บีบีซีนิวส์/เอเอฟพี -กระบวนการรณรงค์ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯประจำปี 2008 เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสบดี(3) ด้วยการประเดิมหยั่งเสียงเลือกตั้งขั้นต้นในแบบ "คอคัส" (caucus) ของมลรัฐไอโอวา โดยที่บรรดาตัวเก็งทั้งหลายมีคะแนนนิยมใกล้เคียงกันมาก จนยากที่จะชี้ขาดฟันธง
ตามผลโพลรายวันล่าสุดของ รอยเตอร์/ซี-สแพน-ซอกบี้ ทางฟากพรรคเดโมแครตนั้น ฮิลลารี คลินตัน ผู้หวังจะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ กับ บารัค โอบามา ผู้หวังจะเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของอเมริกา ต่างได้คะแนนนิยมเท่ากับคือ 28% โดยที่ จอห์น เอดเวิร์ด อดีตผู้สมัครรองประธานาธิบดีในทีมของ จอห์น แคร์รี เมื่อปี 2004 ก็ตามหลังมาอย่างกระชั้นชิดด้วยความนิยม 26%
ขณะที่ด้านพรรครีพับลิกัน ไมก์ ฮักคาบี อดีตผู้ว่าการมลรัฐอาร์คันซอ เสียงตกลงมา 1% อยู่ที่ 28% ส่วน มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการมลรัฐแมตซาชูเซตส์ ได้ 26% เพิ่มขึ้น 1% สำหรับ จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกจากมลรัฐแอริโซนา เขาไม่ได้เน้นหาเสียงในไอโอวา โดยมุ่งโฟกัสไปที่การเลือกตั้งขั้นต้นในมลรัฐต่อไปมากกว่า ซึ่งก็คือ การเลือกตั้งแบบ "ไพรมารี" (primary) ที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ในวันอังคารหน้า(8) แต่ปรากฏว่าจากโพลล่าสุดของ พิว รีเสิร์ช เซนเตอร์ ซึ่งสำรวจคะแนนนิยมทั่วประเทศ เวลานี้แมคเคนกลายเป็นอันดับ 1 ของทางรีพับลิกัน ด้วยคะแนนนิยม 22% แซงหน้า รูดี จูลิอานี อดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ซึ่งครองแชมป์มานมนานไป 2%
คอคัสที่ไอโอวาของฝ่ายเดโมแครต จะเริ่มกันในเวลา 18.30 น. เวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 7.30 น.วันนี้ เวลาเมืองไทย) ส่วนของฝ่ายรีพับลิกัน เริ่มเวลา 19.00 น. (ตรงกับ 8.00 น.วันนี้เวลาเมืองไทย)
กระบวนการรณรงค์ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการด้วยการเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารี และ คอคัส ตามมลรัฐต่างๆ เพื่อให้ได้ตัวผู้สมัครที่จะเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง (ที่สำคัญย่อมเป็น 2 พรรคหลัก-เดโมแครต และ รีพับลิกัน) เข้าชิงชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีวันที่ 4 พฤศจิกายน
สำหรับปี 2008 นี้ ถือว่าเริ่มต้นเร็วกว่าในอดีตมาก ทำให้ช่วงเวลาจากจุดเริ่มต้นกระบวนการ ณ วันที่ 3 มกราคม ไปจนกระทั่งถึงการประชุมใหญ่ระดับชาติ (national convention) ของพรรค ที่จะได้ตัวผู้สมัครของแต่ละพรรคอย่างเป็นทางการ ซึ่งเดโมแครตกำหนดจัดขึ้นตอนปลายเดือนสิงหาคม ส่วนรีพับลิกันในต้นเดือนกันยายน จะยาวนานยิ่งกว่าที่เคย
อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่า การทำศึกเพื่อให้ได้เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคนี้ ในปีนี้อาจจะยุติได้อย่างรวดเร็วกว่าในอดีต นั่นคือ ราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ก็ทราบผลกันแล้ว แม้จะยังไม่เป็นทางการ
ต่อไปนี้เป็นบางคำถามคำตอบเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาตัวแทนของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2008
