ผู้จัดการออนไลน์ - ยอดการส่งออกน้ำมันปาล์มไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านด่านศุลกากรเชียงแสนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ปัญหาราคาน้ำมันพืชภายในประเทศจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้น และยังประสบกับปัญหาสินค้าขาดตลาด ผอ.สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 ระบุ พร้อมรองรับมาตรการควบคุมการส่งออกน้ำมันปาล์มทันที หากกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศมาตรการควบคุม
วันนี้ (11 ม.ค.) ที่ท่าเรือด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นายจงกล ทิมอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกน้ำมันปาล์ม ไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ว่า ขณะนี้น้ำมันปาล์มที่ผ่านพิธีการทางศุลกากร และส่งออกไปยังประเทศเพื่อบ้าน ณ ด่านศุลกากรเชียงแสน ยังคงมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสภาวะภายในประเทศจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มอยู่อีกก็ตาม
ในส่วนของน้ำมันปาล์ม ที่มีการส่งออกไปจากท่าเรือเชียงแสน ไปตามเส้นทางแม่น้ำโขง จะกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค ที่ประเทศจีน พม่า และลาว โดยตลาดหลักที่มีความต้องการสูงสุด ได้แก่ประเทศจีน และสินค้าส่วนหนึ่งที่มีการนำขึ้นยังท่าเรือสบหลวย ในเขตประเทศพม่า จะถูกส่งต่อไปยังประเทศจีนอีกทอดหนึ่งโดยทางบก
นายจงกล กล่าวว่า เกี่ยวกับมาตรการควบคุมสินค้า ที่จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในส่วนของน้ำมันปาล์ม ขณะนี้ทางด่านศุลกากรยังไม่ได้มีมาตรการเข้าไปควบคุมสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงประสบกับสภาวะวิกฤตอย่างต่อเนื่อง จะเป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะกำหนดมาตรการควบคุมต่อไปหรือไม่อย่างไร เช่นอาจจะใช้วิธีการควบคุมโดยการห้ามไม่ให้มีการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเด็ดขาด หรืออาจจะมีการควบคุมในปริมาณการส่งออกที่ความเหมาะสม ตามที่กระทรวงพาณิชย์กดหนด
ในเรื่องนี้ หากจำเป็นจะต้อมมีมาตรการเข้ามาบังคับใช้ ทางด่านศุลกากรก็พร้อมที่จะรับนโยบายจากกระทรวงพาณิชย์ทันที ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขการควบคุม ในรูปแบบใดก็ตาม
“สำหรับปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์ม ณ ด่านศุลกากรเชียงแสน เมื่อปี 2547 มีน้ำหนักรวม 7,470 ตัน มูลค่า 159.22 ล้านบาท ปี 2548 มีน้ำหนักรวม 11,089 ตัน มูลค่า 291.10 ล้านบาท ปี 2549 มีน้ำหนักรวม11,388 ตัน มูลค่า 283.93 ล้านบาท ปี 2550 มีน้ำหนักรวม 21,484 ตัน มูลค่า 560.26 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำมันปาล์มยังคงเป็นสินค้าส่งออก ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี” นายจงกล กล่าว และว่า
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ดังกล่าวมีความจำเป็นต้องควบคุมการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดแนวชายแดน ทั้งทางบก และทางลำน้ำโขง ซึ่งมีความล่อแหลมต่อการลักลอบนำสินค้าออกไป กรณีนี้ทางด่านศุลกากรทุกจุด พร้อมที่จะเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สถานการณ์ภาวะการขาดแคลนภายในประเทศเข้าสู่สภาวะปกติ
วันนี้ (11 ม.ค.) ที่ท่าเรือด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย นายจงกล ทิมอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกน้ำมันปาล์ม ไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ว่า ขณะนี้น้ำมันปาล์มที่ผ่านพิธีการทางศุลกากร และส่งออกไปยังประเทศเพื่อบ้าน ณ ด่านศุลกากรเชียงแสน ยังคงมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสภาวะภายในประเทศจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันปาล์มอยู่อีกก็ตาม
ในส่วนของน้ำมันปาล์ม ที่มีการส่งออกไปจากท่าเรือเชียงแสน ไปตามเส้นทางแม่น้ำโขง จะกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค ที่ประเทศจีน พม่า และลาว โดยตลาดหลักที่มีความต้องการสูงสุด ได้แก่ประเทศจีน และสินค้าส่วนหนึ่งที่มีการนำขึ้นยังท่าเรือสบหลวย ในเขตประเทศพม่า จะถูกส่งต่อไปยังประเทศจีนอีกทอดหนึ่งโดยทางบก
นายจงกล กล่าวว่า เกี่ยวกับมาตรการควบคุมสินค้า ที่จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ในส่วนของน้ำมันปาล์ม ขณะนี้ทางด่านศุลกากรยังไม่ได้มีมาตรการเข้าไปควบคุมสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงประสบกับสภาวะวิกฤตอย่างต่อเนื่อง จะเป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์ ที่จะกำหนดมาตรการควบคุมต่อไปหรือไม่อย่างไร เช่นอาจจะใช้วิธีการควบคุมโดยการห้ามไม่ให้มีการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเด็ดขาด หรืออาจจะมีการควบคุมในปริมาณการส่งออกที่ความเหมาะสม ตามที่กระทรวงพาณิชย์กดหนด
ในเรื่องนี้ หากจำเป็นจะต้อมมีมาตรการเข้ามาบังคับใช้ ทางด่านศุลกากรก็พร้อมที่จะรับนโยบายจากกระทรวงพาณิชย์ทันที ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขการควบคุม ในรูปแบบใดก็ตาม
“สำหรับปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์ม ณ ด่านศุลกากรเชียงแสน เมื่อปี 2547 มีน้ำหนักรวม 7,470 ตัน มูลค่า 159.22 ล้านบาท ปี 2548 มีน้ำหนักรวม 11,089 ตัน มูลค่า 291.10 ล้านบาท ปี 2549 มีน้ำหนักรวม11,388 ตัน มูลค่า 283.93 ล้านบาท ปี 2550 มีน้ำหนักรวม 21,484 ตัน มูลค่า 560.26 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำมันปาล์มยังคงเป็นสินค้าส่งออก ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี” นายจงกล กล่าว และว่า
ทั้งนี้ หากสถานการณ์ดังกล่าวมีความจำเป็นต้องควบคุมการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดแนวชายแดน ทั้งทางบก และทางลำน้ำโขง ซึ่งมีความล่อแหลมต่อการลักลอบนำสินค้าออกไป กรณีนี้ทางด่านศุลกากรทุกจุด พร้อมที่จะเข้าควบคุมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สถานการณ์ภาวะการขาดแคลนภายในประเทศเข้าสู่สภาวะปกติ