ประกาศออกมาแล้วว่า ในรัฐบาล "สมัคร1" ที่จะตั้งขึ้นในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ คนของพรรคพลังประชาชน จะเป็นผู้กำกับดูแล 9 กระทรวงหลัก คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และ กระทรวงสาธารณสุข โดยจะเป็นรัฐมนตรีว่าการทั้งหมด
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลอย่าง พรรคชาติไทย เอากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดูแล พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา คุมกระทรวงพลังงาน สำหรับกระทรวงแรงงานเป็นของพรรคมัชฌิมาธิปไตย ส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน
นอกจากนี้ ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี น่าจะมีทั้งหมด 4 คน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นั้นจะมีประมาณ 4-5 คน แบ่งกันดูแลด้านสื่อ กฎหมาย เศรษฐกิจ และ สำนักงานกฤษฎีกา
คงไม่ใช่เป็นการโยนหินถามทางเพื่อหยั่งดูปฏิกิริยาจากพรรคร่วมรัฐบาล ว่าจะมีท่าทีอย่างไร เพราะผู้ที่ประกาศโควต้าเหล่านี้คือ นายนพดล ปัทมะ คนที่เป็นกระบอกเสียงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "นายใหญ่" ตัวจริงของพรรคพลังประชาชน
ส่วนการจัดคนลงในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ ในส่วนของพรรคพลังประชาชนนั้น เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา แม้จะมีเสียงร่ำร้องจากส.ส.อีสานขอแบ่งโควต้ารัฐมนตรี ให้สมน้ำสมเนื้อกับจำนวนส.ส.ในภาคนี้ที่มีกว่า 100 คนก็ตาม เพราะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ คนที่ได้รับการวางตัวจะต้องผ่านการคัดกรองมาอย่างดี โดยเฉพาะกระทรวงที่มีผลโดยตรง ต่อความมั่นคง และความมั่งคั่ง ของพ.ต.ท.ทักษิณ
ส่วนกระทรวงกลาโหม ที่ทำท่าว่าจะมีปัญหา เนื่องจากมีเสียงออกมาจาก คมช. ในการหารือครั้งสุดท้ายก่อนที่จะหมดวาระว่า คุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม จะต้องเป็นคนกลาง ไม่สังกัดพรรคการเมือง และต้องเป็นทหาร พร้อมทั้งปล่อยชื่อผ่านสื่อออกมาว่าอยากได้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. มานั่ง
ขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่า พล.อ.สมทัต อัตตะนันท์ อดีต ผบ.ทบ. และอดีต ผบ.สส. น่าจะเป็นคนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไว้วางใจมากกว่า เนื่องจากมีความใกล้ชิด เกี่ยวดองกันอยู่
การวางตัว รมว.กลาโหม ในครม.ครั้งนี้จึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะ คมช. คือกลุ่มที่โค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งแม้ตามกฎหมายจะต้องหมดอำนาจไปหลังจากที่มีการตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องไม่ลืมว่า ผบ.เหล่าทัพ ที่ยังอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน ล้วนเป็นระดับแกนนำของ คมช. ทั้งสิ้น จะมีเพียง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เท่านั้น ที่หลุดวงโคจรไปแล้ว
แต่เชื่อเถอะ ถึงที่สุดแล้วทุกตำแหน่งจะลงตัวได้ เพราะนาทีนี้ "นายใหญ่" กุมสภาพได้หมดแล้ว แถมส่ง "นายหญิง"มากำกับดูแลด้วยตัวเองอีกชั้นหนึ่ง คงไม่มีปัญหาอะไรที่ขลุกขลักเกินที่จะจัดการได้ เพราะการเมืองที่เป็นธุรกิจนั้น ย่อมมีส่วนที่ได้ และมีส่วนที่ไม่ได้อย่างใจหวัง แต่สุดท้ายก็จะมีข้อยุติด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่าย
