ช่วงนี้หลายคนเปรียบเปรยว่า อนาคตของประเทศไทยที่ใกล้จะมีรัฐบาล ‘นอมินี’ ทักษิณ ชินวัตร ภาค 3 ดูไปคล้ายกับหมอกหนาที่ปกคลุมอยู่ทั่วท้องฟ้าจนทำให้ทัศนวิสัยเลวร้าย อากาศขมุกขมัวอึมครึมตลอดวัน
ทุกอย่างดูหมองหม่นมัว มืดสลัวจนแทบมองไม่เห็นทิศทาง
ยิ่งเมื่อทราบผลประมุขนิติบัญญัติคนใหม่ โผรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่แย้มออกมาทางสื่อบ้างแล้ว ยิ่งสลดหดหู่ ภาวะอารมณ์ใกล้เคียงกับอาการของโรคซึมเศร้าเข้าไปทุกขณะ
‘ยุทธ ตู้เย็น’ ประธานสภาฯ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นั่งรองนายกฝ่ายเศรษฐกิจ หรือหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ควบรมว.พาณิชย์ ‘หมอเลี้ยบ’ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย
คนไม่ว่าจะมองโลกในแง่บวกเพียงใดก็ทำใจยอมรับได้ลำบากว่า คนเหล่านี้หรือจะนำประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ดีได้
ปัญหาภายในของประเทศซึ่งบอบช้ำมาตลอด 1ปีเศษจากน้ำมือของรัฐบาลเกียร์ว่าง ปัญหาภายนอกทั้งซับไพรม์ ราคาน้ำมันแพง ค่าเงินที่ผันผวน ที่ประเดประดังเข้ามา ตั้งโจทย์ไว้แล้วรอคนที่มีชื่อดังกล่าวแก้ไข... นึกภาพไม่ออกจริงๆ
ยุทธ ตู้เย็น สมัคร เฉลิม ละไว้ในฐานที่เข้าใจกัน ประวัติ และพฤติการณ์ คำพูดของแต่ละคนในอดีตเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนอยู่แล้วว่าจะฝากความหวังไว้ได้หรือไม่
อาจมีข้อยกเว้นอยู่บ้างสำหรับ หมอเลี้ยบ และ มิ่งขวัญ!
ทั้งคู่ ความรู้และความสามารถยังเบลอๆ ไม่ชัดเจน บอกไม่ได้ว่าระหว่างสีม่วงกับสีเทา พวกเขาจัดอยู่ในรัฐมนตรีโซนสีอะไร แบบไหน
เท่าที่บอกได้ ณ ขณะนี้อย่างชัดๆ คือ ทั้งคู่เป็น ‘ตัวแทน’ ของ ‘ทักษิณ’ ทั้งตัวและวิธีคิด
หมอเลี้ยบ อาจจะมีเครดิตเก่าที่เคยผ่านงานรัฐมนตรีมาก่อน บวกกับบุคลิกภาพภายนอกที่ดูดีที่สุดในบรรดาสมาชิกพรรคพลังประชาชน เขาได้รับการยอมรับระดับหนึ่งในแง่ของการทำงานร่วมกับข้าราชการประจำ และเอกชนในวงอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม
ทว่า ข้อเสียของหมอเลี้ยบที่ข้าราชการประจำกระทรวงไอซีทีและนักธุรกิจทราบกันดีก็คือ เขาไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำตามใบสั่งของผู้เป็นนายอย่างว่าง่าย จนที่ควรจะดีกลับถูกครหา
หากหมอเลี้ยบ นั่งตำแหน่งใหม่ในฐานะขุนคลังจริงก็น่าสนใจว่าจะเป็นอย่างไร
‘ถ้าได้รับมอบหมาย ถึงเวลาที่ต้องรับผิดชอบ ผมก็พร้อม เชื่อว่าทำงานได้ ถึงจะมีคนสบประมาทก็ไม่มีปัญหา’ เขาบอก (ให้สัมภาษณ์รายการ ‘จับเข่าคุย’ ช่อง 3 คืนวันจันทร์ที่ 21ม.ค. 2551) ซึ่งก็ทำให้คิดต่อว่า ที่ไม่มีปัญหานั้น เพราะมีทักษิณอยู่ข้างหลังหรือไม่
หมอเลี้ยบก็ไม่ปฏิเสธ ‘ถ้ามีโอกาสก็จะขอคำปรึกษางานด้านเศรษฐกิจจากอดีตนายกรัฐมนตรี เพราะหลายครั้งที่ทำงานร่วมกันได้เห็นว่า มีความคิดนอกกรอบที่นำมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ’
ชัดเจนดี!
