มนุษย์มีสัญชาตญาณของสัตว์ทั่วไป คือการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด มนุษย์ต้องต่อสู้กับความหิวกระหายอันได้แก่อาหารและน้ำดื่ม ความโหดร้ายทารุณของอากาศ โรคภัยไข้เจ็บ สภาพแวดล้อมอันโหดเหี้ยมประกอบด้วยสัตว์ป่าและคนเผ่าพันธุ์อื่นที่ดุร้าย มนุษย์จึงไม่ต่างจากสัตว์ทั่วๆ ไปที่มีสัญชาตญาณของความอยู่รอด ขณะเดียวกันก็รู้จักการรวมกลุ่มเพื่อรักษาความปลอดภัย หรือเพื่อการกระทำการที่เกินกว่าความสามารถของบุคคลคนเดียว นอกเหนือจากนั้นมนุษย์ก็สามารถจะพัฒนาตนเองจากการที่ต้องการอยู่ในสภาพธรรมชาติ ดำเนินตามสัญชาตญาณดิบไปสู่การมีอารยธรรมและวัฒนธรรม / อารยธรรม
ความขัดแย้งในส่วนของผลประโยชน์ สถานะทางสังคม อำนาจ รวมทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความสวยงาม เป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งที่บางครั้งก็ใช้แก้ปัญหาด้วยความรุนแรงถึงกับห้ำหั่นทำร้ายร่างกายและชีวิตซึ่งกันและกัน แต่มนุษย์ก็รู้จักที่จะอยู่ร่วมกันโดยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดำรงชีวิตอยู่อย่างสันติเป็นระยะๆ ด้วยการจัดระเบียบสังคมขึ้นในกลุ่มของตน และสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงแก้ความขัดแย้งกับชุมชนอื่นหรือเผ่าพันธุ์อื่น ระเบียบสังคมดังกล่าวนั้นจะเริ่มต้นจากผู้ซึ่งแข็งแรงที่สุด กุมอำนาจการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเล็กๆ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรของชุมชน ออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพของสังคมในชุมชนนั้นๆ นี่คือที่มาของการเกิดรัฐโดยมีคณะบุคคลกลุ่มเล็กๆ เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบในสังคม
แต่ระบบและตัวบุคคลผู้ใช้อำนาจดังกล่าวจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ โดยการยอมรับนั้นอาจจะเกิดจากความกลัวในอำนาจของคนกลุ่มเล็ก ซึ่งมีกลไก มีอาวุธเพื่อใช้ในการบังคับให้ปฏิบัติตาม หรือเกิดจากกติกาที่ตกลงกันเพื่อให้เกิดความยอมรับในที่มาที่ไปของการใช้อำนาจที่เรียกว่าอำนาจรัฐ กติกาดังกล่าวนั้นอาจจะใช้ทดสอบความแข็งแรง ความสามารถในการรบ สติปัญญา ฯลฯ การยอมรับดังกล่าวนั้นจะมีกฎกติกาที่กำหนดไว้แน่นอน ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามกติกาก็จะได้รับโอกาสในการใช้อำนาจรัฐ และผู้นั้นก็จะมีความชอบธรรมที่เรียกว่าความชอบธรรมทางการเมือง และที่สำคัญก็คือ ผู้ใช้อำนาจรัฐซึ่งจะเป็นคนคนเดียวหรือคณะบุคคลก็ตามจะต้องแสดงความสามารถแก้ปัญหาของชุมชนนั้น รักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่เรียกว่าความเจริญหรือการพัฒนาได้ และที่สำคัญจะต้องมีความสามารถในการนำสังคมไปสู่ความสงบสุข
ถ้าระบบการใช้อำนาจรัฐนั้นดำเนินไปตามครรลองอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การยอมรับของคนส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันผู้ใช้อำนาจรัฐก็ผ่านกระบวนการทดสอบเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจตามกติกา ความชอบธรรมก็จะเกิดขึ้น และถ้ากระบวนการดังกล่าวสามารถดำเนินไปโดยตอบสนองความต้องการของประชาชน ทุกอย่างก็จะลงเอยและดำเนินไปด้วยดี แต่เมื่อใดก็ตามที่ระบบและกระบวนการดังกล่าวไม่สามารถจะแก้ไขความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งในแง่นามธรรมจนไม่สามารถหาข้อยุติโดยสันติวิธี และไม่มีบุคคลที่สามที่จะสามารถไกล่เกลี่ย การใช้กำลังเข้าแก้ไขปัญหาก็จะเกิดขึ้น และนี่คือที่มาของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ ที่เรียกว่าความวุ่นวายทางการเมือง ถ้าเป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นระหว่างชุมชนก็คือสงครามระหว่างรัฐ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในชุมชนหนึ่งๆ นั้นถ้าแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นจำนวนใกล้เคียงกัน ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน ก็คือสงครามกลางเมือง แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าก็อาจจะถูกมองว่าเป็นกบฏ เป็นผู้ก่อความไม่สงบ หรือผู้ก่อการร้าย
