หลายภาคส่วนในภาคใต้แนะรัฐบาลใหม่สานต่อนโยบายเดิมรัฐบาล "สุรยุทธ์" ในการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีหลายส่วนที่แก้ปัญหาได้ดีกว่ายุครัฐบาล "ทักษิณ" เตือนรัฐบาล "พลังแม้ว" อย่ายุบ "ศอ.บต." เพราะอาจทำให้เกิดการนองเลือดหนักขึ้นอีก พร้อมเสนอให้สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่ ไม่ควรให้อำนาจหนักข้างไปทางกลาโหมเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ภาคธุรกิจย้ำต้องดำเนินนโยบายเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต่อไป เจ้าหน้าที่ปะทะเดือดโจรใต้ดับ 2 รวบกลุ่มแนวร่วมได้เพิ่มอีก 5 คน
นายเสรี นิมะยุ ประธานชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จ.นราธิวาส ให้ความเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้นโยบายสมานฉันท์ ซึ่งโดยภาพรวมถือว่าทำได้ดี แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลชั่วคราว จึงทำให้ยังไม่สามารถผลักดันในบางเรื่องได้อย่างเต็มที่
ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่ควรคงนโยบายเดิมเอาไว้ และศึกษาว่ามีจุดไหนบ้างที่สามารถเสริมความแข็งแกร่งได้ เพราะเรื่องที่จะต้องเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่
นายเสรีกล่าวอีกว่า ในส่วนของกำลังเจ้าหน้าที่นั้นถือว่ามีความเพียงพอแล้วต่อการวางกำลังรักษาความปลอดภัย เพียงแต่จะต้องมีการเสริมสร้างความเข้าใจต่อพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่โดยทั่วถึงกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จะต้องมีการบูรณาการการทำงานให้มากกว่านี้ และทำงานภายใต้กรอบของกฎหมายและความยุติธรรม
"ในส่วนของ ศอ.บต.และ พตท.นั้น หลังจากที่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ได้รื้อพื้นหน่วยงานนี้ขึ้นมาอีกครั้งพบว่า ศอ.บต. มีการทำงานที่ดีขึ้นตามลำดับ เพราะมีสภาที่ปรึกษาซึ่งมาจากประชาชนทุกภาคส่วนในพื้นที่ ขณะที่ พตท. ก็ทำงานได้ผลในการติดตามไล่ล่าผู้ก่อเหตุ รัฐบาลใหม่ควรให้ 2 หน่วยงานนี้ทำงานต่อไป เพราะประชาชนในพื้นที่รู้สึกดีกับ ศอ.บต.ในการเป็นที่พึ่งของชาวบ้านหลายๆ เรื่อง รัฐบาลใหม่ควรคงนโยบายเดิมไว้ และเร่งสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นโดยเร็ว"
นายอับดุลอาซิด ยานยา ประธานชมรมโรงเรียนปอเนาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นว่า นโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมามีเวลาในการทำงานน้อยเกินไป
"รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ทำงานได้ดีโดยเฉพาะในส่วนของ ศอ.บต.มีการให้ความเอาใจใส่กับโรงเรียนปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมากกว่ารัฐบาลทุกๆ ชุดที่ผ่านมา ทำให้เกิดความไว้วางใจกันและกันซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลอื่นไม่สามารถทำได้ แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลชุดนี้มีเวลาทำงานแค่ปีเดียว รัฐบาลที่เข้ามาใหม่จึงต้องศึกษา การทำงานของชุดที่ผ่านมา ตรงไหนดีอยู่แล้วก็ต้องสานต่อ และอยากให้คงนโยบายเดิมเอาไว้ จะมีความได้เปรียบมากกว่านับหนึ่งใหม่ เพราะปัญหามีการหมักหมมมานาน"
นายอับดุลอาซิดกล่าวต่อว่า หากรัฐบาลใหม่เข้ามาปรับเปลี่ยนนโยบายและการทำงานในส่วนที่ดีอยู่แล้ว เช่น ยุบ ศอ.บต. และ พตท. เชื่อว่าเหตุการณ์ความรุนแรงลักษณะเดียวกับกรณีมัสยิดกรือเซะ และเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่ อ.ตากใบ ก็อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังจับตาแนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งหากดำเนินการอะไรผิดไปก็จะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นไปอีก
"ขอให้รัฐบาลใหม่ใช้นโยบายเดิมที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ทำไว้แล้ว และขอให้หน่วยงานของรัฐมีความเข้าใจที่ตรงกันต่อนโยบายนี้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่จะต้องดำเนินต่อไป"
