สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเลือกแบบร่างพระเมรุเศวตฉัตร 7 ชั้น ยอดปราสาทในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ “คุณหญิงไขศรี” เผยทรงพอพระราชหฤทัยหลังทอดพระเนตรพร้อมพระราชทานคำแนะนำให้ขยายทางเดินให้กว้างมากขึ้น “นอ.อาวุธ” ระบุจะเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างด้วยเหมือนเมื่อครั้งสมเด็จย่า "สุรยุทธ์" เผยงบจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ 300ล้าน พร้อมตั้งคณะกรรมการ 5 คณะประสานจัดงานฯ มี "ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย" เป็นที่ปรึกษา
วานนี้ (8 ม.ค.) เวลา 06.53 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงวางพวงมาลาของโรงเรียนจิตรลดา และสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนจิตรลดา จากนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรมจำนวน 8 รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม ที่สวดพระอภิธรรมพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
จากนั้นช่วงค่ำเวลา 19.05 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมายังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยมีพระสงฆ์จากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ และวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นผู้สวดพระพิธีธรรม
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ส่งพระราชสาส์น
สำหรับบรรยากาศการลงนามถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง วานนี้ (8 ม.ค.) สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้ตั้งแต่เวลา 07.50 น. ซึ่งมีประชาชน นักเรียน นักศึกษา เดินทางมาลงนามถวายสักการะอย่างเนืองแน่นตลอดช่วงเช้า
เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้เดินทางมาลงนามถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งกล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ม.ค. สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ทรงส่งพระราชสาส์นมาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีใจความว่า
“ฝ่าพระบาท หม่อมฉันรู้สึกเศร้าเสียใจยิ่ง ที่ได้รับทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ นับเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนชาวไทย หม่อมฉันขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง”
จากนั้น นายควินตัน เควลย์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษมีมาอย่างแนบแน่นโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งตนเองที่อยู่ประเทศไทยมา 25 ปี เห็นท่านทรงงานหนักมาโดยตลอด อาทิ การช่วยเหลือชาวบ้านผู้ยากไร้ งานทางด้านการศึกษา และสาธารณสุข
UNHCR-ทูตแคนาดา ลงนามถวายความอาลัย
นายกุยเซปเป เดอ แวงซองตีส์ (Giuseppe de Vincentis) รองผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR และนายเดวิด สปรูล (H.E.Mr.David Sproule) เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย เดินทางเข้าร่วมลงนามถวายความอาลัยและถวายสักการะหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
นอกจากนี้ ยังมี นายคาร์อิล อัล คาร์ยัด เอกอัครราชทูตบาห์เรนประจำประเทศไทย, กงสุลกิตติมศักดิ์จากสาธารณรัฐไซปรัส, นายริชาร์ด ไตต๊าส เอไกร เอกอัครราชทูตเคนย่าประจำประเทศไทย, นายปาปาโด ปูลอส เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตจากประเทศเยเมน, โมร็อกโก, เวเนซูเอลา, อิหร่าน ร่วมถวายความอาลัยด้วย
บุคคลสำคัญในไทยร่วมไว้อาลัย
บุคคลสำคัญในประเทศไทย ได้ทยอยเดินทางมาร่วมลงนามไว้อาลัยกันอย่างหนาตา อาทิ พล.อ.พิศณุ อุไรเลิศ เจ้ากรมเสมียนตรา พร้อมคณะเจ้าหน้าที่จากกรมเสมียนตรา พล.ต.กิตติพล ภัคโชตานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พล.อ.เรืองชัย เรืองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และประธานมูลนิธิสถาบันราชานุกูลในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และคุณหญิงสรัสนันท์ เรืองตระกูล, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.,พล.อ.ประวิทย์ วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ.,พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก และภริยา, นายวราเทพ รัตนากร,นายสมศักดิ์ และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน, นายไพบูลย์ วรไพฑูรย์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ, คุณหญิงรังสิมา หวั่งหลี
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทัพบกได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อสร้างมูลนิธิภูมิราชนครินทร์ ซึ่งเป็นมูลนิธิทางวิชาการเกี่ยวกับโรคไต โดยจะให้การสนับสนุนเรื่องสถานที่ จนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
เหล่าศิลปินถวายสักการะพระศพ
สำหรับเหล่าศิลปินดารา นักร้องนั้น ก็ได้เดินทางมาร่วมลงนามถวายสักการะเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ผู้บริหารของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้นำศิลปินนักร้องในสังกัด อาทิ ฟิล์ม-รัฐภูมิ โตคงทรัพย์, ลีเดีย-ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา มาร่วมถวายความอาลัย ส่วนค่ายแกรมมี่นำทีมโดย นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม, นายธงไชย แมคอินไตย์ นอกจากนี้ ยังมีสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย นำโดย นายสุเทพ วงศ์กำแหง และ ม.ร.ว.พรระพี อาภากร เป็นตัวแทนของราชสกุลอาภากร เข้าร่วมถวายสักการะด้วย
นอกจากนี้ เหล่าศิลปินตลก นำโดย นายศรสุทธา กลั่นมาลี หรือ ถั่วแระ เชิญยิ้ม นายกสมาคมตลกแห่งประเทศไทย นำคณะตลกกว่า 100 คน เดินทางมาร่วมถวายพวงมาลา และร่วมลงนามถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ พร้อมตั้งใจว่าจะร่วมอุปสมบทหมู่จำนวน 84 คน ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเป็นเวลา 7 วัน
ยอดลงนามทะลุแสนแล้ว
ส่วนยอดลงนามถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง หลังจากปิดให้ลงนามในเวลา 17.00 น. มีประชาชนมาลงนาม 22,978 คน รวม 6 วัน มียอดลงนามทั้งสิ้น 118,235 คน แยกเป็นทูตานุทูต 16 ประเทศ แขกวีไอพี 900 คน พวงมาลา 105 พวง ยอดเงินทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยวันนี้ 619,117.50 บาท รวม 6 วัน มียอดเงินทั้งสิ้น 2,283,075 บาท
สำหรับการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคล องค์การ สมาคมต่างๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลถวายเป็นประจำทุกวันตั้งแต่วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป จนถึงการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพนั้น คณะบุคคล องค์การ สมาคม ติดต่อขอร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ ประจำทุกวัน โดยทำหนังสือถึงเลขาธิการพระราชวัง สอบถามรายละเอียดที่สำนักงานเลขานุการกรม โทรศัพท์ 0-2224-3273, 0-2224-3333 โทรสาร 0-2226-4949
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวังเปิดเผยถึงวิธีการแจ้งความจำนงว่า ขอให้ทำเป็นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักพระราชวัง โดยทำตามแบบฟอร์มการทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการส่งตามปกติ จากนั้นทางสำนักพระราชวังจะมีหนังสือตอบกลับ เพื่อแจ้งรายละเอียดของการเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพกลับไปในภายหลัง
สมเด็จพระเทพฯ ทรงเลือกพระเมรุ 7 ชั้น
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ว่า ในช่วงเช้า ตนพร้อมด้วย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ. นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร และ นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานออกแบบร่างพระเมรุเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำแบบร่างพระเมรุที่ นอ.อาวุธ ออกแบบจำนวน 2 แบบ เป็นแบบฉัตร 5 ชั้น และฉัตร 7 ชั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเลือกแบบร่างพระเมรุที่มียอดฉัตร 7 ชั้น โดยภาพรวมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพอพระราชหฤทัยการออกแบบร่างพระเมรุ อย่างไรก็ตามพระราชทานคำแนะนำให้ น.อ.อาวุธ ปรับปรุงรายละเอียดบางส่วน อาทิ การปรับพื้นที่ทางเดินให้มีความกว้างมากยิ่งขึ้น เป็นต้น ซึ่ง น.อ.อาวุธ รีบนำมาปรับปรุง แล้วเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ในช่วงบ่ายทันที เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ คัดเลือกแบบร่างพระเมรุฯ ดังกล่าวแล้ว ทางรัฐบาลจะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป”
ยังไม่สรุปเรื่องราชรถเคลื่อนพระศพ
รมว.วัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของ วธ. นั้นที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้มอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ ก่อสร้างพระเมรุฯ และการเตรียมความพร้อม สำรวจซ่อมแซมราชรถ และพระยานมาศสามลำคาน สำหรับอัญเชิญพระศพเคลื่อนขบวนพระศพเข้าสู่พระเมรุ รวมทั้งให้จัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้หารือว่าจะต้องมีการอัญเชิญราชรถองค์ใดออกมาใช้ระหว่างพระมหาพิชัยราชรถกับพระเวชยันตราชรถ
“เบื้องต้นที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการเตรียมจัดหาทรัพยากรต่างๆ สำหรับสร้างพระเมรุ ไม่ว่าจะเป็น กำลังคน ช่างฝีมือ และไม้จัดหอมที่เป็นวัสดุสำคัญที่ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จะต้องนำมาฉลุลวดลายเพื่อใช้เป็นเครื่องทรงใหญ่ประกอบพระอิสริยยศ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างพระเมรุฯ จะต้องดำเนินการอย่างรัดกุม ไม่จำเป็นต้องเร่งรัดเกินไป เพราะเป็นของช่างศิลป์ที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการก่อสร้างพระเมรุให้มีความสวยงามและสมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ"รมว.วัฒนธรรม กล่าว