ส่วนมิ่งขวัญ คนในพรรคเขาเองบางคนบอกว่า เพราะพลังประชาชนไม่มีตัวเลือก บางคนบอกว่า เขาน่าเป็นตัวแทนของระบอบทักษิณที่สานต่อประชานิยมภาค 2 ให้เป็นรูปธรรมได้มากที่สุดคนหนึ่ง
กล่าวคือ มิ่งขวัญ เป็นจิ๊กซอว์ที่เข้ามาเสียบแทน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ลาจากไป
ทว่า เครคิตของมิ่งขวัญ มีเพียงแค่งานพรีเซนต์ และจัดอีเวนท์ ผสมผสานการตลาดกับการเมืองได้ดีเหมือนที่เคยทำมาแล้วกับตำแหน่งผู้อำนวยการ อสมท
เราอาจจะได้เห็นโครงการแปลกๆ ของกระทรวงพาณิชย์ งานอีเวนท์ “ธงฟ้าราคาประหยัด” ที่ขึ้นชื่อของกระทรวงยามข้าวยากหมากแพงมาทุกยุคทุกสมัยแปลงเปลี่ยนเป็น “ธงม่วงห่วงประชาชน” “ธงเขียว 30 บาทราคาเดียวทุกตัวสินค้า”
คิดได้ ทำได้เท่านี้จะเพียงพอหรือไม่ ไม่นานสังคมจะได้สัมผัส ประจักษ์เองกับตา
นี่ย่อมไม่ใช่คำสบประมาทที่ขาดน้ำหนัก
ทั้งหมอเลี้ยบ และ มิ่งขวัญ ต่างถูกนักธุรกิจ และ นักวิเคราะห์ตั้งวงชำแหละเมื่อวันก่อน พวกเขาไม่เชื่อมั่น เชื่อมือ
เหตุผลไม่สลับซับซ้อน เพราะ มองว่า หัวใจการนำพาประเทศให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าต้องอาศัยการบริหารเศรษฐกิจที่ดี ทีมเศรษฐกิจแต่ละยุคแต่ละสมัยจึงเปรียบเหมือนห้องเครื่อง กลจักรสำคัญของรัฐบาลในการทำนโยบายและแก้ไขปัญหา
บังเอิญตำแหน่งของทั้งสองคน รมว.คลัง หรือ รมว.พาณิชย์ เป็นตำแหน่งที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่น เชื่อถือจากสังคมไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือชาวบ้านร้านตลาด...ก็เท่านั้น
หากการจัดสรรโควตารัฐบาลผสมทำไปเพียงเป็นตัวแทนของใครบางคน รัฐมนตรีมีไว้เพื่อประสานสิบทิศกับพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเกลี่ยๆ งบประมาณ สานผลประโยชน์แบบแบ่งกันกินแบ่งกันใช้เป็น ‘รัฐบาลกินแบ่ง’ ก็เขียนแปะข้างฝาบ้านไว้ล่วงหน้าได้เลยว่า จะเป็นรัฐบาลที่ประชาชนนิยม...ชิงชังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
อีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนอารมณ์ของความไม่เชื่อมั่น คือ ตลาดหุ้นที่ตกแทบทุกๆ วัน
จริงอยู่ พวกท่านอาจจะบอกว่า เรื่องซับไพรม์เป็นปัจจัยลบ ปัจจัยหลัก แต่มันก็เป็นปัจจัยบั่นทอนกินเวลาต่อเนื่องมานานหลายเดือนแล้วทำให้ตลาดหุ้นคล้ายคนที่ซมพิษไข้อยู่ก่อนมิใช่หรือ
มองกันแบบไม่โกหกตัวเอง ปัจจัยแทรกซ้อนซ้ำเติมใหม่ คืออะไร
หลังทราบผลการเลือกตั้ง พลังประชาชน ได้รับเลือกเสียงข้างมากจนมาถึงตั้งรัฐบาล ดัชนีหุ้นไทย ณ วันที่ 28 ธ.ค. 2550 อยู่ที่ 858.10 จุด วันนี้ 22 ม.ค. 2551 ดิ่งลงต่อเนื่องจากวันก่อนหน้านี้ไปแถวๆ 732.44 จุดหรือร่วงไปแล้ว 125.66 จุดหรือ 14.69%
รัฐบาลนอมินี กล้าบอกมั้ยละว่า มันไม่เกี่ยวกับความเชื่อมั่น โฉมหน้ารัฐมนตรีแต่ละคนของท่าน.
