ใครจะไปรู้ว่าธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัย ได้มีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด แต่หลายๆ คนไม่เคยได้รับรู้ เพราะเบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันต่างๆ
รับเข้ามาในแต่ละปีนั้น มีสัดส่วนคิดเป็น 3.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากพอในการทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในแต่ละปี
จากความสำคัญของธุรกิจประกันภัยที่มีส่วนช่วยผลักดันจีดีพีของประเทศข้างต้น คนไทยทุกคนมีส่วนร่วมผ่านการทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆ ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งหากคนไทยให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวมากขึ้นเท่านั้น
เท่ากับว่า ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจภาคอื่นๆ ที่มีอยู่
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจประกันภัยในปี 2551 ได้การกำหนดเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งระบบอยู่ที่ 312,669 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 8% แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 199,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เบี้ยประกันวินาศภัย 112,969 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 8% โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายจำนวนกรมธรรม์ไว้ที่ 51.25 ล้านฉบับ หรือเพิ่มขึ้น 12% จากปี 2550 ที่มีจำนวน 45.78 ล้านกรมธรรม์
สำหรับปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งระบบ 291,236
ล้านบาท เป็นเบี้ยประกันชีวิตประมาณ 200,000 ล้านบาท และเบี้ยประกันวินาศภัยประมาณ 90,000 ล้านบาท
“การกำหนดเป้าหมายเบี้ยประกันภัยของปีนี้ไว้ 312,669 ล้านบาทนั้น หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีของประเทศจะเพิ่มจาก 3.45% ในปีก่อนเป็น 3.55% ในปีนี้ ซึ่งถือว่าธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพิ่มมากขึ้น และหากคนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับการทำประกันภัย เท่ากับว่าได้มีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอีกทางหนึ่ง”นางจันทรากล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยได้มีส่วนช่วยเศรษฐกิจไทยในปี 2551 สำนักงานคปภ.
ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อสู่ความเป็นเลิศประกันภัยไทย พร้อมทั้งกำหนดน้ำหนักของประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ คือ การสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจประกันภัย ให้น้ำหนักร้อยละ 50 การพัฒนาระบบประกันภัยเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 20 และการพัฒนาระบบบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ ร้อยละ 30
โดยมีแผนการดำเนินงานในปี 2551 ภายใต้วิสัยทัศน์มุ่งสู่ความเป็นเลิศประกันภัยไทย
ดังต่อไปนี้ คือ การเน้นสร้างภาพลักษณ์ของการประกันภัยยุคใหม่สู่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงิน โดยให้มีการทำประกันชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยเตรียมตัวเกษียณอายุ เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับ รวมทั้งจะมุ่งเน้นกลุ่มคนระดับกลางถึงระดับล่างซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเตรียมส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยผ่านมาตรการกระตุ้นด้านภาษีต่างๆ
สิ่งที่ทำนี้ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้คนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับการทำประกันภัย โดยอยากให้เริ่มทำตั้งแต่วัยเด็กไปเป็นต้นไป เพราะประกันภัยถือเป็นการวางรากฐานให้ชีวิต ตั้งแต่มีเงินช่วยสนับสนุนการศึกษา ไปจนถึงเงินเลี้ยงตัวเมื่อยามแก่ชรา
นอกจากนี้ จะพัฒนาให้ความรู้ด้านประกันภัยให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นคนที่จะเติบโตในอนาคตให้มีความรู้ด้านประกันภัย โดยจะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการติดอาวุธทางปัญญาด้านการประกันภัยกับประชาชนผ่านโครงการยุวชนประกันภัย ขยายการเปิดสอนหลักสูตรการศึกษาด้านการประกันภัยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ครอบคลุมโรงเรียนต่างๆ มากขึ้น
ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมการทำงานและพัฒนาคุณภาพของอาสาสมัครประกันภัยที่จะกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั้งประเทศ ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลประกันภัยเข้าถึงประชาชนให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจประกันภัยอีกด้วย
สิ่งที่จะดำเนินการทั้งหมดในปีนี้ เป้าหมายก็เพื่อกระตุ้นให้คนไทยให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆ ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เพราะไม่เพียงแต่ช่วยคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองเท่านั้น แต่การทำประกันภัยยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้มีการขยายตัวได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น หากคนต้องการช่วยเศรษฐกิจไทย อย่าลืมนึกถึงการทำประกันภัย เพราะถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ทั้งต่อตัวเองและประเทศชาติ
