"พาณิชย์”เบรกน้ำมันปาล์มขวดขึ้นราคา เตรียมเสนอ"เกริกไกร"ไฟเขียวนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ "ยรรยง" ยันผู้ผลิตยังผลิตสินค้าป้อนตลาดเต็มที่ อาจมีช่องว่างช่วงยี่ปั๊ว ซาปั๊ว กักตุน หวังขายราคาใหม่ ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทันควัน หากพบเล่นงานหนัก ขณะที่ผู้บริโภคตระหนกซื้อน้ำมันปาล์มตุนล่วงหน้า ด้านผู้ผลิตเผยต้องขึ้นราคา การนำเข้าช่วยได้ช่วงสั้นๆ เพราะต้นทุนยังสูงอยู่ ส่วนปลากระป๋องวืดปรับราคา ให้ขายราคาเดิมไปก่อน
นายยรรง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับผู้ผลิตน้ำมันพืชบรรจุขวด ทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง วานนี้ (11 ม.ค.) ว่า ได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการว่าการจะอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาจำหน่ายอีกครั้ง ต้องยึดหลักที่เคยปฏิบัติมา คือ ต้นทุนต้องเพิ่มสูงขึ้นจริง กรมฯ ถึงจะพิจารณาให้ แต่ขณะนี้ยังไม่รับปากจะให้ปรับราคาได้หรือไม่ เพราะกรมฯ มีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบที่จะนำมาทำเป็นน้ำมันปาล์มบรรจุขวดได้แล้ว
ทั้งนี้ แนวทางแก้ไข จะเสนอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ที่มีนายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาอนุมัติให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศจำนวน 6 หมื่นตัน เพื่อนำมาเติมในสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบให้อยู่ในระดับ 1.5-1.6 แสนตัน จากปัจจุบันที่สต๊อกได้ลดลงเหลือเพียง 9.8 หมื่นตัน โดยการนำเข้าอาจจะนำเข้าครั้งละ 2 หมื่นตัน และอาจไม่จำเป็นต้องนำเข้าเต็มจำนวน หากสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
“ตอนนี้ น้ำมันปาล์มดิบมีปัญหา สต๊อกลดลงเหลือ 9.8 หมื่นตัน จากปกติต้องมี 1.5-1.6 แสนตัน ขณะเดียวกัน ราคาได้ขยับเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 37 บาท เพราะถูกแย่งซื้อโดยโรงงานผลิตน้ำมันพืช และโรงงานผลิตพลังงานทดแทน ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบที่มาเลเซียอยู่ที่กิโลกรัมละ 32 บาทเท่านั้น ห่างกันถึง 5 บาท หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตน้ำมันบรรจุขวด การเสนอให้นำเข้าก็เป็นการแก้ปัญหาไม่ให้วัตถุดิบมีราคาแพง และเมื่อต้นทุนไม่ขึ้น น้ำมันปาล์มบรรจุขวดก็จะมาอ้างต้นทุนเพื่อปรับราคาไม่ได้” นายยรรยง กล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลนนั้น จากการหารือกับผู้ผลิตได้รับแจ้งว่ายังมีการผลิตและจัดส่งสินค้าตามปกติ แต่อาจจะมีการตึงตัวบ้าง และยังได้ทราบข่าวมาว่าอาจจะมีการกักตุนในช่วงของยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่คาดหวังว่าจะมีการปรับราคา จึงไม่ปล่อยสินค้าออกสู่ตลาด ซึ่งกรมฯ ได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบแล้ว หากพบว่ามีการกักตุนจริง จะเล่นงานตามกฎหมาย โดยมีโทษสูงสุดจำคุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับกรณีบางห้างสรรพสินค้าไม่มีน้ำมันพืชบางยี่ห้อจำหน่าย กรมฯ ได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง แต่ก็มีเพียงบางยี่ห้อเท่านั้นที่ไม่มีจำหน่าย โดยทางผู้ผลิต คือ น้ำมันโอลีน และน้ำมันมรกต ได้แจ้งมายังกรมฯ แล้วเช่นกันว่าไม่สามารถจัดส่งสินค้าให้ได้ เนื่องจากผลิตแล้วขาดทุน ซึ่งกรมฯ ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตให้รีบจัดส่งสินค้าตามปกติ
ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง ยังมีจำหน่ายตามปกติ ซึ่งกรมฯ ได้สอบถามไปยังผู้ผลิตว่าสามารถที่จะผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันพืชขาดแคลน โดยผู้ผลิตได้แจ้งว่าไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ เนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเช่นเดียวกัน
**ผู้บริโภคตระหนกแห่ซื้อน้ำมันพืชตุน
แหล่งข่าวจากผู้จำหน่ายสินค้า กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในขณะนี้ว่าเกิดจากการประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่ประกาศอนุมัติให้ผู้ผลิตสามารถปรับขึ้นราคาน้ำมันพืช น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ให้ปรับขึ้นราคาอีกขวดละ 6.50 บาท จากเดิมที่เคยขายขวดละ 38-40 บาท ขึ้นมาเป็นขวดละ 43.50-45.50 บาท ทำให้ผู้บริโภคเกิดการตระหนกแห่ซื้อและกักตุนไว้ล่วงหน้า เพราะวิตกว่าหากมีการปรับขึ้นราคาจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกขวดละ 6.50 บาท จากการสำรวจพบว่าเดิมน้ำมันพืชต่าง ๆ มีปริมาณยอดขายต่อวันประมาณ 8 หมื่น – 1 แสนขวดต่อวัน แต่ในช่วงที่จะมีการประกาศปรับขึ้นราคามียอดขายเพิ่มขึ้นมาณวันละ 3- 4 แสนขวดต่อวัน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในท้องตลาด
นอกจากนี้ยังมีการกักตุนของพ่อค้าคนกลาง ที่กว๊านซื้อน้ำมันพืชเพื่อหวังที่จะนำกลับมาวางขายในตลาดอีกครั้งเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างขวดละประมาณ 6.50 บาท ซึ่งปัญหาการขาดแคลนน้ำมันพืช ต่าง ๆ นี้เกิดจากนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ในการส่งสัญญานการปรับขึ้นราคาล่วงหน้า ทำให้เกิดการาตระหนกและซื้อสินค้ากักตุนล่วงหน้า
รายงานข่าวแจ้งว่า การให้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบนั้น เป็นการแก้ไขในเชิงจิตวิทยาที่จะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศไม่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปกว่านี้ ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่มีการนำเข้าเลยก็ได้ เพราะผลผลิตปาล์มทะลายภายในประเทศจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย.นี้ โดยม.ค.จะออกสู่ตลาดประมาณ 9.7 หมื่นตัน ก.พ. 9.8 หมื่นตัน มี.ค.และเม.ย. ประมาณ 1 แสนตัน ทำให้เร็วๆ นี้ น้ำมันปาล์มดิบในประเทศจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
นาวาโทหญิงวรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า ยืนยันที่จะปรับราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดอีกครั้ง เพราะแม้จะมีการอนุญาตให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเข้ามา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากการอนุมัติให้ปรับราคาในช่วงเดือนธ.ค.ที่ขวดละ 5.50 บาท ต้นทุนน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 29 บาท แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 32-33 บาท/ลิตร จึงมีความจำเป็นต้องปรับราคาอีก โดยราคาขายปลีกน่าจะอยู่ที่ขวดละ 50 บาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม วันเดียวกันนี้ นายยรรยงได้มีการหารือกับผู้ผลิตปลากระป๋อง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าจะไม่อนุมัติให้ปรับราคาเพิ่มขึ้น หลังจากที่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา กรมฯ ได้มีการอนุมัติให้ปรับราคาไปแล้วบางรายกระป๋องละ 1 บาท แต่ผู้ประกอบการยังไม่มีการปรับเพิ่มราคาตามที่ได้อนุมัติ เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง ส่วนที่มีปัญหาในห้างสรรพสินค้าไม่มีปลากระป๋องขาย เนื่องจากผู้ผลิตบางรายขาดแคลนวัตถุดิบ จึงส่งสินค้าได้ไม่ทัน และบางรายยังมีปัญหาการเจรจาค่าธรรมเนียมต่างๆ กับห้างฯ ไม่ลงตัว ทำให้ไม่มีสินค้าไปวางจำหน่าย