ประเด็นก็คือ เมื่อใดก็ตามที่โครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง หรือกลไกของการอยู่ร่วมกันโดยสันติล้มเหลว มนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะของธรรมชาติ นั่นคือการใช้สัญชาตญาณดิบในการแก้ปัญหาโดยการใช้กำลังจนกว่าจะถึงจุดที่ทุกคนต่างต้องหันหน้าเข้าหากัน ทำข้อตกลงที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้กฎกติกาอันเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย หรือทุกฝ่าย สังคมนั้นก็จะกลับไปสู่ความมีวัฒนธรรม / อารยธรรมต่อไป โดยการใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยสงบ โดยการใช้เหตุใช้ผล โดยการเจรจาต่อรองถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
แต่เมื่อใดก็ตามที่ไม่สามารถดำเนินกระบวนการดังกล่าวได้ มนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติ ใช้สัญชาตญาณเดิมของสัตว์โดยทั่วไป โดยไม่แตกต่างจากสัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์เท่าใดนัก แต่เนื่องจากมนุษย์มีความเข้าใจในนามธรรม มีการใช้เหตุใช้ผล คำนึงถึงผลได้ผลเสียดีกว่าสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ มนุษย์จึงสามารถเลือกที่จะแก้ปัญหาโดยสันติวิธี โดยการคำนวณถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และขณะเดียวกันมนุษย์ก็ต่างจากสัตว์ตรงที่มีระดับจิตใจสูงพอที่จะมีการพัฒนาศีลธรรม จริยธรรมและหลักการ มิได้ใช้สัญชาตญาณล้วนๆ อันเป็นที่มาของคำสอนของศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพ หลักการและอุดมการณ์ทางการเมือง สังคมมนุษย์จึงเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม / อารยธรรมและจริยธรรม การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาโดยใช้สัญชาตญาณดั้งเดิม จึงเป็นข้อยกเว้นมากกว่ากฎ และจากความชาญฉลาดจากการคำนวณถึงผลได้ผลเสียมนุษย์จึงรู้จักที่จะออมชอมเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง นี่คือความแตกต่างระหว่างมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกับสัตว์อื่น
การวัดระดับการพัฒนาการเมืองของสังคมต่างๆ สามารถจะวัดได้จากระดับของการมีวัฒนธรรม/อารยธรรมในทางการเมือง ซึ่งจะต้องมีมากกว่าการใช้สัญชาตญาณเดิมในสภาวะธรรมชาติ สังคมใดที่ยังมีการต่อสู้ด้วยกำลังในชุมชนนั้นๆ เช่น การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการฆาตกรรม วางระเบิด ฯลฯ ก็คือสังคมที่ยังไม่มีการพัฒนาการเมืองเนื่องจากการขาดกรรมวิธีที่จะแก้ปัญหาโดยสันติ โดยเดินตามกฎกติกาที่ตกลงกัน และมีการผ่องถ่ายอำนาจเป็นระยะๆ โดยสันติวิธี
เมื่อใดก็ตามที่สังคมตกอยู่ในสภาวะที่ขัดแย้งรุนแรง ไม่สามารถใช้เหตุใช้ผลในการเจรจา เกิดความไม่ไว้วางใจกันไปทั่ว มีพฤติกรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความกลัวและความระแวงสงสัย สังคมนั้นย่อมเสี่ยงต่อการที่จะใช้ความรุนแรงในการต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งอำนาจ สภาวะดังกล่าวจะเลวร้ายยิ่งขึ้นถ้ากฎกติกาหรือโครงสร้างกระบวนการทางการเมืองยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระเบียบการเมืองมีระดับการพัฒนาที่อ่อนแอ ไม่สามารถจะเป็นกลไกในการอยู่ร่วมกันโดยสันติได้ สังคมใดที่คนไม่พูดจากันด้วยเหตุผล สังคมนั้นก็คือสังคมที่พร้อมจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องจากมีแนวโน้มสูงที่จะใช้สัญชาตญาณของสภาวะธรรมชาติหรือสัญชาตญาณดิบในการแก้ไขความขัดแย้ง สภาวะเช่นนี้อันตรายยิ่งนัก
