อยู่ดี ๆ นายตำรวจคนหนึ่งที่แทบไม่เคยมีชื่อปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์มาก่อนก็กลายมาเป็นคนดังไปได้ชั่วข้ามคืน เพราะคนใหญ่คนโตของพรรคพลังประชาชนดาหน้าออกมาขอให้ย้ายตัวเขาพ้นไปจากงานสืบสวนสอบสวนของ กกต. โดยอ้างว่าเขาเป็นคนสนิทของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตหนึ่งในห้าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ถ้าไม่เรียกว่า “ความบังเอิญทางประวัติศาสตร์” ก็เห็นจะต้องบอกว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์...
“ธรรมะจัดระเบียบ”
ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เป็นนายตำรวจฝีมือดีมาก ๆ คนหนึ่ง ติดยศ พล.ต.ต. เป็นคนแรก ๆ ของรุ่นด้วยวัยห่างจากเลข 50 หลายปี ผ่านงานสืบสวนสอบสวนมาอย่างโชกโชน โดยเฉพาะด้านคดีเศรษฐกิจ
แต่ชีวิตเขาห่างไกลจาก กกต. เหลือเกินเมื่อ 2 ปีก่อน
เป็นความบังเอิญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้รัฐบาลชุดที่แล้วหน้ามืดตามัวเหิมเกริมในอำนาจผลักดันให้เกิดการย้ายเขาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองบังคับการหนึ่งใน สตม. หรือสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ออกมาเป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พูดง่าย ๆ ว่าเป็นตำแหน่งลอย ไม่มีงานทำชัดเจน โต๊ะแทบไม่มีให้นั่ง เพียงเพราะว่าเขามาเยี่ยมเยียนถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกับพี่ชายที่เคารพกันมากว่า 20 หรือเกือบ 30 ปีที่ชื่อสนธิ ลิ้มทองกุลอยู่เนือง ๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ต่อเนื่องไปถึงตลอดปี 2549
คุณสนธิ ลิ้มทองกุลไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับนายตำรวจที่ชื่อชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลเพียงคนเดียว ตั้งแต่เข้าวงการสื่อมวลชนมากว่า 30 ปี รู้จักสนิทสนมกับนายตำรวจทุกระดับชั้นมากกว่ามากนัก อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แทบทุกคน นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกไม่ใช่น้อย หลายคนรู้จักมาตั้งแต่เป็นนายร้อย นายพัน เหตุผลหนึ่งก็เพราะความเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษในการฝึกอบรมแทบทุกระดับของสถาบันตำรวจในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะความเป็นผู้ใส่ใจสนใจในการปรับโครงสร้างงานตำรวจที่ทำให้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการจัดสัมมนาขึ้นหลายต่อหลายครั้งในอดีต
บ้านพระอาทิตย์ยามธุรกิจเฟื่องฟูนั้นคลาคล่ำไปด้วยนายตำรวจน้อยใหญ่ ใคร ๆ ก็พอทราบ
แต่ประมุขบ้านนี้มักจะมีปัญหากับรัฐบาล กับอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อยู่เนือง ๆ ด้วยสาเหตุหลากหลายในเชิงหลักการ ทำให้นายตำรวจระดับรอง ๆ ลงมาซึ่งเป็นข้าราชการประจำนั้นหายหน้าหายตาไปบ้างเป็นบางเวลาตามสถานการณ์ เพราะไม่อยากให้ผู้บังคับบัญชาเพ่งเล็ง
ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลเป็นข้อยกเว้น !
