ผู้จัดการรายวัน - กองทุนฟื้นฟูฯ เผยจะเข้าไปซื้อหุ้นที่เหลือของบีทีคนละครึ่งกับกลุ่มทีพีจีและพันธมิตรหรือประมาณฝ่ายละ 950 ล้านบาท ระบุหลังเพิ่มทุนเสร็จสิ้นกองทุนจะถือหุ้นของบีทีในสัดส่วน 42% จากเดิม 33% ทำให้ฐานะเงินกองทุนบีทีแข็งแกร่งขึ้น โดย BIS เพิ่มเป็น 10.3% จากเดิม 8.6%
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯได้อนุมัติให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือจากการขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) หรือบีทีจำนวน 1,400 ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,900 ล้านบาท ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องใช้เงินเพิ่มทุนครั้งนี้ประมาณ 950 ล้านบาท หลังจากที่คณะกรรมการธนาคารไทยธนาคารจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (PP) คือ กองทุนฟื้นฟูฯกับกลุ่มทีพีจีและพันธมิตร
“ไทยธนาคารได้มีการพูดคุยกับกองทุนฟื้นฟูฯมาเป็นปี จึงไม่มีผลต่องบประมาณของกองทุนฟื้นฟูฯในการใส่เงินเพิ่มทุนในครั้งนี้ และหลังจากเพิ่มทุนเสร็จสิ้นจะทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูในไทยธนาคารในสัดส่วน 42% จากเดิมที่ 33% ซึ่งเท่ากับสัดส่วนถือหุ้นของทางกลุ่ม TPG Newbridge ถือเป็นการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในไทยธนาคารและคาดว่าเงินเพิ่มทุนล็อตใหม่นี้น่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้”
ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้ใส่เงินเพิ่มทุนให้แก่แบงก์ไทยธนาคาร 2 ครั้งที่ผ่านมาแล้วมูลค่าทั้งสิ้น 2,800 ล้านบาท และหลังการเพิ่มทุนครั้งนี้แล้วเสร็จจะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS)ของไทยธนาคารอยู่ที่ 10.3% จากเดิมอยู่ที่ 8.6% ถือว่าเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารในขณะนี้ พร้อมทั้งสามารถรองรับการตั้งสำรองตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO และกันสำรองหนี้ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS39 ธนาคารได้กันสำรองไว้ครบแล้ว ถือเป็นการรองรับความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO ของธนาคารไทยธนาคารนั้น เมื่อเดือนธ.ค.50 ที่ผ่านมา ไทยธนาคารได้มีการตีราคาตามมูลค่าตลาด (Mark to Market) ไปแล้ว 46%ของการลงทุนใน CDO ทั้งหมด ซึ่งแม้จะเหลือประมาณ 60% ที่ยังไม่ได้สำรอง แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบ เพราะการลงทุนดังกล่าวยังคงสร้างรายได้ให้กับธนาคาร และมีการกันเงินสำรองเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว
“ไทยธนาคารได้มีการกันสำรองไปหมดแล้วในอะไรที่ยังไม่มีอะไรสูญเสีย เพราะตราสารหนี้ CDO อายุ 7-10 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เรทติ่งยังดีอยู่และมีชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งยังมีการตีราคาตามวิธี Mark to Market แต่ที่ต้องกันสำรองไว้เกิดจากคนตกใจว่าจะเกิดปัญหาสภาพคล่องในการขาย แต่ตอนนี้ขอย้ำว่าไทยธนาคารยังไม่ขาย CDO ที่ถืออยู่ และมีรายได้กลับคืนมาตลอด”
