รอยเตอร์ - "อียู" ฟ้ององค์การการค้าโลก(WTO) กล่าวหาประเทศไทยใช้ระเบียบวิธีทางศุลกากร ซึ่งเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกผู้ส่งออกเหล้าไวน์และสุราอื่นๆ ของอียู คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุในคำแถลงเมื่อวานนี้(27)
คำแถลงของคณะกรรมาธิการยุโรปบอกว่า วิธีคำนวณมูลค่าภาษีศุลกากรที่ต้องชำระซึ่งไทยนำมาใช้นั้น เป็นการปฏิเสธราคาของผลิตภัณฑ์จากอียูที่นำเข้าไทย ตามที่ทางบริษัทอียูได้ประกาศสำแดงไว้ แล้วหันไปใช้วิธีกำหนดราคาตามอำเภอใจ
"มาตรการเหล่านี้เป็นการกระทำตามอำเภอใจ และสร้างความเสียหายให้แก่บรรดาบริษัทอียูที่กำลังแสวงหาหนทางทำธุรกิจในประเทศไทย เราเชื่อว่าวิธีปฏิบัติเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของWTO" ปีเตอร์ แมนเดลสัน กรรมาธิการฝ่ายการค้าของอียู ระบุในคำแถลง
"เราเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะแก้ไขประเด็นปัญหานี้ด้วยความรวดเร็วและอย่างเป็นมิตร" เขากล่าว ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นตลาดเหล้าไวน์และสุราอื่นๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 72 ล้านยูโร (105 ล้านดอลลาร์) ของพวกผู้ส่งออกอียู เท่ากับเป็นตลาดต่างประเทศใหญ่อันดับ 8 ของพวกเขาเมื่อวัดจากยอดขาย
ความเคลื่อนไหวของอียูในตอนนี้ คือการยื่นเรื่องขอปรึกษาหารือผ่านทางWTO อันเป็นขั้นตอนแรกตามกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก โดยถ้าหากการปรึกษาหารือนี้ยังไม่อาจตกลงกันได้ในเวลา 60 วัน อียูก็อาจยื่นขอให้คณะผู้ตัดสินของWTO พิจารณาว่ามาตรการของไทยผิดกฎเกณฑ์องค์การการค้าโลกหรือไม่
ตามคำแถลงของอียู นับแต่เดือนกันยายน 2006 ไทยได้แสดงความข้องใจสงสัยอย่างเป็นระบบ ต่อราคาของผลิตภัณฑ์อียูบางประเภทที่นำเข้าไทย ซึ่งแจ้งสำแดงไว้ในการทำธุรกรรม จากนั้นฝ่ายไทยก็หันไปใช้วิธีกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามอำเภอใจ
วิธีปฏิบัติเช่นนี้เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานที่ว่า การกำหนดมูลค่าทางศุลกากรนั้น โดยปกติแล้วจะยึดเอามูลค่าการทำธุรกรรมของสินค้านำเข้านั้นๆ หลักการพื้นฐานนี้มีกำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยมูลค่าทางศุลกากรของWTO คำแถลงของอียูกล่าว
อียูบอกด้วยว่า วิธีเช่นนี้ยังสร้างผลกระทบอย่างมากต่อบรรดาบริษัทอียู ในแง่ของการสร้างภาระทางการบริหารอันไม่จำเป็น อีกทั้งทำให้การผ่านกระบวนการชำระภาษีศุลกากร ตลอดจนการที่ต้องวางแบงก์การันตีและเงินสดค้ำประกันเอาไว้ ต้องเสียเวลามากขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล
การตัดสินใจฟ้องWTOของอียูคราวนี้ บังเกิดขึ้นภายหลังการล็อบบี้อย่างหนักของอุตสาหกรรมเหล้าไวน์และสุราของยุโรป นำโดยองค์การสุราแห่งยุโรปที่มีชื่อย่อว่า CEPS โดยที่ CEPS ได้แสดงความยินดียิ่งต่อความเคลื่อนไหวของคณะกรรมาธิการยุโรป
"เราสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจของอียูที่จะเปิดการพูดจาอย่างเป็นทางการที่ WTO เกี่ยวกับระเบียบวิธีในการกำหนดมูลค่าทางศุลกากรของไทย และหวังว่านโยบายของไทยจะถูกทำให้เข้าอยู่ในแนวทางเดียวกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยเร็วที่สุด" เจมี ฟอร์เทสคิว ผู้อำนวยการใหญ่ของ CEPS ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง
คำแถลงของคณะกรรมาธิการยุโรปบอกว่า วิธีคำนวณมูลค่าภาษีศุลกากรที่ต้องชำระซึ่งไทยนำมาใช้นั้น เป็นการปฏิเสธราคาของผลิตภัณฑ์จากอียูที่นำเข้าไทย ตามที่ทางบริษัทอียูได้ประกาศสำแดงไว้ แล้วหันไปใช้วิธีกำหนดราคาตามอำเภอใจ
"มาตรการเหล่านี้เป็นการกระทำตามอำเภอใจ และสร้างความเสียหายให้แก่บรรดาบริษัทอียูที่กำลังแสวงหาหนทางทำธุรกิจในประเทศไทย เราเชื่อว่าวิธีปฏิบัติเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของWTO" ปีเตอร์ แมนเดลสัน กรรมาธิการฝ่ายการค้าของอียู ระบุในคำแถลง
"เราเชื่อว่าเป็นไปได้ที่จะแก้ไขประเด็นปัญหานี้ด้วยความรวดเร็วและอย่างเป็นมิตร" เขากล่าว ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นตลาดเหล้าไวน์และสุราอื่นๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 72 ล้านยูโร (105 ล้านดอลลาร์) ของพวกผู้ส่งออกอียู เท่ากับเป็นตลาดต่างประเทศใหญ่อันดับ 8 ของพวกเขาเมื่อวัดจากยอดขาย
ความเคลื่อนไหวของอียูในตอนนี้ คือการยื่นเรื่องขอปรึกษาหารือผ่านทางWTO อันเป็นขั้นตอนแรกตามกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก โดยถ้าหากการปรึกษาหารือนี้ยังไม่อาจตกลงกันได้ในเวลา 60 วัน อียูก็อาจยื่นขอให้คณะผู้ตัดสินของWTO พิจารณาว่ามาตรการของไทยผิดกฎเกณฑ์องค์การการค้าโลกหรือไม่
ตามคำแถลงของอียู นับแต่เดือนกันยายน 2006 ไทยได้แสดงความข้องใจสงสัยอย่างเป็นระบบ ต่อราคาของผลิตภัณฑ์อียูบางประเภทที่นำเข้าไทย ซึ่งแจ้งสำแดงไว้ในการทำธุรกรรม จากนั้นฝ่ายไทยก็หันไปใช้วิธีกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามอำเภอใจ
วิธีปฏิบัติเช่นนี้เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานที่ว่า การกำหนดมูลค่าทางศุลกากรนั้น โดยปกติแล้วจะยึดเอามูลค่าการทำธุรกรรมของสินค้านำเข้านั้นๆ หลักการพื้นฐานนี้มีกำหนดไว้ในความตกลงว่าด้วยมูลค่าทางศุลกากรของWTO คำแถลงของอียูกล่าว
อียูบอกด้วยว่า วิธีเช่นนี้ยังสร้างผลกระทบอย่างมากต่อบรรดาบริษัทอียู ในแง่ของการสร้างภาระทางการบริหารอันไม่จำเป็น อีกทั้งทำให้การผ่านกระบวนการชำระภาษีศุลกากร ตลอดจนการที่ต้องวางแบงก์การันตีและเงินสดค้ำประกันเอาไว้ ต้องเสียเวลามากขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล
การตัดสินใจฟ้องWTOของอียูคราวนี้ บังเกิดขึ้นภายหลังการล็อบบี้อย่างหนักของอุตสาหกรรมเหล้าไวน์และสุราของยุโรป นำโดยองค์การสุราแห่งยุโรปที่มีชื่อย่อว่า CEPS โดยที่ CEPS ได้แสดงความยินดียิ่งต่อความเคลื่อนไหวของคณะกรรมาธิการยุโรป
"เราสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการตัดสินใจของอียูที่จะเปิดการพูดจาอย่างเป็นทางการที่ WTO เกี่ยวกับระเบียบวิธีในการกำหนดมูลค่าทางศุลกากรของไทย และหวังว่านโยบายของไทยจะถูกทำให้เข้าอยู่ในแนวทางเดียวกับกฎเกณฑ์ของ WTO โดยเร็วที่สุด" เจมี ฟอร์เทสคิว ผู้อำนวยการใหญ่ของ CEPS ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง