รายการ “ยามเฝ้าแผ่นดิน” ออกอากาศทาง เอเอสทีวี คืนวันที่ 4 มกราคม นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ นักวิชาการอิสระ นางจินดารัตน์ เจิรญชัยชนะ และนางสโรชา พรอุดมศักดิ์ ร่วมดำเนินรายการ ในช่วงแรกผู้ดำเนินรายการ ได้กล่าวถึงกรณีบรรยากาศความวุ่นวายบริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ ในขณะนี้ ซึ่งเป็นห้วงเวลาของการร่วมถวายความอาลัย แด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
แม้กระทั้งพรรคการเมืองที่กำลังอยู่ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล ก็ยังต้องประกาศหยุดกิจกรรมทางการเมือง แต่ก็ยังปรากฎภาพที่ไม่เหมาะสมขึ้นมาอีก การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องดูว่า ในขณะนี้มันสมควรหรือไม่ ที่สำคัญเป็นการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับว่าที่ ส.ส.เขต 1 จังหวัดบุรีรัมย์ ทำไมนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน จึงไม่ออกมาตำหนิ ปล่อยให้นายกุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน ออกมาพูดหน้าตาเฉยว่า "ต้องยอมรับการแสดงออกของประชาชน"
ขณะเดียวกัน ผู้ดำเนินรายการ ยังรู้สึกผิดหวังกับบรรยากาศทางการเมืองหลังผ่านพ้นปลายปี 2550 เป็นต้นมา โดยเฉพาะท่าทีของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ถูกคาดหมายให้เป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยวันนี้กลับเปลี่ยนแปลงท่าที หันไปตกปากรับคำร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ทั้งๆ ที่มีเสียงทักท้วงบอกให้ชะลอออกไปก่อน แต่นายบรรหาร ก็ยังไม่ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกทั้งยังจะแถลงข่าวเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม แต่ด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ กำหนดการดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะแถลงข่าวอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 7 มกราคมนี้แน่นอน
อย่างไรก็ตามด้วยความที่พรรคชาติไทย และพรรคเพื่อแผ่นดินเป็นพรรคใหญ่ มีส.ส.รองลงมาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นทั้งสองพรรคจึงมีความสำคัญในการร่วมจัดตั้งรัฐบาล จึงไม่เห็นด้วยที่ทั้งสองพรรคจะเร่งรีบ ควรจะสงวนท่าที หรืออย่างน้อยก็ควรรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เสร็จสิ้นก่อน สถานการณ์อย่างนี้ยืนอยู่ข้างนอกจะเหมาะสมที่สุด สมมุติหากว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน โดนใบแดงสัก 30 คน พรรคพลังประชาชนจะลำบากในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาทันที แต่นี่กลับชิงประกาศร่วมจัดตั้งกันก่อนรอผลสรุปจาก กกต.ดังนั้น กกต.จะแจกใบแดงให้กับว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนสักกี่ใบก็ไม่มีความหมาย