**การจัดเลือกตั้งขั้นต้นของมลรัฐต่างๆ ในปีนี้เร็วขึ้นกว่าในอดีตแค่ไหน ?
จากปี 1972 ถึง 1992 กระบวนการนี้เริ่มขึ้นตอนปลายเดือนมกราคม (บางปีก็เป็นต้นกุมภาพันธ์) และกว่าที่จะทราบอย่างชัดเจนว่าใครจะได้เป็นผู้สมัครของพรรค ก็มักจะต้องลุ้นกันถึงวันอังคารแรกของเดือนมิถุนายน เมื่อมลรัฐแคลิฟอร์เนีย, นิวเจอร์ซีย์, และโอไอโอ จัดการเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารีของพวกตน
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งขั้นต้นที่เคยกินเวลาราว 4 เดือนกว่าจะทราบผล ในครั้งนี้อาจใช้เวลาแค่เดือนเดียว
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันเลือกตั้งขั้นต้นของปี 2008
3 ม.ค.คอคัสที่ไอโอวา
8 ม.ค.ไพรมารีที่นิวแฮมป์เชียร์
15ม.ค.ไพรมารีที่มิชิแกน
19ม.ค.คอคัสที่เนวาดา, ไพรมารีที่เซาท์แคโรไลนา (รีพับลิกัน)
26ม.ค.ไพรมารีที่เซาท์แคโรไลนา (เดโมแครต)
29ม.ค.ไพรมารีที่ฟลอริดา
5ก.พ.ไพรมารีราว 20 มลรัฐ รวมทั้ง แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, นิวเจอร์ซีย์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
**การเลื่อนเร็วขึ้นมากเช่นนี้เป็นปัญหาไหม ?
นักวิจารณ์จำนวนมากมองว่า การที่ผู้สมัครใช้เวลา 4 เดือนตระเวนไปทั่วประเทศเพื่อพบปะผู้ออกเสียง นับเป็นบททดสอบอันดีที่จะทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้สมัครแต่ละคน และทำให้ชาวอเมริกันมีโอกาสมากที่จะตัดสินว่าชอบนักการเมืองคนไหนที่สุด
นอกจากนั้น ผู้สมัครที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักแต่เกิดทำได้ดีในคอคัสหรือไพรมารีที่มลรัฐแรกๆ ก็จะมีโอกาสที่จะดึงดูดเงินทุนสนับสนุน และจัดทีมรณรงค์หาเสียงที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทว่าตารางเวลาของปีนี้ทำให้แทบไม่มีเวลาให้ม้ามืดนอกสายตารวบรวมกำลังยืนผงาดขึ้นมาได้
**แล้วทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา ?
บางมลรัฐรู้สึกว่าระบบที่เคยใช้กันมา ให้ความสำคัญมากเกินไปแก่มลรัฐที่อยู่ลำดับต้นๆ ของกระบวนการคัดสรร และให้ความสำคัญน้อยเกินไปแก่มลรัฐซึ่งอยู่ลำดับปลายๆ ของกระบวนการ ดังนั้น ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 พวกเขาจึงเริ่มขยับจัดไพรมารีและคอคัสของมลรัฐตนให้เร็วขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยิ่งทำให้มลรัฐซึ่งในลำดับท้ายๆ รู้สึกเสียเปรียบหนักขึ้นอีก เลยเป็นแรงจูงใจให้พากันเลื่อนขึ้นหน้า
อย่างไรก็ตาม มลรัฐอย่างไอโอวา และ นิวแฮมป์เชียร์ ซึ่งเคยอยู่ลำดับต้นๆ มานมนานแล้ว ก็ตอบโต้ด้วยการจัดไพรมารีและคอคัสของตนให้เร็วขึ้นด้วย
**การจัดไพรมารีและคอรัสมีวัตถุประสงค์อะไร ?
การเลือกตั้งหยั่งเสียงขั้นต้นเหล่านี้ คือการเปิดโอกาสให้พวกผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตหรือรีพับลิกัน ในแต่ละมลรัฐของสหรัฐฯ ได้แสดงความคิดเห็นออกมาว่าพวกเขาอยากให้ผู้สมัครคนไหนเป็นตัวแทนของพรรคตน ไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
แต่ละมลรัฐจะได้รับจัดสรรจำนวนผู้แทน ซึ่งสามารถส่งไปร่วมการประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรคในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และที่ประชุมใหญ่นี้จะลงมติเลือกผู้สมัครของพรรคกันอย่างเป็นทางการ โดยที่ไพรมารีและคอคัสจะช่วยให้เหล่าผู้แทนตัดสินใจว่า พวกเขาควรจะโหวตเลือกผู้สมัครคนไหน