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ และอดีตคณะกรรมการ กอส.กล่าวว่า ทิศทางการแก้ปัญหาของรัฐบาลชุดต่อไป การให้น้ำหนักเรื่องอำนาจระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย คือ ตัวแปรที่สำคัญในการแก้ปัญหา เนื่องจากปัจจุบันคนในพื้นที่มองว่าอำนาจส่วนใหญ่เป็นของกลาโหม รัฐบาลใหม่จะต้องสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้นและมีความชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่
"ในส่วนของ ศอ.บต.หรือ พตท.เองแม้จะทำหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่งแต่ก็ยัง้ป็นการทำตามนโยบายเสียเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์หรือริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ อาจเป็นเพราะติดขัดในเรื่องของกลไกการใช้อำนาจที่อยู่ข้างฝ่ายทหารมากกว่ามหาดไทย"
ด้านนายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และเลขาธิการสภาธุรกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากต้องยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากประชาชนจำนวนมากในพื้นที่มีปัญหาเรื่องการศึกษา และการว่างงาน รัฐบาลต้องเร่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
"ในส่วนของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่นั้นรัฐบาลใหม่จะต้องใช้นโยบายเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต่อไป ขอย้ำว่าต้องทำต่อไป เนื่องจากนโยบายนี้สามารถพยุงรักษาธุรกิจในพื้นที่ให้ยังคงอยู่ต่อไปได้ แม้จะยังคงมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม" นายสุรชัย กล่าว
ทางด้าน พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฎิบัติการข้อมูลข่าวสาร กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า จากการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ล่าสุดพบว่ากลุ่มผู้ไม่หวังดีได้มุ่งทำร้ายเหยื่อในกลุ่มเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความสะเทือนขวัญ โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ ครู ผู้นำศาสนา ตลอดจนแกนนำระดับชุมชนที่ให้ความร่วมมือกับองค์กรรัฐ สาเหตุที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามก่อเหตุกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ เชื่อว่าพวกเขากำลังตกอยู่ในภาวะกดดันอย่างหนักอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในเชิงรุกของกองกำลัง ขณะเดียวกันการที่แนวร่วมถูกข่มขู่จากหัวหน้าขบวนการตนเอง ซึ่งในทางยุทธการของกองกำลัง ขณะนี้ได้มีการกำชับไปยังผู้บังคับการทุกหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรักษาความปลอดภัยและควบคุมสถานการณ์รุนแรง
โดยเฉพาะการลาดตระเวนตรวจสอบหาวัตถุต้องสงสัยทั้งบริเวณพื้นที่ดินและอากาศ เนื่องจากขณะนี้พบว่ารูปแบบการซุกซ่อนวัตถุอันตรายก่อนจะซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามได้ให้วิธีการผูกติดกับต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าต่างๆ ก่อนที่จะหาโอกาสกดชนวนเจ้าหน้าที่และในระหว่างนั้นก็มีแนวร่วมอีกชุดหนึ่งซุ่มยิงซ้ำเข้าหาเป้าหมาย และในขณะเดียวกันต้องฝากกำชับไปยังกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตนเองให้มากขึ้นด้วย
"การดำเนินการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ในระยะนี้ได้ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามถูกกดดันและพยายามตอบโต้ทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการทำร้ายเหยื่อในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการสะเทือนขวัญในทุกครั้งที่พวกเขามีโอกาสปฏิบัติการ ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสามารถแก้ไขได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามถูกลดศักยภาพในการปฏิบัติการ ซึ่งล่าสุดเห็นได้ว่าจะไม่มีการสร้างสถานการณ์ในลักษณะกลุ่มขบวนการรายใหญ่แล้ว ซึ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพียงการหาโอกาสก่อเหตุป่วนที่เกิดจากฝีมือแนวร่วมระดับล่างเท่านั้น" พ.อ.อัคร กล่าว และว่า