"พรรคชาติไทยยังมีเวลาถึง 17 - 18 มกราคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ กกต.จะแจกใบเหลืองใบแดง การไม่รอทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคชาติไทยนั้น ถูกมองเป็นเพียงแค่ต้องการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น ท่าทีของท่านบรรหาร หลังการเลือกตั้งนั้นดูดีมาก สามารถให้ความหวังไว้เนื้อเชื่อใจได้เลย แต่วันนี้วิธีคิดของท่านกลับเหมือนนักเลือกตั้งที่เราเห็นได้ทั่วๆไป ท่านไม่ยอมเปลี่ยนแนววิธีคิด สิ่งที่ท่านทำในอดีตจึงขัดกับสิ่งที่ทำในวันนี้เป็นอย่างมาก"
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า การด่วนเข้าไปโดยที่ยังไม่รอให้ผลการพิจารณาใบเหลืองใบแดงของ กกต.ออกมาชัดเจนก่อน ทำให้ความหวังของประชาชนที่จะเห็นผู้แทนฯ ที่ยึดมั่นในหลักการมากกว่าผู้แทนที่มุ่งแต่จะเข้าไปเป็นรัฐบาล ต้องหมดไป ทั้งที่เคยตั้งความหวังกับนายบรรหารไว้มาก
นอกจากนี้ การจะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ยังทำให้คนเข้าใจว่า ท่าทีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของนายบรรหารก่อนหน้านี้ เป็นเพียงการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น
ผู้ดำเนินรายการ ยังแสดงความผิดหวังต่อนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ประกาศเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนแน่นอนแล้ว ทั้งที่การกระทำดังกล่าวขัดแย้งกับที่นายเสนาะ เคยพูด
ส่วนนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก็น่าผิดหวังเช่นเดียวกัน และนึกไม่ออกว่า จะร่วมหอลงโรงกับพรรคพลังประชาชนได้อย่างไร หากดูจากคำแถลงของนายประชัยช่วงก่อนวันเลือกตั้งหลายครั้ง แต่สุดท้ายแล้วก็ไปร่วมรัฐบาลกัน
ส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนานั้น ผู้ดำเนินรายการ กล่าวว่า ไม่ค่อยผิดหวัง เพราะพรรคนี้ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดินนั้น โดยส่วนตัวแม้จะไม่ชอบนายวัฒนา อัศวเหม ประธานที่ปรึกษาการเลือกตั้งของพรรค แต่ในครั้งนี้ท่าทีของนายวัฒนาน่าไว้ใจมากที่สุด ส่วนจะมีกลุ่มงูเห่าภายในพรรคหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะคนอย่างว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี นั้น เคยอยู่กับพรรคไทยรักไทย เป็นคนของ พ.ตงท.?กษิณ ชินวัตร ก็ต้องกลับไปอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากลุ่มของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งเป้ฯคนที่น่านับถือคงไม่ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน
ผู้ดำเนินรายการกล่าวต่อว่า สำหรับพรรคชาติไทยนั้น ถือว่ามีเสียงของตัวเองที่เป็นน้ำเป็นเนื้อ นายบรรหารนั้น ตั้งแต่เข้ามาเล่นการเมือง ที่ผ่านมามีภาพลักษณ์ไม่ค่อยดี เพียงแต่ช่วงหลังมีโอกาสปรับตัวมากขึ้น ตั้งแต่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง หลังการเลือกตั้งปี 2538 ก็มีจุดยืนที่จะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคไทยรักไทย เพื่อให้สภามีฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง
แม้แต่ในช่วงหลังการปฏิวัติวันที่ 19 ก.ย. นายบรรหารก็ออกมาปกป้อง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ รวมทั้งปกป้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) จน พ.ต.ท.ทักษิณเหน็บแนมว่าเป็นโฆษก คมช.
