กองทุนฟื้นฟูฯ เผย ความคืบหน้าขายหุ้นไทยธนาคาร ยันไม่ได้ถูกคลังเบรก เตรียมเปิดซองประมูลภายในเดือนนี้ พร้อมชี้แจงกรณีเพิ่มทุน “ไทยธนาคาร” ยันกรณี บล.บีทีซื้อหุ้นแบงก์เป็นไปตามเกณฑ์ที่ถูกต้องและไม่ได้ใช้เงินกู้จากไทยธนาคารมาซื้อหุ้น ส่วนการซื้อหุ้นเพิ่มได้ประเมินในราคาที่เหมาะสมแล้ว
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่าบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีที เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคารในการเพิ่มทุนเมื่อปี 2545 ด้วยการกู้เงินจากธนาคารไทยธนาคาร ว่า ขณะนั้นตนยังไม่ได้รับหน้าที่ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เท่าที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่และตรวจสอบข้อมูล พบว่า ในช่วงการเพิ่มทุนดังกล่าวมีบริษัทหลักทรัพย์ 2 แห่งที่ได้รับเป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่าย คือ บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.บีที โดยมีเงื่อนไขว่า หากขายไม่หมด ผู้รับประกันจะต้องรับซื้อหุ้นเอง
ทั้งนี้ ในส่วนของ บล.บีที ขายหุ้นเหลือประมาณ 126 ล้านหุ้น จึงต้องรับซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคารเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยเงินที่ใช้ซื้อหุ้นดีงกล่าว บล.บีที ไม่ได้เป็นการกู้เงินจากไทยธนาคาร ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงไม่ได้เป็นอย่างที่ข่าวออกมา
สำหรับกรณีความคืบหน้าในการขายหุ้นของธนาคารไทยธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯถืออยู่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินสินทรัพย์ และหนี้สินของไทยธนาคารหลายราย โดยคาดว่าจะเปิดซองประมูลซื้อหุ้นของผู้สนใจได้ในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้
“การที่เริ่มมีหลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงในการขายหุ้นเกิดขึ้น เพราะมีบางส่วนที่ออกข่าวมาสร้างความสับสน กองทุนฟื้นฟูฯ จึงต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดเข้าใจ โดยในส่วนของคลังไม่ได้มีการห้าม หรือยับยั้ง กระบวนการขายหุ้นไทยธนาคารก็ยังดำเนินต่อไป เพราะเป็นเรื่องระดับชาติ ระดับนักลงทุนต่างชาติ คงทำเล่นๆ ไม่ได้” นางทองอุไร กล่าว
นอกจากนี้ นางทองอุไร ยังได้ชี้แจงถึงการเพิ่มทุนไทยธนาคารของกองทุนฟื้นฟูฯโดยไม่มีการลดทุนก่อนว่า ก่อนการเพิ่มทุนรอบ 2 นี้ ธนาคารไทยธนาคารได้ตัดสินใจลดทุนก่อนที่จะเพิ่มทุนใหม่ ซึ่งตรงนี้ทำให้เงินเพิ่มทุนที่นิวบริดจ์ใส่เข้ามาในช่วง 25 เม.ย.2550 ลดลงตามไปด้วย โดยจากเดิมราคาพาร์ของไทยธนาคารอยู่ที่ 10 บาทต่อหุ้น ลดทุนแล้วเหลือ 3.75 บาทต่อหุ้น แต่จากการประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับซีดีโอที่ไทยธนาคารถืออยู่ ตามข้อมูลล่าสุดที่มีในขณะนั้น คือ 30 ก.ย.2551 ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีประเมินว่าจะเสียหายประมาณ 27% ซีดีโอจะเหลือมูลค่าประมาณ 63% เท่านั้น ทำให้มีการลดราคาหุ้นเพิ่มทุนที่จะขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และรายย่อยลงอีก จาก 3.75 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาตามบัญชี ลงมาเสนอขายจริงที่ 1.36 บาทต่อหุ้น และหากรายย่อยไม่ซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่ได้รับจัดสรร ให้นำกลับมาเสนอขายให้กองทุนฟื้นฟูฯ และนิวบริดจ์ ในราคา 1.38 บาทต่อหุ้น เนื่องจากตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ฯการขายหุ้นตรงจะต้องมีราคาสูงกว่าการขายหุ้นให้รายย่อยให้ตลาด