รับเข้ามาในแต่ละปีนั้น มีสัดส่วนคิดเป็น 3.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากพอในการทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในแต่ละปี
จากความสำคัญของธุรกิจประกันภัยที่มีส่วนช่วยผลักดันจีดีพีของประเทศข้างต้น คนไทยทุกคนมีส่วนร่วมผ่านการทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆ ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งหากคนไทยให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ขยายตัวมากขึ้นเท่านั้น
เท่ากับว่า ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจภาคอื่นๆ ที่มีอยู่
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจประกันภัยในปี 2551 ได้การกำหนดเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งระบบอยู่ที่ 312,669 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 8% แบ่งเป็นเบี้ยประกันชีวิต 199,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เบี้ยประกันวินาศภัย 112,969 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 8% โดยได้มีการกำหนดเป้าหมายจำนวนกรมธรรม์ไว้ที่ 51.25 ล้านฉบับ หรือเพิ่มขึ้น 12% จากปี 2550 ที่มีจำนวน 45.78 ล้านกรมธรรม์
สำหรับปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งระบบ 291,236
ล้านบาท เป็นเบี้ยประกันชีวิตประมาณ 200,000 ล้านบาท และเบี้ยประกันวินาศภัยประมาณ 90,000 ล้านบาท
“การกำหนดเป้าหมายเบี้ยประกันภัยของปีนี้ไว้ 312,669 ล้านบาทนั้น หากคิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีของประเทศจะเพิ่มจาก 3.45% ในปีก่อนเป็น 3.55% ในปีนี้ ซึ่งถือว่าธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพิ่มมากขึ้น และหากคนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับการทำประกันภัย เท่ากับว่าได้มีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอีกทางหนึ่ง”นางจันทรากล่าว
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยได้มีส่วนช่วยเศรษฐกิจไทยในปี 2551 สำนักงานคปภ.
ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อสู่ความเป็นเลิศประกันภัยไทย พร้อมทั้งกำหนดน้ำหนักของประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ คือ การสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจประกันภัย ให้น้ำหนักร้อยละ 50 การพัฒนาระบบประกันภัยเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 20 และการพัฒนาระบบบริหารงานให้มีความเป็นเลิศ ร้อยละ 30
โดยมีแผนการดำเนินงานในปี 2551 ภายใต้วิสัยทัศน์มุ่งสู่ความเป็นเลิศประกันภัยไทย
ดังต่อไปนี้ คือ การเน้นสร้างภาพลักษณ์ของการประกันภัยยุคใหม่สู่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออมเงิน โดยให้มีการทำประกันชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยเตรียมตัวเกษียณอายุ เพื่อให้ธุรกิจประกันภัยเข้าถึงกลุ่มคนทุกระดับ รวมทั้งจะมุ่งเน้นกลุ่มคนระดับกลางถึงระดับล่างซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเตรียมส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยผ่านมาตรการกระตุ้นด้านภาษีต่างๆ
สิ่งที่ทำนี้ มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้คนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับการทำประกันภัย โดยอยากให้เริ่มทำตั้งแต่วัยเด็กไปเป็นต้นไป เพราะประกันภัยถือเป็นการวางรากฐานให้ชีวิต ตั้งแต่มีเงินช่วยสนับสนุนการศึกษา ไปจนถึงเงินเลี้ยงตัวเมื่อยามแก่ชรา
นอกจากนี้ จะพัฒนาให้ความรู้ด้านประกันภัยให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นคนที่จะเติบโตในอนาคตให้มีความรู้ด้านประกันภัย โดยจะร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการติดอาวุธทางปัญญาด้านการประกันภัยกับประชาชนผ่านโครงการยุวชนประกันภัย ขยายการเปิดสอนหลักสูตรการศึกษาด้านการประกันภัยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ครอบคลุมโรงเรียนต่างๆ มากขึ้น
ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมการทำงานและพัฒนาคุณภาพของอาสาสมัครประกันภัยที่จะกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั้งประเทศ ที่จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลประกันภัยเข้าถึงประชาชนให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจประกันภัยอีกด้วย
สิ่งที่จะดำเนินการทั้งหมดในปีนี้ เป้าหมายก็เพื่อกระตุ้นให้คนไทยให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยในรูปแบบต่างๆ ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เพราะไม่เพียงแต่ช่วยคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของตัวเองเท่านั้น แต่การทำประกันภัยยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้มีการขยายตัวได้อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น หากคนต้องการช่วยเศรษฐกิจไทย อย่าลืมนึกถึงการทำประกันภัย เพราะถือเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง ทั้งต่อตัวเองและประเทศชาติ