“เขาพูดอย่างงั้น ก็ยังแรดไปหาเขา โดยส่วนตัวแล้วเรารู้สึกเสียใจมาก คิดว่านายบรรหารคงไดดูรายการนี้ พวกเราดีใจที่มีนักการเมืองอย่างนายบรรหารมาดูรายการเรา ตอนที่นายนพดล ปัทมะ ตอกหน้าเอา คุณกัญจนา(ศิลปอาชา) ต้องโทร.มาขอแก้ข่าว ท่านก็มาตอกหน้านายนพดลกลับ ไม่รู้ว่านี่จะเป็นละครหรือเปล่า”
ผู้ดำเนินรายการกล่าวต่อว่า การตั้งรัฐบาลครั้งนี้ นายบรรหารน่าจะรู้ว่าใครเป็นคนตั้ง จากภาพที่เห็น นายบรรหารถูกนายนพดลตอกหน้าเอา พ.ต.ท.ทักษิณต่อว่าเอา แล้วนายบรรหารก็ดูโกรธ แล้วก็ยังจะไปร่วมรัฐบาลกับเขา และถ้าไปร่วมรัฐบาลจริงๆ ก็คงจะถูกนายสมัครตอกหน้าเอาอีกครั้ง
นอกจากนี้ เงื่อนไข 5 ข้อที่พรรคชาติไทยกับพรรคเพื่อแผ่นดินตั้งขึ้นมาเพื่อร่วมรัฐบาลนั้น ยังไม่มีการตอบรับจากพรรคพลังประชาชนสักข้อ มีแต่การปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาล แล้วทั้ง 2 พรรคนี้ยังจะเข้าร่วมได้อย่างไร
“ถ้าไปร่วมรัฐบาล คุณบรรหารจะโดนดูถูก คุณไม่มีค่าอะไรหรอก นอกจากไปสร้างความชอบธรรมให้เขา ไปเป็นฝีพาย พายเรือให้...นั่ง”ผู้ดำเนินรายการกล่าว
หลังจากนั้น ผู้ดำเนินรายการได้เปิดเทปคำให้สัมภาษณ์ของบรรหารในที่ต่างๆ โดยเฉพาะ คำพูดที่ว่า จะไม่ทำให้คนที่นับถือมา 30 ปี ต้องผิดหวัง และจะนับถือตลอดไป รวมทั้งคำพูดที่บอกว่า ไม่เชื่อคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณที่เป็นคนพูดวันนี้อย่างพรุ่งนี้อย่าง นอกจากนี้นายบรรหารยังได้ย้ำหลายครั้งก่อนวันเลือกตั้งว่า ยังมีจุดยืนเดิมในการเป็นพันธมิตรกับพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีการเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน
โดยเฉพาะคำพูดเมื่อวันที่ 7 พ.ย.50 นายบรรหารบอกว่า ถ้าพรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็จะไม่เข้าร่วมอย่างแน่นอน เพราะถ้าร่วม ประชาชนจะประณาม ดังนั้นพรรคชาติไทยจะไม่ร่วมอย่างแน่นอน
ผู้ดำเนินรายการ ยังได้กล่าวถึงตอนที่นายบรรหารไปหาเสียงที่ภาคอีสานและไปชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้ถูกต่อว่า นายบรรหารก็รีบโทรศัพท์มาชี้แจงว่า ยังยืนยันท่าทีเดิม แต่ที่ทำไปอย่างนั้นก็เพื่อแย่งคะแนนจากพรรคพลังประชาชนที่ได้รับความนิยมสูงในภาคอีสาน พร้อมกับยืนยันว่า ไม่มีทางไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนอย่างเด็ดขาด เพราะไม่อยากทำกับลูก(นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา)อย่างนั้น
“สโลแกนของพรรคชาติไทยที่ว่า “สัจจะกตัญญู” ตอนนี้จะเป็น “ตระบัตสัตย์-อกตัญญู” หรือเปล่า คุณกัญจนาจะผิดหวังหรือเปล่า จากที่เคยบอกว่าภูมิใจในตัวพ่อ ท่านไม่อายประชาชนหรือ จึงน่าจับตาว่า บั้นปลายของการเมืองนักการเมืองที่มีอายุมาก จะจบลงในฐานะพระเอกหรือผู้ร้ายดี”
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวอีกว่า ตอนนี้นายบรรหารและลูกพรรคหลายคนก็ได้เป็น ส.ส.อยู่แล้ว ทำไมต้องอยากไปเป็นรัฐบาล หรือว่า กลัวจะอดอยากปากแห้ง เหมือนทีเคยพูด หรือว่านายบรรหารอยากจะให้ลูกหลานจดจำว่าเป็น”ปลาไหล” ทำให้สิ่งที่นางสาวกัญจนาต่อสู้มาต้องสูญเปล่า ซึ่งในช่วงหาเสียงนั้น นางสาวกัญจนาช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ของพรรคชาติไทยได้มาก นายบรรหารไม่สงสารลูกสาวบ้างหรือ