**ทำไมไอโอวาและนิวแฮมป์เชียร์จึงได้จัดเลือกตั้งขั้นต้นก่อนใครเพื่อน ?
ไม่มีเหตุผลคำอธิบายที่ชัดเจน แต่กลายเป็นประเพณีปฏิบัติซึ่งทำกันต่อๆ มา
บางครั้งก็มีผู้โต้แย้งว่ามลรัฐทั้ง 2 นี้ไม่สมควรได้รับเกียรติและอิทธิพลเช่นนี้หรอก เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นตัวแทนของทั่วประเทศสหรัฐฯเลย อาทิ มีขนาดเล็ก (โดยเฉพาะนิวแฮมป์เชียร์), ไม่ได้มีเมืองขนาดใหญ่ๆ เลย, และประชากรก็ไม่ได้มีความหลากหลายอะไรนัก
แต่เหตุผลที่ตอบโต้กลับมีอยู่ว่า ทั้ง 2 มลรัฐต่างมีผู้ออกเสียงซึ่งมีการศึกษาทางการเมืองเป็นอย่างดี จนสามารถตั้งคำถามจำนวนมากรุกไล่ให้ผู้สมัครต้องตอบให้กระจ่าง
**ที่เรียกกันว่า "ซูเปอร์ ทิวสเดย์" คืออะไร ?
ก็คือวัน (แน่นอนว่าเป็นวันอังคาร!) ที่มลรัฐจำนวนมากเลือกจัดไพรมารีหรือคอคัสในวันดังกล่าวพร้อมๆ กัน
มีการทำเช่นนี้กันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980
ในปี 2000 มี 16 มลรัฐจัดไพรมารีพร้อมกันในวันที่ 7 มีนาคม ทำให้วันนั้นมีผู้แทนถึงราว 60% ของทั้งหมดให้แย่งชิงกันทีเดียว
ในปี 2004 ซูเปอร์ ทิวสเดย์ ถูกแบ่งเป็น 2 วัน วันแรกคือ มินิ ทิวสเดย์ (หรือ ซูเปอร์ ทิวสเดย์ 1) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ จากนั้นก็เป็น ซูเปอร์ ทิวสเดย์ 2 ในวันที่ 2 มีนาคม โดยที่มลรัฐบิ๊กๆ อย่าง แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, โอไฮโอ จัดในวัน ซูเปอร์ ทิวสเดย์ 2
สำหรับปีนี้ วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ คือ "ซูเปอร์ ดูเปอร์ ทิวสเดย์" จะมี 22 มลรัฐจัดเลือกตั้งขั้นต้น รวมทั้ง แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, นิวเจอร์ซีย์, อิลลินอยส์
**คอคัสกับไพรมารี แตกต่างกันอย่างไร ?
ในคอคัสที่ไอโอวา ผู้ออกเสียงจะไปประชุมกันตามบ้านเรือน, โรงเรียน, และอาคารสาธารณะอื่นๆ ในเขตต่างๆ กว่า 1,780 เขตทั่วทั้งมลรัฐ เพื่ออภิปรายกันในเรื่องตัวผู้สมัครและประเด็นปัญหาสำคัญของชาติ
จากนั้นพวกเขาจะเลือกผู้แทนไปร่วมการประชุมใหญ่ระดับเคาน์ตี แล้วพวกผู้แทนในที่ประชุมใหญ่เคาน์ตี ก็จะเลือกผู้แทนที่จะไปประชุมใหญ่ระดับมลรัฐ โดยในที่ประชุมใหญ่ระดับมลรัฐจะมีการเลือกผู้แทนที่จะไปประชุมใหญ่ระดับชาติอีกชั้นหนึ่ง
ในคอคัสของฝ่ายพรรคเดโมแครต ผู้ออกเสียงจะแบ่งกันออกเป็นกลุ่มๆ อย่างเปิดเผยว่าสนับสนุนผู้สมัครคนไหน โดยแยกไปรวมตัวกันตามมุมต่างๆ ภายในห้องประชุม แล้วก็จะมีการแบ่งสรรผู้แทนกันตามจำนวนผู้สนับสนุนในแต่ละกลุ่ม
ส่วนคอคัสของฝ่ายพรรครีพับลิกัน จะใช้วิธีให้ผู้ออกเสียงหย่อนบัตรแบบลงคะแนนลับ ผลโหวตที่ออกมาก็จะนำมาใช้แบ่งสรรผู้แทนที่จะไปร่วมประชุมใหญ่ขั้นต่อไป
สำหรับคอคัสของมลรัฐอื่นๆ อาจมีกระบวนวิธีแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายมลรัฐนั้นๆ
ทางด้านการเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารีอย่างที่จัดขึ้นในนิวแฮมป์เชียร์นั้น ผู้ออกเสียงที่ลงทะเบียนไว้ในมลรัฐนั้นๆ จะได้ออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ตนเองชอบกันโดยตรง
