"ชลิต" แม่ทัพฟ้า รับคงผิดหวังหาก พปช.ไม่แต่งตั้ง รมว.กลาโหมตามสเปกที่กองทัพเสนอ ปัดทหารไม่ได้กลัว "สมัคร" จะมาเป็น รมว.กลาโหม แต่ให้ไปดูรูปในกลาโหม มีพลเรือนแค่ 2 คน มานั่งคุมทหาร เตือนหากต้องการให้งานราบรื่นมีประสิทธิภาพควรทำตามกองทัพแนะบอกหากเลือกได้อยากให้ "บุญรอด" นั่ง รมว.กลาโหมอีกสมัย ด้านเจ้าตัวเขินบอก "โนคอมเมนต์" แนะ "แม้ว" ควรเลือกคนที่เข้ากับกองทัพได้ และเคยเป็นผู้บังคับบัญชาระดับสูง
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทภารกิจของ คมช. หลังจากมีรัฐบาลชุดใหม่ว่า เมื่อจบภารกิจก็จบกัน และปล่อยให้เป็นหน้าที่ ผบ.เหล่าทัพทำงานตามปกติ ทั้งนี้ คมช.จะทำหน้าที่จนครบเวลาเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงรัฐบาลชุดใหม่ที่อาจจะมีการยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และองค์กร ต่างๆ ที่คมช.ตั้งขึ้นมาจะทำอย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลสามารถทำได้ ส่วน สนช.ก็ต้องดำเนินการกันต่อไปตามวาระ
ส่วนการที่ คมช.เสนอแนะ รมว.กลาโหมคนใหม่ แสดงว่า คมช. เป็นห่วง ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นการให้ข้อเสนอแนะ เพราะเป็นภาระของผู้ที่จะวางตัว ทาง คมช.จึงได้เสนอแนะไปว่าสิ่งใดที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องไปดูที่ห้องประชุมของ รมว.กลาโหม จะเห็นว่ามีรูปภาพเป็นพลเรือน 2 คนที่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดต้องเสนรัฐบาลไปอย่างนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ต้องไปดูที่รูปภาพที่หน้าห้องรมว.กลาโหมเพราะคนที่เข้าใจเนื้อ หา และความจำเป็น ในเนื้องานคือทหาร เมื่อถามว่า คมช. เกรงว่า นายสมัครจะเข้ามาเป็น รมว.กลาโหม จึงได้เสนอไปว่าควรจะเป็นทหารมากกว่า พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่ได้เกรงว่าใครจะขึ้นมาเป็น แต่เอาเป็นว่าคนที่เข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ และเป็นผลดีต่อประเทศชาติมากที่สุด
ส่วนที่สมาชิกพรรคพลังประชาชนออกมาคัดค้านแนวคิดคมช. พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เมื่อถามว่า สถานการณ์เช่นนี้ควรให้ทหารเข้ามาเป็นคนคลี่คลาย เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า จะทำให้งานราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เพราะภาระของกระทรวงกลาโหม และ เรื่องความมั่นคงยังมีอีกมากมาย ทั้งประเทศ และปัญหาในพื้นที่ภาคใต้
สำหรับการกลับประเทศไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะกลับมาเพื่อสร้างความสมานฉันหรือไม่นั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ทางรัฐบาลหรือที่ คมช.ได้เสนอไปก็อยากให้กลับมา เพียงแต่ท่านไม่ได้กลับมา ท่านต้องกลับมาชี้แจงคดี ให้เรียบร้อย และจะได้เคลียร์ตัวเองด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เบื้องหลังการตั้งคณะมนตรีชุดใหม่ แล้วอย่างนี้จะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวพร้อมกับหัวเราะว่า ไม่ทราบ สื่อและประชาชนคงทราบเองว่าอะไรเป็นอะไร
ส่วนจะทำให้เกิดความสมานฉันท์หรือเกิดความแตกแยกมากขึ้นนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่รู้ ขึ้นอยู่การกระทำ เมื่อถามว่า คมช.บริสุทธ์ใจ ในการกำหนดสเปก รมว.กลาโหมหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ประชาชนเป็นผู้เลือก ผู้บริหาร ทหารเป็นประชาชนเหมือนกัน เมื่อถามว่า หากสเปก รมว.กลาโหม ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ก็ผิดหวัง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กองทัพพร้อมทำงานกับรัฐบาลชุดนี้ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ก็เป็นหน้าที่ทุกคนในทุกกระทรวงที่จะต้องทำงานไม่อย่างนั้นก็ถูกไล่ออก เมื่อถามว่า ใครป็น รมว.กลาโหม ผบ.เหล่าทัพต้องยอมรับ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ เมื่อถามว่า ถ้าผิดจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเหมือนเหตุการณ์ในอดีต หรือไม่ พล.อ.อ.ขชลิต กล่าวว่า ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่น่าจะมีเหตุการณ์แบบนั้น
