"สัก-วิโรจน์" ดอดเข้าทำเนียบฯ รายงานความคืบหน้าคดีที่เกี่ยวกับ "แม้ว-อ้อ" แบบลับๆล่อๆ อ้างพบแค่เลขานายกฯ ไม่ได้พบกับนายกฯโดยตรง ขณะที่"สุรยุทธ์"กลับบอกว่าได้พบกันโดยบังเอิญ จึงสอบถามความคืบหน้า ทำให้มีเสียงวิจารณ์ตามมาว่ารายการนี้จะมีสำนวนรั่วอีกหรือไม่ ชี้เหตุผล 3 ข้อที่ "พจมาน" กลับไทย เป็นแค่ข้ออ้าง หรือเป็นความตั้งใจจริง ต้องพิสูจน์ที่การกระทำ ปัดไม่รู้เรื่อง"แม้ว"ขอพบ"ป๋าเปรม" เพื่อเคลียร์ปัญหา เผยความคิดป๋าเดายาก ส่วนเรื่องจัดตั้งรัฐบาลพรรคการเมืองต้องคุยกันเอง
เมื่อเวลา 09.50 น.วานนี้ (9 ม.ค.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)และ นาย วิโรจน์ เลาหพันธ์ กรรมการ คตส.ได้เข้าพบ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู้ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ ได้ใช้เวลาในการเข้าพบประมาณครึ่งชั่วโมง โดยภายหลังการเข้าพบ ทั้งนายสักและนายวิโรจน์ ได้นั่งรถคันเดียวกันออกไป โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่ดักโบกมือเรียกรถให้จอด แต่นายสัก โบกมือส่งสัญญาณว่า ไม่พูด
ขณะที่ในส่วนของ นายกรัฐมนตรี หลังการเข้าพบของกรรมการ คตส. ก็ได้เดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นประธานการประชุมกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตามวาระงานแล้ว นายกฯ จะต้องเป็นประธานการประชุมที่กระทรวงมหาดไทยในเวลา 9.00 น. แต่ได้มีการเลื่อนกำหนดการออกไปแบบกระทันหัน
ทั้งนี้ คาดว่าการเข้าพบของกรรมการ คตส. ดังกล่าว คงเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่เพิ่งเดินทางกลับมาสู้คดีที่ดินรัชดาฯ และการปกปิดการถือหุ้นบริษัทเอสซี เอสเซทฯ รวมถึงอีกหลายๆ คดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของ คตส. โดยเฉพาะนายวิโรจน์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการการตรวจสอบการปล่อยกู้ของธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลทหารพม่าของรัฐบาลทักษิณ วงเงิน 4,000 ล้านบาท และการซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือชินคอร์ป ของคนในตระกูลชินวัตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า การพบกันเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆในครั้งนี้ จะมีรายการสำนวนรั่วอีกหรือไม่ และ ถึงที่สุดแล้วจะเป็นโทษ หรือเป็นคุณ กับพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน กันแน่
อย่างไรก็ตาม นายสัก ได้ให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า ได้เดินทางไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อพบกับ พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้พบกับนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด ซึ่งการเข้าพบ พล.อ.พงษ์เทพ เพื่อรายงานความคืบหน้าการทำงานของ คตส. หลังจากที่คตส.ได้รับการประสานมาเมื่อเย็นวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยพล.อ.พงษ์เทพ ได้ประสานขอรายงานการทำงานของ คตส. ซึ่ง คตส.ได้มอบรายงานจำนวน 2 ฉบับ คือ สมุดปกเหลือง สรุปผลการทำงานของคตส. ครบรอบ 6 เดือน และ 1 ปี
เมื่อถามว่า เหตุใดจึงมีการเรียกขอข้อมูลในช่วงที่คุณหญิงพจมาน เดินทางกลับมาต่อสู้คดี นายสัก กล่าวว่า รัฐบาลอาจต้องการความชัดเจนว่า ขณะนี้มีคดีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณหญิงพจมาน ซึ่ง คตส.ได้รายงานว่า มีคดีการซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก และคดีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมของคุณหญิงพจมาน
นายสัก ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้การทำงานของ คตส.ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจาก คตส.ได้รับเอกสารแปลจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว จึงไม่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว เมื่อถามว่า อัยการสูงสุดได้ประสานขอข้อมูลอะไรเพิ่มหรือไม่ นายสักกล่าวว่า ไม่มีการประสานจากอัยการแต่อย่างใด
ต่อมา เวลา 12.30 น. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ว่า นายสัก และนายวิโรจน์ ได้มาหารือกับ พล.อ.พงษ์เทพ แต่พอดีตนจะลง มาก็เลยได้พบกัน จึงได้คุยกันถึงเรื่องที่ทาง คตส.ได้ดำเนินเรื่องต่างๆไป และส่งผ่านกระบวนการยุติธรรมไปที่ทางสำนักงานอัยการสูงสุด ก็คุยกันเพียงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้คุยกันถึงคืบหน้าของคดีต่างๆ หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้ถามในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่แล้วท่านบอกว่าได้เดินหน้าไปในสภาพที่น่าพอใจ ซึ่งคดีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน
เมื่อถามว่า มองการกลับมาของคุณหญิงพจมานในช่วงนี้อย่างไร เพราะบางฝ่ายมองว่ามีนัยทางการเมืองมากกว่าการตั้งใจกลับมาสู้คดี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ครับ อย่างที่ได้เรียนเมื่อวานว่า 1. เป็นสิทธิของคุณหญิงพจมานที่จะเดินทางเข้ามาต่อสู้คดี ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐาน ในเรื่องอื่นๆ เราคงไม่สามารถที่จะไปวิเคราะห์ ไม่สามารถที่จะไปมองภาพ หรือคาดการณ์ในอนาคตข้างหน้าได้ แต่ในปัจจุบัน เมื่อเข้ามาแล้วคุณหญิงก็ได้ไปที่ศาล และไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ถือว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องของการต่อสู้คดีทั้ง 2 กรณี ก็เป็นเหตุผลที่คิดว่าเป็นส่วนดี
เมื่อถามว่า เหตุผลที่อ้างในแถลงการณ์ 3 ข้อ ว่า กลับมาเพราะความจงรักภักดี มาสู้คดี และเป็นห่วงครอบครัว ถือเป็นเหตุผลที่จะนำไปสู่ความเรียบร้อย และความสมานฉันท์หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนี้คิดว่าอยู่ที่การปฏิบัติ
อย่างที่ตนได้พูดอยู่ตลอดเวลาว่า การพูดต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ เราคงจะต้องดูว่า กระทำได้เหมือนกับที่พูดหรือเปล่า
เมื่อถามว่า มีการมองเหมือนกันว่า การที่ตัดสินใจกลับมาเพราะได้มีการเคลียร์อะไรกันไว้บางอย่างล่วงหน้าแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าได้มีการตกลงอะไรกันอย่างไร แต่ถ้าถามว่า มีการโทรศัพท์ถึงตนหรือเปล่านั้น ไม่มี
เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามขอพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะต้องอยู่ที่การตัดสินของท่านเอง โอกาสอย่างนั้นคงเป็นสิ่งที่ท่านประธานองคมนตรี จะตัดสินใจเอง ตนคงไม่สามารถไปคาดเดา เพราะตนก็ทำงานกันท่านมานาน และบอกได้ว่าไปเดาความคิดของท่านนี้ยากมาก
ส่วน ปัจจัยระดับสูงที่จะทำให้สมานฉันท์อยู่ที่ พล.อ.เปรม หรือไม่นั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบจริงๆว่ามีข่าวมาอย่างไร และจะเป็นอย่างไร ซึ่งตนตอบได้เฉพาะในส่วนของตนเองว่า ไม่ได้รับการติดต่อ ไม่ได้มีการโทรศัพท์มาพูดคุยกัน
เมื่อถามว่า เวลานี้บางฝ่ายโดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน เกรงว่า มีมือที่มองไม่เห็นมาจัดตั้งรัฐบาล ในฐานะเป็นรัฐบาลยืนยันได้หรือไม่ จะเป็นไปตามครรลอง พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลของาตนเลย เป็นเรื่องของทางพรรคการเมืองที่จะพูดคุยกัน ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ฉะนั้นไม่ว่าจะมีมือ หรือไม่มีมือ ตนก็ไม่ทราบ