คราวนี้ลองมาพิจารณาถึงบทบาท หน้าที่ ของกระทรวงต่างๆ ที่อยู่ในมือพรรคพลังประชาชน จะเห็นได้ว่า เป็นกลุ่มกระทรวงที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง และกลุ่มกระทรวงที่เป็นกลไก เครือข่าย ในการขับเคลื่อนนโยบายประชานิยม เพื่อยึดกุมฐานเสียงเลือกตั้ง
หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ เรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่จะได้เห็น คือ การประสานงานระหว่างกระทรวงการคลัง กับ กระทรวงคมนาคม ในการเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสารพัดสี โครงการเมกะโปรเจกต์ มูลค่าหลายแสนล้าน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปลุกภาคอสังหาริมทรัพย์ และซื้อใจคนกรุงกลับมา
จากนั้นโครงการประชานิยมในระดับรากหญ้า ทั้งกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน เอสเอ็มแอล เรียนฟรี รักษาฟรี ก็จะถูกปลุกให้กระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีสื่อในกำกับดูแลของรัฐ และสื่อที่เป็นแนวร่วมของพ.ต.ท.ทักษิณ ช่วยโหมประโคมสร้างภาพ สร้างคะแนนนิยมให้กับรัฐบาล
เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางกลับมา ซึ่งคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้แจ้งต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาประมาณเดือนพฤษาคม เพื่อมอบตัวและต่อสู้คดีที่ดินรัชดา ก็จะไม่ต้องเผชิญกับกระแสต่อต้าน หรือถ้าจะมีบ้างก็เชื่อว่าไม่ถึงขั้นรุนแรง ลุกลาม
ส่วนปัญหาคดีความต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว นอกจากจะมีเรื่องที่ดินรัชดา ที่เรื่องไปถึงศาลแล้ว ยังมีอีกหลายเรื่องที่ คตส. มั่นใจว่าจะสรุปส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องศาลได้ก่อนที่ คตส.จะหมดวาระลงในเดือนมิถุนายน ที่จะถึงนี้ รวมทั้งทรัพย์สินที่ถูกอายัด นับเป็นโจทย์ข้อสำคัญที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องแก้ด้วยความละอียดรอบคอบ
เพราะหากใช้อำนาจในความเป็นรัฐบาล ไปก้าวก่าย แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม เชื่อว่าจะมีการร้องเรียน ต่อต้าน จากประชาชนขึ้นมาทันที อย่างน้อยก็จากบรรดากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม ที่ยืนอยู่ตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ
ดังนั้นคดีใดที่ยังไปไม่ถึงศาลก็ต้องพยายามรั้งไว้เพื่อหาทางแก้ไข ส่วงน ที่ไปถึงศาล แล้วก็ต้องหาพยาน หลักฐาน ไปหักล้าง หรือพยายามประวิงเวลาไว้ให้นานที่สุด
จึงมีการคาดการณ์กันว่า หลังจากมีรัฐบาลใหม่ แนวโน้มทางด้านเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น แต่สภาพสังคม และการเมืองจะแย่ลง จะมีการก่อม็อบประท้วง เกี่ยวกับเรื่องการใช้อำนาจรัฐอย่างเหิมเกริม อันเนื่องมาจากความเชื่อมั่นว่าสามารถยึดกุมสภาพได้อย่างเบ็ดเสร็จ นั่นเอง
หรืออาจจะมีปัญหาความขัดแย้งภายใน ระหว่าง นายสมัคร สุนทรเวช กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริง จนถึงขั้นต้องยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่
เมื่อถึงเวลานั้นความได้เปรียบก็จะอยู่กับพรรคใหญ่ที่เป็นรัฐบาลอยู่ทันที เพราะสามารถใช้กลไก เครือข่ายของกระทรวงที่กำกับดูแลอยู่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ กระทั่งกระทรวงมหาดไทย กลาโหม
