ผู้จัดการรายวัน - ธปท.เผยพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่เปิดช่องให้สถาบันการเงินที่ต้องการเงินออกขายหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียงให้แก่นักลงทุนได้ ขณะเดียวกันให้ผู้ฝากเงินและผู้ถือหุ้นฟ้องศาลแพ่งในการรับผิดชอบการกระทำ และกำหนดโทษสถาบันการเงินที่ทำความผิดรุนแรงสุดปรับ 1 ล้านบาท หรือ 10,000 บาทต่อวัน
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ที่คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในช่วงกลางปีหน้าจะได้อนุญาตให้สถาบันการเงินที่ต้องการเงินทุนสามารถออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ซึ่งต่างกับหุ้นบุริมสิทธิทั่วไปที่ธนาคารพาณิชย์ออกในปัจจุบัน คือ ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นและไม่มีสิทธิเข้าที่ประชุมร่วมกับกรรมการธนาคารได้ แต่จะได้รับเงินปันผลและผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิทั่วไป และจะไม่มีการกำหนดเวลาชำระคืนเงินเหมือนหุ้นกู้ทั่วไปด้วย
“หุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียงจะมีลักษณะคล้ายตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน(ไฮบริดส์บอนด์) โดยในทางธุรกิจเหมือนตราสารหนี้ แต่มีกฎหมายกำกับเหมือนตราสารทุน เพื่อเป็นการรองรับการลงทุนของพวกกองทุนต่างๆ ที่ต้องการผลตอบแทนดี แต่ไม่มีสิทธิความเป็นเจ้าของเหมือนหุ้นทั่วไป อย่างไรก็ตามการจะออกหุ้นประเภทนี้ได้ต้องขออนุญาตมายังธปท.ก่อน และในอนาคตควรมีตลาดรองรับการซื้อขายสินค้ากัน เพื่อให้ตลาดพัฒนาต่อไปได้”
นอกจากนี้ ยังให้ผู้ถือหุ้นและผู้ฝากเงินสามารถฟ้องร้องศาลแพ่งต่อกรรมการที่กระทำความผิดจนเกิดความเสียหายที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามธปท.หรือการสั่งการของผู้ตรวจการ จากกฎหมายปัจจุบันที่กรรมการและผู้ถือหุ้นจะเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันทำให้มีการฟ้องร้องในกรณีไม่มากนัก เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานให้ผู้ฝากเงินและผู้ถือหุ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสามารถเข้ามาติดตามการทำหน้าที่ของกรรมการมากขึ้น
“หากกรรมการกระทำความผิดในส่วนนี้จะเป็นการฟ้องร้องให้รับผิดชอบฐานละเมิดในการบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งเขาก็ต้องเป็นผู้พิสูจน์ให้ได้ว่าตนเองไม่ผิดและนำข้อมูลที่ตนเองคลุกคลีมาพิสูจน์ให้ได้ด้วย ซึ่งในต่างประเทศก็ใช้เกณฑ์นี้เช่นกัน ซึ่งหากกระทำความผิดจริงจะได้รับโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะเดียวกันเมื่อเกิดผลขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงต่ำกว่า 50%และ 25%ของทุนชำระแล้วกรรมการก็ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อชี้แจงประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอแผนและแนวทางการแก้ไขด้วย”นายชาญชัยกล่าว
นายชาญชัย กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้บุคคลทั่วไปถือหุ้นถือหุ้นในสัดส่วน 5% จะต้องรายงานมายังธปท.ให้ทราบก่อน แต่ถือหุ้นได้ไม่เกิน 10% เพราะหากเป็นเช่นนี้ทางธปท.มีสิทธิร้องต่อศาลให้ขายส่วนที่เกินได้ ซึ่งต้องขายหุ้นส่วนที่เกินภายใน 90 วัน แต่กฎหมายได้อนุญาตให้ธปท.สามารถขยายเวลาอีก 90 วัน และนำเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นรายนั้น
