"สมัคร-อภิสิทธิ์"ชิงเก้าอี้นายกฯ วันนี้ "สมัคร" เรียกประชุมลูกพรรค ประกาศมั่นใจในการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี เพื่อสานต่ออุดมการณ์ไทยรักไทยที่ถูกยุบไป พร้อมจัดรายการ"สนทนาประสาสมัครคุยกับประชาชน" เลียนแบบ"แม้ว" เตรียมฟื้นหวยบนดิน เดินหน้าประชานิยมเต็มรูปแบบ "นพดล" เผย"แม้ว" เคืองมติชนลงรูปโล้นห่มเหลืองล้อเลียน ด้านปชป. มีมติส่ง"อภิสิทธิ์" ลงชิงนายกฯ "ประธานยงยุทธ"เผยจะสร้างบรรยากาศการประชุมแบบสมานฉันท์ แต่ปิดช่องอภิปรายก่อนโหวต อ้างไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ
เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (27ม.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นประธานการประชุมส.ส. ของพรรค เพื่อชี้แจงขั้นตอนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมี ส.ส.เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน
ก่อนการประชุมได้มีการแจกจ่ายหนังสือ บทพระนิพนธ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ชื่อหนังสือ “เรื่องสั้น…ที่ฉันคิด” ให้ส.ส.คนละ 5 เล่ม นอกจากนี้ยังได้แจกเอกสาร การตรวจสอบเบื้องต้น การทำบัญชีให้กับส.ส.ที่มาประชุมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมครั้งนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาฯ คนที่ 1 และ 2 ได้เข้าประชุมด้วย
ภายหลังการประชุม ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงว่า นายสมัคร ได้พูดในที่ประชุมแสดงความมั่นใจให้ ส.ส.ในพรรคเห็นถึงความพร้อมต่อการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นส.ส.ที่ไม่เคยสอบตก มีประสบการณ์ทางการเมืองหลายอย่าง มีหลักการทำงานที่ว่า ทำเพื่อให้ ไม่ใช่ทำเพื่อเอา พร้อมระบุว่า ครม.ชุดใหม่จะมีประสิทธิภาพ มาจากคนในพรรคและนอกพรรค การขันอาสามาเป็นหัวหน้าพรรคครั้งนี้จะสานต่ออุดมการณ์ของอดีตพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป ที่เป็นพรรคเก่ง ดี ซึ่งวิญญาณมาสถิตย์อยู่ที่พรรคนี้แล้ว ขอให้มั่นใจว่า ความสำเร็จต่างๆ จะกลับมาอย่างแน่นอน
**จัดรายการพบปชช.เลียนแบบแม้ว
ร.ท.กุเทพกล่าวว่า นายสมัคร จะเปิดรายการ"สนทนาประสาสมัครคุยกับประชาชน" ทุกวันเสาร์ เป็นแนวทางเดียวกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยทำเอาไว้ในรายการ"นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน" โดยจะเริ่มดำเนินการหลังมีการโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งนายกฯ เรียบร้อยแล้ว
ส่วนที่มีการดูแคลนว่า นายสมัครจะอยู่ไม่ครบวาระนั้น นายสมัคร เข้าใจสถานการณ์การเมืองขณะนี้ดี โดยจะตั้งใจทำงาน และอยู่ให้ครบตามวาระ ส่วนการพูดเปิดใจ หรือพูดวิสัยทัศน์ครั้งแรกนั้น จะทำผ่านรายการที่จะจัดขึ้น ทั้งนี้นายสมัครได้นัดส.ส.ว่าถ้ามีการโปรดเกล้าฯวันใด ก็ขอให้ไปรวมตัวกันที่บ้าน ในหมู่บ้านโอฬาร ซ.นวมินทร์ 81 แต่ไม่มีฤกษ์ เพราะถือว่า ฤกษ์ที่โปรดเกล้าฯ เป็นฤกษ์ดีแล้ว นายสมัคร ยังระบุว่า สถานที่บ้านกว้างขวาง สามารถรองรับ ส.ส.เป็นร้อยคน จึงเชิญชวนให้ไปกันทุกคน เพราะการเป็นนายกฯ ครั้งแรก จะต้องรับสนองพระบรมราชโองการที่บ้าน โดยนายสมัคร ย้ำชัดเจนว่า หลังมีการโปรดเกล้าฯ ภายใน 2 วัน จะได้ ครม.ชุดใหม่แน่นอน นอกจากนี้นายสมัคร ยังปฏิเสธข่าวที่ระบุว่า ส่งทีม รปภ.ไปดูสถานที่ที่ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ พรรคพลังประชาชนเชื่อมั่นว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะมีมารยาท จรรยาบรรณในการโหวตเลือกนายกฯ
**สร้างบรรยากาศประชุมปรองดอง
ขณะที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการ"เรื่องเด่นเย็นนี้" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ถึงการทำหน้าที่ประธานในการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (28 ม.ค.)ว่า การประชุมสภาผู้แทนฯ เมื่อเปิดประชุม ตนจะนำส.ส.ที่ได้รับการประกาศรับรองผลปฏิญาณตัวก่อนทำหน้าที่ จากนั้นจึงจะเป็นวาระการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือ 96 คน ซึ่งหากมีชื่อเสนอเพียงคนเดียว ก็ยังต้องขานชื่อเพื่อถามว่า จะรับรองหรือไม่
หากมีการเสนอชื่อคนอื่นมาแข่ง ก็จะถามว่าเห็นว่าจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนจะพยายามให้บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างอะลุ้มอล่วย ไม่ให้มีความขัดแย้ง หรือต้องมาชิงไหวชิงพริบกัน
ผู้ดำเนินรายการถามว่า หากประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าเป็นผู้แข่งขันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ กล่าวว่า เป็นสิทธิของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ก็เป็นหัวหน้าพรรค มีสิทธิเสนอตัวเป็นนายกฯได้ เพียงแต่เสียงที่สนับสนุนไม่ถึงเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ทำได้ ไม่เสียหาย แต่ยังเป็นการดีเสียอีก
**ปิดช่องอภิปรายก่อนโหวต
เมื่อถามว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้มีการแสดงวิสัยทัศน์และอภิปรายเรื่องคุณสมบัติก่อนโหวต นายยงยุทธ กล่าวว่า ตามธรรมเนียมปฏิบัติ เรื่องการอภิปรายเรื่องคุณสมบัติ หรือการแสดงวิสัยทัศน์ไม่เคยมี เพราะแต่ละคนก็ผ่านการลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ตอบคำถามในการหาเสียงไปหมดแล้ว อีกทั้งคุณสมบัติก็มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หากต้องการอภิปราย ก็ยังมีเวทีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการยื่นกระทู้ ญัตติ หรือแม้แต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้หลังจากเลือกนายกฯ แล้ว นายกฯจะต้องแถลงนโยบายต่อสภา ซึ่งก็ถือวิสัยทัศน์ และสัญญาประชาคมว่า รัฐบาลนี้จะทำอะไรให้กับประเทศ หากต้องการ อภิปรายก็สามารถใช้เวทีนั้นได้เช่นกัน
เมื่อถามถึงความกังวลกรณี พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประธานสภาฯ ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง นายยงยุทธ กล่าวว่า ความเป็นกลางวัดจากการทำหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมา ตนเรียกร้องมาตลอดว่าขอให้โอกาสตนทำงานก่อน แต่ยังไม่ทันไรก็บอกว่าตนไม่เป็นกลาง ก็มีความน้อยเนื้อต่ำใจบ้าง แต่ก็ขอยืนยันว่า จะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางอย่างดีที่สุด
** ฟื้นประชานิยมทุกโครงการ
นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการร่างนโยบายเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ ของพรรคได้ร่างนโยบายที่จะเสนอต่อสภาฯ เรียบร้อยแล้ว มีความยาวทั้งหมด 45 หน้า แต่หลังจากนี้ ผู้บริหารพรรค นำโดย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ จะต้องนำไปหารือร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 30 ม.ค.นี้ อีกครั้ง โดยการปรับแก้จะใช้ร่างของเราเป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่าภายในต้นเดือน ก.พ. นโยบายที่จะแถลงต่อสภา ก็จะเสร็จสมบูรณ์