นายยรรง พวงราช อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยภายหลังการหารือกับผู้ผลิตน้ำมันพืชบรรจุขวด ทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง วานนี้ (11 ม.ค.) ว่า ได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการว่าการจะอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาจำหน่ายอีกครั้ง ต้องยึดหลักที่เคยปฏิบัติมา คือ ต้นทุนต้องเพิ่มสูงขึ้นจริง กรมฯ ถึงจะพิจารณาให้ แต่ขณะนี้ยังไม่รับปากจะให้ปรับราคาได้หรือไม่ เพราะกรมฯ มีแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มดิบที่จะนำมาทำเป็นน้ำมันปาล์มบรรจุขวดได้แล้ว
ทั้งนี้ แนวทางแก้ไข จะเสนอให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ที่มีนายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน พิจารณาอนุมัติให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศจำนวน 6 หมื่นตัน เพื่อนำมาเติมในสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบให้อยู่ในระดับ 1.5-1.6 แสนตัน จากปัจจุบันที่สต๊อกได้ลดลงเหลือเพียง 9.8 หมื่นตัน โดยการนำเข้าอาจจะนำเข้าครั้งละ 2 หมื่นตัน และอาจไม่จำเป็นต้องนำเข้าเต็มจำนวน หากสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ
“ตอนนี้ น้ำมันปาล์มดิบมีปัญหา สต๊อกลดลงเหลือ 9.8 หมื่นตัน จากปกติต้องมี 1.5-1.6 แสนตัน ขณะเดียวกัน ราคาได้ขยับเพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 37 บาท เพราะถูกแย่งซื้อโดยโรงงานผลิตน้ำมันพืช และโรงงานผลิตพลังงานทดแทน ขณะที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบที่มาเลเซียอยู่ที่กิโลกรัมละ 32 บาทเท่านั้น ห่างกันถึง 5 บาท หากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะกระทบต่อต้นทุนการผลิตน้ำมันบรรจุขวด การเสนอให้นำเข้าก็เป็นการแก้ปัญหาไม่ให้วัตถุดิบมีราคาแพง และเมื่อต้นทุนไม่ขึ้น น้ำมันปาล์มบรรจุขวดก็จะมาอ้างต้นทุนเพื่อปรับราคาไม่ได้” นายยรรยง กล่าว
นายยรรยงกล่าวว่า การแก้ไขปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลนนั้น จากการหารือกับผู้ผลิตได้รับแจ้งว่ายังมีการผลิตและจัดส่งสินค้าตามปกติ แต่อาจจะมีการตึงตัวบ้าง และยังได้ทราบข่าวมาว่าอาจจะมีการกักตุนในช่วงของยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่คาดหวังว่าจะมีการปรับราคา จึงไม่ปล่อยสินค้าออกสู่ตลาด ซึ่งกรมฯ ได้มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบแล้ว หากพบว่ามีการกักตุนจริง จะเล่นงานตามกฎหมาย โดยมีโทษสูงสุดจำคุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับกรณีบางห้างสรรพสินค้าไม่มีน้ำมันพืชบางยี่ห้อจำหน่าย กรมฯ ได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง แต่ก็มีเพียงบางยี่ห้อเท่านั้นที่ไม่มีจำหน่าย โดยทางผู้ผลิต คือ น้ำมันโอลีน และน้ำมันมรกต ได้แจ้งมายังกรมฯ แล้วเช่นกันว่าไม่สามารถจัดส่งสินค้าให้ได้ เนื่องจากผลิตแล้วขาดทุน ซึ่งกรมฯ ได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตให้รีบจัดส่งสินค้าตามปกติ
ส่วนน้ำมันถั่วเหลือง ยังมีจำหน่ายตามปกติ ซึ่งกรมฯ ได้สอบถามไปยังผู้ผลิตว่าสามารถที่จะผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันพืชขาดแคลน โดยผู้ผลิตได้แจ้งว่าไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ เนื่องจากมีปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเช่นเดียวกัน