สำหรับตำแหน่ง รมว.กลาโหม ที่มีแคนดิเดตอยู่ 3 คน คือ พล.อ.สำเภา ชูศรี อดีต ผบ.ทหารสูงสุด ตท.1 พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ อดีต ผบ.หารสูงสุด ตท.3 และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ตท.6 อยากให้ใครเป็น รมว.กลาโหม พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า อยากให้ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ด้าน พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนยืนยันว่าตำแหน่ง รมว.กลาโหมต้องเป็นคนของพรรคพลังประชาชนว่า หาก รมว.กลาโหม เป็นคนของพรรคพลังประชาชนเราก็จะไม่ผิดหวัง และต่อไปนี้เราจะไม่พูดถึง คมช.แล้ว และ ผบ.เหล่าทัพได้ส่งสัญญาณขอให้จบแล้ว ต่อไปขอให้เป็นเรื่องของการเมมืองที่จะตั้งใครเป็น รมว.กลาโหม
"ที่เราส่งสัญญาณไป ไม่ถึงกับเป็นสเปก แต่หากรัฐบาลต้องการความสมานฉันฑ์ และไม่อยากจะเห็นความไม่เข้าใจเกิดขึ้นก็ควรนำคนที่พูดกับทหารรู้เรื่องมาเป็น รมว.กลาโหม"
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชนเลือกใครมาเป็น รมว.กลาโหม กองทัพยอมรับหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ตอนนี้เราต้องยอมรับผลอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่ผบ.ทอ.ระบุว่า จะรู้สึกผิดหวังหากพรรคพลังประชาชนไม่ฟังแนวคิด ของคมช.ที่เสนออกไป พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่ใช่ ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าใครจะเป็น รมว.กลาโหมที่แน่นอน เพียงแต่มีข่าวออกไปว่าจะเป็นคนนั้นคนนี้เท่านั้น เมื่อถามว่า ส่วนตัวท่านมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเลือกคนไว้วางใจ หรือเลือกคนที่พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งการได้ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ตนคิดว่าเขาต้องใช้คน ที่เข้ากับกองทัพได้และต้องเป็นนายทหารระดับสูงที่เคยผ่านงานระดับสูงมา ซึ่งมีหลายคนที่เข้ากับกองทัพได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังอ่อนเข้าหากันเพื่อให้สมารถเดินหน้า ต่อไปได้ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า คนฉลาดต้องพยายามที่จะให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ ตอนนี้ต้องเดินไปแม้ว่าจะสะดุดล้มลง ก็ต้องลุกขึ้นมาใหม่ได้ ไม่ใช่ว่าหยุดจนไปไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ามีการขอร้องให้ท่านกลับมาเป็นรมว.กลาโหมอีกครั้ง เพื่อความสมานฉันนท์ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า อย่าใช้คำว่า ถ้าเลย รัฐบาลชุดนี้ มาด้วยกันก็ต้องไปด้วยกันและตอนนี้เหมือนกับมองฟ้า ไม่มีเมฆ ไม่มีหมอกเลย มันอิมพอสซิเบิล” เมื่อถามย้ำว่า หาก ผบ.เหล่าทัพเสนอให้ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ต่อ จะรับตำแหน่งหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวพร้อมโบกมือว่า "โนคอมเมนท์"
ต่อข้อถามว่าในช่วงเช้า (24 ม.ค.) ที่ได้มีการหารือนอกรอบกับ ผบ.เหล่าทัพได้มีการพูดถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนกลับมาเป็นรัฐบาลหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่มีเพราะเขากลับมาตั้งนานแล้ว และผลการเลือกตั้งออกมานานแล้ว
พล.ท.พิชษณุ ปุจฉาการ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมสภากลาโหมว่า การประชุมสภากลาโหมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งในที่ประชุมสภากลาโหม พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ ได้กล่าวถึงงาน ตามนโยบายที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน ที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ซึ่งได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ เพื่อให้เกิดความพร้อม ทัดเทียมอารยประเทศ รวมทั้งสองคล้องกับภัยคุกคาม ในอนาคต และภารกิจทุกๆประการ ที่จะต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ งานสำคัญของกระทรวงกลาโหมที่พล.อ.