ตามผลโพลรายวันล่าสุดของ รอยเตอร์/ซี-สแพน-ซอกบี้ ทางฟากพรรคเดโมแครตนั้น ฮิลลารี คลินตัน ผู้หวังจะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ กับ บารัค โอบามา ผู้หวังจะเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของอเมริกา ต่างได้คะแนนนิยมเท่ากับคือ 28% โดยที่ จอห์น เอดเวิร์ด อดีตผู้สมัครรองประธานาธิบดีในทีมของ จอห์น แคร์รี เมื่อปี 2004 ก็ตามหลังมาอย่างกระชั้นชิดด้วยความนิยม 26%
ขณะที่ด้านพรรครีพับลิกัน ไมก์ ฮักคาบี อดีตผู้ว่าการมลรัฐอาร์คันซอ เสียงตกลงมา 1% อยู่ที่ 28% ส่วน มิตต์ รอมนีย์ อดีตผู้ว่าการมลรัฐแมตซาชูเซตส์ ได้ 26% เพิ่มขึ้น 1% สำหรับ จอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกจากมลรัฐแอริโซนา เขาไม่ได้เน้นหาเสียงในไอโอวา โดยมุ่งโฟกัสไปที่การเลือกตั้งขั้นต้นในมลรัฐต่อไปมากกว่า ซึ่งก็คือ การเลือกตั้งแบบ "ไพรมารี" (primary) ที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ในวันอังคารหน้า(8) แต่ปรากฏว่าจากโพลล่าสุดของ พิว รีเสิร์ช เซนเตอร์ ซึ่งสำรวจคะแนนนิยมทั่วประเทศ เวลานี้แมคเคนกลายเป็นอันดับ 1 ของทางรีพับลิกัน ด้วยคะแนนนิยม 22% แซงหน้า รูดี จูลิอานี อดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ซึ่งครองแชมป์มานมนานไป 2%
คอคัสที่ไอโอวาของฝ่ายเดโมแครต จะเริ่มกันในเวลา 18.30 น. เวลาท้องถิ่น (ตรงกับ 7.30 น.วันนี้ เวลาเมืองไทย) ส่วนของฝ่ายรีพับลิกัน เริ่มเวลา 19.00 น. (ตรงกับ 8.00 น.วันนี้เวลาเมืองไทย)
กระบวนการรณรงค์ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มต้นอย่างเป็นทางการด้วยการเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารี และ คอคัส ตามมลรัฐต่างๆ เพื่อให้ได้ตัวผู้สมัครที่จะเป็นตัวแทนของพรรคการเมือง (ที่สำคัญย่อมเป็น 2 พรรคหลัก-เดโมแครต และ รีพับลิกัน) เข้าชิงชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีวันที่ 4 พฤศจิกายน
สำหรับปี 2008 นี้ ถือว่าเริ่มต้นเร็วกว่าในอดีตมาก ทำให้ช่วงเวลาจากจุดเริ่มต้นกระบวนการ ณ วันที่ 3 มกราคม ไปจนกระทั่งถึงการประชุมใหญ่ระดับชาติ (national convention) ของพรรค ที่จะได้ตัวผู้สมัครของแต่ละพรรคอย่างเป็นทางการ ซึ่งเดโมแครตกำหนดจัดขึ้นตอนปลายเดือนสิงหาคม ส่วนรีพับลิกันในต้นเดือนกันยายน จะยาวนานยิ่งกว่าที่เคย
อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่า การทำศึกเพื่อให้ได้เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคนี้ ในปีนี้อาจจะยุติได้อย่างรวดเร็วกว่าในอดีต นั่นคือ ราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ก็ทราบผลกันแล้ว แม้จะยังไม่เป็นทางการ
ต่อไปนี้เป็นบางคำถามคำตอบเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาตัวแทนของพรรคเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2008