เมื่อเวลา 09.50 น.วานนี้ (9 ม.ค.) นายสัก กอแสงเรือง โฆษกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)และ นาย วิโรจน์ เลาหพันธ์ กรรมการ คตส.ได้เข้าพบ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ตึกไทยคู้ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ ได้ใช้เวลาในการเข้าพบประมาณครึ่งชั่วโมง โดยภายหลังการเข้าพบ ทั้งนายสักและนายวิโรจน์ ได้นั่งรถคันเดียวกันออกไป โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่ดักโบกมือเรียกรถให้จอด แต่นายสัก โบกมือส่งสัญญาณว่า ไม่พูด
ขณะที่ในส่วนของ นายกรัฐมนตรี หลังการเข้าพบของกรรมการ คตส. ก็ได้เดินทางออกจากทำเนียบรัฐบาลไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นประธานการประชุมกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตามวาระงานแล้ว นายกฯ จะต้องเป็นประธานการประชุมที่กระทรวงมหาดไทยในเวลา 9.00 น. แต่ได้มีการเลื่อนกำหนดการออกไปแบบกระทันหัน
ทั้งนี้ คาดว่าการเข้าพบของกรรมการ คตส. ดังกล่าว คงเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่เพิ่งเดินทางกลับมาสู้คดีที่ดินรัชดาฯ และการปกปิดการถือหุ้นบริษัทเอสซี เอสเซทฯ รวมถึงอีกหลายๆ คดีที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของ คตส. โดยเฉพาะนายวิโรจน์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการการตรวจสอบการปล่อยกู้ของธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลทหารพม่าของรัฐบาลทักษิณ วงเงิน 4,000 ล้านบาท และการซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น หรือชินคอร์ป ของคนในตระกูลชินวัตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า การพบกันเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆในครั้งนี้ จะมีรายการสำนวนรั่วอีกหรือไม่ และ ถึงที่สุดแล้วจะเป็นโทษ หรือเป็นคุณ กับพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน กันแน่
อย่างไรก็ตาม นายสัก ได้ให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า ได้เดินทางไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อพบกับ พล.อ.พงษ์เทพ เทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้พบกับนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด ซึ่งการเข้าพบ พล.อ.พงษ์เทพ เพื่อรายงานความคืบหน้าการทำงานของ คตส. หลังจากที่คตส.ได้รับการประสานมาเมื่อเย็นวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยพล.อ.พงษ์เทพ ได้ประสานขอรายงานการทำงานของ คตส. ซึ่ง คตส.ได้มอบรายงานจำนวน 2 ฉบับ คือ สมุดปกเหลือง สรุปผลการทำงานของคตส. ครบรอบ 6 เดือน และ 1 ปี
เมื่อถามว่า เหตุใดจึงมีการเรียกขอข้อมูลในช่วงที่คุณหญิงพจมาน เดินทางกลับมาต่อสู้คดี นายสัก กล่าวว่า รัฐบาลอาจต้องการความชัดเจนว่า ขณะนี้มีคดีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณหญิงพจมาน ซึ่ง คตส.ได้รายงานว่า มีคดีการซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก และคดีการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีของนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรมของคุณหญิงพจมาน
นายสัก ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้การทำงานของ คตส.ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจาก คตส.ได้รับเอกสารแปลจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว จึงไม่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว เมื่อถามว่า อัยการสูงสุดได้ประสานขอข้อมูลอะไรเพิ่มหรือไม่ นายสักกล่าวว่า ไม่มีการประสานจากอัยการแต่อย่างใด