สำหรับในเรื่องการตรวจสอบบัญชีจะให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นตามกฎเกณฑ์ของธปท.และผู้สอบบัญชีและกรรมการจะต้องรับรองงบดุลและงบกำไรขาดทุนทุกรอบ 6 เดือนและ 12 เดือน ขณะที่สาขาสถาบันการเงินต่างประเทศใช้รอบปีบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมีการรายงานเหตุผลของงบการเงินที่ไม่ได้รับรองหรือไม่ผ่านประกอบด้วย รวมถึงหากพบการทุจริตก็ต้องแจ้งให้ธปท.ทราบ เพื่อความโปร่งใส ซึ่งต่างกับกฎหมายปัจจุบันที่ไม่ได้ระบุให้ชัดเจน ทั้งนี้หากผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนกฎหมายนี้จะมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“ต่อไปสถาบันการเงินต้องมีการเปิดเผยฐานะและความเสี่ยงของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการ เช่น ประกาศเงินที่ถูกปรับจากการกระทำความผิดของธนาคารพาณิชย์แห่งนั้น เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้นในการตัดสินใจและไม่ตื่นตระหนกมากนักหากมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งในงบการเงินจะมีการรายงานความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ จากเดิมที่อธิบายความเสี่ยงแบบกว้างๆ พร้อมทั้งให้ประกาศข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการ และข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งแจ้งวิธีการคำนวณให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปทราบด้วยเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธปท.ประกาศมากขึ้น เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน”
ส่วนบทลงโทษของสถาบันการเงินที่กระทำความผิดในกรณีฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินได้ระบุโทษให้รุนแรงขึ้น แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หากสถาบันการเงินฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินจะมีโทษปรับ 3 แสนบาท และปรับอีกวันละ 3,000 บาท หรือส่งผลกระทบต่อสถาบันเงิน แต่ไม่รุนแรงปรับ 5 แสนบาท และปรับอีกวันละ 5,000 บาท และร้ายแรงสุด คือ หากส่งผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินปรับ 1 ล้านบาท และปรับอีกวันละ 1 หมื่นบาท ซึ่งเป็นบทลงโทษต่อการพิจารณาความผิดต่อ 1 การกระทำ
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกฎหมายและคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในพ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินฉบับใหม่ที่คาดว่าจะสามารถประกาศใช้ได้ในช่วงกลางปีหน้าจะได้อนุญาตให้สถาบันการเงินที่ต้องการเงินทุนสามารถออกหุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ซึ่งต่างกับหุ้นบุริมสิทธิทั่วไปที่ธนาคารพาณิชย์ออกในปัจจุบัน คือ ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นและไม่มีสิทธิเข้าที่ประชุมร่วมกับกรรมการธนาคารได้ แต่จะได้รับเงินปันผลและผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิทั่วไป และจะไม่มีการกำหนดเวลาชำระคืนเงินเหมือนหุ้นกู้ทั่วไปด้วย
“หุ้นบุริมสิทธิที่ไม่มีสิทธิออกเสียงจะมีลักษณะคล้ายตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน(ไฮบริดส์บอนด์) โดยในทางธุรกิจเหมือนตราสารหนี้ แต่มีกฎหมายกำกับเหมือนตราสารทุน เพื่อเป็นการรองรับการลงทุนของพวกกองทุนต่างๆ ที่ต้องการผลตอบแทนดี แต่ไม่มีสิทธิความเป็นเจ้าของเหมือนหุ้นทั่วไป อย่างไรก็ตามการจะออกหุ้นประเภทนี้ได้ต้องขออนุญาตมายังธปท.ก่อน และในอนาคตควรมีตลาดรองรับการซื้อขายสินค้ากัน เพื่อให้ตลาดพัฒนาต่อไปได้”
นอกจากนี้ ยังให้ผู้ถือหุ้นและผู้ฝากเงินสามารถฟ้องร้องศาลแพ่งต่อกรรมการที่กระทำความผิดจนเกิดความเสียหายที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามธปท.หรือการสั่งการของผู้ตรวจการ จากกฎหมายปัจจุบันที่กรรมการและผู้ถือหุ้นจะเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันทำให้มีการฟ้องร้องในกรณีไม่มากนัก เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานให้ผู้ฝากเงินและผู้ถือหุ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสามารถเข้ามาติดตามการทำหน้าที่ของกรรมการมากขึ้น