ความขัดแย้งในส่วนของผลประโยชน์ สถานะทางสังคม อำนาจ รวมทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ความสวยงาม เป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งที่บางครั้งก็ใช้แก้ปัญหาด้วยความรุนแรงถึงกับห้ำหั่นทำร้ายร่างกายและชีวิตซึ่งกันและกัน แต่มนุษย์ก็รู้จักที่จะอยู่ร่วมกันโดยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดำรงชีวิตอยู่อย่างสันติเป็นระยะๆ ด้วยการจัดระเบียบสังคมขึ้นในกลุ่มของตน และสร้างความสัมพันธ์ที่ไม่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงแก้ความขัดแย้งกับชุมชนอื่นหรือเผ่าพันธุ์อื่น ระเบียบสังคมดังกล่าวนั้นจะเริ่มต้นจากผู้ซึ่งแข็งแรงที่สุด กุมอำนาจการใช้ความรุนแรงในกลุ่มเล็กๆ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรของชุมชน ออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งดุลยภาพของสังคมในชุมชนนั้นๆ นี่คือที่มาของการเกิดรัฐโดยมีคณะบุคคลกลุ่มเล็กๆ เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบในสังคม
แต่ระบบและตัวบุคคลผู้ใช้อำนาจดังกล่าวจะต้องเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ โดยการยอมรับนั้นอาจจะเกิดจากความกลัวในอำนาจของคนกลุ่มเล็ก ซึ่งมีกลไก มีอาวุธเพื่อใช้ในการบังคับให้ปฏิบัติตาม หรือเกิดจากกติกาที่ตกลงกันเพื่อให้เกิดความยอมรับในที่มาที่ไปของการใช้อำนาจที่เรียกว่าอำนาจรัฐ กติกาดังกล่าวนั้นอาจจะใช้ทดสอบความแข็งแรง ความสามารถในการรบ สติปัญญา ฯลฯ การยอมรับดังกล่าวนั้นจะมีกฎกติกาที่กำหนดไว้แน่นอน ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามกติกาก็จะได้รับโอกาสในการใช้อำนาจรัฐ และผู้นั้นก็จะมีความชอบธรรมที่เรียกว่าความชอบธรรมทางการเมือง และที่สำคัญก็คือ ผู้ใช้อำนาจรัฐซึ่งจะเป็นคนคนเดียวหรือคณะบุคคลก็ตามจะต้องแสดงความสามารถแก้ปัญหาของชุมชนนั้น รักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีที่เรียกว่าความเจริญหรือการพัฒนาได้ และที่สำคัญจะต้องมีความสามารถในการนำสังคมไปสู่ความสงบสุข
ถ้าระบบการใช้อำนาจรัฐนั้นดำเนินไปตามครรลองอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การยอมรับของคนส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันผู้ใช้อำนาจรัฐก็ผ่านกระบวนการทดสอบเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจตามกติกา ความชอบธรรมก็จะเกิดขึ้น และถ้ากระบวนการดังกล่าวสามารถดำเนินไปโดยตอบสนองความต้องการของประชาชน ทุกอย่างก็จะลงเอยและดำเนินไปด้วยดี แต่เมื่อใดก็ตามที่ระบบและกระบวนการดังกล่าวไม่สามารถจะแก้ไขความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งในแง่นามธรรมจนไม่สามารถหาข้อยุติโดยสันติวิธี และไม่มีบุคคลที่สามที่จะสามารถไกล่เกลี่ย การใช้กำลังเข้าแก้ไขปัญหาก็จะเกิดขึ้น และนี่คือที่มาของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆ ที่เรียกว่าความวุ่นวายทางการเมือง ถ้าเป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นระหว่างชุมชนก็คือสงครามระหว่างรัฐ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในชุมชนหนึ่งๆ นั้นถ้าแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่าย เป็นจำนวนใกล้เคียงกัน ใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน ก็คือสงครามกลางเมือง แต่ถ้าเป็นกลุ่มคนซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าก็อาจจะถูกมองว่าเป็นกบฏ เป็นผู้ก่อความไม่สงบ หรือผู้ก่อการร้าย