นับจากนี้ไปอาจจะไม่ถึง 1 ปี หรือปีเศษ เราอาจได้เห็น พลพรรค "พลังแม้ว" พาเหรดเข้าสภา ถึงขั้นตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อีกครั้ง
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลอย่าง พรรคชาติไทย เอากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ไปดูแล พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา คุมกระทรวงพลังงาน สำหรับกระทรวงแรงงานเป็นของพรรคมัชฌิมาธิปไตย ส่วนที่เหลือยังอยู่ระหว่างการเจรจากัน
นอกจากนี้ ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี น่าจะมีทั้งหมด 4 คน และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นั้นจะมีประมาณ 4-5 คน แบ่งกันดูแลด้านสื่อ กฎหมาย เศรษฐกิจ และ สำนักงานกฤษฎีกา
คงไม่ใช่เป็นการโยนหินถามทางเพื่อหยั่งดูปฏิกิริยาจากพรรคร่วมรัฐบาล ว่าจะมีท่าทีอย่างไร เพราะผู้ที่ประกาศโควต้าเหล่านี้คือ นายนพดล ปัทมะ คนที่เป็นกระบอกเสียงของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร "นายใหญ่" ตัวจริงของพรรคพลังประชาชน
ส่วนการจัดคนลงในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ ในส่วนของพรรคพลังประชาชนนั้น เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา แม้จะมีเสียงร่ำร้องจากส.ส.อีสานขอแบ่งโควต้ารัฐมนตรี ให้สมน้ำสมเนื้อกับจำนวนส.ส.ในภาคนี้ที่มีกว่า 100 คนก็ตาม เพราะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเช่นนี้ คนที่ได้รับการวางตัวจะต้องผ่านการคัดกรองมาอย่างดี โดยเฉพาะกระทรวงที่มีผลโดยตรง ต่อความมั่นคง และความมั่งคั่ง ของพ.ต.ท.ทักษิณ
ส่วนกระทรวงกลาโหม ที่ทำท่าว่าจะมีปัญหา เนื่องจากมีเสียงออกมาจาก คมช. ในการหารือครั้งสุดท้ายก่อนที่จะหมดวาระว่า คุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม จะต้องเป็นคนกลาง ไม่สังกัดพรรคการเมือง และต้องเป็นทหาร พร้อมทั้งปล่อยชื่อผ่านสื่อออกมาว่าอยากได้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. มานั่ง
ขณะเดียวกันมีกระแสข่าวว่า พล.อ.สมทัต อัตตะนันท์ อดีต ผบ.ทบ. และอดีต ผบ.สส. น่าจะเป็นคนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ไว้วางใจมากกว่า เนื่องจากมีความใกล้ชิด เกี่ยวดองกันอยู่
การวางตัว รมว.กลาโหม ในครม.ครั้งนี้จึงต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ เพราะ คมช. คือกลุ่มที่โค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งแม้ตามกฎหมายจะต้องหมดอำนาจไปหลังจากที่มีการตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องไม่ลืมว่า ผบ.เหล่าทัพ ที่ยังอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน ล้วนเป็นระดับแกนนำของ คมช. ทั้งสิ้น จะมีเพียง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เท่านั้น ที่หลุดวงโคจรไปแล้ว
แต่เชื่อเถอะ ถึงที่สุดแล้วทุกตำแหน่งจะลงตัวได้ เพราะนาทีนี้ "นายใหญ่" กุมสภาพได้หมดแล้ว แถมส่ง "นายหญิง"มากำกับดูแลด้วยตัวเองอีกชั้นหนึ่ง คงไม่มีปัญหาอะไรที่ขลุกขลักเกินที่จะจัดการได้ เพราะการเมืองที่เป็นธุรกิจนั้น ย่อมมีส่วนที่ได้ และมีส่วนที่ไม่ได้อย่างใจหวัง แต่สุดท้ายก็จะมีข้อยุติด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่าย
คราวนี้ลองมาพิจารณาถึงบทบาท หน้าที่ ของกระทรวงต่างๆ ที่อยู่ในมือพรรคพลังประชาชน จะเห็นได้ว่า เป็นกลุ่มกระทรวงที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคง และกลุ่มกระทรวงที่เป็นกลไก เครือข่าย ในการขับเคลื่อนนโยบายประชานิยม เพื่อยึดกุมฐานเสียงเลือกตั้ง
