ศาลปกครองสั่งเพิกถอนคำสั่งกรมประชาสัมพันธ์ที่ระงับการส่งสัญญานเครือข่ายของ กสท.ให้เอเอสทีวี ระบุใช้อำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รับรู้ข่าวสาร แถมให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ต้องงดถ่ายทอดสดรวม 1.2 แสนบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5%ต่อปี นับแต่ปี 2549 ด้วย
วานนี้ ( 31 ม.ค.) ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาสั่งเพิกถอนหนังสือของกรมประชาสัมพันธ์ที่ให้บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด ( มหาชน) ระงับการส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ASTV ผ่านเครือข่ายของบริษัท กสท. และเพิกถอนหนังสือของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่แจ้งให้บริษัทอินเตอร์เนต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ระงับการให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เนตแก่บริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด รวมทั้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับริษัทไทยเดย์ฯเป็นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 49 ที่มีการฟ้องคดี จนกว่าจะชำระเสร็จ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ทั้งนี้ คำพิพากษาระบุถึงเหตุผลในการมีคำสั่งเพิกถอนว่า กรณีที่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตได้มีหนังสือลงวันที่ 16 พ.ย.48 แจ้ง ผอ.สถานีโทรทัศน์ News 1 ว่าได้รับการร้องเรียนว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ News 1 ทำการแพร่ภาพออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ใช้ถ้อยคำอันระคายเคืองต่อสถาบันเบื้องสูง จงใจให้เกิดการดูหมิ่นเหยียดยามรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้แพร่ภาพออกอากาศ แสดงว่า กรมประชาสัมพันธ์ เห็นว่า บริษัทไทยเดย์ฯ กระทำความผิดฐานส่งวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือเป็นความผิดทางอาญา ที่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญา แต่ก็กลับไม่มีการดำเนินการ ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ โดย นางภัทรียา สุมะโน รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ขณะนั้นจึง ได้มีหนังสือลงวันที่ 20 ม.ค. 49 และหนังสือลง วันที่ 24 ม.ค. 49 แจ้งให้บริษัท กสท. ระงับการส่งสัญญาณ ของบริษัทไทยเดย์ฯ ที่ผ่านเครือข่ายของ กสท.
ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ล่วงละเมิดต่อสิทธิตามสัญญาการเช่าใช้บริการโกลบแซ็ท ที่บริษัทไทยเดย์ ฯ มีกับ บริษัท กสท.ฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงสมควรให้เพิกถอนหนังสือดังกล่าวเสีย
นอกจากนี้ยังเห็นว่า การที่บริษัท กสท. มีการระงับการให้บริการ ตามสัญญาการเช่าใช้บริการโกลบแซ็ท แม้ต่อมาศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งกำหนด มาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยห้ามมิให้บริษัท กสท.ระงับการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโกลบแซ็ท แต่ระหว่างการระงับให้บริการ ก็ทำให้บริษัทไทยเดย์ฯ ไม่สามารถถ่ายถอดสดรายการที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้ดำเนินการ และรายการอื่นๆ ส่งไปให้บริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด ตามสัญญาให้ทำรายการสื่อที่หลากหลาย รวม 6 ครั้ง ซึ่งต่อมานายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.ไทยเดย์ฯ ให้ถ้อยคำว่า บริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด ได้ใช้สิทธิตามสัญญาเรียกค่าปรับจากบริษัทไทยเดย์ฯ ที่ไม่ผลิตและผลิตรายการล่าช้าตั้งวันที่ 24 ม.ค. ถึง 2 ก.พ. 49 วันละ 2 แสนบาท และค่าเสียหายจากการขาดโอกาสทางธุรกิจ และขาดความไว้วางใจจากลูกค้า เป็นเงิน 2.6 ล้านบาท จึงเห็นว่า การที่บริษัท กสทฯ ระงับการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโกลบแซ็ท แก่บริษัทไทยเดย์ฯ ทำให้บริษัทเกิดความเสียหาย จากการที่ไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาและข้อตกลงที่ทำกับบริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด รวมทั้งยังทำให้นาย สนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรายการเมือองไทยรายสัปดาห์สัญจรได้รับความเสียหายโดยเสียเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง และ 39 วรรคหนี่ง แห่งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