**ผู้บริโภคตระหนกแห่ซื้อน้ำมันพืชตุน
แหล่งข่าวจากผู้จำหน่ายสินค้า กล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในขณะนี้ว่าเกิดจากการประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่ประกาศอนุมัติให้ผู้ผลิตสามารถปรับขึ้นราคาน้ำมันพืช น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง ให้ปรับขึ้นราคาอีกขวดละ 6.50 บาท จากเดิมที่เคยขายขวดละ 38-40 บาท ขึ้นมาเป็นขวดละ 43.50-45.50 บาท ทำให้ผู้บริโภคเกิดการตระหนกแห่ซื้อและกักตุนไว้ล่วงหน้า เพราะวิตกว่าหากมีการปรับขึ้นราคาจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกขวดละ 6.50 บาท จากการสำรวจพบว่าเดิมน้ำมันพืชต่าง ๆ มีปริมาณยอดขายต่อวันประมาณ 8 หมื่น – 1 แสนขวดต่อวัน แต่ในช่วงที่จะมีการประกาศปรับขึ้นราคามียอดขายเพิ่มขึ้นมาณวันละ 3- 4 แสนขวดต่อวัน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มในท้องตลาด
นอกจากนี้ยังมีการกักตุนของพ่อค้าคนกลาง ที่กว๊านซื้อน้ำมันพืชเพื่อหวังที่จะนำกลับมาวางขายในตลาดอีกครั้งเพื่อเก็งกำไรส่วนต่างขวดละประมาณ 6.50 บาท ซึ่งปัญหาการขาดแคลนน้ำมันพืช ต่าง ๆ นี้เกิดจากนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ในการส่งสัญญานการปรับขึ้นราคาล่วงหน้า ทำให้เกิดการาตระหนกและซื้อสินค้ากักตุนล่วงหน้า
รายงานข่าวแจ้งว่า การให้นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบนั้น เป็นการแก้ไขในเชิงจิตวิทยาที่จะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศไม่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปกว่านี้ ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่มีการนำเข้าเลยก็ได้ เพราะผลผลิตปาล์มทะลายภายในประเทศจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย.นี้ โดยม.ค.จะออกสู่ตลาดประมาณ 9.7 หมื่นตัน ก.พ. 9.8 หมื่นตัน มี.ค.และเม.ย. ประมาณ 1 แสนตัน ทำให้เร็วๆ นี้ น้ำมันปาล์มดิบในประเทศจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
นาวาโทหญิงวรรณพร มาศเกษม นายกสมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม กล่าวว่า ยืนยันที่จะปรับราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดอีกครั้ง เพราะแม้จะมีการอนุญาตให้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเข้ามา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง เนื่องจากการอนุมัติให้ปรับราคาในช่วงเดือนธ.ค.ที่ขวดละ 5.50 บาท ต้นทุนน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 29 บาท แต่ขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 32-33 บาท/ลิตร จึงมีความจำเป็นต้องปรับราคาอีก โดยราคาขายปลีกน่าจะอยู่ที่ขวดละ 50 บาทขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม วันเดียวกันนี้ นายยรรยงได้มีการหารือกับผู้ผลิตปลากระป๋อง ซึ่งได้ข้อสรุปว่าจะไม่อนุมัติให้ปรับราคาเพิ่มขึ้น หลังจากที่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา กรมฯ ได้มีการอนุมัติให้ปรับราคาไปแล้วบางรายกระป๋องละ 1 บาท แต่ผู้ประกอบการยังไม่มีการปรับเพิ่มราคาตามที่ได้อนุมัติ เนื่องจากมีการแข่งขันกันสูง ส่วนที่มีปัญหาในห้างสรรพสินค้าไม่มีปลากระป๋องขาย เนื่องจากผู้ผลิตบางรายขาดแคลนวัตถุดิบ จึงส่งสินค้าได้ไม่ทัน และบางรายยังมีปัญหาการเจรจาค่าธรรมเนียมต่างๆ กับห้างฯ ไม่ลงตัว ทำให้ไม่มีสินค้าไปวางจำหน่าย