สำหรับร่างนโยบายในส่วนของพรรค จะเน้นเรื่องการต่อยอดนโยบายที่ประสบความสำเร็จในปี 44 และปี 48 รวมทั้งจะพลิกฟื้นนโยบายหลายอย่างที่ถูกยกเลิกไป โดยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล ผู้ว่าฯ ซีอีโอ หวยบนดิน กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา การพักหนี้เกษตรกร ธนาคารหมู่บ้าน โคล้านตัว การพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบ และการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ การประกาศสงครามกับยาเสพติด รวมทั้งจะต้องเพิ่มเรื่องมาตรการดูแลสภาพเศรษฐกิจ การเงิน ซึ่งจะต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล แต่การปรับแก้ จะยึดร่างนโยบายของพรรคพลังประชาชน เป็นหลัก
**ไม่ปฏิเสธทาบ"ดร.โกร่ง"นั่งคลัง
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า มีการทาบทาม นายวีรพงษ์ รามางกูร มาดำรงตำแหน่ง รวม.คลังนั้น นายนพดล กล่าวว่า ขอรอให้เรื่องนี้ยุติก่อน เมื่อมีข้อมูลชัดเจนก็จะชี้แจงให้ทราบ เพราะเท่าที่ทราบจาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคฯ ก็ทราบว่ามีการติดต่อทาบทามกันหลายคน ซึ่งตำแหน่งรมว.คลัง เป็นตำแหน่งสำคัญ ขอให้รอความชัดเจนก่อน แต่ตอนนี้ ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งก็สามารถเป็นได้ทั้งคนใน และคนนอก
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่าการตั้ง ครม.ชุดนี้ ทำที่ฮ่องกง นายนพดล กล่าวว่า คงเป็นความพยายามที่จะพูดไปเรื่อย ให้เชื่อมโยงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงดำเนินการทางการเมืองผ่านพรรคพลังประชาชน และพยายามบอกว่า พรรคพลังประชาชน เป็นนอมินี ของพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่ความจริงแล้ว คณะผู้บริหารพรรค ก็ได้ประชุม และเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งตนไม่เชื่อว่า นายเทพไท จะไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ และขอดูรายชื่อผู้โดยสารไปฮ่องกงว่ามีใครบ้าง เพราะสายการบินคงไม่ยอม
ส่วนกรณี นายวราวุธ ศิลปอาชา ลูกชาย นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ระบุว่า พบส.ส.พลังประชาชน หลายคนที่ฮ่องกง นายนพดล กล่าวว่า นายวราวุธ บอกแล้วว่า พาภรรยาไปเที่ยว แต่ที่พบ ส.ส.พลังประชาชน ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะส.ส.ก็อาจจะไปพบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยความคิดถึง เพราะร่วมงานกันมานาน ตนยังอยากไป แต่ก็ยังไม่ได้ไป
เมื่อถามถึงการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในการประชุมสภาผู้แทนฯในวันนี้ นายนพดล กล่าวว่า ผู้ที่เสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ คงเป็นผู้ใหญ่ในพรรค อาจจะเป็นรองหัวหน้าพรรค หรือเลขาธิการพรรค ซึ่งใครจะเป็นผู้เสนอก็ไม่สำคัญเท่าผู้ที่เลือก อย่างไรก็ตาม คิดว่าคงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ละพรรคการเมืองก็ต้องมีการประชุม และสั่งให้ลูกพรรคสนับสนุนนายสมัคร เพราะการเมืองไม่ใช่แค่เรื่องกฎ กติกา แต่อยู่ที่มารยาทด้วย เพราะเรื่องเหล่านี้น่าจะจบไปตั้งแต่การแถลงร่วมรัฐบาลที่โรงแรมสุโขทัยแล้ว อีกทั้งการโหวต ก็เป็นการโหวตโดยเปิดเผย ไม่น่ามีปัญหาอะไร
**ฉุนมติชนตัดต่อภาพโล้นห่มเหลือง
เมื่อถามว่าช่วงนี้ ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ บ้างหรือไม่ เนายนพดล กล่าวว่า "เพิ่งคุยกันเมื่อ 7 นาทีที่แล้ว แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องการตั้ง ครม. เพราะท่านไม่เกี่ยว เพียงแต่พูดถึงเรื่องหนังสือมติชน สุดสัปดาห์ ที่ใช้รูปปกเป็นรูป พ.ต.ท.ทักษิณ ห่มผ้าเหลือง แล้วนำไปเทียบกับจอมพลถนอม กิติขจร อดีตนายกฯ ซึ่งต้องเรียนว่า แม้พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นบุคคลสาธารณะ แต่มติชน ก็ทำไม่เหมาะสมในการตัดต่อรูปภาพ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอดีตนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วเมื่อไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศ ก็โดยปฏิวัติยึดอำนาจ ดังนั้นการเดินทางกลับประเทศ จึงไม่จำเป็นต้องบวชเป็นพระ แต่เป็นสิทธิอยู่แล้วที่จะเข้ามา และที่ผ่านมาท่านก็เคยบวชเรียน ศึกษาพระธรรมมาแล้ว ซึ่งได้คุยกันว่า ที่มติชนทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม" นายนพดลกล่าว
เมื่อถามว่าจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไมได้โกรธ และคงไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีอะไร แต่ที่อยากขอร้องคือ หากทำได้ก็ขอให้เกียรติกันบ้างตามสมควร แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อยากให้ทุกฝ่ายปรองดองกัน
**ไม่จำเป็นต้องอภิปรายก่อนโหวต
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)ชั่วคราว กล่าวถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้ ว่า วิปรัฐบาลจะไม่มีการนัดประชุมใดๆ อีก เป็นเรื่องของแต่ละพรรคการเมืองจะไปหารือกันเอง ส่วนตัวเชื่อว่า การโหวตโดยใช้วิธีขานชื่อ ตัวเลขที่ออกมาจะเต็ม 312 คน โดยหักเสียงของประธานสภาฯ 3 คน ออกไป
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงขั้นตอนการโหวตเลือกนายกฯ ว่า ทั้งประธาน และรองประธานสภาฯ ได้ตกลงกันแล้วว่า จะทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคนละ 1 ชม . โดยระหว่างนั้นใครไม่ได้ทำหน้าที่ ก็จะลงมาโหวตเลือกนายกฯ ด้วย คาดว่าจะไม่มีปัญหาความวุ่นวายอะไร
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการขออภิปรายเรื่องคุณสมบัติของนายกฯ นั้น ก็ต้องดูมติที่ประชุมจะเห็นอย่างไร แต่ส่วนตัวไม่เห็นว่าจะต้องอภิปรายอะไรอีก เพราะประชาชนเลือกมาแล้ว ก็ควรปล่อยไปตามกระบวนการสภา เรื่องคุณสมบัติที่มีการตั้งข้อสังเกตเรื่อง คดีความต่างๆนั้น ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่า รองประธานสภาฯ มาร่วมประชุมกับพรรคการเมืองจะเหมาะสมหรือไม่ นายสมศักดิ์ ตอบว่า วันนี้มาร่วมประชุมในฐานะสมาชิกพรรคคนหนึ่ง
**ปชป.ดัน"อภิสิทธิ์"ชิงนายกฯ
บ่ายวานนี้ (27 ม.ค.) พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส. เพื่อพิจารณาการเสนอชื่อบุคคลเข้าแข่งขันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการประชุมสภาผู้แทนราษฏรวันนี้หรือไม่ ซึ่ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าแข่งขันเป็นนายกฯ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคมีเหตุผล 3 ประการ ในการเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ 1. เป็นไปตามประเพณีของระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีการแข่งขันกัน 2. พรรคประชาธิปัตย์เชื่อมั่นว่า มีบุคลากรที่มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่นายกฯ และ 3. ประชาชนจะได้เปรียบเทียบว่า บุคคลจากพรรคใดมีความเหมาะสมกว่ากัน