“เมื่อกำหนดราคาในวันที่ 29 พ.ย.2550 แล้ว กองทุนฟื้นฟูฯ มีมติซื้อหุ้นตามการจัดสรรรอบแรกในวันที่ 4 ม.ค.2551 จำนวน 1,462.9 ล้านหุ้น ในราคา 1.36 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินรวม 1,989.54 บาท และเมื่อรายย่อยซื้อหุ้นรอบแรกไม่หมด กองทุนฟื้นฟูฯจึงเข้าไปช่วยซื้อหุ้นที่เหลือ คนละครึ่งกับนิวบริดจ์ อีก 617.5 ล้านหุ้น ในราคา 1.38 บาทต่อหุ้น เป็นเงิน 852.15 ล้านบาท รวมเป็นเงินเพิ่มทุนทั้ง 2 ครั้ง 2,841.71 ล้านบาท ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นราคาที่เหมาะสม เพราะเป็นราคาที่วิเคราะห์จากผลการดำเนินการในขณะนั้น และลดราคาเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการขาดทุนซีดีโอไว้แล้วเพราะในขณะนั้นคงไม่มีใครสามารถทำนายได้ว่า เมื่อซื้อหุ้นแล้วราคาหุ้นต่อไปจะเป็นเท่าไร” นางทองอุไร กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมเงินที่ได้รับการเพิ่มทุนรวมในครั้งที่ 2 ทั้งสิ้น 6,079.72 ล้านบาทแล้ว ราคาตามบัญชีของหุ้นไทยธนาคารปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยการรายงานล่าสุดในเดือน ม.ค.51 ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.05 บาทต่อหุ้น และคาดว่าจะสูงขึ้นอีกในการรายงานราคาหุ้นในช่วงเดือน มี.ค. และมิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพราะราคาซีดีโอในช่วงเดือน เม.ย.และ พ.ค.ที่ไทยธนาคารถืออยู่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาก
นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยถึงกรณีที่มีข่าวว่าบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) บีที เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคารในการเพิ่มทุนเมื่อปี 2545 ด้วยการกู้เงินจากธนาคารไทยธนาคาร ว่า ขณะนั้นตนยังไม่ได้รับหน้าที่ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯ แต่เท่าที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่และตรวจสอบข้อมูล พบว่า ในช่วงการเพิ่มทุนดังกล่าวมีบริษัทหลักทรัพย์ 2 แห่งที่ได้รับเป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่าย คือ บล.ไทยพาณิชย์ และ บล.บีที โดยมีเงื่อนไขว่า หากขายไม่หมด ผู้รับประกันจะต้องรับซื้อหุ้นเอง
ทั้งนี้ ในส่วนของ บล.บีที ขายหุ้นเหลือประมาณ 126 ล้านหุ้น จึงต้องรับซื้อหุ้นเพิ่มทุนของธนาคารไทยธนาคารเองเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไข โดยเงินที่ใช้ซื้อหุ้นดีงกล่าว บล.บีที ไม่ได้เป็นการกู้เงินจากไทยธนาคาร ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงไม่ได้เป็นอย่างที่ข่าวออกมา