นอ.อาวุธเผยรายละเอียดสร้างพระเมรุ
นอ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะออกแบบพระเมรุกล่าวว่าพระเทพรัตนราชสุดาสยามมุงกุฎราชกุมารี ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ร่างแบบพระเมรุโดยทรงพระกรุณาให้ใช้แบบยอดปราสาท ซึ่งคล้ายๆ กับสมัยงานพระราชพิธีสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี นอกจากนี้ในการประดับตกแต่งพระเมรุจะประดิษฐ์ด้วยลายซ้อนไม้ เพราะเป็นลายฉลุซ้อนๆ กัน จะไม่ใช้งานแกะสลักเหมือนกับของจริง เพราะพระเมรุจะทำเป็นงานลำลอง ซึ่งจะต้องประดิษฐ์อย่างง่ายๆ ให้ดูเหมือนลักษณะของจริง เพราะฉะนั้นในงานติดทองจะไม่ใช่ทองจริง แต่จะใช้การติดกระดาษทองแทน พร้อมกับประดับกระจกถือเป็นวิธีการเฉพาะที่จะใช้กับพระเมรุเท่านั้น
“ระยะเวลาในการสร้างพระเมรุนั้น ในช่วงสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี ใช้เวลา ประมาณ 6-7 เดือน แต่ครั้งนี้งานพระศพพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ก็จะใช้เวลาประมาณเท่ากัน ซึ่งคราวนี้เข้าช่วงฤดูฝนด้วยแต่ก็จะไม่มีปัญหา”
นอ.อาวุธกล่าวอีกว่า หลังจากนี้ไปจะต้องไปทำรายละเอียดเพิ่มเติมในด้านโครงสร้าง อย่างไรก็ตามจะใช้โครงสร้างที่ทำมาจากเหล็กและจะไม่ใช่ไม้เพราะไม้หายาก แต่ในช่วงสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนีใช้ไม้ทั้งหมด แต่คิดว่าครั้งนี้จะเปลี่ยนวิธีการเพราะไม้หายาก อย่างไรก็ตามจะใช้โครงสร้างที่ทำมาจากเหล็กเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีบางที่จะใช้ไม้อัดเข้ามาห่อหุ้มแทน เช่น เสา ซึ่งภายนอกอาจจะมองเห็นเป็นเสาไม้ใหญ่แต่ภายในเป็นเหล็กที่บุด้วยไม้อัด
นอ.อาวุธ กล่าวอีกว่า พระเมรุของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จะใช้ยอดปราสาท แต่อย่างไรก็ตามยอดพระเมรุมาศมีความแตกต่างกันหลายแบบ เช่น ยอดมณฑปสูงที่สุด รองลงมาคือ ยอดปราสาท และยอดเกี้ยวรองลงไป ซึ่งยอดเกี้ยวใช้ทำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี
“ยอดพระเมรุมาศมีหลายแบบ เช่น ยอดปรางค์ ยอดเจดีย์ แต่ละลักษณะนำมาใช้เป็นยอดเมรุมาศได้ทั้งนั้น แต่ขึ้นอยู่กับระดับศักดิ์ที่ทำให้แตกต่างกัน โดยเฉพาะยอดมณฑป จะใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น เพราะ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 , 6 และ 8 ใช้ยอดมณฑปที่แสดงถึงฐานานุศักดิ์ ที่ถือว่าสูงที่สุด”นอ.อาวุธ กล่าว
เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม
นอ.อาวุธ กล่าวอีกว่า สำหรับกำลังคนที่จะใช้ในการก่อสร้างจะเน้นในงานโครงสร้างเป็นหลักซึ่งจะใช้ระบบจ้างเหมา ส่วนเป็นรายละเอียดในงานปราณีตศิลป์จะให้ทางกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ เช่น รูปเทวดา ฉัตรเครื่องสูง และ พระโกศจันทร์ เช่นเดียวกับครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี จะใช้กำลังคนจำนวนมาก ที่สำคัญจะเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไปให้เข้ามาช่วยสร้างพระเมรุด้วย เหมือนสมัยพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี
นอ.อาวุธอธิบายเพิ่มเติมว่าสำหรับพระเมรุมาศเป็นลักษณะสถาปัตยกรรม ที่มีชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น ก่อนจะมีฉัตรตามพระราชอิสริยศ แต่งานพระศพพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งนี้เป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น โดยมีเค้าร่างของแบบเดิมมาจากสมัยสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีที่เคยสร้างมา ยอมรับว่างดงามอย่างมาก แต่เชื่อมั่นว่า การก่อสร้างพระเมรุครั้งนี้จะไม่ลำบาก เพราะได้มีประสบการณ์จากการจัดสร้างพระเมรุของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี และพระเมรุนี้จะมีลิฟต์เพื่อใช้ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ขึ้นไปบนพระเมรุด้วย
"เอกลักษณ์ของพระเมรุที่จะใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อยู่ที่หน้าบันทั้ง 4 ทิศ เนื่องจากได้อัญเชิญตราพระราชลัญจกร กว ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาประดิษฐานที่หน้าบันของพระเมรุทั้ง 4 ด้านด้วย”นอ.อาวุธ กล่าว
"สุรยุทธ์" เผยงบจัดพระราชพิธี 300 ล้าน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ครั้งที่ 1 /2551 ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล ว่า ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลการจัดงาน 5 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการดูแลเรื่องพระเมรุ คณะกรรมการดูแลในเรื่องการประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการดูแลเรื่องการจัดทำของที่ระลึด จดหมายเหตุต่างๆ
ทั้งนี้ ในเรื่องที่จะต้องดูแลเรื่องพระเมรุ และพระราชยานพาหนะ อัญเชิญพระศพ ก็เป็นเรื่องที่ถือว่ามีความเร่งด่วนที่ต้องดูแลขณะนี้ ส่วนเรื่องที่มีความสำคัญลำดับรองลงไปคือ การจัดการ เพราะว่ามีพี่น้องประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานพระราชพิธีเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะด้วยการถวายของ ถวายเงิน ก็เตรียมการว่าจะมีวิธีการอย่างไร สำหรับต่างจังหวัดก็มีการรวบรวมเงินทอง ข้าวของต่างๆ เหล่านี้ โดยมีมูลนิธิในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงดูแลอยู่ 2 มูลนิธิ ก็รับบริจาคในส่วนเหล่านั้นได้ ส่วนรายละเอียดจะมีการชี้แจงตามคณะกรรมการแต่ละคณะตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
เมื่อถามว่า กำหนดงบประมาณไว้หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในขณะนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเบื้องต้นที่จะใช้ในงานพระราชพิธี 300 ล้านบาท
ครม.เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการจัดงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ รับทราบคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรีที่ 4 / 2551 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อและองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเปลี่ยนแปลงชื่อ คณะกรรมการฯ เป็น "คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบังเกิดความคล่องตัว คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ จึงเห็นควรมอบให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการจัดงานฯ มีอำนาจในการพิจารณาสั่งการกรณีเรื่องเร่งด่วน และจำเป็นที่ไม่อาจจะนำเสนอพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้ทัน โดยให้นำผลการพิจารณาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ เพื่อทราบในแต่ละคราว
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลง และแต่งตั้งกรรมการลำดับที่ 1.11 ขึ้นใหม่ คือ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นที่ปรึกษา และให้เปลี่ยนแปลง และแต่งตั้งกรรมการลำดับที่ 1.12 และ1.32 คือ คุณหญิงดรุณี พูลทรัพย์ และเลขาธิการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นกรรมการ และให้แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมจำนวน 4 ราย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองราชเลขาธิการ (ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ) เลขาธิการมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย และ นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น
ทั้งนี้ในส่วนของผู้ที่ประสงค์จะบริจาคเครื่องดื่ม อาหาร หรือสิ่งของให้กับประชาชนที่เดินทางมาร่วมถวายสักการะและไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ สามารถบริจาคให้กับโรงทานที่ท้องสนามหลวง ซึ่งโรงทานดังกล่าวดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่ประสงค์บริจาคเงินเข้ากองทุน โดยเสด็จพระราชกุศล สามารถบริจาคได้ที่สำนักพระราชวัง
ตั้ง 5 คณะฯ ช่วยจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานฯ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆรวม 5 คณะ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ดังนี้
1.คณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิง ฑิพาวดี เมฆสวรรค์) เป็นประธานกรรทการ และ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย จาดุล อภิชาตบุตร ) เป็นกรรมการและเลขานุการ
2.คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ และบูรณปฏิสังขรณ์ และพระยานมาศ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี ( นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ) เป็นประธานกรรมการ และอธิบดีกรมศิลปกรเป็นกรรมการและเลขานุการ
3.คณะกรรการฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงานการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) เป็นกรรมการและอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นกรรมการและเลขานุการ
4.คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการจราจร โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ และรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (พลตำรวจตรี ภาณุ เกิดลาภผล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
5.คณะกรรมการฝ่ายจัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นกรรมการ และรองอธิบดีกรมศิลปากร (นาง สมลักษณ์ เจริญผล ) เป็นกรรมการและเลขานุการ
นอกจากนี้คณะกรรมการจัดงานฯ มอบหมายกระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์จัดสร้างเหรีญญที่ระลึก 3 ประเภท คือ ทองคำ เงิน และทองแดง ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำสมทบเข้ากองทุนโดนเสด็จพระราชกุศล
วานนี้ (8 ม.ค.) เวลา 06.53 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงวางพวงมาลาของโรงเรียนจิตรลดา และสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนจิตรลดา จากนั้นทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเช้าแด่พระพิธีธรรมจำนวน 8 รูป จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม ที่สวดพระอภิธรรมพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
จากนั้นช่วงค่ำเวลา 19.05 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมายังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสดับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ โดยมีพระสงฆ์จากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ และวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นผู้สวดพระพิธีธรรม
ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ส่งพระราชสาส์น
สำหรับบรรยากาศการลงนามถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง วานนี้ (8 ม.ค.) สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะได้ตั้งแต่เวลา 07.50 น. ซึ่งมีประชาชน นักเรียน นักศึกษา เดินทางมาลงนามถวายสักการะอย่างเนืองแน่นตลอดช่วงเช้า
เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ได้เดินทางมาลงนามถวายสักการะพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง พร้อมทั้งกล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ม.ค. สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ทรงส่งพระราชสาส์นมาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีใจความว่า
“ฝ่าพระบาท หม่อมฉันรู้สึกเศร้าเสียใจยิ่ง ที่ได้รับทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ นับเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนชาวไทย หม่อมฉันขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง”
จากนั้น นายควินตัน เควลย์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษมีมาอย่างแนบแน่นโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งตนเองที่อยู่ประเทศไทยมา 25 ปี เห็นท่านทรงงานหนักมาโดยตลอด อาทิ การช่วยเหลือชาวบ้านผู้ยากไร้ งานทางด้านการศึกษา และสาธารณสุข
UNHCR-ทูตแคนาดา ลงนามถวายความอาลัย
นายกุยเซปเป เดอ แวงซองตีส์ (Giuseppe de Vincentis) รองผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR และนายเดวิด สปรูล (H.E.Mr.David Sproule) เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย เดินทางเข้าร่วมลงนามถวายความอาลัยและถวายสักการะหน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
นอกจากนี้ ยังมี นายคาร์อิล อัล คาร์ยัด เอกอัครราชทูตบาห์เรนประจำประเทศไทย, กงสุลกิตติมศักดิ์จากสาธารณรัฐไซปรัส, นายริชาร์ด ไตต๊าส เอไกร เอกอัครราชทูตเคนย่าประจำประเทศไทย, นายปาปาโด ปูลอส เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูตจากประเทศเยเมน, โมร็อกโก, เวเนซูเอลา, อิหร่าน ร่วมถวายความอาลัยด้วย
บุคคลสำคัญในไทยร่วมไว้อาลัย
บุคคลสำคัญในประเทศไทย ได้ทยอยเดินทางมาร่วมลงนามไว้อาลัยกันอย่างหนาตา อาทิ พล.อ.พิศณุ อุไรเลิศ เจ้ากรมเสมียนตรา พร้อมคณะเจ้าหน้าที่จากกรมเสมียนตรา พล.ต.กิตติพล ภัคโชตานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พล.อ.เรืองชัย เรืองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และประธานมูลนิธิสถาบันราชานุกูลในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และคุณหญิงสรัสนันท์ เรืองตระกูล, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.,พล.อ.ประวิทย์ วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ทบ.,พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก และภริยา, นายวราเทพ รัตนากร,นายสมศักดิ์ และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน, นายไพบูลย์ วรไพฑูรย์ เลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ, คุณหญิงรังสิมา หวั่งหลี
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทัพบกได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการก่อสร้างมูลนิธิภูมิราชนครินทร์ ซึ่งเป็นมูลนิธิทางวิชาการเกี่ยวกับโรคไต โดยจะให้การสนับสนุนเรื่องสถานที่ จนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
เหล่าศิลปินถวายสักการะพระศพ
สำหรับเหล่าศิลปินดารา นักร้องนั้น ก็ได้เดินทางมาร่วมลงนามถวายสักการะเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ผู้บริหารของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ได้นำศิลปินนักร้องในสังกัด อาทิ ฟิล์ม-รัฐภูมิ โตคงทรัพย์, ลีเดีย-ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา มาร่วมถวายความอาลัย ส่วนค่ายแกรมมี่นำทีมโดย นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม, นายธงไชย แมคอินไตย์ นอกจากนี้ ยังมีสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย นำโดย นายสุเทพ วงศ์กำแหง และ ม.ร.ว.พรระพี อาภากร เป็นตัวแทนของราชสกุลอาภากร เข้าร่วมถวายสักการะด้วย
นอกจากนี้ เหล่าศิลปินตลก นำโดย นายศรสุทธา กลั่นมาลี หรือ ถั่วแระ เชิญยิ้ม นายกสมาคมตลกแห่งประเทศไทย นำคณะตลกกว่า 100 คน เดินทางมาร่วมถวายพวงมาลา และร่วมลงนามถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ พร้อมตั้งใจว่าจะร่วมอุปสมบทหมู่จำนวน 84 คน ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเป็นเวลา 7 วัน
ยอดลงนามทะลุแสนแล้ว
ส่วนยอดลงนามถวายความอาลัยแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง หลังจากปิดให้ลงนามในเวลา 17.00 น. มีประชาชนมาลงนาม 22,978 คน รวม 6 วัน มียอดลงนามทั้งสิ้น 118,235 คน แยกเป็นทูตานุทูต 16 ประเทศ แขกวีไอพี 900 คน พวงมาลา 105 พวง ยอดเงินทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยวันนี้ 619,117.50 บาท รวม 6 วัน มียอดเงินทั้งสิ้น 2,283,075 บาท
สำหรับการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคล องค์การ สมาคมต่างๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลถวายเป็นประจำทุกวันตั้งแต่วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป จนถึงการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพนั้น คณะบุคคล องค์การ สมาคม ติดต่อขอร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลถวายพระศพ ประจำทุกวัน โดยทำหนังสือถึงเลขาธิการพระราชวัง สอบถามรายละเอียดที่สำนักงานเลขานุการกรม โทรศัพท์ 0-2224-3273, 0-2224-3333 โทรสาร 0-2226-4949
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น นายรัตนาวุธ วัชโรทัย ที่ปรึกษาฝ่ายกิจกรรมพิเศษ สำนักพระราชวังเปิดเผยถึงวิธีการแจ้งความจำนงว่า ขอให้ทำเป็นหนังสือถึงเลขาธิการสำนักพระราชวัง โดยทำตามแบบฟอร์มการทำหนังสือถึงหน่วยงานราชการส่งตามปกติ จากนั้นทางสำนักพระราชวังจะมีหนังสือตอบกลับ เพื่อแจ้งรายละเอียดของการเข้าร่วมเป็นเจ้าภาพกลับไปในภายหลัง
สมเด็จพระเทพฯ ทรงเลือกพระเมรุ 7 ชั้น
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่มี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ว่า ในช่วงเช้า ตนพร้อมด้วย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัด วธ. นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากร และ นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นประธานคณะทำงานออกแบบร่างพระเมรุเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อนำแบบร่างพระเมรุที่ นอ.อาวุธ ออกแบบจำนวน 2 แบบ เป็นแบบฉัตร 5 ชั้น และฉัตร 7 ชั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
“สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเลือกแบบร่างพระเมรุที่มียอดฉัตร 7 ชั้น โดยภาพรวมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพอพระราชหฤทัยการออกแบบร่างพระเมรุ อย่างไรก็ตามพระราชทานคำแนะนำให้ น.อ.อาวุธ ปรับปรุงรายละเอียดบางส่วน อาทิ การปรับพื้นที่ทางเดินให้มีความกว้างมากยิ่งขึ้น เป็นต้น ซึ่ง น.อ.อาวุธ รีบนำมาปรับปรุง แล้วเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ในช่วงบ่ายทันที เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ คัดเลือกแบบร่างพระเมรุฯ ดังกล่าวแล้ว ทางรัฐบาลจะทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัยต่อไป”
ยังไม่สรุปเรื่องราชรถเคลื่อนพระศพ
รมว.วัฒนธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของ วธ. นั้นที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้มอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องการออกแบบ ก่อสร้างพระเมรุฯ และการเตรียมความพร้อม สำรวจซ่อมแซมราชรถ และพระยานมาศสามลำคาน สำหรับอัญเชิญพระศพเคลื่อนขบวนพระศพเข้าสู่พระเมรุ รวมทั้งให้จัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้หารือว่าจะต้องมีการอัญเชิญราชรถองค์ใดออกมาใช้ระหว่างพระมหาพิชัยราชรถกับพระเวชยันตราชรถ
“เบื้องต้นที่ประชุมมอบหมายให้ดำเนินการเตรียมจัดหาทรัพยากรต่างๆ สำหรับสร้างพระเมรุ ไม่ว่าจะเป็น กำลังคน ช่างฝีมือ และไม้จัดหอมที่เป็นวัสดุสำคัญที่ช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จะต้องนำมาฉลุลวดลายเพื่อใช้เป็นเครื่องทรงใหญ่ประกอบพระอิสริยยศ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างพระเมรุฯ จะต้องดำเนินการอย่างรัดกุม ไม่จำเป็นต้องเร่งรัดเกินไป เพราะเป็นของช่างศิลป์ที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการก่อสร้างพระเมรุให้มีความสวยงามและสมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ"รมว.วัฒนธรรม กล่าว