ทั้งนี้ การเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ดังกล่าวจะไม่มีผลลบต่อพรรค เพราะเป็นเรื่องของการแข่งขันในระบอบประชาธิปไตย การเมืองไม่ใช่การแพ้ชนะด้วยการยกมืออย่างเดียว เพราะนอกจากจะชอบด้วยกฎหมายแล้ว ควรมีความชอบธรรมด้วย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่านายอภิสิทธิ์ มีความชอบธรรมในการทำหน้าที่นายกฯ
เมื่อถามว่าจะมีการเสนอให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อ เป็นนายกฯ อภิปรายในสภาก่อนโหวตหรือไม่ นายองอาจ กล่าวว่า การขึ้นเป็นนายกฯ มีเหตุผลอะไรที่จะไม่มีการพูดคุยกันก่อน ซึ่งการเสนอให้มีการอภิปรายฯ ถือเป็นสิทธิของส.ส.ในสภาที่จะหยิบยกให้มีการอภิปรายหรือไม่ แต่ขอยืนยีนว่า พรรคไม่ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม การโหวตเลือกนายกฯ พรรคไม่ได้คิดว่าจะมีกลุ่มงูเห่า หรือมีเสียงจากรัฐบาลเทมาให้ นายอภิสิทธิ์ เพราะจะยึดทุกอย่างตามข้อบังคับในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่สามารถตอบแทนส.ส.คนอื่นได้ว่าจะโหวตกันอย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญให้เป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ในการพิจารณาเลือกบุคคลขึ้นเป็นนายกฯ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความกล้าหาญ และการใช้ดุลยพินิจของ ส.ส. แต่ละคน
**พร้อมทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภา
นายองอาจกล่าวว่า พรรคพร้อมทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการในการประชุมสภานัดแรกวันนี้ ซึ่งหวังว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นครั้งแรกในวันนี้เช่นกัน จะปฏิบัติหน้าที่เป็นกลาง คำนึงถึงสิทธิเสียงข้างน้อย ให้ความเป็นธรรม และไม่ลำเอียง โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนแทนที่จะทำเพื่อพรรคที่ตนสังกัด หรือพวกพ้องของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีของนางยงยุทธ เห็นว่า น่าจะปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากมีการส่งสัญญาณที่ดีในการรับฟังความเห็นของนายชวน หลีกภัย ที่เคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี และประธานสภา มาก่อน เกี่ยวกับวันกำหนดวันประชุมเพื่อเลือกนายกฯ ที่มีการเลื่อนจากวันศุกร์ที่ผ่านมา มาเป็นวันจันทร์ ผิดกับประธานสภาฯ คน ก่อนที่ไม่รับฟังความเห็นของเสียงข้างน้อย และทำให้เวทีสภาไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ จนหลายฝ่ายต้องออกไปใช้เวทีอื่นทำให้เกิดปัญหาตามมา ดังนั้นหากนายยงยุทธ ยึดแนวทางนี้ต่อไป เชื่อว่าการทำงานในสภาน่าจะไม่มีปัญหา
"เรายืนยันจะเป็นฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ และวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. พรรค จะจัดสัมมนาส.ส. เพื่อให้รู้จักการทำหน้าที่ฝ่ายค้านและเป็นส.ส.ที่มีคุณภาพ โดยในวันที่30 ม.ค. พรรคจะมีกิจกรรมพิเศษเพื่อขอบคุณประชาชน จ.ชลบุรี ในการเลือกส.ส.ของพรรคเข้ามายกจังหวัด" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
**บรรหารตรวจแถวส.ส. ก่อนโหวต
ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่บ้านพักสนามบินน้ำของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย ว่าวันนี้ได้มีสมาชิกและ ส.ส.ในกลุ่มของ พล.ต.สนั่น อาทิ นายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส. สัดส่วนพรรคชาติไทย น.ส.วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส ผู้สมัคร ส.ส.เชียงราย ได้เดินทางไปเยี่ยม พล.ต.สนั่น ที่บ้านพัก เนื่องจาก พล.ต.สนั่น มีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ซึ่งนายอัศวิน กล่าวกับผู้สื่อข่าว ว่า คงต้องขอโทษบรรดาผู้สื่อข่าวที่มาขอสัมภาษณ์ พล.ต.สนั่น ถึงการเตรียมความพร้อมเข้าประชุมสภาฯเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก พล.ต.สนั่น ยังคงมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึ่งมีอาการต่อเนื่องมา 2-3 วันแล้ว จึงต้องการพักผ่อนให้มาก ๆ และยืนยันว่าในวันที่ 28 ม.ค. นี้ เวลา 08.00 น. พล.ต.สนั่นจะเดินไปที่รัฐสภา เพื่อเข้าร่วมประชุมส.ส.ของพรรคชาติไทย ก่อนที่จะโหวตเลือกนายกฯ ในที่ประชุมสภา ตามที่ประธานสภาฯนัดแน่นอน
นายอัศวินกล่าวว่า ในการโหวต ส.ส.วันนี้ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะ ส.ส.พรรคชาติไทย ไม่แตกแถว และพรรคชาติไทย จะไม่เสนอชื่อใครแข่งในสภาฯ แต่อย่างใด พรรคชาติไทย มีความเห็นพ้องตามพรรคร่วมรัฐบาล ที่จะโหวตตามที่พรรคพลังประชาชนเสนอชื่อ
**รช.หนุน"หมัก"ตอบแทน1รมว.1รมช.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล โฆษกพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เปิดเผยภายหลังการประชุมกรรมการบริหาพรรค ว่า ที่ประชุมมีมติให้พรรค เดินหน้าสนับสนุนพรรคพลังประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งเห็นชอบให้ส่งตัวแทนเข้ารับตำแหน่งในรัฐบาล 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ว่าเป็นบุคคลใด และกระทรวงใด เนื่องจากจะต้องรอความชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกอีกครั้ง พร้อมกันนี้ ยังได้ขอความร่วมมือจาก ส.ส.ของพรรค ให้โหวตเลือก นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ด้วย
ขณะที่ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวถึงการที่สมาชิกเตรียมล่ารายชื่อถอดถอนตนออกจากตำแหน่งว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นสีสันของระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิ์แสดงออกทางความคิด และไม่ถือเป็นความขัดแย้งภายในพรรค และเมื่อพรรคมีมติชัดเจนแล้วในวันนี้ ทุกคนก็ควรที่จะต้องยอมรับ
**เอแบคโพลล์ชี้"สมัคร"นั่งนายกฯ
เอแบคโพลล์ ได้เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 27 จังหวัด จำนวน 3,506 คน เกี่ยวกับ ความหวัง/ความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ของประเทศ และคนไทยกลุ่มไหนที่สนับสนุน / ไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลปรากฏว่า ปัญหาสำคัญที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยกเป็นปัญหาหลัก หรือที่เรียกว่า เป็นวาระแห่งชาติ คือ ปัญหาราคาสินค้าและบริการ ในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น ร้อยละ 75.4 รองลงมาเป็นปัญหายาเสพติด ร้อยละ 68.3 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 65.2 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัญหาทางการเมือง เช่น การนิรโทษกรรม 111 อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับกลายเป็นปัญหาที่ประชาชนให้ความสนใจในอันดับท้าย ๆ