บุญรอด ได้ดำเนินการในห้วง ที่ผ่านมา เช่น การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม การแก้ไขปัญหาจำนวนนายทหารชั้นนายพลตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ให้มีจำนวนเหมาะสม การปรับปรุงค่าตอบแทนและสิทธิให้กับกำลังพล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยและกำลังพลชั้นผู้น้อย พัฒนาด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ให้มีประสิทธิภาพและสามารถพึ่งพาตนเองทางทหารได้ กำหนดนโยบายเรื่องการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เกิดความโปร่งใส ถูกต้อง มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้ และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกระทรวงกลาโหม ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ และการแก้ไขปัญหาขาดแคลนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม
โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวอีกว่า รมว.กลาโหม ได้กล่าวถึงความสำเร็จ ที่เกิดขึ้นว่าไม่สามารถกรำได้ง่ายโดยลำพัง แต่เพราะได้รับความร่วมมือร่วมใจ และทุ่มเท ในการปฏิบัติงานของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ทุกเหล่าทัพอย่างดียิ่ง และสิ่งสำคัญสูงสุดเกิดจากท่านรมว.กลาโหม มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะสร้างความรัก ความสามัคคีปรองดอง ให้เกิดในกองทัพ เพราะเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ทั้งนี้ รมว.กลาโหม ได้ฝากสมาชิกสภากลาโหมทุกท่าน ได้ร่วมกันดำรงสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของสถาบันทหาร ให้เป็นที่เชื่อถือ เชื่อมั่น ศรัทธาของประชาชน และได้กล่าวย้ำว่า ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปอย่างไร สถาบันทหาร และงานด้านความมั่นคง ยังต้องเป็นหลักของประเทศตลอดไป
พล.ท.พิชษณุ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยรมว.กลาโหม ได้ของบให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ เชิญชวนให้กำลังผลและครอบครัวได้รับทราบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2551 ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไป จึงขอให้ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนน เลือกคนที่มีความเหมาะสมเป็น ส.ว.เพื่อทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรักษาการประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.)ให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทภารกิจของ คมช. หลังจากมีรัฐบาลชุดใหม่ว่า เมื่อจบภารกิจก็จบกัน และปล่อยให้เป็นหน้าที่ ผบ.เหล่าทัพทำงานตามปกติ ทั้งนี้ คมช.จะทำหน้าที่จนครบเวลาเมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นห่วงรัฐบาลชุดใหม่ที่อาจจะมีการยุบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และองค์กร ต่างๆ ที่คมช.ตั้งขึ้นมาจะทำอย่างไร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลสามารถทำได้ ส่วน สนช.ก็ต้องดำเนินการกันต่อไปตามวาระ
ส่วนการที่ คมช.เสนอแนะ รมว.กลาโหมคนใหม่ แสดงว่า คมช. เป็นห่วง ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นการให้ข้อเสนอแนะ เพราะเป็นภาระของผู้ที่จะวางตัว ทาง คมช.จึงได้เสนอแนะไปว่าสิ่งใดที่เหมาะสม ทั้งนี้ต้องไปดูที่ห้องประชุมของ รมว.กลาโหม จะเห็นว่ามีรูปภาพเป็นพลเรือน 2 คนที่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดต้องเสนรัฐบาลไปอย่างนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ต้องไปดูที่รูปภาพที่หน้าห้องรมว.กลาโหมเพราะคนที่เข้าใจเนื้อ หา และความจำเป็น ในเนื้องานคือทหาร เมื่อถามว่า คมช. เกรงว่า นายสมัครจะเข้ามาเป็น รมว.กลาโหม จึงได้เสนอไปว่าควรจะเป็นทหารมากกว่า พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่ได้เกรงว่าใครจะขึ้นมาเป็น แต่เอาเป็นว่าคนที่เข้ามาทำงานเพื่อประโยชน์ และเป็นผลดีต่อประเทศชาติมากที่สุด
ส่วนที่สมาชิกพรรคพลังประชาชนออกมาคัดค้านแนวคิดคมช. พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เมื่อถามว่า สถานการณ์เช่นนี้ควรให้ทหารเข้ามาเป็นคนคลี่คลาย เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า จะทำให้งานราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เพราะภาระของกระทรวงกลาโหม และ เรื่องความมั่นคงยังมีอีกมากมาย ทั้งประเทศ และปัญหาในพื้นที่ภาคใต้
สำหรับการกลับประเทศไทยของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะกลับมาเพื่อสร้างความสมานฉันหรือไม่นั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ทางรัฐบาลหรือที่ คมช.ได้เสนอไปก็อยากให้กลับมา เพียงแต่ท่านไม่ได้กลับมา ท่านต้องกลับมาชี้แจงคดี ให้เรียบร้อย และจะได้เคลียร์ตัวเองด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่เบื้องหลังการตั้งคณะมนตรีชุดใหม่ แล้วอย่างนี้จะทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวพร้อมกับหัวเราะว่า ไม่ทราบ สื่อและประชาชนคงทราบเองว่าอะไรเป็นอะไร
ส่วนจะทำให้เกิดความสมานฉันท์หรือเกิดความแตกแยกมากขึ้นนั้น พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ไม่ทราบ ไม่รู้ ขึ้นอยู่การกระทำ เมื่อถามว่า คมช.บริสุทธ์ใจ ในการกำหนดสเปก รมว.กลาโหมหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ประชาชนเป็นผู้เลือก ผู้บริหาร ทหารเป็นประชาชนเหมือนกัน เมื่อถามว่า หากสเปก รมว.กลาโหม ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ก็ผิดหวัง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กองทัพพร้อมทำงานกับรัฐบาลชุดนี้ใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ก็เป็นหน้าที่ทุกคนในทุกกระทรวงที่จะต้องทำงานไม่อย่างนั้นก็ถูกไล่ออก เมื่อถามว่า ใครป็น รมว.กลาโหม ผบ.เหล่าทัพต้องยอมรับ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติ เมื่อถามว่า ถ้าผิดจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงเหมือนเหตุการณ์ในอดีต หรือไม่ พล.อ.อ.ขชลิต กล่าวว่า ไม่ทราบเหมือนกัน ไม่น่าจะมีเหตุการณ์แบบนั้น
สำหรับตำแหน่ง รมว.กลาโหม ที่มีแคนดิเดตอยู่ 3 คน คือ พล.อ.สำเภา ชูศรี อดีต ผบ.ทหารสูงสุด ตท.1 พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ อดีต ผบ.หารสูงสุด ตท.3 และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ. ตท.6 อยากให้ใครเป็น รมว.กลาโหม พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า อยากให้ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ด้าน พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนยืนยันว่าตำแหน่ง รมว.กลาโหมต้องเป็นคนของพรรคพลังประชาชนว่า หาก รมว.กลาโหม เป็นคนของพรรคพลังประชาชนเราก็จะไม่ผิดหวัง และต่อไปนี้เราจะไม่พูดถึง คมช.แล้ว และ ผบ.เหล่าทัพได้ส่งสัญญาณขอให้จบแล้ว ต่อไปขอให้เป็นเรื่องของการเมมืองที่จะตั้งใครเป็น รมว.กลาโหม
"ที่เราส่งสัญญาณไป ไม่ถึงกับเป็นสเปก แต่หากรัฐบาลต้องการความสมานฉันฑ์ และไม่อยากจะเห็นความไม่เข้าใจเกิดขึ้นก็ควรนำคนที่พูดกับทหารรู้เรื่องมาเป็น รมว.กลาโหม"
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคพลังประชาชนเลือกใครมาเป็น รมว.กลาโหม กองทัพยอมรับหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ตอนนี้เราต้องยอมรับผลอยู่แล้ว
ส่วนกรณีที่ผบ.ทอ.ระบุว่า จะรู้สึกผิดหวังหากพรรคพลังประชาชนไม่ฟังแนวคิด ของคมช.ที่เสนออกไป พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่ใช่ ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าใครจะเป็น รมว.กลาโหมที่แน่นอน เพียงแต่มีข่าวออกไปว่าจะเป็นคนนั้นคนนี้เท่านั้น เมื่อถามว่า ส่วนตัวท่านมองว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเลือกคนไว้วางใจ หรือเลือกคนที่พ.ต.ท.ทักษิณ สั่งการได้ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ตนคิดว่าเขาต้องใช้คน ที่เข้ากับกองทัพได้และต้องเป็นนายทหารระดับสูงที่เคยผ่านงานระดับสูงมา ซึ่งมีหลายคนที่เข้ากับกองทัพได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังอ่อนเข้าหากันเพื่อให้สมารถเดินหน้า ต่อไปได้ใช่หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า คนฉลาดต้องพยายามที่จะให้ประเทศชาติเดินต่อไปได้ ตอนนี้ต้องเดินไปแม้ว่าจะสะดุดล้มลง ก็ต้องลุกขึ้นมาใหม่ได้ ไม่ใช่ว่าหยุดจนไปไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ามีการขอร้องให้ท่านกลับมาเป็นรมว.กลาโหมอีกครั้ง เพื่อความสมานฉันนท์ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า อย่าใช้คำว่า ถ้าเลย รัฐบาลชุดนี้ มาด้วยกันก็ต้องไปด้วยกันและตอนนี้เหมือนกับมองฟ้า ไม่มีเมฆ ไม่มีหมอกเลย มันอิมพอสซิเบิล” เมื่อถามย้ำว่า หาก ผบ.เหล่าทัพเสนอให้ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ต่อ จะรับตำแหน่งหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวพร้อมโบกมือว่า "โนคอมเมนท์"