ประเด็นก็คือ เมื่อใดก็ตามที่โครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง หรือกลไกของการอยู่ร่วมกันโดยสันติล้มเหลว มนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะของธรรมชาติ นั่นคือการใช้สัญชาตญาณดิบในการแก้ปัญหาโดยการใช้กำลังจนกว่าจะถึงจุดที่ทุกคนต่างต้องหันหน้าเข้าหากัน ทำข้อตกลงที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติภายใต้กฎกติกาอันเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย หรือทุกฝ่าย สังคมนั้นก็จะกลับไปสู่ความมีวัฒนธรรม / อารยธรรมต่อไป โดยการใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยสงบ โดยการใช้เหตุใช้ผล โดยการเจรจาต่อรองถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
แต่เมื่อใดก็ตามที่ไม่สามารถดำเนินกระบวนการดังกล่าวได้ มนุษย์ก็จะกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติ ใช้สัญชาตญาณเดิมของสัตว์โดยทั่วไป โดยไม่แตกต่างจากสัตว์อื่นที่ไม่ใช่มนุษย์เท่าใดนัก แต่เนื่องจากมนุษย์มีความเข้าใจในนามธรรม มีการใช้เหตุใช้ผล คำนึงถึงผลได้ผลเสียดีกว่าสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ มนุษย์จึงสามารถเลือกที่จะแก้ปัญหาโดยสันติวิธี โดยการคำนวณถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และขณะเดียวกันมนุษย์ก็ต่างจากสัตว์ตรงที่มีระดับจิตใจสูงพอที่จะมีการพัฒนาศีลธรรม จริยธรรมและหลักการ มิได้ใช้สัญชาตญาณล้วนๆ อันเป็นที่มาของคำสอนของศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม แห่งวิชาชีพ หลักการและอุดมการณ์ทางการเมือง สังคมมนุษย์จึงเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม / อารยธรรมและจริยธรรม การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาโดยใช้สัญชาตญาณดั้งเดิม จึงเป็นข้อยกเว้นมากกว่ากฎ และจากความชาญฉลาดจากการคำนวณถึงผลได้ผลเสียมนุษย์จึงรู้จักที่จะออมชอมเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง นี่คือความแตกต่างระหว่างมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐกับสัตว์อื่น
การวัดระดับการพัฒนาการเมืองของสังคมต่างๆ สามารถจะวัดได้จากระดับของการมีวัฒนธรรม/อารยธรรมในทางการเมือง ซึ่งจะต้องมีมากกว่าการใช้สัญชาตญาณเดิมในสภาวะธรรมชาติ สังคมใดที่ยังมีการต่อสู้ด้วยกำลังในชุมชนนั้นๆ เช่น การใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาทางการเมืองด้วยการฆาตกรรม วางระเบิด ฯลฯ ก็คือสังคมที่ยังไม่มีการพัฒนาการเมืองเนื่องจากการขาดกรรมวิธีที่จะแก้ปัญหาโดยสันติ โดยเดินตามกฎกติกาที่ตกลงกัน และมีการผ่องถ่ายอำนาจเป็นระยะๆ โดยสันติวิธี
เมื่อใดก็ตามที่สังคมตกอยู่ในสภาวะที่ขัดแย้งรุนแรง ไม่สามารถใช้เหตุใช้ผลในการเจรจา เกิดความไม่ไว้วางใจกันไปทั่ว มีพฤติกรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความกลัวและความระแวงสงสัย สังคมนั้นย่อมเสี่ยงต่อการที่จะใช้ความรุนแรงในการต่อสู้เพื่อได้มาซึ่งอำนาจ สภาวะดังกล่าวจะเลวร้ายยิ่งขึ้นถ้ากฎกติกาหรือโครงสร้างกระบวนการทางการเมืองยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระเบียบการเมืองมีระดับการพัฒนาที่อ่อนแอ ไม่สามารถจะเป็นกลไกในการอยู่ร่วมกันโดยสันติได้ สังคมใดที่คนไม่พูดจากันด้วยเหตุผล สังคมนั้นก็คือสังคมที่พร้อมจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องจากมีแนวโน้มสูงที่จะใช้สัญชาตญาณของสภาวะธรรมชาติหรือสัญชาตญาณดิบในการแก้ไขความขัดแย้ง สภาวะเช่นนี้อันตรายยิ่งนัก