นอกจากนี้ คนไทยส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 55.4 ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาทันที ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ยังให้เวลาเตรียมตัว 1-3 เดือน ร้อยละ 19.6 ให้เวลา 3-6 เดือน และร้อยละ 11.6 เท่านั้น ที่ให้เวลารัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
เมื่อสอบถามถึงระดับความเชื่อมั่นต่อประเด็นสำคัญของประเทศในรายละเอียด กลับพบว่า ค่าคะแนนความเชื่อมั่นโดยเฉลี่ยไม่ถึงครึ่ง ของค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยเฉพาะเรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เพียง 3.10 คะแนน เรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไปได้เพียง 3.39 คะแนน เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของ กลุ่มนักการเมืองได้เพียง 3.43 คะแนน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนได้เพียง 4.11 คะแนน เรื่องรัฐบาลชุดใหม่จะอยู่จนครบวาระ ได้เพียง 4.22 คะแนน เป็นต้น
ส่วนประชาชนกลุ่มไหนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 44.3 ให้การสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 38.4 ไม่ให้การสนับสนุน และร้อยละ 17.3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือขออยู่ตรงกลาง
จากผลสำรวจพบว่า นายสมัคร ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม พ่อบ้าน แม่บ้าน กลุ่มผู้เกษียณอายุ และกลุ่มผู้รับจ้างทั่วไป สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และกลุ่มประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังคงให้การสนับสนุน นายสมัคร สูงกว่ากลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 55.3 และร้อยละ 51.9 ในขณะที่ประชาชนในภาคใต้มีร้อยละ 18.1 ที่สนับสนุน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48 ต้องการให้พรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาลนาน 3 ปีถึงจนครบวาระ มีเพียงร้อยละ 16.5 เท่านั้น ที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลไม่เกิน 6 เดือน
**แนะว่าที่นายกฯโชว์วิชั่นก่อนโหวต
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป. กล่าวถึงการเปิดประชุมสภา เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ไม่อยากให้เป็นเพียงพิธีกรรมเพื่อประกันอำนาจของคนคนเดียว ฉะนั้นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ควรจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสภา และประชาชน แม้จะเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่คงหนีไม่พ้น นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็ตาม
แต่การแสดงวิสัยทัศน์อย่างกว้างๆ ต่อสถานการณ์บ้านเมืองและแนวทางในการทำหน้าที่ในฐานะผู้นำประเทศนั้น ก็เป็นสิ่งที่สมควรจะทำเพื่อสร้างความมั่นใจว่าวันนี้ สภาผู้แทนราษฏรอันทรงเกียรติ จะทำหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้ง 63 ล้านคน ไม่ใช่การเลือกผู้จัดการมรดกของคนบางคนเท่านั้น
"ครป.เชื่อว่านายสมัคร คงมีความอึดอัดไม่น้อยกับบทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะภาพข่าวที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวนมากบินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ประเทศฮ่องกงนั้น สร้างความสับสนให้ประชาชนว่า ใครกันแน่ที่มีอำนาจสูงสุดระหว่าง นายสมัคร กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ใครกันแน่เป็นนายกฯแท้ และนายกฯเทียม และประชาชนควรเรียกร้อง หรือคาดหวังจากใครเพื่อให้คณะรัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาของประเทศได้อย่างแท้จริง" นายสุริยะใส กล่าว
**แนะประกาศวาระแห่งชาติ 5 ข้อ
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า ครป.ขอให้รัฐบาลชุดใหม่ นำปัญหาเหล่านี้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ 5 เรื่อง คือ 1.แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารแผ่นดิน หากรัฐบาลชุดใหม่ไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ปรองดองของผู้คนในชาติ จะทำให้นโยบาย หรือวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไม่สามารถเกิดผลในทางปฏิบัติได้ เพราะสังคมจะเต็มไปด้วยความแตกแยกขัดแย้ง
2. แนวทางการแก้วิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งต้องทำควบคู่กันไปทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค และระดับจุลภาค หรือเศรษฐกิจระดับรากฐาน เพราะในขณะนี้เริ่มปรากฎชัดเจนถึงสัญญาณการถดกอยของเศรษฐกิจระดับโลก ในขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นสัญญาณร้ายของเศรษฐกิจภายในประเทศที่เกิดจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณในอดีต โดยเฉพาะปัญหาหนี้เสียระดับหญ้า และปัญหาข้าวยากหมากแพง รวมทั้งวิกฤติพลังงาน
3. แนวทางแก้ปัญหาความยากจน ที่รัฐบาลชุดที่แล้วประกาศว่า คนจนจะหายภายใน 5 ปีแต่ ข้อเท็จจริงกลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง และแนวนโยบายหรือวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและพรรคการเมืองยังมุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยเฉพาะระดับนโยบายและโครงสร้างการพัฒนาประเทศที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องยากจน ไร้ที่ดินทำกิน และเกิดปัญหาหนั้สินจำนวนมหาศาล
4. แนวทางการคลี่คลายความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการยุติเหตุการณ์ฆ่ารายวัน ซึ่งยังมีให้เห็นอยู่ต่อเนื่อง
5 .การสร้างบทบาทของท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา แนวทางสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะการตรากฎหมายลูก และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
นายสุริยะใส กล่าวว่า ครป. พร้อมทำหน้าที่เป็นพลังถ่วงดุลตรวจสอบนอกสภา และพร้อมสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล หากนโยบายหรือมาตรการใดเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศ และรัฐบาลมีความบริสุทธิ์ใจจริง ในขณะเดียวกันเราจะคัดค้านทุกวิถีทางหากรัฐบาลชุดใหม่บิดเบือนสัญญาประชาคมและพยายามแก้ปัญหาของคนๆเดียว