แม้กระทั้งพรรคการเมืองที่กำลังอยู่ในช่วงการจัดตั้งรัฐบาล ก็ยังต้องประกาศหยุดกิจกรรมทางการเมือง แต่ก็ยังปรากฎภาพที่ไม่เหมาะสมขึ้นมาอีก การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่ต้องดูว่า ในขณะนี้มันสมควรหรือไม่ ที่สำคัญเป็นการชุมนุมเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับว่าที่ ส.ส.เขต 1 จังหวัดบุรีรัมย์ ทำไมนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน จึงไม่ออกมาตำหนิ ปล่อยให้นายกุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน ออกมาพูดหน้าตาเฉยว่า "ต้องยอมรับการแสดงออกของประชาชน"
ขณะเดียวกัน ผู้ดำเนินรายการ ยังรู้สึกผิดหวังกับบรรยากาศทางการเมืองหลังผ่านพ้นปลายปี 2550 เป็นต้นมา โดยเฉพาะท่าทีของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ที่ถูกคาดหมายให้เป็นวีรบุรุษประชาธิปไตยวันนี้กลับเปลี่ยนแปลงท่าที หันไปตกปากรับคำร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ทั้งๆ ที่มีเสียงทักท้วงบอกให้ชะลอออกไปก่อน แต่นายบรรหาร ก็ยังไม่ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกทั้งยังจะแถลงข่าวเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม แต่ด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์ กำหนดการดังกล่าวต้องเลื่อนออกไป คาดว่าจะแถลงข่าวอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 7 มกราคมนี้แน่นอน
อย่างไรก็ตามด้วยความที่พรรคชาติไทย และพรรคเพื่อแผ่นดินเป็นพรรคใหญ่ มีส.ส.รองลงมาจากพรรคพลังประชาชนและพรรคประชาธิปัตย์ ดังนั้นทั้งสองพรรคจึงมีความสำคัญในการร่วมจัดตั้งรัฐบาล จึงไม่เห็นด้วยที่ทั้งสองพรรคจะเร่งรีบ ควรจะสงวนท่าที หรืออย่างน้อยก็ควรรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เสร็จสิ้นก่อน สถานการณ์อย่างนี้ยืนอยู่ข้างนอกจะเหมาะสมที่สุด สมมุติหากว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน โดนใบแดงสัก 30 คน พรรคพลังประชาชนจะลำบากในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมาทันที แต่นี่กลับชิงประกาศร่วมจัดตั้งกันก่อนรอผลสรุปจาก กกต.ดังนั้น กกต.จะแจกใบแดงให้กับว่าที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนสักกี่ใบก็ไม่มีความหมาย
"พรรคชาติไทยยังมีเวลาถึง 17 - 18 มกราคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ กกต.จะแจกใบเหลืองใบแดง การไม่รอทำให้ภาพลักษณ์ของพรรคชาติไทยนั้น ถูกมองเป็นเพียงแค่ต้องการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น ท่าทีของท่านบรรหาร หลังการเลือกตั้งนั้นดูดีมาก สามารถให้ความหวังไว้เนื้อเชื่อใจได้เลย แต่วันนี้วิธีคิดของท่านกลับเหมือนนักเลือกตั้งที่เราเห็นได้ทั่วๆไป ท่านไม่ยอมเปลี่ยนแนววิธีคิด สิ่งที่ท่านทำในอดีตจึงขัดกับสิ่งที่ทำในวันนี้เป็นอย่างมาก"