อีกยุทธการหนึ่งที่กองกำลังได้ร่วมกันดำเนินเชิงรุกอยู่ในระยะนี้คือการสร้างพลังมวลชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสังคมมุสลิมบริสุทธิ์ก่อนที่จะบั่นทอนอำนาจการขยายตัวของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วมพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งผ่านการฝึกฝนจากกลุ่มขบวนการในพื้นที่
ด้านสถานการณ์ความไม่สงบวานนี้เวลา 06.30 น. ขณะที่ พ.ท.ปฐวี ศรีสุข ผบ.ฉก.39 นราธิวาสได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจำนวน 4 ชุด พร้อมด้วยชุดบังคับการ 1 ชุด ตลอดจนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด สภ.รือเสาะ กว่า 100 นายเข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านต้องสงสัยพื้นที่บ้านธารน้ำทิพย์ 2 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังจากสายข่าวในพื้นที่รายงานเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ไม่หวังดีว่าได้มีการนัดรวมตัวเพื่อประชุมวางแผนการปฏิบัติการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
ขณะที่เข้าตรวจค้นฝ่ายตรงข้ามประมาณ 10 คนได้กระจายกำลังซุ่มยิงเจ้าหน้าที่จนเกิดการปะทะขึ้นประมาณ 10 นาทีก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะถอนตัวหลบหนีไป เมื่อเข้าตรวจสอบจุดที่เกิดการปะทะกันพบคนร้ายเสียชีวิต 2 ราย คือ นายซูวาระดี เด็งสาแม และนายนิแซ สามะ
ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบภายในบ้านเลขที่ 9/6 หมู่ 7 บ้านธารน้ำทิพย์ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ ซึ่งเป็นบ้านของนายลาแว สาระโต และเป็นบ้านเป้าหมาย เจ้าหน้าที่พบหลักฐานหลายรายการ รวมทั้งอาวุธปืนบางส่วน และสามารถควบคุมแนวร่วมได้เพิ่มอีก 5 คน จึงได้นำตัวพร้อมของกลางไปสอบสวนขยายผลที่ สภ.รือเสาะ
นายเสรี นิมะยุ ประธานชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จ.นราธิวาส ให้ความเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลใหม่ที่กำลังจะเข้ามาบริหารประเทศต่อจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ว่า ช่วง 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดความสงบสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้นโยบายสมานฉันท์ ซึ่งโดยภาพรวมถือว่าทำได้ดี แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลชั่วคราว จึงทำให้ยังไม่สามารถผลักดันในบางเรื่องได้อย่างเต็มที่
ดังนั้น รัฐบาลชุดใหม่ควรคงนโยบายเดิมเอาไว้ และศึกษาว่ามีจุดไหนบ้างที่สามารถเสริมความแข็งแกร่งได้ เพราะเรื่องที่จะต้องเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป คือ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่
นายเสรีกล่าวอีกว่า ในส่วนของกำลังเจ้าหน้าที่นั้นถือว่ามีความเพียงพอแล้วต่อการวางกำลังรักษาความปลอดภัย เพียงแต่จะต้องมีการเสริมสร้างความเข้าใจต่อพื้นที่ให้กับเจ้าหน้าที่โดยทั่วถึงกันให้มากกว่าที่เป็นอยู่ รวมทั้งเจ้าหน้าที่จะต้องมีการบูรณาการการทำงานให้มากกว่านี้ และทำงานภายใต้กรอบของกฎหมายและความยุติธรรม
"ในส่วนของ ศอ.บต.และ พตท.นั้น หลังจากที่รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ได้รื้อพื้นหน่วยงานนี้ขึ้นมาอีกครั้งพบว่า ศอ.บต. มีการทำงานที่ดีขึ้นตามลำดับ เพราะมีสภาที่ปรึกษาซึ่งมาจากประชาชนทุกภาคส่วนในพื้นที่ ขณะที่ พตท. ก็ทำงานได้ผลในการติดตามไล่ล่าผู้ก่อเหตุ รัฐบาลใหม่ควรให้ 2 หน่วยงานนี้ทำงานต่อไป เพราะประชาชนในพื้นที่รู้สึกดีกับ ศอ.บต.ในการเป็นที่พึ่งของชาวบ้านหลายๆ เรื่อง รัฐบาลใหม่ควรคงนโยบายเดิมไว้ และเร่งสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นโดยเร็ว"