ต่อมา เวลา 12.30 น. พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทยให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ ว่า นายสัก และนายวิโรจน์ ได้มาหารือกับ พล.อ.พงษ์เทพ แต่พอดีตนจะลง มาก็เลยได้พบกัน จึงได้คุยกันถึงเรื่องที่ทาง คตส.ได้ดำเนินเรื่องต่างๆไป และส่งผ่านกระบวนการยุติธรรมไปที่ทางสำนักงานอัยการสูงสุด ก็คุยกันเพียงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้คุยกันถึงคืบหน้าของคดีต่างๆ หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้ถามในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่แล้วท่านบอกว่าได้เดินหน้าไปในสภาพที่น่าพอใจ ซึ่งคดีส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน
เมื่อถามว่า มองการกลับมาของคุณหญิงพจมานในช่วงนี้อย่างไร เพราะบางฝ่ายมองว่ามีนัยทางการเมืองมากกว่าการตั้งใจกลับมาสู้คดี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ครับ อย่างที่ได้เรียนเมื่อวานว่า 1. เป็นสิทธิของคุณหญิงพจมานที่จะเดินทางเข้ามาต่อสู้คดี ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐาน ในเรื่องอื่นๆ เราคงไม่สามารถที่จะไปวิเคราะห์ ไม่สามารถที่จะไปมองภาพ หรือคาดการณ์ในอนาคตข้างหน้าได้ แต่ในปัจจุบัน เมื่อเข้ามาแล้วคุณหญิงก็ได้ไปที่ศาล และไปที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ถือว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องของการต่อสู้คดีทั้ง 2 กรณี ก็เป็นเหตุผลที่คิดว่าเป็นส่วนดี
เมื่อถามว่า เหตุผลที่อ้างในแถลงการณ์ 3 ข้อ ว่า กลับมาเพราะความจงรักภักดี มาสู้คดี และเป็นห่วงครอบครัว ถือเป็นเหตุผลที่จะนำไปสู่ความเรียบร้อย และความสมานฉันท์หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนนี้คิดว่าอยู่ที่การปฏิบัติ
อย่างที่ตนได้พูดอยู่ตลอดเวลาว่า การพูดต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ เราคงจะต้องดูว่า กระทำได้เหมือนกับที่พูดหรือเปล่า
เมื่อถามว่า มีการมองเหมือนกันว่า การที่ตัดสินใจกลับมาเพราะได้มีการเคลียร์อะไรกันไว้บางอย่างล่วงหน้าแล้ว พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าได้มีการตกลงอะไรกันอย่างไร แต่ถ้าถามว่า มีการโทรศัพท์ถึงตนหรือเปล่านั้น ไม่มี
เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พยายามขอพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะต้องอยู่ที่การตัดสินของท่านเอง โอกาสอย่างนั้นคงเป็นสิ่งที่ท่านประธานองคมนตรี จะตัดสินใจเอง ตนคงไม่สามารถไปคาดเดา เพราะตนก็ทำงานกันท่านมานาน และบอกได้ว่าไปเดาความคิดของท่านนี้ยากมาก
ส่วน ปัจจัยระดับสูงที่จะทำให้สมานฉันท์อยู่ที่ พล.อ.เปรม หรือไม่นั้น พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ทราบจริงๆว่ามีข่าวมาอย่างไร และจะเป็นอย่างไร ซึ่งตนตอบได้เฉพาะในส่วนของตนเองว่า ไม่ได้รับการติดต่อ ไม่ได้มีการโทรศัพท์มาพูดคุยกัน
เมื่อถามว่า เวลานี้บางฝ่ายโดยเฉพาะพรรคพลังประชาชน เกรงว่า มีมือที่มองไม่เห็นมาจัดตั้งรัฐบาล ในฐานะเป็นรัฐบาลยืนยันได้หรือไม่ จะเป็นไปตามครรลอง พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้เกี่ยวกับรัฐบาลของาตนเลย เป็นเรื่องของทางพรรคการเมืองที่จะพูดคุยกัน ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ฉะนั้นไม่ว่าจะมีมือ หรือไม่มีมือ ตนก็ไม่ทราบ