นอ.อาวุธเผยรายละเอียดสร้างพระเมรุ
นอ.อาวุธ เงินชูกลิ่น ในฐานะเป็นหัวหน้าคณะออกแบบพระเมรุกล่าวว่าพระเทพรัตนราชสุดาสยามมุงกุฎราชกุมารี ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ร่างแบบพระเมรุโดยทรงพระกรุณาให้ใช้แบบยอดปราสาท ซึ่งคล้ายๆ กับสมัยงานพระราชพิธีสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี นอกจากนี้ในการประดับตกแต่งพระเมรุจะประดิษฐ์ด้วยลายซ้อนไม้ เพราะเป็นลายฉลุซ้อนๆ กัน จะไม่ใช้งานแกะสลักเหมือนกับของจริง เพราะพระเมรุจะทำเป็นงานลำลอง ซึ่งจะต้องประดิษฐ์อย่างง่ายๆ ให้ดูเหมือนลักษณะของจริง เพราะฉะนั้นในงานติดทองจะไม่ใช่ทองจริง แต่จะใช้การติดกระดาษทองแทน พร้อมกับประดับกระจกถือเป็นวิธีการเฉพาะที่จะใช้กับพระเมรุเท่านั้น
“ระยะเวลาในการสร้างพระเมรุนั้น ในช่วงสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี ใช้เวลา ประมาณ 6-7 เดือน แต่ครั้งนี้งานพระศพพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ก็จะใช้เวลาประมาณเท่ากัน ซึ่งคราวนี้เข้าช่วงฤดูฝนด้วยแต่ก็จะไม่มีปัญหา”
นอ.อาวุธกล่าวอีกว่า หลังจากนี้ไปจะต้องไปทำรายละเอียดเพิ่มเติมในด้านโครงสร้าง อย่างไรก็ตามจะใช้โครงสร้างที่ทำมาจากเหล็กและจะไม่ใช่ไม้เพราะไม้หายาก แต่ในช่วงสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนีใช้ไม้ทั้งหมด แต่คิดว่าครั้งนี้จะเปลี่ยนวิธีการเพราะไม้หายาก อย่างไรก็ตามจะใช้โครงสร้างที่ทำมาจากเหล็กเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจจะมีบางที่จะใช้ไม้อัดเข้ามาห่อหุ้มแทน เช่น เสา ซึ่งภายนอกอาจจะมองเห็นเป็นเสาไม้ใหญ่แต่ภายในเป็นเหล็กที่บุด้วยไม้อัด
นอ.อาวุธ กล่าวอีกว่า พระเมรุของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ จะใช้ยอดปราสาท แต่อย่างไรก็ตามยอดพระเมรุมาศมีความแตกต่างกันหลายแบบ เช่น ยอดมณฑปสูงที่สุด รองลงมาคือ ยอดปราสาท และยอดเกี้ยวรองลงไป ซึ่งยอดเกี้ยวใช้ทำถวายสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี
“ยอดพระเมรุมาศมีหลายแบบ เช่น ยอดปรางค์ ยอดเจดีย์ แต่ละลักษณะนำมาใช้เป็นยอดเมรุมาศได้ทั้งนั้น แต่ขึ้นอยู่กับระดับศักดิ์ที่ทำให้แตกต่างกัน โดยเฉพาะยอดมณฑป จะใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น เพราะ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 , 6 และ 8 ใช้ยอดมณฑปที่แสดงถึงฐานานุศักดิ์ ที่ถือว่าสูงที่สุด”นอ.อาวุธ กล่าว
เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม
นอ.อาวุธ กล่าวอีกว่า สำหรับกำลังคนที่จะใช้ในการก่อสร้างจะเน้นในงานโครงสร้างเป็นหลักซึ่งจะใช้ระบบจ้างเหมา ส่วนเป็นรายละเอียดในงานปราณีตศิลป์จะให้ทางกรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ เช่น รูปเทวดา ฉัตรเครื่องสูง และ พระโกศจันทร์ เช่นเดียวกับครั้งสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี จะใช้กำลังคนจำนวนมาก ที่สำคัญจะเปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไปให้เข้ามาช่วยสร้างพระเมรุด้วย เหมือนสมัยพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี
นอ.อาวุธอธิบายเพิ่มเติมว่าสำหรับพระเมรุมาศเป็นลักษณะสถาปัตยกรรม ที่มีชั้นเชิงกลอน 5 ชั้น ก่อนจะมีฉัตรตามพระราชอิสริยศ แต่งานพระศพพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครั้งนี้เป็นเศวตฉัตร 7 ชั้น โดยมีเค้าร่างของแบบเดิมมาจากสมัยสมเด็จพระปิตุฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีที่เคยสร้างมา ยอมรับว่างดงามอย่างมาก แต่เชื่อมั่นว่า การก่อสร้างพระเมรุครั้งนี้จะไม่ลำบาก เพราะได้มีประสบการณ์จากการจัดสร้างพระเมรุของสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชนนี และพระเมรุนี้จะมีลิฟต์เพื่อใช้ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ขึ้นไปบนพระเมรุด้วย
"เอกลักษณ์ของพระเมรุที่จะใช้ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ อยู่ที่หน้าบันทั้ง 4 ทิศ เนื่องจากได้อัญเชิญตราพระราชลัญจกร กว ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาประดิษฐานที่หน้าบันของพระเมรุทั้ง 4 ด้านด้วย”นอ.อาวุธ กล่าว
"สุรยุทธ์" เผยงบจัดพระราชพิธี 300 ล้าน
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ครั้งที่ 1 /2551 ณ ตึกสันติไมตรีหลังใน ทำเนียบรัฐบาล ว่า ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลการจัดงาน 5 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการดูแลเรื่องพระเมรุ คณะกรรมการดูแลในเรื่องการประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการดูแลเรื่องการจัดทำของที่ระลึด จดหมายเหตุต่างๆ