ส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องมีการหารือร่วมกันกับผู้บริหารธนาคารอีกครั้ง ซึ่งธนาคารเองจะมุ่งเน้นที่จะขยายธุรกิจไปยังรายย่อยและธุรกิจเอสเอ็มอีมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น สำหรับกลยุทธ์การดำเนินงานในอนาคตและความสามารถในการทำกำไรเป็นเรื่องของผู้บริหารธนาคารที่จะต้องเตรียมแผนงานและรายงานให้กองทุนฟื้นฟูฯ รับทราบ เช่น เรื่องของการบริหารความเสี่ยง การอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดีแล้ว แต่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ มีความเห็นว่าน่าจะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯได้อนุมัติให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือจากการขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน) หรือบีทีจำนวน 1,400 ล้านหุ้น คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,900 ล้านบาท ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องใช้เงินเพิ่มทุนครั้งนี้ประมาณ 950 ล้านบาท หลังจากที่คณะกรรมการธนาคารไทยธนาคารจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่แบบเฉพาะเจาะจง (PP) คือ กองทุนฟื้นฟูฯกับกลุ่มทีพีจีและพันธมิตร
“ไทยธนาคารได้มีการพูดคุยกับกองทุนฟื้นฟูฯมาเป็นปี จึงไม่มีผลต่องบประมาณของกองทุนฟื้นฟูฯในการใส่เงินเพิ่มทุนในครั้งนี้ และหลังจากเพิ่มทุนเสร็จสิ้นจะทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นของกองทุนฟื้นฟูในไทยธนาคารในสัดส่วน 42% จากเดิมที่ 33% ซึ่งเท่ากับสัดส่วนถือหุ้นของทางกลุ่ม TPG Newbridge ถือเป็นการรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในไทยธนาคารและคาดว่าเงินเพิ่มทุนล็อตใหม่นี้น่าจะสามารถดำเนินการได้เสร็จช่วงสิ้นเดือนมกราคมนี้”
ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากองทุนฟื้นฟูฯ ได้ใส่เงินเพิ่มทุนให้แก่แบงก์ไทยธนาคาร 2 ครั้งที่ผ่านมาแล้วมูลค่าทั้งสิ้น 2,800 ล้านบาท และหลังการเพิ่มทุนครั้งนี้แล้วเสร็จจะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS)ของไทยธนาคารอยู่ที่ 10.3% จากเดิมอยู่ที่ 8.6% ถือว่าเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารในขณะนี้ พร้อมทั้งสามารถรองรับการตั้งสำรองตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO และกันสำรองหนี้ตามมาตรฐานบัญชีใหม่ IAS39 ธนาคารได้กันสำรองไว้ครบแล้ว ถือเป็นการรองรับความเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศประเภท CDO ของธนาคารไทยธนาคารนั้น เมื่อเดือนธ.ค.50 ที่ผ่านมา ไทยธนาคารได้มีการตีราคาตามมูลค่าตลาด (Mark to Market) ไปแล้ว 46%ของการลงทุนใน CDO ทั้งหมด ซึ่งแม้จะเหลือประมาณ 60% ที่ยังไม่ได้สำรอง แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบ เพราะการลงทุนดังกล่าวยังคงสร้างรายได้ให้กับธนาคาร และมีการกันเงินสำรองเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว
“ไทยธนาคารได้มีการกันสำรองไปหมดแล้วในอะไรที่ยังไม่มีอะไรสูญเสีย เพราะตราสารหนี้ CDO อายุ 7-10 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เรทติ่งยังดีอยู่และมีชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งยังมีการตีราคาตามวิธี Mark to Market แต่ที่ต้องกันสำรองไว้เกิดจากคนตกใจว่าจะเกิดปัญหาสภาพคล่องในการขาย แต่ตอนนี้ขอย้ำว่าไทยธนาคารยังไม่ขาย CDO ที่ถืออยู่ และมีรายได้กลับคืนมาตลอด”
ส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องมีการหารือร่วมกันกับผู้บริหารธนาคารอีกครั้ง ซึ่งธนาคารเองจะมุ่งเน้นที่จะขยายธุรกิจไปยังรายย่อยและธุรกิจเอสเอ็มอีมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันที่จะมีมากขึ้น สำหรับกลยุทธ์การดำเนินงานในอนาคตและความสามารถในการทำกำไรเป็นเรื่องของผู้บริหารธนาคารที่จะต้องเตรียมแผนงานและรายงานให้กองทุนฟื้นฟูฯ รับทราบ เช่น เรื่องของการบริหารความเสี่ยง การอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดีแล้ว แต่ทางกองทุนฟื้นฟูฯ มีความเห็นว่าน่าจะสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่านี้