นายอับดุลอาซิด ยานยา ประธานชมรมโรงเรียนปอเนาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เห็นว่า นโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาถือว่ามาถูกทางแล้ว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมามีเวลาในการทำงานน้อยเกินไป
"รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ทำงานได้ดีโดยเฉพาะในส่วนของ ศอ.บต.มีการให้ความเอาใจใส่กับโรงเรียนปอเนาะ และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมากกว่ารัฐบาลทุกๆ ชุดที่ผ่านมา ทำให้เกิดความไว้วางใจกันและกันซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลอื่นไม่สามารถทำได้ แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลชุดนี้มีเวลาทำงานแค่ปีเดียว รัฐบาลที่เข้ามาใหม่จึงต้องศึกษา การทำงานของชุดที่ผ่านมา ตรงไหนดีอยู่แล้วก็ต้องสานต่อ และอยากให้คงนโยบายเดิมเอาไว้ จะมีความได้เปรียบมากกว่านับหนึ่งใหม่ เพราะปัญหามีการหมักหมมมานาน"
นายอับดุลอาซิดกล่าวต่อว่า หากรัฐบาลใหม่เข้ามาปรับเปลี่ยนนโยบายและการทำงานในส่วนที่ดีอยู่แล้ว เช่น ยุบ ศอ.บต. และ พตท. เชื่อว่าเหตุการณ์ความรุนแรงลักษณะเดียวกับกรณีมัสยิดกรือเซะ และเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงที่ อ.ตากใบ ก็อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังจับตาแนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ ซึ่งหากดำเนินการอะไรผิดไปก็จะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้นไปอีก
"ขอให้รัฐบาลใหม่ใช้นโยบายเดิมที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ทำไว้แล้ว และขอให้หน่วยงานของรัฐมีความเข้าใจที่ตรงกันต่อนโยบายนี้ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่จะต้องดำเนินต่อไป"
นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระ และอดีตคณะกรรมการ กอส.กล่าวว่า ทิศทางการแก้ปัญหาของรัฐบาลชุดต่อไป การให้น้ำหนักเรื่องอำนาจระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย คือ ตัวแปรที่สำคัญในการแก้ปัญหา เนื่องจากปัจจุบันคนในพื้นที่มองว่าอำนาจส่วนใหญ่เป็นของกลาโหม รัฐบาลใหม่จะต้องสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้นและมีความชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่
"ในส่วนของ ศอ.บต.หรือ พตท.เองแม้จะทำหน้าที่ได้ดีในระดับหนึ่งแต่ก็ยัง้ป็นการทำตามนโยบายเสียเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์หรือริเริ่มสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ อาจเป็นเพราะติดขัดในเรื่องของกลไกการใช้อำนาจที่อยู่ข้างฝ่ายทหารมากกว่ามหาดไทย"
ด้านนายสุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา และเลขาธิการสภาธุรกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากต้องยอมรับว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งมาจากประชาชนจำนวนมากในพื้นที่มีปัญหาเรื่องการศึกษา และการว่างงาน รัฐบาลต้องเร่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นโดยเร็ว
"ในส่วนของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในพื้นที่นั้นรัฐบาลใหม่จะต้องใช้นโยบายเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจต่อไป ขอย้ำว่าต้องทำต่อไป เนื่องจากนโยบายนี้สามารถพยุงรักษาธุรกิจในพื้นที่ให้ยังคงอยู่ต่อไปได้ แม้จะยังคงมีปัญหาอยู่บ้างก็ตาม" นายสุรชัย กล่าว