“หากกรรมการกระทำความผิดในส่วนนี้จะเป็นการฟ้องร้องให้รับผิดชอบฐานละเมิดในการบกพร่องต่อหน้าที่ ซึ่งเขาก็ต้องเป็นผู้พิสูจน์ให้ได้ว่าตนเองไม่ผิดและนำข้อมูลที่ตนเองคลุกคลีมาพิสูจน์ให้ได้ด้วย ซึ่งในต่างประเทศก็ใช้เกณฑ์นี้เช่นกัน ซึ่งหากกระทำความผิดจริงจะได้รับโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะเดียวกันเมื่อเกิดผลขาดทุนจนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงต่ำกว่า 50%และ 25%ของทุนชำระแล้วกรรมการก็ต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อชี้แจงประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอแผนและแนวทางการแก้ไขด้วย”นายชาญชัยกล่าว
นายชาญชัย กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้บุคคลทั่วไปถือหุ้นถือหุ้นในสัดส่วน 5% จะต้องรายงานมายังธปท.ให้ทราบก่อน แต่ถือหุ้นได้ไม่เกิน 10% เพราะหากเป็นเช่นนี้ทางธปท.มีสิทธิร้องต่อศาลให้ขายส่วนที่เกินได้ ซึ่งต้องขายหุ้นส่วนที่เกินภายใน 90 วัน แต่กฎหมายได้อนุญาตให้ธปท.สามารถขยายเวลาอีก 90 วัน และนำเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นรายนั้น
สำหรับในเรื่องการตรวจสอบบัญชีจะให้สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้นตามกฎเกณฑ์ของธปท.และผู้สอบบัญชีและกรรมการจะต้องรับรองงบดุลและงบกำไรขาดทุนทุกรอบ 6 เดือนและ 12 เดือน ขณะที่สาขาสถาบันการเงินต่างประเทศใช้รอบปีบัญชีของสำนักงานใหญ่ ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมีการรายงานเหตุผลของงบการเงินที่ไม่ได้รับรองหรือไม่ผ่านประกอบด้วย รวมถึงหากพบการทุจริตก็ต้องแจ้งให้ธปท.ทราบ เพื่อความโปร่งใส ซึ่งต่างกับกฎหมายปัจจุบันที่ไม่ได้ระบุให้ชัดเจน ทั้งนี้หากผู้สอบบัญชีฝ่าฝืนกฎหมายนี้จะมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“ต่อไปสถาบันการเงินต้องมีการเปิดเผยฐานะและความเสี่ยงของสถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการ เช่น ประกาศเงินที่ถูกปรับจากการกระทำความผิดของธนาคารพาณิชย์แห่งนั้น เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้นในการตัดสินใจและไม่ตื่นตระหนกมากนักหากมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งในงบการเงินจะมีการรายงานความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ จากเดิมที่อธิบายความเสี่ยงแบบกว้างๆ พร้อมทั้งให้ประกาศข้อมูลอัตราดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการ และข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งแจ้งวิธีการคำนวณให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไปทราบด้วยเงินตามหลักเกณฑ์ที่ธปท.ประกาศมากขึ้น เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน”
ส่วนบทลงโทษของสถาบันการเงินที่กระทำความผิดในกรณีฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ของสถาบันการเงินได้ระบุโทษให้รุนแรงขึ้น แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ หากสถาบันการเงินฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินจะมีโทษปรับ 3 แสนบาท และปรับอีกวันละ 3,000 บาท หรือส่งผลกระทบต่อสถาบันเงิน แต่ไม่รุนแรงปรับ 5 แสนบาท และปรับอีกวันละ 5,000 บาท และร้ายแรงสุด คือ หากส่งผลกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินปรับ 1 ล้านบาท และปรับอีกวันละ 1 หมื่นบาท ซึ่งเป็นบทลงโทษต่อการพิจารณาความผิดต่อ 1 การกระทำ