ผู้จัดการรายวัน - ดัชนีตลาดหุ้นไทยหลุดแนวต้านสำคัญ 780 จุดนักลงทุนแห่ทิ้งรอผลตัดสินคดียุบพรรคนอมินี"แม้ว" 18 ม.ค.นี้ขณะคาด "ซิตี้กรุ๊ป" กระอักพิษซับไพรม์ส่อต้องปลดพนักงานเพิ่ม โบรกฯคาดหุ้นครึ่งปีแรกสุดผันผวน แนะทยอยเก็บหุ้นกลุ่ม SET 50 ราคาถูก ปันผลสูง ระบุส่วนต่างกำไรสูงถึง 27% ด้าน"พิชิต" คาดจีดีพีไทยโต 5% เหตุรัฐบาล-เอกชนจ่อลงทุนเพิ่ม ชี้ยังต้องจับตาพิษซับไพรม์ ราคาน้ำมัน คาดดัชนีสิ้นปีอยู่ที่ 945-975 จุด "ภัทรียา" ยันยังไม่เพิ่มวงเงินค้ำประกันซื้อหุ้นจาก 10% เป็น 15% ห่วงกระทบการลงทุน
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (15 ม.ค.) เปิดตลาดในช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนจะเจอแรงขายออกมาอย่างหนักในหุ้นขนาดใหญ่จนส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากความเสี่ยงเกี่ยวกับคดีตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน จนทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 779.79 จุด ลดลง 11.36 จุด หรือ 1.44% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 798.54 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 776.99 จุด มูลค่าการซื้อขาย 13,959.25 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,410.42 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 889.73 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,520.69 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ กรรมการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวถึงทิศทางตลาดทุนไทยหลังเลือกตั้ง ว่า ทิศทางตลาดทุนไทยหลังการเลือกตั้งจะคงมีความผันผวนในระดับที่สูงต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรก ประเด็นสำคัญยังอยู่ที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ และ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ แม้ว่าทั้งสองประเด็นจะเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และเชื่อมั่นว่าในครึ่งปีหลังจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น และรวมทั้งปี 2551 การลงทุนในปีนี้ยังน่าสนใจอยู่ โดยแนะนำว่า การลงทุนในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า หลังจากที่ตลาดฯ ปรับตัวรับความเสี่ยงจากทั้งการเมืองและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในตลาดโลกแล้ว ถือเป็นจังหวะที่ดีมากสำหรับการเริ่มต้นลงทุน ขณะนี้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในเกณฑ์ที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศเพื่อนบ้าน โดยปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายกันอยู่ที่ P/E ต่ำกว่า 11 เท่า ของกำไรสุทธิในปี 2551 เทียบกับตลาดหุ้นของประเทศเพื่อนบ้านซื้อขาย P/E ที่ 16-17 เท่าขึ้นไป
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจโดยจากการนำเอาราคาเป้าหมายพื้นฐานจากหุ้น 50 ตัวใน SET 50 Index มาคำนวณหาดัชนีตลาดหุ้นไทยปลายปี 2551 จะอยู่ที่ระดับ 987 จุด นั่นหมายความว่ามี potential upside gain อยู่ที่ประมาณ 24% ขณะเดียวกันยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลในหุ้นที่จะขึ้นเครื่องหมาย XD ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าอีกประมาณ 3.6% ซึ่งรวมแล้วมีโอกาสกำไรประมาณ 27.6% ณ ดัชนีระดับปัจจุบัน
“น่าสนใจมากถ้าเข้าไปดูรายหุ้นพบว่ามีอยู่ 9 หุ้น ที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลอย่างเดียวเกิน 6% แล้ว ฉะนั้นถ้าดัชนีหลุด 800 จุดลงไปราคาหุ้นที่ถูกลงจะทำให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงขึ้นอีก”นายพิชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของยุโรปและสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้นเข้าสู่ในช่วงขาลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกของตลาดทุนทั่วโลก ดูได้จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ด้านการเงินระดับโลกที่ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกและคงจะไม่หยุดอยู่ที่ 3% โดย โกลด์แมนแซคคาดการณ์ว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยลงไปอีกจนถึงระดับ 2.5% ในปลายปีนี้ และเป็นสิ่งที่ทำให้ยุโรปน่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงมา
