เงินเฟ้อ ม.ค.พุ่ง 4.3% สูงสุดในรอบ 18 เดือน ประจาน “พาณิชย์”คุมราคาสินค้าไม่ได้ น่าอนาถผลสำรวจชี้ชัดสินค้าขึ้นราคายกแผง มีราคาลดแค่หมวดเคหสถาน และการสื่อสารเท่านั้น “ศิริพล”ยันแม้ประเดิมเงินเฟ้อพุ่งกระฉูด แต่จะคงเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปี 3-3.5% ไว้ก่อนยังไม่ปรับ ขอรอดูสถานการณ์ผ่านไตรมาสแรกก่อนค่อยว่ากันใหม่ สั่งกรมการค้าภายในจับตาสินค้าใกล้ชิด หากพบผิดปกติขึ้นบัญชีควบคุมทันที ขู่ผู้ผลิตฮั้วราคาเจอเล่นงานหนักแน่
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนม.ค.51 ซึ่งสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.50 สูงขึ้น 0.8% ซึ่งเป็นอัตราที่ขยับตัวสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.50 ที่สูงขึ้นเพียง 0.1% และเมื่อเทียบกับเดือนม.ค.50 สูงขึ้น 4.3% เป็นอัตราที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 18 เดือนนับจากเดือนก.ค.49
สาเหตุที่เงินเฟ้อ ม.ค.สูงขึ้น 0.8% นั้น มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.6% เป็นอัตราที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก เพราะสินค้าอาหารสูงขึ้นเกือบทุกชนิด ยกเว้นข้าวสารเหนียว และไข่ โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักชี ถั่วฝักยาว ขึ้นฉ่าย ต้นหอม มะนาว เนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง จากการที่กระทรวงพาณิชย์อนุมัติให้ปรับราคา รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลทราย เนยสด กาแฟ อาหารสำเร็จรูปต่างๆ (ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.2% จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น1.5% แม้จะมีการปรับขึ้นลงตามภาวะตลาดโลก ค่าบริการบำรุงรักษารถยนต์ที่สูงขึ้น รวมถึงยางรถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ สินค้าเกี่ยวกับการทำความสะอาดสูงขึ้น ค่าโดยสารสาธารณะที่สูงขึ้น 0.1% จากการปรับค่าโดยสารเรือ 11% ส่วนค่ารถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1-2 ราคาลดลง รถยนต์ราคาลดลงตามการปรับภาษีสรรพสามิต
สำหรับเงินเฟ้อ ม.ค.เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.50 ที่สูงขึ้น 4.3% นั้น เป็นเพราะการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 4.8% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ผักและผลไม้ 9.6% เป็ด ไก่ 11.2% เครื่องประกอบอาหาร 8.4% และดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.9% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง 28% ค่าโดยสารสาธารณะ 2.3%หมวดบันเทิงการอ่านและการศึกษา 1.4% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 3% เป็นต้น
ทั้งนี้ จากเอกสารที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าแจกประกอบการแถลงข่าวนั้น ระบุชัดเจนว่า ราคาสินค้าของเดือนม.ค.51 เทียบกับเดือนม.ค.50 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ ยกเว้นเพียงแค่หมวดเคหสถาน และการสื่อสารเท่านั้นที่ราคาลดลง
นายศิริพล กล่าวว่า แม้เงินเฟ้อเดือนม.ค.จะปรับตัวสูงขึ้นจริง แต่จนถึงขณะนี้ยังยืนเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีที่กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 3-3.5% ไว้เช่นเดิม เพราะขณะนี้สมมติฐานต่างๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ที่ 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะนี้เฉลี่ย 87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 33-33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 33.14 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งต้องรอดูสถานการณ์ต่างๆ เมื่อครบ 3 เดือนไปแล้ว ถึงจะประเมินอีกครั้ง หากปัจจัยต่างๆ เพิ่มขึ้น ก็อาจต้องปรับเป้าหมายเงินเฟ้อขึ้น แต่หากปัจจัยต่างๆลดลง ก็จะพิจารณาปรับเป้าลง
ส่วนการดูแลราคาสินค้า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในไปติดตามภาวะราคาอย่างใกล้ชิด หากพบว่าสินค้ารายการใดที่จำเป็นต่อการครองชีพ หรือเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าอื่นๆ มีการปรับราคาขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผล ก็ให้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด โดยนำเข้ามาเป็นสินค้าควบคุมทุกรายการสินค้า และให้รวมไปถึงสินค้าบริการด้วย ขณะเดียวกัน ขอเตือนไปยังสมาคมการค้า ผู้ประกอบการสินค้าต่างๆ หากพบว่ามีการรวมหัวกันกำหนดราคาสินค้า และไม่มีการแข่งขันกันอย่างแท้จริง ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที และสินค้ารายการนั้นๆ จะนำเข้ามาเป็นสินค้าควบคุม
