิร์ก นักเศรษฐศาสตร์ของ เมอร์ริลล์ลินช์ เขียนไว้ในรายงานวิเคราะห์ซึ่งส่งถึงลูกค้า
จากรายงานของไอเอสเอ็ม เมื่อบวกกับตัวเลขการจ้างงานในเดือนมกราคมที่รัฐบาลสหรัฐฯประกาศวันศุกร์ที่แล้ว(1) ซึ่งปรากฏว่าติดลบ 17,000 ตำแหน่ง นับเป็นเดือนที่การจ้างงานลดลงเดือนแรกตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา โรเซนเบิร์กจึงมีความเห็นว่า มี “โอกาสอันแข็งแกร่ง” ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) จะต้องลดดอกเบี้ยลงมาอีก และกระทั่งเฟดอาจจะกระทำก่อนหน้าถึงกำหนดการประชุมตามปกติคราวหน้าในวันที่ 18 มีนาคม
ความหวาดกลัวเศรษฐกิจถดถอย แผ่ไปสู่หุ้นต่างๆ ของวอลล์สตรีทแทบจะทุกหมวดในกระดาน ตั้งแต่สื่อสารไปจนถึงพลังงาน โดยเฉพาะอย่างหมวดธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ ยังดิ่งหนักเป็นพิเศษ หลังจากสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) ออกคำแถลงกล่าวว่า หากบริษัทประกันภัยตราสารหนี้รายใหญ่ๆ รายใด เกิดถูกลดเรตติ้งจนต่ำกว่าระดับท็อปสุดคือ AAA ที่กำลังได้รับอยู่ ก็อาจส่งผลกระทบกระเทือนทำให้พวกธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจ ซึ่งได้อาศัยบริษัทประกันภัยตราสารหนี้พวกนี้ มาค้ำประกันบรรดาตราสารหนี้ปรับโครงสร้างอันซับซ้อนของพวกตน จะต้องรีบนำเอาตราสารหนี้มีปัญหาเหล่านี้กลับไปไว้ในงบดุลกันอีก ส่งผลให้เป็นการลดเงินทุนที่จะสามารถปล่อยกู้พื้นฐานได้
ข่าวร้ายเหล่านี้ทำให้ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวันอังคารโดยลดลง 370.03 จุด หรือ 2.93% โดยที่หุ้นบริษัทบลูชิปทั้ง 30 ตัวซึ่งนำมาใช้คำนวณดัชนีตัวนี้ ต่างมีราคาตกลงทุกตัว ส่วนดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี500 ก็ติดลบ 3.20% และดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดแนสแดค ก็ลบ 3.08%
ต่อมาเมื่อถึงช่วงการซื้อขายของแถบเอเชียวานนี้(6) ข่าวร้ายของวอลล์สตรีทก็ลากเอาหุ้นแถบเอเชียทรุดตามทั่วหน้า ตลาดโตเกียวติดลบ 4.70% , ฮ่องกง ลบ 5.4%, สิงคโปร์ ลบ 3.50%
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (6 ก.พ.) ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงหลังตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดปรับตัวลดลงกว่า 370 จุดมากที่สุดในรอบเกือบครึ่งปี เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจล่าสุด คือ ดัชนีธุรกิจภาคบริการซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของกิจกรรมเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐ ในเดือน ม.ค. ดิ่งมาปิดสู่ระดับ 41.9 จุด ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2546 สะท้อนได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในสภาวะถดถอยอย่างชัดเจน
จากปัจจัยดังกล่าว กดดันให้ตลาดหุ้นไทยปิดที่ 794.63 จุด ลดลง 13.05 จุด หรือ 1.62% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 796.21 จุด ต่ำสุดที่ 787.87 จุด มูลค่าการซื้อขาย 16,415.30 ล้านบาท โดยมีนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 81.66 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,630.98 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,712.64 ล้านบาท
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีบี จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นทั่วเอเชียได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นดาวโจนส์ จากความกังวลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกครั้ง ประกอบกับนักลงทุนเริ่มชะลอการลงทุนในช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีนทำให้มูลค่าการซื้อขายตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลดลงอย่างชัดเจน
ทั้งนี้ คาดว่าความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งแรงขายทำกำไรหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน และธนาคารพาณิชย์ จะยังเป็นตัวแปรที่ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงได้ต่อเนื่อง โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำซื้อเก็งกำไรหุ้นที่ประกาศผลประกอบการออกมาเติบโตดี แนวรับ 780 จุด แนวต้าน 800 จุด
หน้าตารมต.ไม่หนุนดัชนี