นายสุริยะใส กล่าวสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าแพ้ก็ตาม เพื่อที่จะได้มีคนเปรียบเทียบ และเพื่อเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย หากคนเดียวไม่มีคู่แข่ง เพราะสุดท้ายก็จะเป็นเพียงพิธีกรรม
เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (27ม.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นประธานการประชุมส.ส. ของพรรค เพื่อชี้แจงขั้นตอนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมี ส.ส.เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน
ก่อนการประชุมได้มีการแจกจ่ายหนังสือ บทพระนิพนธ์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ชื่อหนังสือ “เรื่องสั้น…ที่ฉันคิด” ให้ส.ส.คนละ 5 เล่ม นอกจากนี้ยังได้แจกเอกสาร การตรวจสอบเบื้องต้น การทำบัญชีให้กับส.ส.ที่มาประชุมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมครั้งนี้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ และ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาฯ คนที่ 1 และ 2 ได้เข้าประชุมด้วย
ภายหลังการประชุม ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน แถลงว่า นายสมัคร ได้พูดในที่ประชุมแสดงความมั่นใจให้ ส.ส.ในพรรคเห็นถึงความพร้อมต่อการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นส.ส.ที่ไม่เคยสอบตก มีประสบการณ์ทางการเมืองหลายอย่าง มีหลักการทำงานที่ว่า ทำเพื่อให้ ไม่ใช่ทำเพื่อเอา พร้อมระบุว่า ครม.ชุดใหม่จะมีประสิทธิภาพ มาจากคนในพรรคและนอกพรรค การขันอาสามาเป็นหัวหน้าพรรคครั้งนี้จะสานต่ออุดมการณ์ของอดีตพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป ที่เป็นพรรคเก่ง ดี ซึ่งวิญญาณมาสถิตย์อยู่ที่พรรคนี้แล้ว ขอให้มั่นใจว่า ความสำเร็จต่างๆ จะกลับมาอย่างแน่นอน
**จัดรายการพบปชช.เลียนแบบแม้ว
ร.ท.กุเทพกล่าวว่า นายสมัคร จะเปิดรายการ"สนทนาประสาสมัครคุยกับประชาชน" ทุกวันเสาร์ เป็นแนวทางเดียวกับที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เคยทำเอาไว้ในรายการ"นายกฯทักษิณคุยกับประชาชน" โดยจะเริ่มดำเนินการหลังมีการโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งนายกฯ เรียบร้อยแล้ว
ส่วนที่มีการดูแคลนว่า นายสมัครจะอยู่ไม่ครบวาระนั้น นายสมัคร เข้าใจสถานการณ์การเมืองขณะนี้ดี โดยจะตั้งใจทำงาน และอยู่ให้ครบตามวาระ ส่วนการพูดเปิดใจ หรือพูดวิสัยทัศน์ครั้งแรกนั้น จะทำผ่านรายการที่จะจัดขึ้น ทั้งนี้นายสมัครได้นัดส.ส.ว่าถ้ามีการโปรดเกล้าฯวันใด ก็ขอให้ไปรวมตัวกันที่บ้าน ในหมู่บ้านโอฬาร ซ.นวมินทร์ 81 แต่ไม่มีฤกษ์ เพราะถือว่า ฤกษ์ที่โปรดเกล้าฯ เป็นฤกษ์ดีแล้ว นายสมัคร ยังระบุว่า สถานที่บ้านกว้างขวาง สามารถรองรับ ส.ส.เป็นร้อยคน จึงเชิญชวนให้ไปกันทุกคน เพราะการเป็นนายกฯ ครั้งแรก จะต้องรับสนองพระบรมราชโองการที่บ้าน โดยนายสมัคร ย้ำชัดเจนว่า หลังมีการโปรดเกล้าฯ ภายใน 2 วัน จะได้ ครม.ชุดใหม่แน่นอน นอกจากนี้นายสมัคร ยังปฏิเสธข่าวที่ระบุว่า ส่งทีม รปภ.ไปดูสถานที่ที่ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ พรรคพลังประชาชนเชื่อมั่นว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะมีมารยาท จรรยาบรรณในการโหวตเลือกนายกฯ
**สร้างบรรยากาศประชุมปรองดอง
ขณะที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ในรายการ"เรื่องเด่นเย็นนี้" ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ถึงการทำหน้าที่ประธานในการประชุมเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ (28 ม.ค.)ว่า การประชุมสภาผู้แทนฯ เมื่อเปิดประชุม ตนจะนำส.ส.ที่ได้รับการประกาศรับรองผลปฏิญาณตัวก่อนทำหน้าที่ จากนั้นจึงจะเป็นวาระการเสนอชื่อผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 หรือ 96 คน ซึ่งหากมีชื่อเสนอเพียงคนเดียว ก็ยังต้องขานชื่อเพื่อถามว่า จะรับรองหรือไม่
หากมีการเสนอชื่อคนอื่นมาแข่ง ก็จะถามว่าเห็นว่าจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนจะพยายามให้บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างอะลุ้มอล่วย ไม่ให้มีความขัดแย้ง หรือต้องมาชิงไหวชิงพริบกัน
ผู้ดำเนินรายการถามว่า หากประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าเป็นผู้แข่งขันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ กล่าวว่า เป็นสิทธิของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ก็เป็นหัวหน้าพรรค มีสิทธิเสนอตัวเป็นนายกฯได้ เพียงแต่เสียงที่สนับสนุนไม่ถึงเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ทำได้ ไม่เสียหาย แต่ยังเป็นการดีเสียอีก
**ปิดช่องอภิปรายก่อนโหวต
เมื่อถามว่า หากพรรคประชาธิปัตย์ ขอให้มีการแสดงวิสัยทัศน์และอภิปรายเรื่องคุณสมบัติก่อนโหวต นายยงยุทธ กล่าวว่า ตามธรรมเนียมปฏิบัติ เรื่องการอภิปรายเรื่องคุณสมบัติ หรือการแสดงวิสัยทัศน์ไม่เคยมี เพราะแต่ละคนก็ผ่านการลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ตอบคำถามในการหาเสียงไปหมดแล้ว อีกทั้งคุณสมบัติก็มีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หากต้องการอภิปราย ก็ยังมีเวทีอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการยื่นกระทู้ ญัตติ หรือแม้แต่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้หลังจากเลือกนายกฯ แล้ว นายกฯจะต้องแถลงนโยบายต่อสภา ซึ่งก็ถือวิสัยทัศน์ และสัญญาประชาคมว่า รัฐบาลนี้จะทำอะไรให้กับประเทศ หากต้องการ อภิปรายก็สามารถใช้เวทีนั้นได้เช่นกัน
เมื่อถามถึงความกังวลกรณี พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประธานสภาฯ ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง นายยงยุทธ กล่าวว่า ความเป็นกลางวัดจากการทำหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมา ตนเรียกร้องมาตลอดว่าขอให้โอกาสตนทำงานก่อน แต่ยังไม่ทันไรก็บอกว่าตนไม่เป็นกลาง ก็มีความน้อยเนื้อต่ำใจบ้าง แต่ก็ขอยืนยันว่า จะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางอย่างดีที่สุด
** ฟื้นประชานิยมทุกโครงการ
นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการร่างนโยบายเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ว่า ขณะนี้คณะกรรมการฯ ของพรรคได้ร่างนโยบายที่จะเสนอต่อสภาฯ เรียบร้อยแล้ว มีความยาวทั้งหมด 45 หน้า แต่หลังจากนี้ ผู้บริหารพรรค นำโดย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค และนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ จะต้องนำไปหารือร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 30 ม.ค.นี้ อีกครั้ง โดยการปรับแก้จะใช้ร่างของเราเป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่าภายในต้นเดือน ก.พ. นโยบายที่จะแถลงต่อสภา ก็จะเสร็จสมบูรณ์
