ตรัง - บริษัท กันตัง คอนเทนเนอร์ เดโพ จำกัด (เคซีดี) ผู้ประกอบ ธุรกิจส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างประเทศรายใหญ่ของจังหวัดตรัง ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าฯ ระงับการปิดท่าเทียบเรือกันตังชั่วคราวเพื่อปรับปรุง ชี้ส่งผลเสียหายต่อการส่งออก ผวจ.เตรียมเรียกทุกฝ่ายหารือด่วนแล้ว
จากกรณีที่เทศบาลเมืองกันตัง อ.กันตัง จ.ตรังได้ปิดท่าเทียบเรือกันตัง เพื่อซ่อมแซม ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยไม่มีการระบุว่า การซ่อมแซมจะเสร็จสิ้นเมื่อใดนั้น
นางสาวปิยะพร วิจิตรศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตัง คอนเทนเนอร์ เดโพ จำกัด (เคซีดี) ซึ่งดำเนินธุรกิจส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างประเทศรายใหญ่ของจังหวัดตรัง ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายอานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อขอให้เทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง ยกเลิกการปิดท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง เพื่อทำการซ่อมแซมบริเวณท่าเทียบเรือ โดยการปักเสาไม้ค้อ เพื่อป้องกันการกระแทก นับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา แต่ไม่มีการกำหนดว่าการซ่อมแซมจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่
ทั้งนี้ บริษัทเห็นว่า คำสั่งปิดท่าเรือดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมาก ทำให้เกิดความเสียหายโดยรวมต่อภาคเอกชนและเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง รวมทั้งมีผลกระทบไปยังจังหวัดใกล้เคียง ที่จำเป็นต้องส่งออกสินค้าผ่านทางท่าเรือต่างประเทศกันตังเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้จังหวัดตรังสูญเสียโอกาสทางด้านการตลาด สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีจนทำให้ยุทธศาสตร์ของจังหวัดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสูญเสียความเป็นศูนย์กลางการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางทะเลอันดามันอย่างนับมูลค่ามิได้
ที่ผ่านมา บริษัท กันตังคอนเทนเนอร์ ได้ดำเนินการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ โดยนำเข้าและส่งออก ณ ท่าเรือศุลกากรกันตัง นับตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน เป็นจำนวน 385,020 ตู้ หรือคิดเป็นมูลค่า 28,888,992,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียงเกิดความขยายตัว รวมทั้งยังเป็นรองรับการเจริญเติบโต ในการส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราไปสู่ต่างประเทศ จากมูลค่าปีละกว่า 4 พันล้านบาท มาเป็นมูลค่าปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท
บริษัทได้มองการเจริญเติบโต และการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของจังหวัดตรังในอนาคตว่า จะเป็นศูนย์กลางการส่งออกในภูมิภาคทะเลอันดามัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อภาพรวมการส่งออก-นำเข้า ทางบริษัทจึงได้เสนอขอซ่อมแซมสะพานส่วนที่ชำรุดให้สามารถใช้งานได้ โดยไม่ทำให้ท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตังมีความเสียหายมากขึ้น และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องปิดท่าเทียบเรือ ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และวิศวกรของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการซ่อมสร้างทางทะเลอยู่แล้ว
ด้านนายอานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตนจะนัดฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เช่น เทศบาลเมืองกันตัง สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 5 ตรัง ด่านศุลกากรกันตัง มาหารือร่วมกันในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551
จากกรณีที่เทศบาลเมืองกันตัง อ.กันตัง จ.ตรังได้ปิดท่าเทียบเรือกันตัง เพื่อซ่อมแซม ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยไม่มีการระบุว่า การซ่อมแซมจะเสร็จสิ้นเมื่อใดนั้น
นางสาวปิยะพร วิจิตรศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตัง คอนเทนเนอร์ เดโพ จำกัด (เคซีดี) ซึ่งดำเนินธุรกิจส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างประเทศรายใหญ่ของจังหวัดตรัง ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง นายอานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เพื่อขอให้เทศบาลเมืองกันตัง อำเภอกันตัง ยกเลิกการปิดท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตัง เพื่อทำการซ่อมแซมบริเวณท่าเทียบเรือ โดยการปักเสาไม้ค้อ เพื่อป้องกันการกระแทก นับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา แต่ไม่มีการกำหนดว่าการซ่อมแซมจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่
ทั้งนี้ บริษัทเห็นว่า คำสั่งปิดท่าเรือดังกล่าวมีผลกระทบอย่างมาก ทำให้เกิดความเสียหายโดยรวมต่อภาคเอกชนและเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง รวมทั้งมีผลกระทบไปยังจังหวัดใกล้เคียง ที่จำเป็นต้องส่งออกสินค้าผ่านทางท่าเรือต่างประเทศกันตังเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้จังหวัดตรังสูญเสียโอกาสทางด้านการตลาด สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีจนทำให้ยุทธศาสตร์ของจังหวัดไม่เป็นไปตามเป้าหมาย และสูญเสียความเป็นศูนย์กลางการนำเข้าและส่งออกสินค้าทางทะเลอันดามันอย่างนับมูลค่ามิได้
ที่ผ่านมา บริษัท กันตังคอนเทนเนอร์ ได้ดำเนินการขนส่งสินค้าด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ โดยนำเข้าและส่งออก ณ ท่าเรือศุลกากรกันตัง นับตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน เป็นจำนวน 385,020 ตู้ หรือคิดเป็นมูลค่า 28,888,992,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดตรัง และจังหวัดใกล้เคียงเกิดความขยายตัว รวมทั้งยังเป็นรองรับการเจริญเติบโต ในการส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพาราไปสู่ต่างประเทศ จากมูลค่าปีละกว่า 4 พันล้านบาท มาเป็นมูลค่าปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท
บริษัทได้มองการเจริญเติบโต และการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของจังหวัดตรังในอนาคตว่า จะเป็นศูนย์กลางการส่งออกในภูมิภาคทะเลอันดามัน ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อภาพรวมการส่งออก-นำเข้า ทางบริษัทจึงได้เสนอขอซ่อมแซมสะพานส่วนที่ชำรุดให้สามารถใช้งานได้ โดยไม่ทำให้ท่าเทียบเรือต่างประเทศกันตังมีความเสียหายมากขึ้น และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องปิดท่าเทียบเรือ ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี และวิศวกรของบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการซ่อมสร้างทางทะเลอยู่แล้ว
ด้านนายอานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตนจะนัดฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ เช่น เทศบาลเมืองกันตัง สำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 5 ตรัง ด่านศุลกากรกันตัง มาหารือร่วมกันในวันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ 2551