หลังจากนายสมัคร สุนทรเวช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ เรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่จะได้เห็น คือ การประสานงานระหว่างกระทรวงการคลัง กับ กระทรวงคมนาคม ในการเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสารพัดสี โครงการเมกะโปรเจกต์ มูลค่าหลายแสนล้าน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปลุกภาคอสังหาริมทรัพย์ และซื้อใจคนกรุงกลับมา
จากนั้นโครงการประชานิยมในระดับรากหญ้า ทั้งกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน เอสเอ็มแอล เรียนฟรี รักษาฟรี ก็จะถูกปลุกให้กระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวา ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีสื่อในกำกับดูแลของรัฐ และสื่อที่เป็นแนวร่วมของพ.ต.ท.ทักษิณ ช่วยโหมประโคมสร้างภาพ สร้างคะแนนนิยมให้กับรัฐบาล
เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางกลับมา ซึ่งคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ได้แจ้งต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้แล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะกลับมาประมาณเดือนพฤษาคม เพื่อมอบตัวและต่อสู้คดีที่ดินรัชดา ก็จะไม่ต้องเผชิญกับกระแสต่อต้าน หรือถ้าจะมีบ้างก็เชื่อว่าไม่ถึงขั้นรุนแรง ลุกลาม
ส่วนปัญหาคดีความต่างๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัว นอกจากจะมีเรื่องที่ดินรัชดา ที่เรื่องไปถึงศาลแล้ว ยังมีอีกหลายเรื่องที่ คตส. มั่นใจว่าจะสรุปส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องศาลได้ก่อนที่ คตส.จะหมดวาระลงในเดือนมิถุนายน ที่จะถึงนี้ รวมทั้งทรัพย์สินที่ถูกอายัด นับเป็นโจทย์ข้อสำคัญที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องแก้ด้วยความละอียดรอบคอบ
เพราะหากใช้อำนาจในความเป็นรัฐบาล ไปก้าวก่าย แทรกแซงกระบวนการยุติธรรม เชื่อว่าจะมีการร้องเรียน ต่อต้าน จากประชาชนขึ้นมาทันที อย่างน้อยก็จากบรรดากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดิม ที่ยืนอยู่ตรงข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ
ดังนั้นคดีใดที่ยังไปไม่ถึงศาลก็ต้องพยายามรั้งไว้เพื่อหาทางแก้ไข ส่วงน ที่ไปถึงศาล แล้วก็ต้องหาพยาน หลักฐาน ไปหักล้าง หรือพยายามประวิงเวลาไว้ให้นานที่สุด
จึงมีการคาดการณ์กันว่า หลังจากมีรัฐบาลใหม่ แนวโน้มทางด้านเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น แต่สภาพสังคม และการเมืองจะแย่ลง จะมีการก่อม็อบประท้วง เกี่ยวกับเรื่องการใช้อำนาจรัฐอย่างเหิมเกริม อันเนื่องมาจากความเชื่อมั่นว่าสามารถยึดกุมสภาพได้อย่างเบ็ดเสร็จ นั่นเอง
หรืออาจจะมีปัญหาความขัดแย้งภายใน ระหว่าง นายสมัคร สุนทรเวช กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริง จนถึงขั้นต้องยุบสภา เพื่อเลือกตั้งใหม่
เมื่อถึงเวลานั้นความได้เปรียบก็จะอยู่กับพรรคใหญ่ที่เป็นรัฐบาลอยู่ทันที เพราะสามารถใช้กลไก เครือข่ายของกระทรวงที่กำกับดูแลอยู่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพาณิชย์ กระทั่งกระทรวงมหาดไทย กลาโหม
นับจากนี้ไปอาจจะไม่ถึง 1 ปี หรือปีเศษ เราอาจได้เห็น พลพรรค "พลังแม้ว" พาเหรดเข้าสภา ถึงขั้นตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อีกครั้ง