สำหรับร่างนโยบายในส่วนของพรรค จะเน้นเรื่องการต่อยอดนโยบายที่ประสบความสำเร็จในปี 44 และปี 48 รวมทั้งจะพลิกฟื้นนโยบายหลายอย่างที่ถูกยกเลิกไป โดยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหมู่บ้าน เอสเอ็มแอล ผู้ว่าฯ ซีอีโอ หวยบนดิน กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา การพักหนี้เกษตรกร ธนาคารหมู่บ้าน โคล้านตัว การพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบ และการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ การประกาศสงครามกับยาเสพติด รวมทั้งจะต้องเพิ่มเรื่องมาตรการดูแลสภาพเศรษฐกิจ การเงิน ซึ่งจะต้องหารือกับพรรคร่วมรัฐบาล แต่การปรับแก้ จะยึดร่างนโยบายของพรรคพลังประชาชน เป็นหลัก
**ไม่ปฏิเสธทาบ"ดร.โกร่ง"นั่งคลัง
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า มีการทาบทาม นายวีรพงษ์ รามางกูร มาดำรงตำแหน่ง รวม.คลังนั้น นายนพดล กล่าวว่า ขอรอให้เรื่องนี้ยุติก่อน เมื่อมีข้อมูลชัดเจนก็จะชี้แจงให้ทราบ เพราะเท่าที่ทราบจาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคฯ ก็ทราบว่ามีการติดต่อทาบทามกันหลายคน ซึ่งตำแหน่งรมว.คลัง เป็นตำแหน่งสำคัญ ขอให้รอความชัดเจนก่อน แต่ตอนนี้ ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งก็สามารถเป็นได้ทั้งคนใน และคนนอก
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาระบุว่าการตั้ง ครม.ชุดนี้ ทำที่ฮ่องกง นายนพดล กล่าวว่า คงเป็นความพยายามที่จะพูดไปเรื่อย ให้เชื่อมโยงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังคงดำเนินการทางการเมืองผ่านพรรคพลังประชาชน และพยายามบอกว่า พรรคพลังประชาชน เป็นนอมินี ของพ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่ความจริงแล้ว คณะผู้บริหารพรรค ก็ได้ประชุม และเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งตนไม่เชื่อว่า นายเทพไท จะไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ และขอดูรายชื่อผู้โดยสารไปฮ่องกงว่ามีใครบ้าง เพราะสายการบินคงไม่ยอม
ส่วนกรณี นายวราวุธ ศิลปอาชา ลูกชาย นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ระบุว่า พบส.ส.พลังประชาชน หลายคนที่ฮ่องกง นายนพดล กล่าวว่า นายวราวุธ บอกแล้วว่า พาภรรยาไปเที่ยว แต่ที่พบ ส.ส.พลังประชาชน ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เพราะส.ส.ก็อาจจะไปพบปะกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยความคิดถึง เพราะร่วมงานกันมานาน ตนยังอยากไป แต่ก็ยังไม่ได้ไป
เมื่อถามถึงการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีในการประชุมสภาผู้แทนฯในวันนี้ นายนพดล กล่าวว่า ผู้ที่เสนอชื่อ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ คงเป็นผู้ใหญ่ในพรรค อาจจะเป็นรองหัวหน้าพรรค หรือเลขาธิการพรรค ซึ่งใครจะเป็นผู้เสนอก็ไม่สำคัญเท่าผู้ที่เลือก อย่างไรก็ตาม คิดว่าคงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ละพรรคการเมืองก็ต้องมีการประชุม และสั่งให้ลูกพรรคสนับสนุนนายสมัคร เพราะการเมืองไม่ใช่แค่เรื่องกฎ กติกา แต่อยู่ที่มารยาทด้วย เพราะเรื่องเหล่านี้น่าจะจบไปตั้งแต่การแถลงร่วมรัฐบาลที่โรงแรมสุโขทัยแล้ว อีกทั้งการโหวต ก็เป็นการโหวตโดยเปิดเผย ไม่น่ามีปัญหาอะไร
**ฉุนมติชนตัดต่อภาพโล้นห่มเหลือง
เมื่อถามว่าช่วงนี้ ได้พูดคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ บ้างหรือไม่ เนายนพดล กล่าวว่า "เพิ่งคุยกันเมื่อ 7 นาทีที่แล้ว แต่ไม่ได้พูดถึงเรื่องการตั้ง ครม. เพราะท่านไม่เกี่ยว เพียงแต่พูดถึงเรื่องหนังสือมติชน สุดสัปดาห์ ที่ใช้รูปปกเป็นรูป พ.ต.ท.ทักษิณ ห่มผ้าเหลือง แล้วนำไปเทียบกับจอมพลถนอม กิติขจร อดีตนายกฯ ซึ่งต้องเรียนว่า แม้พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นบุคคลสาธารณะ แต่มติชน ก็ทำไม่เหมาะสมในการตัดต่อรูปภาพ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นอดีตนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง แล้วเมื่อไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศ ก็โดยปฏิวัติยึดอำนาจ ดังนั้นการเดินทางกลับประเทศ จึงไม่จำเป็นต้องบวชเป็นพระ แต่เป็นสิทธิอยู่แล้วที่จะเข้ามา และที่ผ่านมาท่านก็เคยบวชเรียน ศึกษาพระธรรมมาแล้ว ซึ่งได้คุยกันว่า ที่มติชนทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม" นายนพดลกล่าว
เมื่อถามว่าจะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความไม่พอใจ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไมได้โกรธ และคงไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีอะไร แต่ที่อยากขอร้องคือ หากทำได้ก็ขอให้เกียรติกันบ้างตามสมควร แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อยากให้ทุกฝ่ายปรองดองกัน
**ไม่จำเป็นต้องอภิปรายก่อนโหวต
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)ชั่วคราว กล่าวถึงการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้ ว่า วิปรัฐบาลจะไม่มีการนัดประชุมใดๆ อีก เป็นเรื่องของแต่ละพรรคการเมืองจะไปหารือกันเอง ส่วนตัวเชื่อว่า การโหวตโดยใช้วิธีขานชื่อ ตัวเลขที่ออกมาจะเต็ม 312 คน โดยหักเสียงของประธานสภาฯ 3 คน ออกไป
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงขั้นตอนการโหวตเลือกนายกฯ ว่า ทั้งประธาน และรองประธานสภาฯ ได้ตกลงกันแล้วว่า จะทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคนละ 1 ชม . โดยระหว่างนั้นใครไม่ได้ทำหน้าที่ ก็จะลงมาโหวตเลือกนายกฯ ด้วย คาดว่าจะไม่มีปัญหาความวุ่นวายอะไร
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ ต้องการขออภิปรายเรื่องคุณสมบัติของนายกฯ นั้น ก็ต้องดูมติที่ประชุมจะเห็นอย่างไร แต่ส่วนตัวไม่เห็นว่าจะต้องอภิปรายอะไรอีก เพราะประชาชนเลือกมาแล้ว ก็ควรปล่อยไปตามกระบวนการสภา เรื่องคุณสมบัติที่มีการตั้งข้อสังเกตเรื่อง คดีความต่างๆนั้น ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
เมื่อถามว่า รองประธานสภาฯ มาร่วมประชุมกับพรรคการเมืองจะเหมาะสมหรือไม่ นายสมศักดิ์ ตอบว่า วันนี้มาร่วมประชุมในฐานะสมาชิกพรรคคนหนึ่ง
**ปชป.ดัน"อภิสิทธิ์"ชิงนายกฯ
บ่ายวานนี้ (27 ม.ค.) พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส. เพื่อพิจารณาการเสนอชื่อบุคคลเข้าแข่งขันในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการประชุมสภาผู้แทนราษฏรวันนี้หรือไม่ ซึ่ง ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะเสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าแข่งขันเป็นนายกฯ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคมีเหตุผล 3 ประการ ในการเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ 1. เป็นไปตามประเพณีของระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีการแข่งขันกัน 2. พรรคประชาธิปัตย์เชื่อมั่นว่า มีบุคลากรที่มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่นายกฯ และ 3. ประชาชนจะได้เปรียบเทียบว่า บุคคลจากพรรคใดมีความเหมาะสมกว่ากัน
