ผู้จัดการรายวัน – ดัชนีหุ้นเดือนม.ค.ผันผวนหนักดันมูลค่าชอร์ตเซลหุ้น 1.2 พันล้านบาท นักลงทุนแห่ชอร์ตเซลหุ้น “บ้านปู” นำโด่งถึง 215 ล้านบาท รองมาปตท. 181 ล้านบาท ขณะที่เดือนธ.ค. 50 ยอดชอร์ตเซล 1.3 พันล้าน PTT ฮอตสุด 321 ล้านบาท ส่วน PTTEP ไม่น้อยหน้ายอดรวมกว่า 231 ล้านบาท ด้านบล.เคจีไอ (ประเทศไทย) ชี้ตลาดหุ้นขาลงหรือตลาดหุ้นผันผวนหนักนักลงทุนจะชอร์ตเซลหุ้นมากขึ้นเพื่อหาจังหวะทำกำไร ย้ำต้องมีความรู้และเข้าใจเป็นอย่างดี
จากการรวบรวมข้อมูลการขายชอร์ตในเดือนมกราคม 2550 พบว่า หลักทรัพย์ที่มีการขายชอร์ตจำนวน 34 หลักทรัพย์ ปริมาณ 28.73 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 1,249.57 ล้านบาท ซึ่งดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ถือว่ามีความผันผวนที่สูงโดยดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 842.97 จุด เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 และปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 728.58 จุด เมื่อวันที่24 มกราคม 2551 ซึ่งมีการแกว่งตัวถึง 114.39 จุด
ทั้งนี้หุ้นที่มีการขายชอร์ตสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU จำนวน 5.43 แสนหุ้น มูลค่า 215.78 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT จำนวน 6.09 แสนหุ้น มูลค่า 181.09 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC จำนวน 1.47 ล้านหุ้น มูลค่า 139.55 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL จำนวน 1.15 ล้านหุ้น มูลค่า 128.48 ล้านบาท และอันดับ 5 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จำนวน 8.45 แสนหุ้น มูลค่า 124.77 ล้านบาท
ขณะที่เดือนธันวาคมมีหลักทรัพย์ที่มีการขายชอร์ตจำนวน 51 หลักทรัพย์ ปริมาณ 32.81 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 1,354.03 ล้านบาท โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนธันวาคม 2550 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 858.10 จุด เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2550 และปรับตัวต่ำสุดที่ 791.71 จุด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีการแกว่งตัว 66.41จุด สำหรับหุ้นที่มีการขายชอร์ตมากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 1 บมจ.ปตท. หรือ PTT จำนวน 9.13 แสนหุ้น มูลค่า 321.30 ล้านบาท อันดับ 2 บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP จำนวน 1.50 ล้านหุ้น มูลค่า 231.03 ล้านบาท อันดับ 3 ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL จำนวน 9.13 แสนหุ้น มูลค่า 104.10 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จำนวน 3.64 ล้านหุ้น มูลค่า 96.22 ล้านบาท และอันดับ 5 บมจ.บ้านปู หรือ BANPU จำนวน 2.33 แสนหุ้น มูลค่า 94.56 ล้านบาท
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า ธุรกรรมการขายชอร์ตนั้นจะมีมูลค่าสูงขึ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงเนื่องจากนักลงทุนจะมีการยืมหุ้นเพื่อไปชอร์ตและซื้อกลับมาในช่วงที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงไป รวมทั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง คือ มีการปรับตัวลดลงแรงและปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนักลงทุนจึงมีการขายชอร์ตหุ้นออกมาเพื่อทำกำไรระยะสั้น แต่นักลงทุนกลุ่มนี้จะต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวพอสมควร
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยบล.เคจีไอ ประเมินว่าภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้จะมีความผันผวนที่สูง จากได้รับผลกระทบจากปัญหาในอเมริกา คือ ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) เศรษฐกิจอเมริกาที่ชะลอตัว จึงเชื่อว่าจะมีการยืมหุ้นเพื่อที่จะไปขายชอร์ตพอสมควร ซึ่งบริษัทคาดว่าปีนี้บล.เคจีไอ จะมีมูลค่าการยืมหุ้นประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 ที่มี 8,000 ล้านบาท
สำหรับในเดือนมกราคม 2551 นั้น บริษัทมีมูลค่าการให้ยืมหุ้นประมาณ กว่า 1,000 ล้านบาท โดยหุ้นที่มีการยืมมากสุดก็จะเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งในช่วงที่จะมีมูลค่าการยืมหุ้นมากที่สุดในเป็นช่วงที่อายุสัญญาของตลาดอนุพันธ์ (TFEX)จะหมดอายุ คือ ในช่วงเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม เพราะนักลงทุนสถาบันต้องการยืมหุ้นเพื่อที่จะไปทำการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทมียอดการให้ยืมสูงสุดประมาณ 2,000 ล้านบาท