ดังนั้นการกระทำของกรมประชาสัมพันธ์ และรองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายอันเป็นกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งหมด
ส่วนที่บริษัทไทยเดย์ฯ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น มีข้อพิจารณาว่าบริษัทเอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการขาดโอกาสในทางธุรกิจและขาดความไว้วางใจของลูกค้าเป็นเงิน 2.6 ล้านบาท ตามที่เรียกร้องหรือไม่ ซึ่งค่าปรับและค่าเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่บริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด จะต้องพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายจริงหรือไม่ เพียงใด ดังนั้นความเสียหายที่บริษัทไทยเดย์อ้างในคดีนี้จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และเป็นที่ยุติแล้ว และเมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แลความร้ายแรงแห่งละเมิดที่กรมประชาสัมพันธ์ กระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทไทยเดย์ โดยพิจารณาจากการที่ไม่สามารถถ่ายทอดรายการสดนอกสถานที่ได้ จำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 2 หมื่นบาท รวมเป็นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ทำละเมิดอันถือเป็นวันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5
สำหรับที่นายจิรชัย สีจร รองกรรมการผู้จัดใหญ่ รักการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทกสท. ขณะนั้น ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 ม.ค. 49 แจ้งให้บริษัทอินเตอร์เนต เซอร์วิส โฟรวายเดอร์ จำกัด ระงับการให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เนตแก่บริษัทไทยเดย์โดยอ้างเหตุผลตามหนังสือของกรมประชาสัมพันธ์ จึงเป็นการดำเนินการไปโดยความเข้าใจโดยสุจริตว่าการกระทำบริษัทไทยเดย์ฯ เป็นการดำเนินการโดยผิดกฎหมาย แต่ทราบว่าทางบริษัทอินเตอร์เนต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ไมได้ระงับการให้บริษัทอินเตอร์เนตแก่บริษัทไทยเดย์ ตามหนังสือดังกล่าวแต่อย่างใด จึงถือว่าหนังสือฯดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหนังสือดังกล่าวดำเนินการไปโดยอ้างเหตุผลตามหนังสือของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงสมควรต้องเพิกถอนหนังสือดังกล่าวเสีย.
วานนี้ ( 31 ม.ค.) ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาสั่งเพิกถอนหนังสือของกรมประชาสัมพันธ์ที่ให้บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด ( มหาชน) ระงับการส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ASTV ผ่านเครือข่ายของบริษัท กสท. และเพิกถอนหนังสือของบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่แจ้งให้บริษัทอินเตอร์เนต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ระงับการให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เนตแก่บริษัทไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด รวมทั้งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับริษัทไทยเดย์ฯเป็นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 49 ที่มีการฟ้องคดี จนกว่าจะชำระเสร็จ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด
ทั้งนี้ คำพิพากษาระบุถึงเหตุผลในการมีคำสั่งเพิกถอนว่า กรณีที่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตได้มีหนังสือลงวันที่ 16 พ.ย.48 แจ้ง ผอ.สถานีโทรทัศน์ News 1 ว่าได้รับการร้องเรียนว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ News 1 ทำการแพร่ภาพออกอากาศรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ใช้ถ้อยคำอันระคายเคืองต่อสถาบันเบื้องสูง จงใจให้เกิดการดูหมิ่นเหยียดยามรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตให้แพร่ภาพออกอากาศ แสดงว่า กรมประชาสัมพันธ์ เห็นว่า บริษัทไทยเดย์ฯ กระทำความผิดฐานส่งวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ถือเป็นความผิดทางอาญา ที่อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ต้องร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญา แต่ก็กลับไม่มีการดำเนินการ ซึ่งกรมประชาสัมพันธ์ โดย นางภัทรียา สุมะโน รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ขณะนั้นจึง ได้มีหนังสือลงวันที่ 20 ม.ค. 49 และหนังสือลง วันที่ 24 ม.ค. 49 แจ้งให้บริษัท กสท. ระงับการส่งสัญญาณ ของบริษัทไทยเดย์ฯ ที่ผ่านเครือข่ายของ กสท.
ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ล่วงละเมิดต่อสิทธิตามสัญญาการเช่าใช้บริการโกลบแซ็ท ที่บริษัทไทยเดย์ ฯ มีกับ บริษัท กสท.ฯ ซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงสมควรให้เพิกถอนหนังสือดังกล่าวเสีย
นอกจากนี้ยังเห็นว่า การที่บริษัท กสท. มีการระงับการให้บริการ ตามสัญญาการเช่าใช้บริการโกลบแซ็ท แม้ต่อมาศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งกำหนด มาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โดยห้ามมิให้บริษัท กสท.ระงับการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโกลบแซ็ท แต่ระหว่างการระงับให้บริการ ก็ทำให้บริษัทไทยเดย์ฯ ไม่สามารถถ่ายถอดสดรายการที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้ดำเนินการ และรายการอื่นๆ ส่งไปให้บริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด ตามสัญญาให้ทำรายการสื่อที่หลากหลาย รวม 6 ครั้ง ซึ่งต่อมานายจิตตนาถ ลิ้มทองกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.ไทยเดย์ฯ ให้ถ้อยคำว่า บริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด ได้ใช้สิทธิตามสัญญาเรียกค่าปรับจากบริษัทไทยเดย์ฯ ที่ไม่ผลิตและผลิตรายการล่าช้าตั้งวันที่ 24 ม.ค. ถึง 2 ก.พ. 49 วันละ 2 แสนบาท และค่าเสียหายจากการขาดโอกาสทางธุรกิจ และขาดความไว้วางใจจากลูกค้า เป็นเงิน 2.6 ล้านบาท จึงเห็นว่า การที่บริษัท กสทฯ ระงับการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโกลบแซ็ท แก่บริษัทไทยเดย์ฯ ทำให้บริษัทเกิดความเสียหาย จากการที่ไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาและข้อตกลงที่ทำกับบริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด รวมทั้งยังทำให้นาย สนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการรายการเมือองไทยรายสัปดาห์สัญจรได้รับความเสียหายโดยเสียเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง และ 39 วรรคหนี่ง แห่งรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น
ดังนั้นการกระทำของกรมประชาสัมพันธ์ และรองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายอันเป็นกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีทั้งหมด
ส่วนที่บริษัทไทยเดย์ฯ ขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนนั้น มีข้อพิจารณาว่าบริษัทเอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการขาดโอกาสในทางธุรกิจและขาดความไว้วางใจของลูกค้าเป็นเงิน 2.6 ล้านบาท ตามที่เรียกร้องหรือไม่ ซึ่งค่าปรับและค่าเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่บริษัท เอเชีย ไทมส์ ออนไลน์ จำกัด จะต้องพิสูจน์ว่าได้รับความเสียหายจริงหรือไม่ เพียงใด ดังนั้นความเสียหายที่บริษัทไทยเดย์อ้างในคดีนี้จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และเป็นที่ยุติแล้ว และเมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แลความร้ายแรงแห่งละเมิดที่กรมประชาสัมพันธ์ กระทำการไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทไทยเดย์ โดยพิจารณาจากการที่ไม่สามารถถ่ายทอดรายการสดนอกสถานที่ได้ จำนวน 6 ครั้ง ๆ ละ 2 หมื่นบาท รวมเป็นเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ทำละเมิดอันถือเป็นวันผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5
สำหรับที่นายจิรชัย สีจร รองกรรมการผู้จัดใหญ่ รักการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทกสท. ขณะนั้น ได้มีหนังสือลงวันที่ 26 ม.ค. 49 แจ้งให้บริษัทอินเตอร์เนต เซอร์วิส โฟรวายเดอร์ จำกัด ระงับการให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เนตแก่บริษัทไทยเดย์โดยอ้างเหตุผลตามหนังสือของกรมประชาสัมพันธ์ จึงเป็นการดำเนินการไปโดยความเข้าใจโดยสุจริตว่าการกระทำบริษัทไทยเดย์ฯ เป็นการดำเนินการโดยผิดกฎหมาย แต่ทราบว่าทางบริษัทอินเตอร์เนต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด ไมได้ระงับการให้บริษัทอินเตอร์เนตแก่บริษัทไทยเดย์ ตามหนังสือดังกล่าวแต่อย่างใด จึงถือว่าหนังสือฯดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหนังสือดังกล่าวดำเนินการไปโดยอ้างเหตุผลตามหนังสือของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงสมควรต้องเพิกถอนหนังสือดังกล่าวเสีย.