ฟิทช์ เรทติ้งส์ปรับเพิ่มอันดับเครดิตทหารไทย ชูการเพิ่มทุนที่ประสบความสำเร็จและการเข้ามาเป็นพันธมิตรใหม่ ช่วยเสริมทั้งฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจตแข็งแกร่งขึ้น คาดจะมีผลการดำเนินงานดีขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า และสามารถจ่ายดอกเบี้ยไฮบริดจ์ บอนด์ได้ในกลางปีนี้ แต่ยังต้องจับตาหนี้เอ็นพีแอลที่ยังอยู่ในระดับสูง
รายงานข่าวจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB ดังต่อไปนี้ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (IDR) เป็น "BBB-" แนวโน้มมีเสถียรภาพ จาก "BB+" ,อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น เป็น "F3" จาก "B" ,อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เป็น "BB+" จาก "BB" ,อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ Hybrid Tier 1 Securities เป็น "BB-" จาก "B" ,อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็น "C/D" จาก "D" ,อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาว เป็น "A+(tha)" แนวโน้มมีเสถียรภาพ จาก "A (tha)" ,อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิเป็น "A(tha)" จาก "A-(tha)" และยกเลิกเครดิตพินิจภายใต้การพิจารณาแก่อันดับเครดิตของ TMB ที่ได้ถูกประกาศไว้ในเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งการประกาศเครดิตพินิจในครั้งนั้น เป็นผลมาจากการประกาศเพิ่มทุนและความเป็นไปได้ที่ ING Bank NV (ING) จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ทั้งนี้ การเพิ่มอันดับเครดิตในครั้งนี้มีพื้นฐานมาจากการที่ TMB สามารถเพิ่มทุนจำนวน 3.77 หมื่นล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2550 และการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 30% ของ ING ถึงแม้ว่าสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ยังคงอยู่ในระดับสูง การที่ธนาคารได้ทำการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก ประกอบกับเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้น จะสามารถช่วยเร่งให้มีการจัดการแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ที่เกิดจากช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 และที่เกิดจากการควบรวมกิจการกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในปี 2547 ได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันยังคงค่อนข้างอ่อนแอ การเพิ่มทุนและการสนับสนุนในด้านการปฏิบัติงานจาก ING คาดว่าจะทำให้ผลการดำเนินงานของ TMB ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้า
โดยในระยะยาว ING น่าจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ TMB ทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจสำหรับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย การทำธุรกิจประกันภัยผ่านทางธนาคาร (Bancassurance) และธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ รวมถึงด้านการควบคุมความเสี่ยงและผลประกอบการของธนาคาร ในปัจจุบันมีคณะกรรมการธนาคาร 3 ท่านเป็นตัวแทนจาก ING ซึ่งรวมถึงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คาดว่าภายในเดือนเมษายน 2551 ทีมผู้บริหารของ TMB จะประกอบไปด้วยบุคลากรจาก ING ประมาณ 15 ถึง 20 คน
นอกจากนี้ สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ทาง TMB ตั้งเพิ่มเติมในไตรมาสที่ 4 ทำให้อัตราส่วนของการกันสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 70% จาก 56% ในปีที่แล้ว จากการที่มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากแล้วในปี 2550 ผลประกอบการของ TMB คาดว่าจะกลับมามีกำไรในปี 2551 คาดว่าจะทำให้ TMB สามารถจ่ายดอกเบี้ยสำหรับ Hybrid Tier 1 Securities ได้ในเดือนมิถุนายน 2551 ดังนั้นฟิทช์ จึงเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ Hybrid Tier 1 Securities ขึ้น 2 ลำดับเป็น BB- ( BB ลบ )
รายงานข่าวจากบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB ดังต่อไปนี้ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (IDR) เป็น "BBB-" แนวโน้มมีเสถียรภาพ จาก "BB+" ,อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น เป็น "F3" จาก "B" ,อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เป็น "BB+" จาก "BB" ,อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ Hybrid Tier 1 Securities เป็น "BB-" จาก "B" ,อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็น "C/D" จาก "D" ,อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Rating) ระยะยาว เป็น "A+(tha)" แนวโน้มมีเสถียรภาพ จาก "A (tha)" ,อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิเป็น "A(tha)" จาก "A-(tha)" และยกเลิกเครดิตพินิจภายใต้การพิจารณาแก่อันดับเครดิตของ TMB ที่ได้ถูกประกาศไว้ในเดือนตุลาคม 2550 ซึ่งการประกาศเครดิตพินิจในครั้งนั้น เป็นผลมาจากการประกาศเพิ่มทุนและความเป็นไปได้ที่ ING Bank NV (ING) จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ทั้งนี้ การเพิ่มอันดับเครดิตในครั้งนี้มีพื้นฐานมาจากการที่ TMB สามารถเพิ่มทุนจำนวน 3.77 หมื่นล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนธันวาคม 2550 และการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นที่ 30% ของ ING ถึงแม้ว่าสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ยังคงอยู่ในระดับสูง การที่ธนาคารได้ทำการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก ประกอบกับเงินทุนที่แข็งแกร่งขึ้น จะสามารถช่วยเร่งให้มีการจัดการแก้ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ที่เกิดจากช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2540 และที่เกิดจากการควบรวมกิจการกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในปี 2547 ได้เร็วขึ้น ถึงแม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันยังคงค่อนข้างอ่อนแอ การเพิ่มทุนและการสนับสนุนในด้านการปฏิบัติงานจาก ING คาดว่าจะทำให้ผลการดำเนินงานของ TMB ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้า
โดยในระยะยาว ING น่าจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ TMB ทั้งในด้านการดำเนินธุรกิจสำหรับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย การทำธุรกิจประกันภัยผ่านทางธนาคาร (Bancassurance) และธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ รวมถึงด้านการควบคุมความเสี่ยงและผลประกอบการของธนาคาร ในปัจจุบันมีคณะกรรมการธนาคาร 3 ท่านเป็นตัวแทนจาก ING ซึ่งรวมถึงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คาดว่าภายในเดือนเมษายน 2551 ทีมผู้บริหารของ TMB จะประกอบไปด้วยบุคลากรจาก ING ประมาณ 15 ถึง 20 คน
นอกจากนี้ สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ทาง TMB ตั้งเพิ่มเติมในไตรมาสที่ 4 ทำให้อัตราส่วนของการกันสำรองหนี้สูญต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 70% จาก 56% ในปีที่แล้ว จากการที่มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากแล้วในปี 2550 ผลประกอบการของ TMB คาดว่าจะกลับมามีกำไรในปี 2551 คาดว่าจะทำให้ TMB สามารถจ่ายดอกเบี้ยสำหรับ Hybrid Tier 1 Securities ได้ในเดือนมิถุนายน 2551 ดังนั้นฟิทช์ จึงเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ Hybrid Tier 1 Securities ขึ้น 2 ลำดับเป็น BB- ( BB ลบ )