ยิ่ง “พี่” ยิ่ง “อาจารย์” ประมุขบ้านพระอาทิตย์ ตกอยู่ในภาวะวิกฤตเท่าไร เขายิ่งหมั่นมาเยียนเยียน
อย่าว่าแต่ยุคที่พี่ชายคนนี้ลุกขึ้นวิ่งชนกำแพงระบอบทักษิณเลย เมื่อปี 2534 ก่อนที่ทหารจากพล.ปตอ. จะยกพลมาที่ถนนพระอาทิตย์ช่วงค่ำวันที่ 23 กุมภาพันธ์หลังปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ได้ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลคนนี้แหละที่อยู่เป็นเพื่อนและพากันลี้ภัยชั่วคราวในคืนนั้น
ความเป็นคน “ใจถึง”, “มือถึง” และยึดมั่นใน “สัจจะ - กตัญ?ู” ของนายตำรวจคนนี้ แม้แต่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงก็มิอาจปฏิเสธ!
ได้ฟังมาว่าผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เลขานุการส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เชิญเขาไปพบมากกว่า 1 ครั้ง
ความยิ่งใหญ่ และพฤติกรรมสำแดงความยิ่งใหญ่ ของนายคนนี้ในยุคที่ผ่านมาคงไม่ต้องพูดถึง
แต่ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลไม่ยี่หระ เขาปฏิเสธการไปพบคนที่ชอบแสดงตัวเป็นปากของอดีตนายกรัฐมนตรี
ไม่ใช่หยิ่ง ไม่ใช่ยโส
เขาให้เหตุผลเพียงว่าเพราะผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ไม่ได้เป็นอะไรที่ต้องมาเกี่ยวข้องกับกิจการงานราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เขาสังกัดอยู่ เออ...ถ้านายกรัฐมนตรีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเรียกหามาก็ว่าไปอย่าง ถ้าเพียงเพราะปฏิเสธไม่ไปพบหาคนที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับราชการเช่นนี้จะทำให้ผู้บังคับบัญชาไม่สบายใจก็ไม่เป็นไร จะย้ายเขาออกจากตำแหน่งไปที่ไหนอย่างไรก็ได้...ไม่ว่ากัน
ที่สุด...ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลก็ถูกย้ายออกจากตำแหน่งมีบทบาทมีงานทำชัดเจนที่ สตม. จริง ๆ
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “ธรรมะ” ก้าวเข้ามา “จัดระเบียบ!”
เขาได้เข้าไปเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. ไม่ใช่เพราะการฟากฝังจากคุณสนธิ ลิ้มทองกุล หรือนายทหารคนใดใน คมช. หรือแม้แต่ กกต. ท่านใดท่านหนึ่งใน 4 ท่านที่ยืนหยัดอยู่ข้างความถูกต้องทุกวันนี้ แต่เพราะการรับเข้าไปของท่านสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่ดูเหมือนจะมีคลื่นความคิดจูนไม่ตรงกับ กกต. อีก 4 ท่านที่เหลือ
ท่านสมชัย จึงประเสริฐรู้จักชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลโดยการแนะนำของเพื่อนร่วมรุ่นนิติศาสตร์ 2509 คนหนึ่งที่เห็นว่ามันไม่ถูกไม่ควรที่คนดีมีความสามารถในกระบวนการสืบสวนสอบสวนต้องมานั่งตบยุงเพียงเพราะไม่เป็นที่สบอารมณ์ของขันทีคนหนึ่ง
ปัญหาภายในระบบงานสืบสวนสอบสวนของ กกต. เองที่ทำให้คนนอกที่เข้าไปช่วยราชการมีความโดดเด่นขึ้น
ลองเปรียบเทียบงานกับ กกต. ชุดปี 2543 - 2544 ในเรื่องใบเหลือง-ใบแดงดูแล้วจะรู้ดี!
บ้านนี้เมืองนี้หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ไปไม่ถึงไหนก็คือเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย
ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญ 2550 ร่างมาเข้มมาก กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งยิ่งเข้มหนักขึ้นไปอีก จำได้ไหมว่าก่อนหน้านี้นักการเมืองโอดครวญกัน แต่พอถึงเวลาเลือกตั้งจริงกลับปรากฏว่าแทบไม่มีการลงโทษใครให้เป็นที่ประจักษ์ได้เลย เพราะสำนวนจากฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่ขึ้นไปถึงมือ กกต. 5 ท่านไม่อาจจะทำให้ผู้ตัดสินทั้ง 5 ที่มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 4 รองอัยการสูงสุด 1 ลงทัณฑ์ได้
ถ้าไม่มีนายตำรวจชื่อชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลเข้ามามีบทบาทอย่างบังเอิญในช่วงนี้ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาคงจะขาวสะอาดที่สุดในประวัติศาสตร์ - หากพิจารณาจากการบังคับใช้กฎหมาย
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วตรงกันข้าม
สำนวนจากฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. พิจารณาหมดแล้ว จากนี้ไปจะเป็นสำนวนจากคณะทำงานคนนอกที่เข้ามาช่วยราชการโดยความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เราคงจะได้เห็นกันว่าอะไรเป็นอะไร เพราะท่ามกลางการพิจารณาจาก กกต. ที่มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 4 รองอัยการสูงสุด 1 ภายใต้บรรยากาศพรรคการเมืองที่กำลังจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลประโคมโหมโฆษณาว่ามีแรงกดดันจากอำนาจนอกระบบนั้น ใบแดงแต่ละใบจะต้องมีหลักฐานชัดเจนจริง ๆ
และจะไม่จบแค่ใบแดงก่อนเปิดประชุมรัฐสภาเท่านั้น แต่จะโยงไปเป็นคดียุบพรรคต่อเนื่องหลังจากนี้ไปได้อีกต่างหาก
เมื่อ “ธรรมะจัดระเบียบ” มาให้ถึงเพียงนี้แล้ว สาธุชนผู้ปฏิบัติธรรมที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ทางราชการไม่ว่า กกต., ศาล หรือ ฯลฯ โปรดอย่ากังวล
การปฏิรูปการเมืองที่แท้อาจเกิดขึ้นได้จากอำนาจวินิจฉัยของท่านทั้งหลาย
ถ้าไม่เรียกว่า “ความบังเอิญทางประวัติศาสตร์” ก็เห็นจะต้องบอกว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์...
“ธรรมะจัดระเบียบ”
ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เป็นนายตำรวจฝีมือดีมาก ๆ คนหนึ่ง ติดยศ พล.ต.ต. เป็นคนแรก ๆ ของรุ่นด้วยวัยห่างจากเลข 50 หลายปี ผ่านงานสืบสวนสอบสวนมาอย่างโชกโชน โดยเฉพาะด้านคดีเศรษฐกิจ
แต่ชีวิตเขาห่างไกลจาก กกต. เหลือเกินเมื่อ 2 ปีก่อน
เป็นความบังเอิญทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้รัฐบาลชุดที่แล้วหน้ามืดตามัวเหิมเกริมในอำนาจผลักดันให้เกิดการย้ายเขาจากตำแหน่งผู้บังคับการกองบังคับการหนึ่งใน สตม. หรือสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ออกมาเป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พูดง่าย ๆ ว่าเป็นตำแหน่งลอย ไม่มีงานทำชัดเจน โต๊ะแทบไม่มีให้นั่ง เพียงเพราะว่าเขามาเยี่ยมเยียนถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกับพี่ชายที่เคารพกันมากว่า 20 หรือเกือบ 30 ปีที่ชื่อสนธิ ลิ้มทองกุลอยู่เนือง ๆ ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ต่อเนื่องไปถึงตลอดปี 2549