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ดัชนีปรับลงแรงจากความกังวลต่อผลประกอบการสถาบันการเงินของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาในคืนนี้(15 ม.ค.) คือ ซิตี้กรุ๊ป ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มจนอาจต้องปรับลดมูลค่าในบัญชีและปลดพนักงาน รวมกับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยในวันนี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังต้องรอความชัดเจนในวันที่ 18 ม.ค.ที่ศาลฎีกาจะตัดสินคดีฟ้องพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทย ให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ 770-790 จุด โดยต้องดูว่าตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวอย่างไรด้วย
**MFCห่วงธุรกิจการเงิน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยของบลจ.เอ็มเอฟซี ประเมินว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 4.8-5% และอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทยมองว่าดัชนีสิ้นปีนี้ น่าจะอยู่ที่ระดับ 945-975 จุด
ทั้งนี้ โดยภาพรวมมองว่าเป็นปีที่อุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างจากภายนอกเข้ามากระทบ ทั้งปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับสูง รวมถึงปัจจัยการเมืองในประเทศเองที่ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อระบบเศรษฐกิจในไตรมาส 1/51 - 2/51
สำหรับการลงทุนในกองทุนรวม นักลงทุนต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศ ที่จะต้องพิจารณาให้ดีว่าอะไรจะให้ประโยชน์มากที่สุด เพราะนักลงทุนรวมถึงโบรกเกอร์หลายแห่งคาดหวังเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอยพอสมควร โดยที่ผ่านมาจะเห็นว่านักลงทุนส่วนใหญ่หันมาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นๆ ที่กำหนดอายุการลงทุนที่ชัดเจนมาก ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่ให้ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ แต่ก็ความเสี่ยงต่ำและไม่ต้องเสียภาษีด้วย
**คาดดัชนีสิ้นปีปิด950จุด
นายชูเกียรติ ธิติหิรัญเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551 จะใกล้เคียงกับปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 4.5-5% โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการใช้จ่ายและลงทุนจากภาครัฐที่สูงขึ้น รวมถึงโครงการขนาดใหญ่
ในส่วนปัจจัยลบที่ยังคงกดดันภาวะเศรษฐกิจในประเทศอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับที่สูง และแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากปัญหาเรื่อง ซับไพรม์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศตัวเลขประมาณปลายเดือนมกราคม นอกจากนี้บริษัทยังต้องรอความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองหลังจากการเลือกตั้งและโฉมหน้าของรัฐบาลใหม่หลังเดือนมกราคมนี้
สำหรับตลาดหุ้นไทยซึ่งมี P/E ที่ 11 เท่า ยังมองว่าถูกกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่มี P/E ที่ 15 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเป็นที่น่าสนใจ และการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 15-20% นอกจากนี้ ยังคาดว่ายังคงมีเงินไหลเข้าตลาดทุนในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีการอัตราเติบโตสูงกว่าภูมิภาคอื่น
อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปี 2551 คาดว่ามีความผันผวนสูง โดยจะอยู่ในกรอบประมาณ 950 บวกลบ 20 จุด โดยหุ้นที่น่าสนใจลงทุนอยู่ในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร กลุ่มพาณิชย์ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มขนส่ง
***ตลท.ยันไม่เพิ่มวงเงิน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้เสนอมายังตลท.ในการเพิ่มวงเงินค้ำประกันการซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มจาก 10% เป็น 15% นั้น ตลท.จะต้องมีการพิจารณาคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง ซึ่งอาจจะมีการสำรวจความคิดเห็นกับกลุ่มสมาชิกก่อยเสนอที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงการพิจารณาถึงความเหมาะสม ประกอบกับภาวะการซื้อขายและช่วงเวลา
ทั้งนี้จากที่ภาวะตลาดไม่ได้มีความร้อนแรงหากมีการใช้มาตรการดังกล่าวอาจไม่ได้ผลอะไรและไม่สมควรที่จะออกมาตรการใดๆในช่วงที่ภาวะตลาดไม่ดี โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง มีหลายปัจจัยทั้งคดีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กรณีการคิดค่าเช่าท่อก๊าซ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะปัญหาจากซับไพรม์
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ความคืบหน้าเกี่ยวกับการสร้างดัชนี FSTE SET INDEX เพื่อเพิ่มทางการเลือกในการลงทุนคาดว่าน่าจะดำเนินการได้ในช่วงไตรมาส 1-2 ตามกำหนดเดิม โดยจะเป็นดัชนีอ้างอิง ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มความหลากหลายและทางเลือกให้กับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ (15 ม.ค.) เปิดตลาดในช่วงเช้าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนจะเจอแรงขายออกมาอย่างหนักในหุ้นขนาดใหญ่จนส่งผลทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากความเสี่ยงเกี่ยวกับคดีตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน จนทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงมาปิดที่ 779.79 จุด ลดลง 11.36 จุด หรือ 1.44% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 798.54 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 776.99 จุด มูลค่าการซื้อขาย 13,959.25 ล้านบาท
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,410.42 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 889.73 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,520.69 ล้านบาท
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ กรรมการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวถึงทิศทางตลาดทุนไทยหลังเลือกตั้ง ว่า ทิศทางตลาดทุนไทยหลังการเลือกตั้งจะคงมีความผันผวนในระดับที่สูงต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรก ประเด็นสำคัญยังอยู่ที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ และ ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ แม้ว่าทั้งสองประเด็นจะเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง และเชื่อมั่นว่าในครึ่งปีหลังจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น และรวมทั้งปี 2551 การลงทุนในปีนี้ยังน่าสนใจอยู่ โดยแนะนำว่า การลงทุนในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า หลังจากที่ตลาดฯ ปรับตัวรับความเสี่ยงจากทั้งการเมืองและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจในตลาดโลกแล้ว ถือเป็นจังหวะที่ดีมากสำหรับการเริ่มต้นลงทุน ขณะนี้ตลาดหุ้นไทยอยู่ในเกณฑ์ที่มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศเพื่อนบ้าน โดยปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายกันอยู่ที่ P/E ต่ำกว่า 11 เท่า ของกำไรสุทธิในปี 2551 เทียบกับตลาดหุ้นของประเทศเพื่อนบ้านซื้อขาย P/E ที่ 16-17 เท่าขึ้นไป
นอกจากนี้ คาดการณ์ว่า ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจโดยจากการนำเอาราคาเป้าหมายพื้นฐานจากหุ้น 50 ตัวใน SET 50 Index มาคำนวณหาดัชนีตลาดหุ้นไทยปลายปี 2551 จะอยู่ที่ระดับ 987 จุด นั่นหมายความว่ามี potential upside gain อยู่ที่ประมาณ 24% ขณะเดียวกันยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลในหุ้นที่จะขึ้นเครื่องหมาย XD ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าอีกประมาณ 3.6% ซึ่งรวมแล้วมีโอกาสกำไรประมาณ 27.6% ณ ดัชนีระดับปัจจุบัน
“น่าสนใจมากถ้าเข้าไปดูรายหุ้นพบว่ามีอยู่ 9 หุ้น ที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลอย่างเดียวเกิน 6% แล้ว ฉะนั้นถ้าดัชนีหลุด 800 จุดลงไปราคาหุ้นที่ถูกลงจะทำให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงขึ้นอีก”นายพิชัยกล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของยุโรปและสหรัฐฯ กำลังเริ่มต้นเข้าสู่ในช่วงขาลง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกของตลาดทุนทั่วโลก ดูได้จากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ด้านการเงินระดับโลกที่ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดอัตราดอกเบี้ยลงไปอีกและคงจะไม่หยุดอยู่ที่ 3% โดย โกลด์แมนแซคคาดการณ์ว่า เฟดจะลดดอกเบี้ยลงไปอีกจนถึงระดับ 2.5% ในปลายปีนี้ และเป็นสิ่งที่ทำให้ยุโรปน่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงมา
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ดัชนีปรับลงแรงจากความกังวลต่อผลประกอบการสถาบันการเงินของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาในคืนนี้(15 ม.ค.) คือ ซิตี้กรุ๊ป ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มจนอาจต้องปรับลดมูลค่าในบัญชีและปลดพนักงาน รวมกับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยในวันนี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นต่างประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังต้องรอความชัดเจนในวันที่ 18 ม.ค.ที่ศาลฎีกาจะตัดสินคดีฟ้องพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีพรรคไทยรักไทย ให้กรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีที่ 770-790 จุด โดยต้องดูว่าตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวอย่างไรด้วย