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาอาหารสำเร็จรูปต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่ มีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของกรมฯ เป็นการปรับสูงขึ้นในส่วนของการจำหน่ายในฟู้ดคอร์ตในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งกรมฯ ได้เชิญผู้ประกอบการเหล่านี้มาหารือและขอให้ปรับราคาสินค้าอาหารสำเร็จรูปไม่ให้เกินจานละ 30 บาทแล้ว ส่วนราคาอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาดราคายังไม่เพิ่มขึ้น แม้ต้นทุนในการประกอบอาหาร โดยเฉพาะน้ำมันพืช และก๊าซหุงต้มจะมีราคาเพิ่มขึ้น แต่ก็กระทบต้นทุนการผลิตต่อจานไม่มาก จึงไม่มีความจำเป็นต้น
**มาม่ารอดูท่าอาจปรับราคาใหม่
นายพิพัฒน พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ได้อนุมัติให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปรับราคาขึ้น 1 บาท เมื่อช่วงกลางเดือมม.ค. ที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่ว่าปรับเพื่อเอากำไร แต่ปรับราคาขึ้นเพื่อความอยู่รอดเอาไปใช้ในส่วนที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มและแป้งสาลีรวมทั้งค่าขนส่ง โดยรวมต้นทุนขึ้นมาประมาณ 8-10 % ซึ่งราคาขาย 1 บาทที่ขึ้นมานั้นแบ่งเป็นค่าภาษีรัฐ 7% ช่องทางค้าปลีกส่ง 15% และค่าขนส่งกระจายสินค้าอีก 20% ซึ่งต้นทุนการผลิตหลักยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง เช่น น้ำมันปาล์ม แป้งสาลี และอนาคตหากทั้ง 2 ตัวหลักยังขึ้นราคาไม่หยุดเกินเพดานที่จะรับได้ คงต้องมีการพิจารณาปรับราคากันใหม่
ขณะที่เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจว่าในช่วงตรุษจีนปีนี้แนวโน้มการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนจะลดลง 40% โดยเฉพาะการท่องเที่ยว คนไทยจะไม่ท่องเที่ยว 78.9 % และคาดว่าจะมีเงินสะพัดแค่ 2.8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจซบเซา สินค้ามีราคาแพงขึ้น รวมถึงความไม่มั่นใจสถานการณ์การเมือง
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนม.ค.51 ซึ่งสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.50 สูงขึ้น 0.8% ซึ่งเป็นอัตราที่ขยับตัวสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.50 ที่สูงขึ้นเพียง 0.1% และเมื่อเทียบกับเดือนม.ค.50 สูงขึ้น 4.3% เป็นอัตราที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 18 เดือนนับจากเดือนก.ค.49
สาเหตุที่เงินเฟ้อ ม.ค.สูงขึ้น 0.8% นั้น มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 1.6% เป็นอัตราที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก เพราะสินค้าอาหารสูงขึ้นเกือบทุกชนิด ยกเว้นข้าวสารเหนียว และไข่ โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักชี ถั่วฝักยาว ขึ้นฉ่าย ต้นหอม มะนาว เนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง จากการที่กระทรวงพาณิชย์อนุมัติให้ปรับราคา รวมทั้งสินค้าอื่นๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์นม น้ำตาลทราย เนยสด กาแฟ อาหารสำเร็จรูปต่างๆ (ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป)
ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.2% จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น1.5% แม้จะมีการปรับขึ้นลงตามภาวะตลาดโลก ค่าบริการบำรุงรักษารถยนต์ที่สูงขึ้น รวมถึงยางรถยนต์ แบตเตอรี่รถยนต์ สินค้าเกี่ยวกับการทำความสะอาดสูงขึ้น ค่าโดยสารสาธารณะที่สูงขึ้น 0.1% จากการปรับค่าโดยสารเรือ 11% ส่วนค่ารถโดยสารประจำทางปรับอากาศชั้น 1-2 ราคาลดลง รถยนต์ราคาลดลงตามการปรับภาษีสรรพสามิต
สำหรับเงินเฟ้อ ม.ค.เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.50 ที่สูงขึ้น 4.3% นั้น เป็นเพราะการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 4.8% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น ผักและผลไม้ 9.6% เป็ด ไก่ 11.2% เครื่องประกอบอาหาร 8.4% และดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 3.9% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง 28% ค่าโดยสารสาธารณะ 2.3%หมวดบันเทิงการอ่านและการศึกษา 1.4% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 3% เป็นต้น