คุณสนธิ ลิ้มทองกุลไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับนายตำรวจที่ชื่อชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลเพียงคนเดียว ตั้งแต่เข้าวงการสื่อมวลชนมากว่า 30 ปี รู้จักสนิทสนมกับนายตำรวจทุกระดับชั้นมากกว่ามากนัก อดีตอธิบดีกรมตำรวจ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แทบทุกคน นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่อีกไม่ใช่น้อย หลายคนรู้จักมาตั้งแต่เป็นนายร้อย นายพัน เหตุผลหนึ่งก็เพราะความเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษในการฝึกอบรมแทบทุกระดับของสถาบันตำรวจในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อีกเหตุผลหนึ่งก็เพราะความเป็นผู้ใส่ใจสนใจในการปรับโครงสร้างงานตำรวจที่ทำให้หนังสือพิมพ์ผู้จัดการจัดสัมมนาขึ้นหลายต่อหลายครั้งในอดีต
บ้านพระอาทิตย์ยามธุรกิจเฟื่องฟูนั้นคลาคล่ำไปด้วยนายตำรวจน้อยใหญ่ ใคร ๆ ก็พอทราบ
แต่ประมุขบ้านนี้มักจะมีปัญหากับรัฐบาล กับอธิบดีกรมตำรวจหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อยู่เนือง ๆ ด้วยสาเหตุหลากหลายในเชิงหลักการ ทำให้นายตำรวจระดับรอง ๆ ลงมาซึ่งเป็นข้าราชการประจำนั้นหายหน้าหายตาไปบ้างเป็นบางเวลาตามสถานการณ์ เพราะไม่อยากให้ผู้บังคับบัญชาเพ่งเล็ง
ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลเป็นข้อยกเว้น !
ยิ่ง “พี่” ยิ่ง “อาจารย์” ประมุขบ้านพระอาทิตย์ ตกอยู่ในภาวะวิกฤตเท่าไร เขายิ่งหมั่นมาเยียนเยียน
อย่าว่าแต่ยุคที่พี่ชายคนนี้ลุกขึ้นวิ่งชนกำแพงระบอบทักษิณเลย เมื่อปี 2534 ก่อนที่ทหารจากพล.ปตอ. จะยกพลมาที่ถนนพระอาทิตย์ช่วงค่ำวันที่ 23 กุมภาพันธ์หลังปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ได้ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลคนนี้แหละที่อยู่เป็นเพื่อนและพากันลี้ภัยชั่วคราวในคืนนั้น
ความเป็นคน “ใจถึง”, “มือถึง” และยึดมั่นใน “สัจจะ - กตัญ?ู” ของนายตำรวจคนนี้ แม้แต่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงก็มิอาจปฏิเสธ!
ได้ฟังมาว่าผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ เลขานุการส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เชิญเขาไปพบมากกว่า 1 ครั้ง
ความยิ่งใหญ่ และพฤติกรรมสำแดงความยิ่งใหญ่ ของนายคนนี้ในยุคที่ผ่านมาคงไม่ต้องพูดถึง
แต่ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลไม่ยี่หระ เขาปฏิเสธการไปพบคนที่ชอบแสดงตัวเป็นปากของอดีตนายกรัฐมนตรี
ไม่ใช่หยิ่ง ไม่ใช่ยโส
เขาให้เหตุผลเพียงว่าเพราะผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ไม่ได้เป็นอะไรที่ต้องมาเกี่ยวข้องกับกิจการงานราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เขาสังกัดอยู่ เออ...ถ้านายกรัฐมนตรีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเรียกหามาก็ว่าไปอย่าง ถ้าเพียงเพราะปฏิเสธไม่ไปพบหาคนที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับราชการเช่นนี้จะทำให้ผู้บังคับบัญชาไม่สบายใจก็ไม่เป็นไร จะย้ายเขาออกจากตำแหน่งไปที่ไหนอย่างไรก็ได้...ไม่ว่ากัน
ที่สุด...ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลก็ถูกย้ายออกจากตำแหน่งมีบทบาทมีงานทำชัดเจนที่ สตม. จริง ๆ
นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ “ธรรมะ” ก้าวเข้ามา “จัดระเบียบ!”