**MFCห่วงธุรกิจการเงิน
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยของบลจ.เอ็มเอฟซี ประเมินว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 4.8-5% และอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นไทยมองว่าดัชนีสิ้นปีนี้ น่าจะอยู่ที่ระดับ 945-975 จุด
ทั้งนี้ โดยภาพรวมมองว่าเป็นปีที่อุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างจากภายนอกเข้ามากระทบ ทั้งปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับสูง รวมถึงปัจจัยการเมืองในประเทศเองที่ยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องต่อระบบเศรษฐกิจในไตรมาส 1/51 - 2/51
สำหรับการลงทุนในกองทุนรวม นักลงทุนต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศ ที่จะต้องพิจารณาให้ดีว่าอะไรจะให้ประโยชน์มากที่สุด เพราะนักลงทุนรวมถึงโบรกเกอร์หลายแห่งคาดหวังเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอยพอสมควร โดยที่ผ่านมาจะเห็นว่านักลงทุนส่วนใหญ่หันมาลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นๆ ที่กำหนดอายุการลงทุนที่ชัดเจนมาก ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่ให้ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ แต่ก็ความเสี่ยงต่ำและไม่ต้องเสียภาษีด้วย
**คาดดัชนีสิ้นปีปิด950จุด
นายชูเกียรติ ธิติหิรัญเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551 จะใกล้เคียงกับปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 4.5-5% โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการใช้จ่ายและลงทุนจากภาครัฐที่สูงขึ้น รวมถึงโครงการขนาดใหญ่
ในส่วนปัจจัยลบที่ยังคงกดดันภาวะเศรษฐกิจในประเทศอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับที่สูง และแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากปัญหาเรื่อง ซับไพรม์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศตัวเลขประมาณปลายเดือนมกราคม นอกจากนี้บริษัทยังต้องรอความชัดเจนของสถานการณ์การเมืองหลังจากการเลือกตั้งและโฉมหน้าของรัฐบาลใหม่หลังเดือนมกราคมนี้
สำหรับตลาดหุ้นไทยซึ่งมี P/E ที่ 11 เท่า ยังมองว่าถูกกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่มี P/E ที่ 15 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังเป็นที่น่าสนใจ และการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 15-20% นอกจากนี้ ยังคาดว่ายังคงมีเงินไหลเข้าตลาดทุนในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีการอัตราเติบโตสูงกว่าภูมิภาคอื่น
อย่างไรก็ตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปี 2551 คาดว่ามีความผันผวนสูง โดยจะอยู่ในกรอบประมาณ 950 บวกลบ 20 จุด โดยหุ้นที่น่าสนใจลงทุนอยู่ในกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร กลุ่มพาณิชย์ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มขนส่ง
***ตลท.ยันไม่เพิ่มวงเงิน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า จากที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้เสนอมายังตลท.ในการเพิ่มวงเงินค้ำประกันการซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มจาก 10% เป็น 15% นั้น ตลท.จะต้องมีการพิจารณาคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบอีกครั้ง ซึ่งอาจจะมีการสำรวจความคิดเห็นกับกลุ่มสมาชิกก่อยเสนอที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงการพิจารณาถึงความเหมาะสม ประกอบกับภาวะการซื้อขายและช่วงเวลา
ทั้งนี้จากที่ภาวะตลาดไม่ได้มีความร้อนแรงหากมีการใช้มาตรการดังกล่าวอาจไม่ได้ผลอะไรและไม่สมควรที่จะออกมาตรการใดๆในช่วงที่ภาวะตลาดไม่ดี โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดหุ้นมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง มีหลายปัจจัยทั้งคดีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT กรณีการคิดค่าเช่าท่อก๊าซ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะปัญหาจากซับไพรม์
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ความคืบหน้าเกี่ยวกับการสร้างดัชนี FSTE SET INDEX เพื่อเพิ่มทางการเลือกในการลงทุนคาดว่าน่าจะดำเนินการได้ในช่วงไตรมาส 1-2 ตามกำหนดเดิม โดยจะเป็นดัชนีอ้างอิง ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มความหลากหลายและทางเลือกให้กับนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