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวต่อว่า การด่วนเข้าไปโดยที่ยังไม่รอให้ผลการพิจารณาใบเหลืองใบแดงของ กกต.ออกมาชัดเจนก่อน ทำให้ความหวังของประชาชนที่จะเห็นผู้แทนฯ ที่ยึดมั่นในหลักการมากกว่าผู้แทนที่มุ่งแต่จะเข้าไปเป็นรัฐบาล ต้องหมดไป ทั้งที่เคยตั้งความหวังกับนายบรรหารไว้มาก
นอกจากนี้ การจะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน ยังทำให้คนเข้าใจว่า ท่าทีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของนายบรรหารก่อนหน้านี้ เป็นเพียงการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น
ผู้ดำเนินรายการ ยังแสดงความผิดหวังต่อนายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ประกาศเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนแน่นอนแล้ว ทั้งที่การกระทำดังกล่าวขัดแย้งกับที่นายเสนาะ เคยพูด
ส่วนนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย ก็น่าผิดหวังเช่นเดียวกัน และนึกไม่ออกว่า จะร่วมหอลงโรงกับพรรคพลังประชาชนได้อย่างไร หากดูจากคำแถลงของนายประชัยช่วงก่อนวันเลือกตั้งหลายครั้ง แต่สุดท้ายแล้วก็ไปร่วมรัฐบาลกัน
ส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนานั้น ผู้ดำเนินรายการ กล่าวว่า ไม่ค่อยผิดหวัง เพราะพรรคนี้ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดินนั้น โดยส่วนตัวแม้จะไม่ชอบนายวัฒนา อัศวเหม ประธานที่ปรึกษาการเลือกตั้งของพรรค แต่ในครั้งนี้ท่าทีของนายวัฒนาน่าไว้ใจมากที่สุด ส่วนจะมีกลุ่มงูเห่าภายในพรรคหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะคนอย่างว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี นั้น เคยอยู่กับพรรคไทยรักไทย เป็นคนของ พ.ตงท.?กษิณ ชินวัตร ก็ต้องกลับไปอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากลุ่มของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งเป้ฯคนที่น่านับถือคงไม่ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน
ผู้ดำเนินรายการกล่าวต่อว่า สำหรับพรรคชาติไทยนั้น ถือว่ามีเสียงของตัวเองที่เป็นน้ำเป็นเนื้อ นายบรรหารนั้น ตั้งแต่เข้ามาเล่นการเมือง ที่ผ่านมามีภาพลักษณ์ไม่ค่อยดี เพียงแต่ช่วงหลังมีโอกาสปรับตัวมากขึ้น ตั้งแต่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจนนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง หลังการเลือกตั้งปี 2538 ก็มีจุดยืนที่จะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคไทยรักไทย เพื่อให้สภามีฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง
แม้แต่ในช่วงหลังการปฏิวัติวันที่ 19 ก.ย. นายบรรหารก็ออกมาปกป้อง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ รวมทั้งปกป้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) จน พ.ต.ท.ทักษิณเหน็บแนมว่าเป็นโฆษก คมช.