ทั้งนี้ ในเรื่องที่จะต้องดูแลเรื่องพระเมรุ และพระราชยานพาหนะ อัญเชิญพระศพ ก็เป็นเรื่องที่ถือว่ามีความเร่งด่วนที่ต้องดูแลขณะนี้ ส่วนเรื่องที่มีความสำคัญลำดับรองลงไปคือ การจัดการ เพราะว่ามีพี่น้องประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานพระราชพิธีเป็นส่วนมาก ไม่ว่าจะด้วยการถวายของ ถวายเงิน ก็เตรียมการว่าจะมีวิธีการอย่างไร สำหรับต่างจังหวัดก็มีการรวบรวมเงินทอง ข้าวของต่างๆ เหล่านี้ โดยมีมูลนิธิในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงดูแลอยู่ 2 มูลนิธิ ก็รับบริจาคในส่วนเหล่านั้นได้ ส่วนรายละเอียดจะมีการชี้แจงตามคณะกรรมการแต่ละคณะตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
เมื่อถามว่า กำหนดงบประมาณไว้หรือไม่ พล.อ.สุรยุทธ์ กล่าวว่า ในขณะนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเบื้องต้นที่จะใช้ในงานพระราชพิธี 300 ล้านบาท
ครม.เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการจัดงาน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ รับทราบคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรีที่ 4 / 2551 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อและองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยเปลี่ยนแปลงชื่อ คณะกรรมการฯ เป็น "คณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"
นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินงานจัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบังเกิดความคล่องตัว คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ จึงเห็นควรมอบให้นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการจัดงานฯ มีอำนาจในการพิจารณาสั่งการกรณีเรื่องเร่งด่วน และจำเป็นที่ไม่อาจจะนำเสนอพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ได้ทัน โดยให้นำผลการพิจารณาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ เพื่อทราบในแต่ละคราว
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลง และแต่งตั้งกรรมการลำดับที่ 1.11 ขึ้นใหม่ คือ ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม เป็นที่ปรึกษา และให้เปลี่ยนแปลง และแต่งตั้งกรรมการลำดับที่ 1.12 และ1.32 คือ คุณหญิงดรุณี พูลทรัพย์ และเลขาธิการมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นกรรมการ และให้แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมจำนวน 4 ราย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองราชเลขาธิการ (ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ) เลขาธิการมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย และ นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น
ทั้งนี้ในส่วนของผู้ที่ประสงค์จะบริจาคเครื่องดื่ม อาหาร หรือสิ่งของให้กับประชาชนที่เดินทางมาร่วมถวายสักการะและไว้อาลัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ สามารถบริจาคให้กับโรงทานที่ท้องสนามหลวง ซึ่งโรงทานดังกล่าวดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้ที่ประสงค์บริจาคเงินเข้ากองทุน โดยเสด็จพระราชกุศล สามารถบริจาคได้ที่สำนักพระราชวัง
ตั้ง 5 คณะฯ ช่วยจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพ
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการการจัดงานฯ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆรวม 5 คณะ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฯ ดังนี้
1.คณะกรรมการฝ่ายจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิง ฑิพาวดี เมฆสวรรค์) เป็นประธานกรรทการ และ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย จาดุล อภิชาตบุตร ) เป็นกรรมการและเลขานุการ
2.คณะกรรมการฝ่ายจัดสร้างพระเมรุ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุ และบูรณปฏิสังขรณ์ และพระยานมาศ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี ( นาย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ) เป็นประธานกรรมการ และอธิบดีกรมศิลปกรเป็นกรรมการและเลขานุการ
3.คณะกรรการฝ่ายประชาสัมพันธ์และประสานงานการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์) เป็นกรรมการและอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นกรรมการและเลขานุการ
4.คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและการจราจร โดยมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธานกรรมการ และรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (พลตำรวจตรี ภาณุ เกิดลาภผล) เป็นกรรมการและเลขานุการ
5.คณะกรรมการฝ่ายจัดทำจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นกรรมการ และรองอธิบดีกรมศิลปากร (นาง สมลักษณ์ เจริญผล ) เป็นกรรมการและเลขานุการ
นอกจากนี้คณะกรรมการจัดงานฯ มอบหมายกระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์จัดสร้างเหรีญญที่ระลึก 3 ประเภท คือ ทองคำ เงิน และทองแดง ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำสมทบเข้ากองทุนโดนเสด็จพระราชกุศล