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ http://weblog.manager.co.th/publichome/suwitcha67 หรือ อีเมล suwitcha@manager.co.th
ทุกอย่างดูหมองหม่นมัว มืดสลัวจนแทบมองไม่เห็นทิศทาง
ยิ่งเมื่อทราบผลประมุขนิติบัญญัติคนใหม่ โผรายชื่อคณะรัฐมนตรีที่แย้มออกมาทางสื่อบ้างแล้ว ยิ่งสลดหดหู่ ภาวะอารมณ์ใกล้เคียงกับอาการของโรคซึมเศร้าเข้าไปทุกขณะ
‘ยุทธ ตู้เย็น’ ประธานสภาฯ สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ นั่งรองนายกฝ่ายเศรษฐกิจ หรือหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ควบรมว.พาณิชย์ ‘หมอเลี้ยบ’ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย
คนไม่ว่าจะมองโลกในแง่บวกเพียงใดก็ทำใจยอมรับได้ลำบากว่า คนเหล่านี้หรือจะนำประเทศไทยไปสู่อนาคตที่ดีได้
ปัญหาภายในของประเทศซึ่งบอบช้ำมาตลอด 1ปีเศษจากน้ำมือของรัฐบาลเกียร์ว่าง ปัญหาภายนอกทั้งซับไพรม์ ราคาน้ำมันแพง ค่าเงินที่ผันผวน ที่ประเดประดังเข้ามา ตั้งโจทย์ไว้แล้วรอคนที่มีชื่อดังกล่าวแก้ไข... นึกภาพไม่ออกจริงๆ
ยุทธ ตู้เย็น สมัคร เฉลิม ละไว้ในฐานที่เข้าใจกัน ประวัติ และพฤติการณ์ คำพูดของแต่ละคนในอดีตเป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตนอยู่แล้วว่าจะฝากความหวังไว้ได้หรือไม่
อาจมีข้อยกเว้นอยู่บ้างสำหรับ หมอเลี้ยบ และ มิ่งขวัญ!
ทั้งคู่ ความรู้และความสามารถยังเบลอๆ ไม่ชัดเจน บอกไม่ได้ว่าระหว่างสีม่วงกับสีเทา พวกเขาจัดอยู่ในรัฐมนตรีโซนสีอะไร แบบไหน
เท่าที่บอกได้ ณ ขณะนี้อย่างชัดๆ คือ ทั้งคู่เป็น ‘ตัวแทน’ ของ ‘ทักษิณ’ ทั้งตัวและวิธีคิด
หมอเลี้ยบ อาจจะมีเครดิตเก่าที่เคยผ่านงานรัฐมนตรีมาก่อน บวกกับบุคลิกภาพภายนอกที่ดูดีที่สุดในบรรดาสมาชิกพรรคพลังประชาชน เขาได้รับการยอมรับระดับหนึ่งในแง่ของการทำงานร่วมกับข้าราชการประจำ และเอกชนในวงอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม
ทว่า ข้อเสียของหมอเลี้ยบที่ข้าราชการประจำกระทรวงไอซีทีและนักธุรกิจทราบกันดีก็คือ เขาไม่เป็นตัวของตัวเอง ทำตามใบสั่งของผู้เป็นนายอย่างว่าง่าย จนที่ควรจะดีกลับถูกครหา
หากหมอเลี้ยบ นั่งตำแหน่งใหม่ในฐานะขุนคลังจริงก็น่าสนใจว่าจะเป็นอย่างไร
‘ถ้าได้รับมอบหมาย ถึงเวลาที่ต้องรับผิดชอบ ผมก็พร้อม เชื่อว่าทำงานได้ ถึงจะมีคนสบประมาทก็ไม่มีปัญหา’ เขาบอก (ให้สัมภาษณ์รายการ ‘จับเข่าคุย’ ช่อง 3 คืนวันจันทร์ที่ 21ม.ค. 2551) ซึ่งก็ทำให้คิดต่อว่า ที่ไม่มีปัญหานั้น เพราะมีทักษิณอยู่ข้างหลังหรือไม่
หมอเลี้ยบก็ไม่ปฏิเสธ ‘ถ้ามีโอกาสก็จะขอคำปรึกษางานด้านเศรษฐกิจจากอดีตนายกรัฐมนตรี เพราะหลายครั้งที่ทำงานร่วมกันได้เห็นว่า มีความคิดนอกกรอบที่นำมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ’
ชัดเจนดี!