นักวิเคราะห์บล.นครหลวงไทย กล่าวว่า แม้ว่าตลาดหุ้นไทยจะได้รับข่าวเรื่องความชัดเจนในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแต่เรื่องดังกล่าวนักลงทุนรับทราบมาค่อนข้างนานแล้ว จึงไม่เป็นแรงหนุนให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนมากนัก แต่แรงขายที่ส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเกิดจากความไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯหลังตัวเลขดัชนีธุรกิจบริการออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นทั่วเอเชียยังคงต้องติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในสหรัฐฯเป็นหลัก เนื่องจากความมั่นใจต่อสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน และรวดเร็วกับตลาดหุ้น ซึ่งเมื่อนักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นจะเข้ามาลงทุนและทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้
แนะถือเงินสดรอจังหวะลงทุน
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับฐานหลังจากปรับขึ้นแรงๆ ในช่วงที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งมาจากการทรุดตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนกลับมากังวลต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อีกครั้ง
"ตลาดหุ้นไทยคงจะปรับตัวลดลงเป็นช่วงสั้นๆ เพราะยังไม่มีแรงขายแรงๆ จากนักลงทุนต่างชาติออกมา ทิศทางวันนี้ตลาดหุ้นยังคงผันผวน มีโอกาสปรับฐานค่อนข้างสูง รวมทั้งยังมีปัจจัยกดดันจากต่างประเทศเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยประเมินแนวรับที่ 785-790 จุด แนวต้านที่ 800-805 จุด"
อย่ารีบซื้ออสังหาฯ-รับหมา
ด้านความเคลื่อนไหวหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มก่อสร้าง หลังได้รับดีเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย ภายในระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งการเปลี่ยนระบบรางเป็นรางคู่ รวมมูลค่า 8 แสนล้านบาท ส่งผลทำให้หุ้นในกลุ่มดังกล่าวต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นตอบรับข่าวในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา
โดยหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 5 อันดับ ในช่วงวันที่ 28 ม.ค. - 5 ก.พ. 51 คือ บมจ.แนเชอรัล พาร์ค หรือ N-PARK ปิดที่ 0.40 บาท เพิ่มขึ้น 0.26 บาท หรือ 185.71%, บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ UNIQ ปิดที่ 3.52 บาท เพิ่มขึ้น 0.62 บาท หรือ 21.38% และบมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN ปิดที่ 24.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.30 บาท หรือ 21.29%, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD ปิดที่ 9.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.35 บาท หรือ 17.65% และบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น หรือ STEC ปิดที่ 6.15 บาท เพิ่มขึ้น 0.85 บาท หรือ 16.04%
ขณะที่กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด คือ บมจ.ริช เอเชีย สตีล หรือ RICH ปิดที่ 15.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.00 บาท หรือ 34.72% บมจ.ไทย แคปปิตอล คอร์ปอเรชั่น หรือ TCC ปิดที่ 4.34 บาท เพิ่มขึ้น 1.10 บาท หรือ 33.95% บมจ.ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ หรือ TGCI ปิดที่ 0.92 บาท เพิ่มขึ้น 0.19 บาท หรือ 26.03%
นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. บีฟิท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาหุ้นในหมวดอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างตอบรับข่าวเชิงบวกในการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาล โดยบริษัทที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุด คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในการเข้าประมูลโครงการและบริษัทที่มีโครงการคอนโดมิเนียมหรือบ้านจัดสรรที่อยู่ใกล้พื้นที่ที่รถไฟฟ้า
"แม้ว่ากลุ่มดังกล่าวจะได้รับข่าวดีจากโครงการภาครัฐ แต่ยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างที่สูง โดยราคาเหล็กเส้นปรับขึ้นตันละ 200-300 บาท เช่นเดียวกับราคาปูนซีเมนต์ปรับขึ้น 150-200 บาท/ตัน รวมถึงราคาน้ำมันดีเซลที่มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้กำไรของบริษัทต่ำลง"