ต่อข้อถามว่าในช่วงเช้า (24 ม.ค.) ที่ได้มีการหารือนอกรอบกับ ผบ.เหล่าทัพได้มีการพูดถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชนกลับมาเป็นรัฐบาลหรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ไม่มีเพราะเขากลับมาตั้งนานแล้ว และผลการเลือกตั้งออกมานานแล้ว
พล.ท.พิชษณุ ปุจฉาการ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมสภากลาโหมว่า การประชุมสภากลาโหมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งในที่ประชุมสภากลาโหม พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ ได้กล่าวถึงงาน ตามนโยบายที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน ที่ดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม ซึ่งได้มุ่งมั่นที่จะเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ เพื่อให้เกิดความพร้อม ทัดเทียมอารยประเทศ รวมทั้งสองคล้องกับภัยคุกคาม ในอนาคต และภารกิจทุกๆประการ ที่จะต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ งานสำคัญของกระทรวงกลาโหมที่พล.อ.บุญรอด ได้ดำเนินการในห้วง ที่ผ่านมา เช่น การปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม การแก้ไขปัญหาจำนวนนายทหารชั้นนายพลตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ให้มีจำนวนเหมาะสม การปรับปรุงค่าตอบแทนและสิทธิให้กับกำลังพล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยและกำลังพลชั้นผู้น้อย พัฒนาด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ให้มีประสิทธิภาพและสามารถพึ่งพาตนเองทางทหารได้ กำหนดนโยบายเรื่องการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เกิดความโปร่งใส ถูกต้อง มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบได้ และปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกระทรวงกลาโหม ให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาวการณ์ และการแก้ไขปัญหาขาดแคลนงบประมาณของกระทรวงกลาโหม
โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวอีกว่า รมว.กลาโหม ได้กล่าวถึงความสำเร็จ ที่เกิดขึ้นว่าไม่สามารถกรำได้ง่ายโดยลำพัง แต่เพราะได้รับความร่วมมือร่วมใจ และทุ่มเท ในการปฏิบัติงานของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ทุกเหล่าทัพอย่างดียิ่ง และสิ่งสำคัญสูงสุดเกิดจากท่านรมว.กลาโหม มีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะสร้างความรัก ความสามัคคีปรองดอง ให้เกิดในกองทัพ เพราะเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ทั้งนี้ รมว.กลาโหม ได้ฝากสมาชิกสภากลาโหมทุกท่าน ได้ร่วมกันดำรงสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของสถาบันทหาร ให้เป็นที่เชื่อถือ เชื่อมั่น ศรัทธาของประชาชน และได้กล่าวย้ำว่า ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงรัฐบาลไปอย่างไร สถาบันทหาร และงานด้านความมั่นคง ยังต้องเป็นหลักของประเทศตลอดไป
พล.ท.พิชษณุ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงเรื่องการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยรมว.กลาโหม ได้ของบให้หน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ เชิญชวนให้กำลังผลและครอบครัวได้รับทราบการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม 2551 ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งทั่วไป จึงขอให้ไปใช้สิทธิ์ลงคะแนน เลือกคนที่มีความเหมาะสมเป็น ส.ว.เพื่อทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