ทั้งนี้ การเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ ดังกล่าวจะไม่มีผลลบต่อพรรค เพราะเป็นเรื่องของการแข่งขันในระบอบประชาธิปไตย การเมืองไม่ใช่การแพ้ชนะด้วยการยกมืออย่างเดียว เพราะนอกจากจะชอบด้วยกฎหมายแล้ว ควรมีความชอบธรรมด้วย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นว่านายอภิสิทธิ์ มีความชอบธรรมในการทำหน้าที่นายกฯ
เมื่อถามว่าจะมีการเสนอให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อ เป็นนายกฯ อภิปรายในสภาก่อนโหวตหรือไม่ นายองอาจ กล่าวว่า การขึ้นเป็นนายกฯ มีเหตุผลอะไรที่จะไม่มีการพูดคุยกันก่อน ซึ่งการเสนอให้มีการอภิปรายฯ ถือเป็นสิทธิของส.ส.ในสภาที่จะหยิบยกให้มีการอภิปรายหรือไม่ แต่ขอยืนยีนว่า พรรคไม่ได้พิจารณาและมีมติในเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม การโหวตเลือกนายกฯ พรรคไม่ได้คิดว่าจะมีกลุ่มงูเห่า หรือมีเสียงจากรัฐบาลเทมาให้ นายอภิสิทธิ์ เพราะจะยึดทุกอย่างตามข้อบังคับในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่สามารถตอบแทนส.ส.คนอื่นได้ว่าจะโหวตกันอย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญให้เป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.ในการพิจารณาเลือกบุคคลขึ้นเป็นนายกฯ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความกล้าหาญ และการใช้ดุลยพินิจของ ส.ส. แต่ละคน
**พร้อมทำหน้าที่ฝ่ายค้านในสภา
นายองอาจกล่าวว่า พรรคพร้อมทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการในการประชุมสภานัดแรกวันนี้ ซึ่งหวังว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นครั้งแรกในวันนี้เช่นกัน จะปฏิบัติหน้าที่เป็นกลาง คำนึงถึงสิทธิเสียงข้างน้อย ให้ความเป็นธรรม และไม่ลำเอียง โดยเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนแทนที่จะทำเพื่อพรรคที่ตนสังกัด หรือพวกพ้องของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม จากท่าทีของนางยงยุทธ เห็นว่า น่าจะปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากมีการส่งสัญญาณที่ดีในการรับฟังความเห็นของนายชวน หลีกภัย ที่เคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี และประธานสภา มาก่อน เกี่ยวกับวันกำหนดวันประชุมเพื่อเลือกนายกฯ ที่มีการเลื่อนจากวันศุกร์ที่ผ่านมา มาเป็นวันจันทร์ ผิดกับประธานสภาฯ คน ก่อนที่ไม่รับฟังความเห็นของเสียงข้างน้อย และทำให้เวทีสภาไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ จนหลายฝ่ายต้องออกไปใช้เวทีอื่นทำให้เกิดปัญหาตามมา ดังนั้นหากนายยงยุทธ ยึดแนวทางนี้ต่อไป เชื่อว่าการทำงานในสภาน่าจะไม่มีปัญหา
"เรายืนยันจะเป็นฝ่ายค้านอย่างสร้างสรรค์ และวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. พรรค จะจัดสัมมนาส.ส. เพื่อให้รู้จักการทำหน้าที่ฝ่ายค้านและเป็นส.ส.ที่มีคุณภาพ โดยในวันที่30 ม.ค. พรรคจะมีกิจกรรมพิเศษเพื่อขอบคุณประชาชน จ.ชลบุรี ในการเลือกส.ส.ของพรรคเข้ามายกจังหวัด" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
**บรรหารตรวจแถวส.ส. ก่อนโหวต
ผู้สื่อข่าวรายงานจากที่บ้านพักสนามบินน้ำของพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย ว่าวันนี้ได้มีสมาชิกและ ส.ส.ในกลุ่มของ พล.ต.สนั่น อาทิ นายอัศวิน วิภูศิริ ส.ส. สัดส่วนพรรคชาติไทย น.ส.วีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส ผู้สมัคร ส.ส.เชียงราย ได้เดินทางไปเยี่ยม พล.ต.สนั่น ที่บ้านพัก เนื่องจาก พล.ต.สนั่น มีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ซึ่งนายอัศวิน กล่าวกับผู้สื่อข่าว ว่า คงต้องขอโทษบรรดาผู้สื่อข่าวที่มาขอสัมภาษณ์ พล.ต.สนั่น ถึงการเตรียมความพร้อมเข้าประชุมสภาฯเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก พล.ต.สนั่น ยังคงมีอาการอ่อนเพลียมาก ซึ่งมีอาการต่อเนื่องมา 2-3 วันแล้ว จึงต้องการพักผ่อนให้มาก ๆ และยืนยันว่าในวันที่ 28 ม.ค. นี้ เวลา 08.00 น. พล.ต.สนั่นจะเดินไปที่รัฐสภา เพื่อเข้าร่วมประชุมส.ส.ของพรรคชาติไทย ก่อนที่จะโหวตเลือกนายกฯ ในที่ประชุมสภา ตามที่ประธานสภาฯนัดแน่นอน
นายอัศวินกล่าวว่า ในการโหวต ส.ส.วันนี้ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะ ส.ส.พรรคชาติไทย ไม่แตกแถว และพรรคชาติไทย จะไม่เสนอชื่อใครแข่งในสภาฯ แต่อย่างใด พรรคชาติไทย มีความเห็นพ้องตามพรรคร่วมรัฐบาล ที่จะโหวตตามที่พรรคพลังประชาชนเสนอชื่อ
**รช.หนุน"หมัก"ตอบแทน1รมว.1รมช.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล โฆษกพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เปิดเผยภายหลังการประชุมกรรมการบริหาพรรค ว่า ที่ประชุมมีมติให้พรรค เดินหน้าสนับสนุนพรรคพลังประชาชนในการจัดตั้งรัฐบาล รวมทั้งเห็นชอบให้ส่งตัวแทนเข้ารับตำแหน่งในรัฐบาล 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ว่าเป็นบุคคลใด และกระทรวงใด เนื่องจากจะต้องรอความชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีที่จะต้องเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกอีกครั้ง พร้อมกันนี้ ยังได้ขอความร่วมมือจาก ส.ส.ของพรรค ให้โหวตเลือก นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันนี้ด้วย
ขณะที่ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา กล่าวถึงการที่สมาชิกเตรียมล่ารายชื่อถอดถอนตนออกจากตำแหน่งว่า เรื่องดังกล่าวถือเป็นสีสันของระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิ์แสดงออกทางความคิด และไม่ถือเป็นความขัดแย้งภายในพรรค และเมื่อพรรคมีมติชัดเจนแล้วในวันนี้ ทุกคนก็ควรที่จะต้องยอมรับ
**เอแบคโพลล์ชี้"สมัคร"นั่งนายกฯ
เอแบคโพลล์ ได้เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนใน 27 จังหวัด จำนวน 3,506 คน เกี่ยวกับ ความหวัง/ความกลัวของประชาชนต่อสถานการณ์ของประเทศ และคนไทยกลุ่มไหนที่สนับสนุน / ไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ผลปรากฏว่า ปัญหาสำคัญที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ยกเป็นปัญหาหลัก หรือที่เรียกว่า เป็นวาระแห่งชาติ คือ ปัญหาราคาสินค้าและบริการ ในชีวิตประจำวันที่สูงขึ้น ร้อยละ 75.4 รองลงมาเป็นปัญหายาเสพติด ร้อยละ 68.3 ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 65.2 ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัญหาทางการเมือง เช่น การนิรโทษกรรม 111 อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลับกลายเป็นปัญหาที่ประชาชนให้ความสนใจในอันดับท้าย ๆ