สำหรับการลงทุนระยะยาวหุ้นในกลุ่มนี้ ถือเป็นการซื้ออนาคตของแผนงานลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในปีนี้ จึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แรงซื้อที่เข้ามาหนาแน่นทำให้ราคาหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจิตวิทยาจากนโยบายการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า 9 สาย และปรับปรุงระบบขนส่ง แต่มองว่าราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็นการรับรู้รายได้ในอนาคตที่มากเกินไป เนื่องจากโครงการยังไม่เกิดขึ้นจริง โดยคาดว่าอาจจะมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมาในช่วง 1-2 วันนี้ แต่เมื่อราคาลงมาก็จะมีแรงซื้อกลับมาอีก เพราะในอนาคตกลุ่มยังได้ประโยชน์จากโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐ
ตลาดหุ้นร่วงระนาวทั่วโลก
ด้านความเคลื่อนไหวตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกมีอันร่วงกันระนาวอีกรอบ นำโดยวอลล์สตรีทเมื่อคืนวันอังคาร(5) สืบเนื่องจากเกิดความหวั่นผวาขึ้นมาใหม่ ในเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯทำท่าถลำลงสู่ภาวะถดถอย
ความหวาดกลัวล่าสุด จุดชนวนโดยการแถลงรายงานดัชนีกิจกรรมนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิต ของสถาบันเพื่อการบริหารจัดการซัปพลาย (ไอเอสเอ็ม) ประจำเดือนมกราคม ซึ่งปรากฏว่าลดฮวบลงกว่าที่คาดหมายกันไว้
กล่าวคือ ดัชนีตัวนี้ลงมาอยู่ที่ 41.9% ในเดือนมกราคม จากที่อยู่ในระดับ 54.4% ในเดือนธันวาคม แถมยังเป็นการตกฮวบแรงที่สุดของดัชนีนี้นับแต่ที่มีการคิดค้นขึ้นมาใช้ในปี 1997 อีกทั้งถอยลงจนสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2001 อันเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯอยู่ในภาวะถดถอยในรอบก่อน
เนื่องจากดัชนีตัวนี้เป็นมาตรวัดกิจกรรมของภาคบริการ ซึ่งปัจจุบันคือภาคเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของอเมริกา จึงถูกมองว่าเป็นสัญญาณอีกประการหนึ่ง ที่ยืนยันถึงการชะลอตัวลงอย่างแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์บางรายบอกว่า ได้ถลำลงสู่ภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้วด้วยซ้ำ
“เป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในอาการขาลงเท่านั้น แต่ความกะทันหันและคการลงลึกของการเสื่อมถอยคราวนี้ ดังที่เห็นได้จากรายงานชิ้นนี้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการทรุดตัวของยอดขายรถในเดือนมกราคม และความตึงตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของภาวะสินเชื่อ ... ยิ่งทำให้เราเกิดความกังวลว่า เรากำลังเผชิญกับขาลงที่จะลงลึกยิ่งกว่าที่เราได้เคยเห็นเมื่อปี 2001 เสียอีก” เดวิด โรเซนเบิร์ก นักเศรษฐศาสตร์ของ เมอร์ริลล์ลินช์ เขียนไว้ในรายงานวิเคราะห์ซึ่งส่งถึงลูกค้า
จากรายงานของไอเอสเอ็ม เมื่อบวกกับตัวเลขการจ้างงานในเดือนมกราคมที่รัฐบาลสหรัฐฯประกาศวันศุกร์ที่แล้ว(1) ซึ่งปรากฏว่าติดลบ 17,000 ตำแหน่ง นับเป็นเดือนที่การจ้างงานลดลงเดือนแรกตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา โรเซนเบิร์กจึงมีความเห็นว่า มี “โอกาสอันแข็งแกร่ง” ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) จะต้องลดดอกเบี้ยลงมาอีก และกระทั่งเฟดอาจจะกระทำก่อนหน้าถึงกำหนดการประชุมตามปกติคราวหน้าในวันที่ 18 มีนาคม
ความหวาดกลัวเศรษฐกิจถดถอย แผ่ไปสู่หุ้นต่างๆ ของวอลล์สตรีทแทบจะทุกหมวดในกระดาน ตั้งแต่สื่อสารไปจนถึงพลังงาน โดยเฉพาะอย่างหมวดธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ ยังดิ่งหนักเป็นพิเศษ หลังจากสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) ออกคำแถลงกล่าวว่า หากบริษัทประกันภัยตราสารหนี้รายใหญ่ๆ รายใด เกิดถูกลดเรตติ้งจนต่ำกว่าระดับท็อปสุดคือ AAA ที่กำลังได้รับอยู่ ก็อาจส่งผลกระทบกระเทือนทำให้พวกธนาคารพาณิชย์และวาณิชธนกิจ ซึ่งได้อาศัยบริษัทประกันภัยตราสารหนี้พวกนี้ มาค้ำประกันบรรดาตราสารหนี้ปรับโครงสร้างอันซับซ้อนของพวกตน จะต้องรีบนำเอาตราสารหนี้มีปัญหาเหล่านี้กลับไปไว้ในงบดุลกันอีก ส่งผลให้เป็นการลดเงินทุนที่จะสามารถปล่อยกู้พื้นฐานได้
ข่าวร้ายเหล่านี้ทำให้ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดวันอังคารโดยลดลง 370.03 จุด หรือ 2.93% โดยที่หุ้นบริษัทบลูชิปทั้ง 30 ตัวซึ่งนำมาใช้คำนวณดัชนีตัวนี้ ต่างมีราคาตกลงทุกตัว ส่วนดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี500 ก็ติดลบ 3.20% และดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดแนสแดค ก็ลบ 3.08%
ต่อมาเมื่อถึงช่วงการซื้อขายของแถบเอเชียวานนี้(6) ข่าวร้ายของวอลล์สตรีทก็ลากเอาหุ้นแถบเอเชียทรุดตามทั่วหน้า ตลาดโตเกียวติดลบ 4.70% , ฮ่องกง ลบ 5.4%, สิงคโปร์ ลบ 3.50%