ทั้งนี้ จากเอกสารที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้าแจกประกอบการแถลงข่าวนั้น ระบุชัดเจนว่า ราคาสินค้าของเดือนม.ค.51 เทียบกับเดือนม.ค.50 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายการ ยกเว้นเพียงแค่หมวดเคหสถาน และการสื่อสารเท่านั้นที่ราคาลดลง
นายศิริพล กล่าวว่า แม้เงินเฟ้อเดือนม.ค.จะปรับตัวสูงขึ้นจริง แต่จนถึงขณะนี้ยังยืนเป้าหมายเงินเฟ้อทั้งปีที่กำหนดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 3-3.5% ไว้เช่นเดิม เพราะขณะนี้สมมติฐานต่างๆ ยังมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก โดยราคาน้ำมันดิบดูไบ กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ที่ 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะนี้เฉลี่ย 87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 33-33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 33.14 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งต้องรอดูสถานการณ์ต่างๆ เมื่อครบ 3 เดือนไปแล้ว ถึงจะประเมินอีกครั้ง หากปัจจัยต่างๆ เพิ่มขึ้น ก็อาจต้องปรับเป้าหมายเงินเฟ้อขึ้น แต่หากปัจจัยต่างๆลดลง ก็จะพิจารณาปรับเป้าลง
ส่วนการดูแลราคาสินค้า ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในไปติดตามภาวะราคาอย่างใกล้ชิด หากพบว่าสินค้ารายการใดที่จำเป็นต่อการครองชีพ หรือเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าอื่นๆ มีการปรับราคาขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผล ก็ให้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด โดยนำเข้ามาเป็นสินค้าควบคุมทุกรายการสินค้า และให้รวมไปถึงสินค้าบริการด้วย ขณะเดียวกัน ขอเตือนไปยังสมาคมการค้า ผู้ประกอบการสินค้าต่างๆ หากพบว่ามีการรวมหัวกันกำหนดราคาสินค้า และไม่มีการแข่งขันกันอย่างแท้จริง ก็จะดำเนินการตามกฎหมายทันที และสินค้ารายการนั้นๆ จะนำเข้ามาเป็นสินค้าควบคุม
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาอาหารสำเร็จรูปต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด บะหมี่ มีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจากการสำรวจของกรมฯ เป็นการปรับสูงขึ้นในส่วนของการจำหน่ายในฟู้ดคอร์ตในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งกรมฯ ได้เชิญผู้ประกอบการเหล่านี้มาหารือและขอให้ปรับราคาสินค้าอาหารสำเร็จรูปไม่ให้เกินจานละ 30 บาทแล้ว ส่วนราคาอาหารสำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาดราคายังไม่เพิ่มขึ้น แม้ต้นทุนในการประกอบอาหาร โดยเฉพาะน้ำมันพืช และก๊าซหุงต้มจะมีราคาเพิ่มขึ้น แต่ก็กระทบต้นทุนการผลิตต่อจานไม่มาก จึงไม่มีความจำเป็นต้น
**มาม่ารอดูท่าอาจปรับราคาใหม่
นายพิพัฒน พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ได้อนุมัติให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปรับราคาขึ้น 1 บาท เมื่อช่วงกลางเดือมม.ค. ที่ผ่านมา แต่ไม่ใช่ว่าปรับเพื่อเอากำไร แต่ปรับราคาขึ้นเพื่อความอยู่รอดเอาไปใช้ในส่วนที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันปาล์มและแป้งสาลีรวมทั้งค่าขนส่ง โดยรวมต้นทุนขึ้นมาประมาณ 8-10 % ซึ่งราคาขาย 1 บาทที่ขึ้นมานั้นแบ่งเป็นค่าภาษีรัฐ 7% ช่องทางค้าปลีกส่ง 15% และค่าขนส่งกระจายสินค้าอีก 20% ซึ่งต้นทุนการผลิตหลักยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง เช่น น้ำมันปาล์ม แป้งสาลี และอนาคตหากทั้ง 2 ตัวหลักยังขึ้นราคาไม่หยุดเกินเพดานที่จะรับได้ คงต้องมีการพิจารณาปรับราคากันใหม่
ขณะที่เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจว่าในช่วงตรุษจีนปีนี้แนวโน้มการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนจะลดลง 40% โดยเฉพาะการท่องเที่ยว คนไทยจะไม่ท่องเที่ยว 78.9 % และคาดว่าจะมีเงินสะพัดแค่ 2.8 หมื่นล้านบาทเท่านั้น สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจซบเซา สินค้ามีราคาแพงขึ้น รวมถึงความไม่มั่นใจสถานการณ์การเมือง