เขาได้เข้าไปเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. ไม่ใช่เพราะการฟากฝังจากคุณสนธิ ลิ้มทองกุล หรือนายทหารคนใดใน คมช. หรือแม้แต่ กกต. ท่านใดท่านหนึ่งใน 4 ท่านที่ยืนหยัดอยู่ข้างความถูกต้องทุกวันนี้ แต่เพราะการรับเข้าไปของท่านสมชัย จึงประเสริฐ กกต. ฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่ดูเหมือนจะมีคลื่นความคิดจูนไม่ตรงกับ กกต. อีก 4 ท่านที่เหลือ
ท่านสมชัย จึงประเสริฐรู้จักชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลโดยการแนะนำของเพื่อนร่วมรุ่นนิติศาสตร์ 2509 คนหนึ่งที่เห็นว่ามันไม่ถูกไม่ควรที่คนดีมีความสามารถในกระบวนการสืบสวนสอบสวนต้องมานั่งตบยุงเพียงเพราะไม่เป็นที่สบอารมณ์ของขันทีคนหนึ่ง
ปัญหาภายในระบบงานสืบสวนสอบสวนของ กกต. เองที่ทำให้คนนอกที่เข้าไปช่วยราชการมีความโดดเด่นขึ้น
ลองเปรียบเทียบงานกับ กกต. ชุดปี 2543 - 2544 ในเรื่องใบเหลือง-ใบแดงดูแล้วจะรู้ดี!
บ้านนี้เมืองนี้หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ไปไม่ถึงไหนก็คือเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย
ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญ 2550 ร่างมาเข้มมาก กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งยิ่งเข้มหนักขึ้นไปอีก จำได้ไหมว่าก่อนหน้านี้นักการเมืองโอดครวญกัน แต่พอถึงเวลาเลือกตั้งจริงกลับปรากฏว่าแทบไม่มีการลงโทษใครให้เป็นที่ประจักษ์ได้เลย เพราะสำนวนจากฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่ขึ้นไปถึงมือ กกต. 5 ท่านไม่อาจจะทำให้ผู้ตัดสินทั้ง 5 ที่มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 4 รองอัยการสูงสุด 1 ลงทัณฑ์ได้
ถ้าไม่มีนายตำรวจชื่อชัยยะ ศิริอำพันธ์กุลเข้ามามีบทบาทอย่างบังเอิญในช่วงนี้ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาคงจะขาวสะอาดที่สุดในประวัติศาสตร์ - หากพิจารณาจากการบังคับใช้กฎหมาย
ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วตรงกันข้าม
สำนวนจากฝ่ายสืบสวนสอบสวนของ กกต. พิจารณาหมดแล้ว จากนี้ไปจะเป็นสำนวนจากคณะทำงานคนนอกที่เข้ามาช่วยราชการโดยความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บัญชาการตำรวจสันติบาลและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เราคงจะได้เห็นกันว่าอะไรเป็นอะไร เพราะท่ามกลางการพิจารณาจาก กกต. ที่มาจากผู้พิพากษาศาลฎีกา 4 รองอัยการสูงสุด 1 ภายใต้บรรยากาศพรรคการเมืองที่กำลังจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลประโคมโหมโฆษณาว่ามีแรงกดดันจากอำนาจนอกระบบนั้น ใบแดงแต่ละใบจะต้องมีหลักฐานชัดเจนจริง ๆ
และจะไม่จบแค่ใบแดงก่อนเปิดประชุมรัฐสภาเท่านั้น แต่จะโยงไปเป็นคดียุบพรรคต่อเนื่องหลังจากนี้ไปได้อีกต่างหาก
เมื่อ “ธรรมะจัดระเบียบ” มาให้ถึงเพียงนี้แล้ว สาธุชนผู้ปฏิบัติธรรมที่อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ทางราชการไม่ว่า กกต., ศาล หรือ ฯลฯ โปรดอย่ากังวล
การปฏิรูปการเมืองที่แท้อาจเกิดขึ้นได้จากอำนาจวินิจฉัยของท่านทั้งหลาย