ผู้จัดการรายวัน - ส.อ.ท.มั่นใจนโยบายห้ามผลิตและใช้ถุงพลาสติกชนิดบางของจีนไม่กระทบการส่งออกเม็ดพลาสติกไทย เหตุบังคับใช้แค่กรุงปักกิ่ง คาดปีนี้ไทยส่งออกพลาสติกในรูปเงินดอลลาร์โต 10% เหตุต้นทุนวัตถุดิบพุ่ง ยอมรับเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยกระทบการส่งออกแน่ แต่ไม่รุนแรง เผยจับมือสศอ.และผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์หวังผลิตสินค้าป้อนทดแทนการนำเข้า
นายสมศักดิ์ บริสุทธนะกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าจากนโยบายจีนที่ห้ามผลิตและจำหน่ายถุงพลาสติกที่ค่อนข้างบางเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเม็ดพลาสติกไทยไปจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนต้องการให้มีการเลิกใช้ถุงพลาสติกบางใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่หันไปใช้ถุงพลาสติกขนาดหนาใช้ซ้ำได้แทน ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกไม่ลด รวมทั้งการประกาศบังคับใช้เฉพาะที่นครปักกิ่ง ดังนั้นผู้ประกอบการจีนจึงไม่เดือดร้อนจนถึงขั้นต้องหันไปส่งออกแทน
ส่วนมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อนที่มีการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 7,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากฐานราคาสินค้าสูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนกรณีที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยอันเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์(ซับไพร์ม) จะมีผลทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปยังตลาดสหรัฐได้รับผลกระทบพอสมควร หลังจากที่ผ่านมา ไทยถูกจัดเก็บภาษีทุ่มตลาด (AD)อยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ยังสามารถแข่งขันได้
"ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดสหรัฐฯคิดเป็นสัดส่วน 30%ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งไปจำหน่ายในสหรัฐฯใช้ครั้งเดียวทิ้ง เชื่อว่าคงกระทบไม่มาก ในช่วง 10เดือน(ม.ค.-ต.ค.2550) ปี2550 ไทยส่งออกเม็ดพลาสติกรวมทั้งสิ้น 1.45 แสนล้านบาท และผลิตภัณฑ์พลาสติก 6.56 หมื่นล้านบาท"
ดังนั้น ทางผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งอาจต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่า เช่นเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีแผนจะขยายตลาดส่งออกไปยังรัสเซีย และยุโรปตะวันออกำ รวมทั้งกลุ่มพลาสติกได้รับอานิสงส์จากการทำเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย ทำให้ส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดออสเตรเลียโดยไม่เสียภาษี ขณะ ที่คู่แข่งอย่างจีน เวียดนามต้องเสียภาษีนำเข้า 5%
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทางกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกได้มีความร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยได้หารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้หันมาให้โอกาสผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าเพื่อแทนการนำเข้า โดยผู้ผลิตไทยพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติมในการติตตั้งอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าว คาดว่าปีนี้จะสามารถทดแทนการนำเข้าได้ 3 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ทางกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกจะหารือกับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และอาหาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะทดแทนการนำเข้าให้ได้ 2 หมื่นล้านบาทภายใน 5ปีข้างหน้า ทำให้ผู้ผลิตพลาสติกในไทยขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น
นายสมศักดิ์ บริสุทธนะกุล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าจากนโยบายจีนที่ห้ามผลิตและจำหน่ายถุงพลาสติกที่ค่อนข้างบางเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเม็ดพลาสติกไทยไปจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนต้องการให้มีการเลิกใช้ถุงพลาสติกบางใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่หันไปใช้ถุงพลาสติกขนาดหนาใช้ซ้ำได้แทน ทำให้ความต้องการใช้เม็ดพลาสติกไม่ลด รวมทั้งการประกาศบังคับใช้เฉพาะที่นครปักกิ่ง ดังนั้นผู้ประกอบการจีนจึงไม่เดือดร้อนจนถึงขั้นต้องหันไปส่งออกแทน
ส่วนมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อนที่มีการส่งออกคิดเป็นมูลค่า 7,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากฐานราคาสินค้าสูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนกรณีที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอยอันเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์(ซับไพร์ม) จะมีผลทำให้การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปยังตลาดสหรัฐได้รับผลกระทบพอสมควร หลังจากที่ผ่านมา ไทยถูกจัดเก็บภาษีทุ่มตลาด (AD)อยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งทำให้ยังสามารถแข่งขันได้
"ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดสหรัฐฯคิดเป็นสัดส่วน 30%ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ส่งไปจำหน่ายในสหรัฐฯใช้ครั้งเดียวทิ้ง เชื่อว่าคงกระทบไม่มาก ในช่วง 10เดือน(ม.ค.-ต.ค.2550) ปี2550 ไทยส่งออกเม็ดพลาสติกรวมทั้งสิ้น 1.45 แสนล้านบาท และผลิตภัณฑ์พลาสติก 6.56 หมื่นล้านบาท"
ดังนั้น ทางผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งอาจต้องย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่า เช่นเวียดนาม นอกจากนี้ ยังมีแผนจะขยายตลาดส่งออกไปยังรัสเซีย และยุโรปตะวันออกำ รวมทั้งกลุ่มพลาสติกได้รับอานิสงส์จากการทำเอฟทีเอไทย-ออสเตรเลีย ทำให้ส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปตลาดออสเตรเลียโดยไม่เสียภาษี ขณะ ที่คู่แข่งอย่างจีน เวียดนามต้องเสียภาษีนำเข้า 5%
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทางกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกได้มีความร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในการส่งเสริมให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า โดยได้หารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้หันมาให้โอกาสผู้ประกอบการไทยผลิตสินค้าเพื่อแทนการนำเข้า โดยผู้ผลิตไทยพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติมในการติตตั้งอุปกรณ์และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าว คาดว่าปีนี้จะสามารถทดแทนการนำเข้าได้ 3 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ทางกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกจะหารือกับผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ และอาหาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่จะทดแทนการนำเข้าให้ได้ 2 หมื่นล้านบาทภายใน 5ปีข้างหน้า ทำให้ผู้ผลิตพลาสติกในไทยขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น