ส่วนมิ่งขวัญ คนในพรรคเขาเองบางคนบอกว่า เพราะพลังประชาชนไม่มีตัวเลือก บางคนบอกว่า เขาน่าเป็นตัวแทนของระบอบทักษิณที่สานต่อประชานิยมภาค 2 ให้เป็นรูปธรรมได้มากที่สุดคนหนึ่ง
กล่าวคือ มิ่งขวัญ เป็นจิ๊กซอว์ที่เข้ามาเสียบแทน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ลาจากไป
ทว่า เครคิตของมิ่งขวัญ มีเพียงแค่งานพรีเซนต์ และจัดอีเวนท์ ผสมผสานการตลาดกับการเมืองได้ดีเหมือนที่เคยทำมาแล้วกับตำแหน่งผู้อำนวยการ อสมท
เราอาจจะได้เห็นโครงการแปลกๆ ของกระทรวงพาณิชย์ งานอีเวนท์ “ธงฟ้าราคาประหยัด” ที่ขึ้นชื่อของกระทรวงยามข้าวยากหมากแพงมาทุกยุคทุกสมัยแปลงเปลี่ยนเป็น “ธงม่วงห่วงประชาชน” “ธงเขียว 30 บาทราคาเดียวทุกตัวสินค้า”
คิดได้ ทำได้เท่านี้จะเพียงพอหรือไม่ ไม่นานสังคมจะได้สัมผัส ประจักษ์เองกับตา
นี่ย่อมไม่ใช่คำสบประมาทที่ขาดน้ำหนัก
ทั้งหมอเลี้ยบ และ มิ่งขวัญ ต่างถูกนักธุรกิจ และ นักวิเคราะห์ตั้งวงชำแหละเมื่อวันก่อน พวกเขาไม่เชื่อมั่น เชื่อมือ
เหตุผลไม่สลับซับซ้อน เพราะ มองว่า หัวใจการนำพาประเทศให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าต้องอาศัยการบริหารเศรษฐกิจที่ดี ทีมเศรษฐกิจแต่ละยุคแต่ละสมัยจึงเปรียบเหมือนห้องเครื่อง กลจักรสำคัญของรัฐบาลในการทำนโยบายและแก้ไขปัญหา
บังเอิญตำแหน่งของทั้งสองคน รมว.คลัง หรือ รมว.พาณิชย์ เป็นตำแหน่งที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่น เชื่อถือจากสังคมไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือชาวบ้านร้านตลาด...ก็เท่านั้น
หากการจัดสรรโควตารัฐบาลผสมทำไปเพียงเป็นตัวแทนของใครบางคน รัฐมนตรีมีไว้เพื่อประสานสิบทิศกับพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อเกลี่ยๆ งบประมาณ สานผลประโยชน์แบบแบ่งกันกินแบ่งกันใช้เป็น ‘รัฐบาลกินแบ่ง’ ก็เขียนแปะข้างฝาบ้านไว้ล่วงหน้าได้เลยว่า จะเป็นรัฐบาลที่ประชาชนนิยม...ชิงชังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
อีกอย่างหนึ่งที่สะท้อนอารมณ์ของความไม่เชื่อมั่น คือ ตลาดหุ้นที่ตกแทบทุกๆ วัน
จริงอยู่ พวกท่านอาจจะบอกว่า เรื่องซับไพรม์เป็นปัจจัยลบ ปัจจัยหลัก แต่มันก็เป็นปัจจัยบั่นทอนกินเวลาต่อเนื่องมานานหลายเดือนแล้วทำให้ตลาดหุ้นคล้ายคนที่ซมพิษไข้อยู่ก่อนมิใช่หรือ
มองกันแบบไม่โกหกตัวเอง ปัจจัยแทรกซ้อนซ้ำเติมใหม่ คืออะไร
หลังทราบผลการเลือกตั้ง พลังประชาชน ได้รับเลือกเสียงข้างมากจนมาถึงตั้งรัฐบาล ดัชนีหุ้นไทย ณ วันที่ 28 ธ.ค. 2550 อยู่ที่ 858.10 จุด วันนี้ 22 ม.ค. 2551 ดิ่งลงต่อเนื่องจากวันก่อนหน้านี้ไปแถวๆ 732.44 จุดหรือร่วงไปแล้ว 125.66 จุดหรือ 14.69%
รัฐบาลนอมินี กล้าบอกมั้ยละว่า มันไม่เกี่ยวกับความเชื่อมั่น โฉมหน้ารัฐมนตรีแต่ละคนของท่าน.
ท่านผู้อ่านสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ที่ http://weblog.manager.co.th/publichome/suwitcha67 หรือ อีเมล suwitcha@manager.co.th