นอกจากนี้ คนไทยส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 55.4 ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาทันที ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ยังให้เวลาเตรียมตัว 1-3 เดือน ร้อยละ 19.6 ให้เวลา 3-6 เดือน และร้อยละ 11.6 เท่านั้น ที่ให้เวลารัฐบาลชุดใหม่เตรียมตัวเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ มากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
เมื่อสอบถามถึงระดับความเชื่อมั่นต่อประเด็นสำคัญของประเทศในรายละเอียด กลับพบว่า ค่าคะแนนความเชื่อมั่นโดยเฉลี่ยไม่ถึงครึ่ง ของค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยเฉพาะเรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เพียง 3.10 คะแนน เรื่องปัญหายาเสพติดจะหมดไปได้เพียง 3.39 คะแนน เรื่องความซื่อสัตย์สุจริตของ กลุ่มนักการเมืองได้เพียง 3.43 คะแนน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของประชาชนได้เพียง 4.11 คะแนน เรื่องรัฐบาลชุดใหม่จะอยู่จนครบวาระ ได้เพียง 4.22 คะแนน เป็นต้น
ส่วนประชาชนกลุ่มไหนที่สนับสนุนและไม่สนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 44.3 ให้การสนับสนุน ในขณะที่ร้อยละ 38.4 ไม่ให้การสนับสนุน และร้อยละ 17.3 ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือขออยู่ตรงกลาง
จากผลสำรวจพบว่า นายสมัคร ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม พ่อบ้าน แม่บ้าน กลุ่มผู้เกษียณอายุ และกลุ่มผู้รับจ้างทั่วไป สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และกลุ่มประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ยังคงให้การสนับสนุน นายสมัคร สูงกว่ากลุ่มประชาชนในภาคอื่นๆ คือ ร้อยละ 55.3 และร้อยละ 51.9 ในขณะที่ประชาชนในภาคใต้มีร้อยละ 18.1 ที่สนับสนุน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชาชนเกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 48 ต้องการให้พรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาลนาน 3 ปีถึงจนครบวาระ มีเพียงร้อยละ 16.5 เท่านั้น ที่ต้องการให้เป็นรัฐบาลไม่เกิน 6 เดือน
**แนะว่าที่นายกฯโชว์วิชั่นก่อนโหวต
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการ ครป. กล่าวถึงการเปิดประชุมสภา เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ไม่อยากให้เป็นเพียงพิธีกรรมเพื่อประกันอำนาจของคนคนเดียว ฉะนั้นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ควรจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ต่อสภา และประชาชน แม้จะเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่คงหนีไม่พ้น นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็ตาม
แต่การแสดงวิสัยทัศน์อย่างกว้างๆ ต่อสถานการณ์บ้านเมืองและแนวทางในการทำหน้าที่ในฐานะผู้นำประเทศนั้น ก็เป็นสิ่งที่สมควรจะทำเพื่อสร้างความมั่นใจว่าวันนี้ สภาผู้แทนราษฏรอันทรงเกียรติ จะทำหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้ง 63 ล้านคน ไม่ใช่การเลือกผู้จัดการมรดกของคนบางคนเท่านั้น
"ครป.เชื่อว่านายสมัคร คงมีความอึดอัดไม่น้อยกับบทบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะภาพข่าวที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนจำนวนมากบินไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ประเทศฮ่องกงนั้น สร้างความสับสนให้ประชาชนว่า ใครกันแน่ที่มีอำนาจสูงสุดระหว่าง นายสมัคร กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ใครกันแน่เป็นนายกฯแท้ และนายกฯเทียม และประชาชนควรเรียกร้อง หรือคาดหวังจากใครเพื่อให้คณะรัฐบาลชุดใหม่แก้ปัญหาของประเทศได้อย่างแท้จริง" นายสุริยะใส กล่าว
**แนะประกาศวาระแห่งชาติ 5 ข้อ
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า ครป.ขอให้รัฐบาลชุดใหม่ นำปัญหาเหล่านี้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ 5 เรื่อง คือ 1.แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารแผ่นดิน หากรัฐบาลชุดใหม่ไม่สามารถสร้างความสมานฉันท์ปรองดองของผู้คนในชาติ จะทำให้นโยบาย หรือวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไม่สามารถเกิดผลในทางปฏิบัติได้ เพราะสังคมจะเต็มไปด้วยความแตกแยกขัดแย้ง
2. แนวทางการแก้วิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งต้องทำควบคู่กันไปทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค และระดับจุลภาค หรือเศรษฐกิจระดับรากฐาน เพราะในขณะนี้เริ่มปรากฎชัดเจนถึงสัญญาณการถดกอยของเศรษฐกิจระดับโลก ในขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นสัญญาณร้ายของเศรษฐกิจภายในประเทศที่เกิดจากนโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณในอดีต โดยเฉพาะปัญหาหนี้เสียระดับหญ้า และปัญหาข้าวยากหมากแพง รวมทั้งวิกฤติพลังงาน
3. แนวทางแก้ปัญหาความยากจน ที่รัฐบาลชุดที่แล้วประกาศว่า คนจนจะหายภายใน 5 ปีแต่ ข้อเท็จจริงกลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง และแนวนโยบายหรือวิสัยทัศน์ของรัฐบาลและพรรคการเมืองยังมุ่งแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยเฉพาะระดับนโยบายและโครงสร้างการพัฒนาประเทศที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องยากจน ไร้ที่ดินทำกิน และเกิดปัญหาหนั้สินจำนวนมหาศาล
4. แนวทางการคลี่คลายความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการยุติเหตุการณ์ฆ่ารายวัน ซึ่งยังมีให้เห็นอยู่ต่อเนื่อง
5 .การสร้างบทบาทของท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรมในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา แนวทางสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะการตรากฎหมายลูก และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
นายสุริยะใส กล่าวว่า ครป. พร้อมทำหน้าที่เป็นพลังถ่วงดุลตรวจสอบนอกสภา และพร้อมสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล หากนโยบายหรือมาตรการใดเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งประเทศ และรัฐบาลมีความบริสุทธิ์ใจจริง ในขณะเดียวกันเราจะคัดค้านทุกวิถีทางหากรัฐบาลชุดใหม่บิดเบือนสัญญาประชาคมและพยายามแก้ปัญหาของคนๆเดียว
นายสุริยะใส กล่าวสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์ เสนอชื่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าแพ้ก็ตาม เพื่อที่จะได้มีคนเปรียบเทียบ และเพื่อเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย หากคนเดียวไม่มีคู่แข่ง เพราะสุดท้ายก็จะเป็นเพียงพิธีกรรม