“เขาพูดอย่างงั้น ก็ยังแรดไปหาเขา โดยส่วนตัวแล้วเรารู้สึกเสียใจมาก คิดว่านายบรรหารคงไดดูรายการนี้ พวกเราดีใจที่มีนักการเมืองอย่างนายบรรหารมาดูรายการเรา ตอนที่นายนพดล ปัทมะ ตอกหน้าเอา คุณกัญจนา(ศิลปอาชา) ต้องโทร.มาขอแก้ข่าว ท่านก็มาตอกหน้านายนพดลกลับ ไม่รู้ว่านี่จะเป็นละครหรือเปล่า”
ผู้ดำเนินรายการกล่าวต่อว่า การตั้งรัฐบาลครั้งนี้ นายบรรหารน่าจะรู้ว่าใครเป็นคนตั้ง จากภาพที่เห็น นายบรรหารถูกนายนพดลตอกหน้าเอา พ.ต.ท.ทักษิณต่อว่าเอา แล้วนายบรรหารก็ดูโกรธ แล้วก็ยังจะไปร่วมรัฐบาลกับเขา และถ้าไปร่วมรัฐบาลจริงๆ ก็คงจะถูกนายสมัครตอกหน้าเอาอีกครั้ง
นอกจากนี้ เงื่อนไข 5 ข้อที่พรรคชาติไทยกับพรรคเพื่อแผ่นดินตั้งขึ้นมาเพื่อร่วมรัฐบาลนั้น ยังไม่มีการตอบรับจากพรรคพลังประชาชนสักข้อ มีแต่การปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาล แล้วทั้ง 2 พรรคนี้ยังจะเข้าร่วมได้อย่างไร
“ถ้าไปร่วมรัฐบาล คุณบรรหารจะโดนดูถูก คุณไม่มีค่าอะไรหรอก นอกจากไปสร้างความชอบธรรมให้เขา ไปเป็นฝีพาย พายเรือให้...นั่ง”ผู้ดำเนินรายการกล่าว
หลังจากนั้น ผู้ดำเนินรายการได้เปิดเทปคำให้สัมภาษณ์ของบรรหารในที่ต่างๆ โดยเฉพาะ คำพูดที่ว่า จะไม่ทำให้คนที่นับถือมา 30 ปี ต้องผิดหวัง และจะนับถือตลอดไป รวมทั้งคำพูดที่บอกว่า ไม่เชื่อคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณที่เป็นคนพูดวันนี้อย่างพรุ่งนี้อย่าง นอกจากนี้นายบรรหารยังได้ย้ำหลายครั้งก่อนวันเลือกตั้งว่า ยังมีจุดยืนเดิมในการเป็นพันธมิตรกับพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีการเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชน
โดยเฉพาะคำพูดเมื่อวันที่ 7 พ.ย.50 นายบรรหารบอกว่า ถ้าพรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ก็จะไม่เข้าร่วมอย่างแน่นอน เพราะถ้าร่วม ประชาชนจะประณาม ดังนั้นพรรคชาติไทยจะไม่ร่วมอย่างแน่นอน
ผู้ดำเนินรายการ ยังได้กล่าวถึงตอนที่นายบรรหารไปหาเสียงที่ภาคอีสานและไปชื่นชม พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้ถูกต่อว่า นายบรรหารก็รีบโทรศัพท์มาชี้แจงว่า ยังยืนยันท่าทีเดิม แต่ที่ทำไปอย่างนั้นก็เพื่อแย่งคะแนนจากพรรคพลังประชาชนที่ได้รับความนิยมสูงในภาคอีสาน พร้อมกับยืนยันว่า ไม่มีทางไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชาชนอย่างเด็ดขาด เพราะไม่อยากทำกับลูก(นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา)อย่างนั้น
“สโลแกนของพรรคชาติไทยที่ว่า “สัจจะกตัญญู” ตอนนี้จะเป็น “ตระบัตสัตย์-อกตัญญู” หรือเปล่า คุณกัญจนาจะผิดหวังหรือเปล่า จากที่เคยบอกว่าภูมิใจในตัวพ่อ ท่านไม่อายประชาชนหรือ จึงน่าจับตาว่า บั้นปลายของการเมืองนักการเมืองที่มีอายุมาก จะจบลงในฐานะพระเอกหรือผู้ร้ายดี”
ผู้ดำเนินรายการ กล่าวอีกว่า ตอนนี้นายบรรหารและลูกพรรคหลายคนก็ได้เป็น ส.ส.อยู่แล้ว ทำไมต้องอยากไปเป็นรัฐบาล หรือว่า กลัวจะอดอยากปากแห้ง เหมือนทีเคยพูด หรือว่านายบรรหารอยากจะให้ลูกหลานจดจำว่าเป็น”ปลาไหล” ทำให้สิ่งที่นางสาวกัญจนาต่อสู้มาต้องสูญเปล่า ซึ่งในช่วงหาเสียงนั้น นางสาวกัญจนาช่วยในเรื่องภาพลักษณ์ของพรรคชาติไทยได้มาก นายบรรหารไม่สงสารลูกสาวบ้างหรือ