สำหรับกรณีความคืบหน้าในการขายหุ้นของธนาคารไทยธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯถืออยู่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินสินทรัพย์ และหนี้สินของไทยธนาคารหลายราย โดยคาดว่าจะเปิดซองประมูลซื้อหุ้นของผู้สนใจได้ในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้
“การที่เริ่มมีหลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงในการขายหุ้นเกิดขึ้น เพราะมีบางส่วนที่ออกข่าวมาสร้างความสับสน กองทุนฟื้นฟูฯ จึงต้องชี้แจงเพื่อให้เกิดเข้าใจ โดยในส่วนของคลังไม่ได้มีการห้าม หรือยับยั้ง กระบวนการขายหุ้นไทยธนาคารก็ยังดำเนินต่อไป เพราะเป็นเรื่องระดับชาติ ระดับนักลงทุนต่างชาติ คงทำเล่นๆ ไม่ได้” นางทองอุไร กล่าว
นอกจากนี้ นางทองอุไร ยังได้ชี้แจงถึงการเพิ่มทุนไทยธนาคารของกองทุนฟื้นฟูฯโดยไม่มีการลดทุนก่อนว่า ก่อนการเพิ่มทุนรอบ 2 นี้ ธนาคารไทยธนาคารได้ตัดสินใจลดทุนก่อนที่จะเพิ่มทุนใหม่ ซึ่งตรงนี้ทำให้เงินเพิ่มทุนที่นิวบริดจ์ใส่เข้ามาในช่วง 25 เม.ย.2550 ลดลงตามไปด้วย โดยจากเดิมราคาพาร์ของไทยธนาคารอยู่ที่ 10 บาทต่อหุ้น ลดทุนแล้วเหลือ 3.75 บาทต่อหุ้น แต่จากการประเมินความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับซีดีโอที่ไทยธนาคารถืออยู่ ตามข้อมูลล่าสุดที่มีในขณะนั้น คือ 30 ก.ย.2551 ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีประเมินว่าจะเสียหายประมาณ 27% ซีดีโอจะเหลือมูลค่าประมาณ 63% เท่านั้น ทำให้มีการลดราคาหุ้นเพิ่มทุนที่จะขายให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และรายย่อยลงอีก จาก 3.75 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาตามบัญชี ลงมาเสนอขายจริงที่ 1.36 บาทต่อหุ้น และหากรายย่อยไม่ซื้อหุ้นตามสัดส่วนที่ได้รับจัดสรร ให้นำกลับมาเสนอขายให้กองทุนฟื้นฟูฯ และนิวบริดจ์ ในราคา 1.38 บาทต่อหุ้น เนื่องจากตามกฎหมายตลาดหลักทรัพย์ฯการขายหุ้นตรงจะต้องมีราคาสูงกว่าการขายหุ้นให้รายย่อยให้ตลาด
“เมื่อกำหนดราคาในวันที่ 29 พ.ย.2550 แล้ว กองทุนฟื้นฟูฯ มีมติซื้อหุ้นตามการจัดสรรรอบแรกในวันที่ 4 ม.ค.2551 จำนวน 1,462.9 ล้านหุ้น ในราคา 1.36 บาทต่อหุ้น คิดเป็นเงินรวม 1,989.54 บาท และเมื่อรายย่อยซื้อหุ้นรอบแรกไม่หมด กองทุนฟื้นฟูฯจึงเข้าไปช่วยซื้อหุ้นที่เหลือ คนละครึ่งกับนิวบริดจ์ อีก 617.5 ล้านหุ้น ในราคา 1.38 บาทต่อหุ้น เป็นเงิน 852.15 ล้านบาท รวมเป็นเงินเพิ่มทุนทั้ง 2 ครั้ง 2,841.71 ล้านบาท ซึ่งในขณะนั้นถือเป็นราคาที่เหมาะสม เพราะเป็นราคาที่วิเคราะห์จากผลการดำเนินการในขณะนั้น และลดราคาเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการขาดทุนซีดีโอไว้แล้วเพราะในขณะนั้นคงไม่มีใครสามารถทำนายได้ว่า เมื่อซื้อหุ้นแล้วราคาหุ้นต่อไปจะเป็นเท่าไร” นางทองอุไร กล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมเงินที่ได้รับการเพิ่มทุนรวมในครั้งที่ 2 ทั้งสิ้น 6,079.72 ล้านบาทแล้ว ราคาตามบัญชีของหุ้นไทยธนาคารปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยการรายงานล่าสุดในเดือน ม.ค.51 ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.05 บาทต่อหุ้น และคาดว่าจะสูงขึ้นอีกในการรายงานราคาหุ้นในช่วงเดือน มี.ค. และมิ.ย.ที่จะถึงนี้ เพราะราคาซีดีโอในช่วงเดือน เม.ย.และ พ.ค.ที่ไทยธนาคารถืออยู่ได้ปรับตัวดีขึ้นมาก