ทางด้าน พ.อ.อัคร ทิพโรจน์ ผู้อำนวยการกองปฎิบัติการข้อมูลข่าวสาร กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า จากการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ล่าสุดพบว่ากลุ่มผู้ไม่หวังดีได้มุ่งทำร้ายเหยื่อในกลุ่มเป้าหมายที่ก่อให้เกิดความสะเทือนขวัญ โดยเฉพาะทหาร ตำรวจ ครู ผู้นำศาสนา ตลอดจนแกนนำระดับชุมชนที่ให้ความร่วมมือกับองค์กรรัฐ สาเหตุที่ฝ่ายตรงข้ามพยายามก่อเหตุกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ เชื่อว่าพวกเขากำลังตกอยู่ในภาวะกดดันอย่างหนักอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในเชิงรุกของกองกำลัง ขณะเดียวกันการที่แนวร่วมถูกข่มขู่จากหัวหน้าขบวนการตนเอง ซึ่งในทางยุทธการของกองกำลัง ขณะนี้ได้มีการกำชับไปยังผู้บังคับการทุกหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรักษาความปลอดภัยและควบคุมสถานการณ์รุนแรง
โดยเฉพาะการลาดตระเวนตรวจสอบหาวัตถุต้องสงสัยทั้งบริเวณพื้นที่ดินและอากาศ เนื่องจากขณะนี้พบว่ารูปแบบการซุกซ่อนวัตถุอันตรายก่อนจะซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามได้ให้วิธีการผูกติดกับต้นไม้หรือเสาไฟฟ้าต่างๆ ก่อนที่จะหาโอกาสกดชนวนเจ้าหน้าที่และในระหว่างนั้นก็มีแนวร่วมอีกชุดหนึ่งซุ่มยิงซ้ำเข้าหาเป้าหมาย และในขณะเดียวกันต้องฝากกำชับไปยังกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยตนเองให้มากขึ้นด้วย
"การดำเนินการเชิงรุกของเจ้าหน้าที่ในระยะนี้ได้ส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามถูกกดดันและพยายามตอบโต้ทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการทำร้ายเหยื่อในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการสะเทือนขวัญในทุกครั้งที่พวกเขามีโอกาสปฏิบัติการ ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสามารถแก้ไขได้ในเร็วๆ นี้ เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามถูกลดศักยภาพในการปฏิบัติการ ซึ่งล่าสุดเห็นได้ว่าจะไม่มีการสร้างสถานการณ์ในลักษณะกลุ่มขบวนการรายใหญ่แล้ว ซึ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเพียงการหาโอกาสก่อเหตุป่วนที่เกิดจากฝีมือแนวร่วมระดับล่างเท่านั้น" พ.อ.อัคร กล่าว และว่า
อีกยุทธการหนึ่งที่กองกำลังได้ร่วมกันดำเนินเชิงรุกอยู่ในระยะนี้คือการสร้างพลังมวลชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสังคมมุสลิมบริสุทธิ์ก่อนที่จะบั่นทอนอำนาจการขยายตัวของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วมพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งผ่านการฝึกฝนจากกลุ่มขบวนการในพื้นที่
ด้านสถานการณ์ความไม่สงบวานนี้เวลา 06.30 น. ขณะที่ พ.ท.ปฐวี ศรีสุข ผบ.ฉก.39 นราธิวาสได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการจำนวน 4 ชุด พร้อมด้วยชุดบังคับการ 1 ชุด ตลอดจนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด สภ.รือเสาะ กว่า 100 นายเข้าปิดล้อมตรวจค้นบ้านต้องสงสัยพื้นที่บ้านธารน้ำทิพย์ 2 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส หลังจากสายข่าวในพื้นที่รายงานเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ไม่หวังดีว่าได้มีการนัดรวมตัวเพื่อประชุมวางแผนการปฏิบัติการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
ขณะที่เข้าตรวจค้นฝ่ายตรงข้ามประมาณ 10 คนได้กระจายกำลังซุ่มยิงเจ้าหน้าที่จนเกิดการปะทะขึ้นประมาณ 10 นาทีก่อนที่ฝ่ายตรงข้ามจะถอนตัวหลบหนีไป เมื่อเข้าตรวจสอบจุดที่เกิดการปะทะกันพบคนร้ายเสียชีวิต 2 ราย คือ นายซูวาระดี เด็งสาแม และนายนิแซ สามะ
ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบภายในบ้านเลขที่ 9/6 หมู่ 7 บ้านธารน้ำทิพย์ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ ซึ่งเป็นบ้านของนายลาแว สาระโต และเป็นบ้านเป้าหมาย เจ้าหน้าที่พบหลักฐานหลายรายการ รวมทั้งอาวุธปืนบางส่วน และสามารถควบคุมแนวร่วมได้เพิ่มอีก 5 คน จึงได้นำตัวพร้อมของกลางไปสอบสวนขยายผลที่ สภ.รือเสาะ