จากการรวบรวมข้อมูลการขายชอร์ตในเดือนมกราคม 2550 พบว่า หลักทรัพย์ที่มีการขายชอร์ตจำนวน 34 หลักทรัพย์ ปริมาณ 28.73 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 1,249.57 ล้านบาท ซึ่งดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ถือว่ามีความผันผวนที่สูงโดยดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 842.97 จุด เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 และปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 728.58 จุด เมื่อวันที่24 มกราคม 2551 ซึ่งมีการแกว่งตัวถึง 114.39 จุด
ทั้งนี้หุ้นที่มีการขายชอร์ตสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย 1.บริษัทบ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU จำนวน 5.43 แสนหุ้น มูลค่า 215.78 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT จำนวน 6.09 แสนหุ้น มูลค่า 181.09 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC จำนวน 1.47 ล้านหุ้น มูลค่า 139.55 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL จำนวน 1.15 ล้านหุ้น มูลค่า 128.48 ล้านบาท และอันดับ 5 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP จำนวน 8.45 แสนหุ้น มูลค่า 124.77 ล้านบาท
ขณะที่เดือนธันวาคมมีหลักทรัพย์ที่มีการขายชอร์ตจำนวน 51 หลักทรัพย์ ปริมาณ 32.81 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 1,354.03 ล้านบาท โดยดัชนีตลาดหุ้นไทยในเดือนธันวาคม 2550 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 858.10 จุด เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2550 และปรับตัวต่ำสุดที่ 791.71 จุด เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีการแกว่งตัว 66.41จุด สำหรับหุ้นที่มีการขายชอร์ตมากที่สุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 1 บมจ.ปตท. หรือ PTT จำนวน 9.13 แสนหุ้น มูลค่า 321.30 ล้านบาท อันดับ 2 บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP จำนวน 1.50 ล้านหุ้น มูลค่า 231.03 ล้านบาท อันดับ 3 ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL จำนวน 9.13 แสนหุ้น มูลค่า 104.10 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จำนวน 3.64 ล้านหุ้น มูลค่า 96.22 ล้านบาท และอันดับ 5 บมจ.บ้านปู หรือ BANPU จำนวน 2.33 แสนหุ้น มูลค่า 94.56 ล้านบาท
นางสาวนฤมล อาจอำนวยวิภาส ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายธุรกิจตราสารอนุพันธ์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KGI เปิดเผยว่า ธุรกรรมการขายชอร์ตนั้นจะมีมูลค่าสูงขึ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลงเนื่องจากนักลงทุนจะมีการยืมหุ้นเพื่อไปชอร์ตและซื้อกลับมาในช่วงที่ราคาหุ้นมีการปรับตัวลดลงไป รวมทั้งในช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง คือ มีการปรับตัวลดลงแรงและปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนักลงทุนจึงมีการขายชอร์ตหุ้นออกมาเพื่อทำกำไรระยะสั้น แต่นักลงทุนกลุ่มนี้จะต้องมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวพอสมควร
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยบล.เคจีไอ ประเมินว่าภาวะตลาดหุ้นไทยปีนี้จะมีความผันผวนที่สูง จากได้รับผลกระทบจากปัญหาในอเมริกา คือ ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คุณภาพต่ำ (ซับไพรม์) เศรษฐกิจอเมริกาที่ชะลอตัว จึงเชื่อว่าจะมีการยืมหุ้นเพื่อที่จะไปขายชอร์ตพอสมควร ซึ่งบริษัทคาดว่าปีนี้บล.เคจีไอ จะมีมูลค่าการยืมหุ้นประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550 ที่มี 8,000 ล้านบาท
สำหรับในเดือนมกราคม 2551 นั้น บริษัทมีมูลค่าการให้ยืมหุ้นประมาณ กว่า 1,000 ล้านบาท โดยหุ้นที่มีการยืมมากสุดก็จะเป็นหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งในช่วงที่จะมีมูลค่าการยืมหุ้นมากที่สุดในเป็นช่วงที่อายุสัญญาของตลาดอนุพันธ์ (TFEX)จะหมดอายุ คือ ในช่วงเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม เพราะนักลงทุนสถาบันต้องการยืมหุ้นเพื่อที่จะไปทำการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทมียอดการให้ยืมสูงสุดประมาณ 2,000 ล้านบาท