**การจัดเลือกตั้งขั้นต้นของมลรัฐต่างๆ ในปีนี้เร็วขึ้นกว่าในอดีตแค่ไหน ?
จากปี 1972 ถึง 1992 กระบวนการนี้เริ่มขึ้นตอนปลายเดือนมกราคม (บางปีก็เป็นต้นกุมภาพันธ์) และกว่าที่จะทราบอย่างชัดเจนว่าใครจะได้เป็นผู้สมัครของพรรค ก็มักจะต้องลุ้นกันถึงวันอังคารแรกของเดือนมิถุนายน เมื่อมลรัฐแคลิฟอร์เนีย, นิวเจอร์ซีย์, และโอไอโอ จัดการเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารีของพวกตน
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งขั้นต้นที่เคยกินเวลาราว 4 เดือนกว่าจะทราบผล ในครั้งนี้อาจใช้เวลาแค่เดือนเดียว
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
วันเลือกตั้งขั้นต้นของปี 2008
3 ม.ค.คอคัสที่ไอโอวา
8 ม.ค.ไพรมารีที่นิวแฮมป์เชียร์
15ม.ค.ไพรมารีที่มิชิแกน
19ม.ค.คอคัสที่เนวาดา, ไพรมารีที่เซาท์แคโรไลนา (รีพับลิกัน)
26ม.ค.ไพรมารีที่เซาท์แคโรไลนา (เดโมแครต)
29ม.ค.ไพรมารีที่ฟลอริดา
5ก.พ.ไพรมารีราว 20 มลรัฐ รวมทั้ง แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, นิวเจอร์ซีย์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
**การเลื่อนเร็วขึ้นมากเช่นนี้เป็นปัญหาไหม ?
นักวิจารณ์จำนวนมากมองว่า การที่ผู้สมัครใช้เวลา 4 เดือนตระเวนไปทั่วประเทศเพื่อพบปะผู้ออกเสียง นับเป็นบททดสอบอันดีที่จะทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้สมัครแต่ละคน และทำให้ชาวอเมริกันมีโอกาสมากที่จะตัดสินว่าชอบนักการเมืองคนไหนที่สุด
นอกจากนั้น ผู้สมัครที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักแต่เกิดทำได้ดีในคอคัสหรือไพรมารีที่มลรัฐแรกๆ ก็จะมีโอกาสที่จะดึงดูดเงินทุนสนับสนุน และจัดทีมรณรงค์หาเสียงที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทว่าตารางเวลาของปีนี้ทำให้แทบไม่มีเวลาให้ม้ามืดนอกสายตารวบรวมกำลังยืนผงาดขึ้นมาได้
**แล้วทำไมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา ?
บางมลรัฐรู้สึกว่าระบบที่เคยใช้กันมา ให้ความสำคัญมากเกินไปแก่มลรัฐที่อยู่ลำดับต้นๆ ของกระบวนการคัดสรร และให้ความสำคัญน้อยเกินไปแก่มลรัฐซึ่งอยู่ลำดับปลายๆ ของกระบวนการ ดังนั้น ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 พวกเขาจึงเริ่มขยับจัดไพรมารีและคอคัสของมลรัฐตนให้เร็วขึ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงยิ่งทำให้มลรัฐซึ่งในลำดับท้ายๆ รู้สึกเสียเปรียบหนักขึ้นอีก เลยเป็นแรงจูงใจให้พากันเลื่อนขึ้นหน้า
อย่างไรก็ตาม มลรัฐอย่างไอโอวา และ นิวแฮมป์เชียร์ ซึ่งเคยอยู่ลำดับต้นๆ มานมนานแล้ว ก็ตอบโต้ด้วยการจัดไพรมารีและคอคัสของตนให้เร็วขึ้นด้วย
**การจัดไพรมารีและคอรัสมีวัตถุประสงค์อะไร ?
การเลือกตั้งหยั่งเสียงขั้นต้นเหล่านี้ คือการเปิดโอกาสให้พวกผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตหรือรีพับลิกัน ในแต่ละมลรัฐของสหรัฐฯ ได้แสดงความคิดเห็นออกมาว่าพวกเขาอยากให้ผู้สมัครคนไหนเป็นตัวแทนของพรรคตน ไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
แต่ละมลรัฐจะได้รับจัดสรรจำนวนผู้แทน ซึ่งสามารถส่งไปร่วมการประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรคในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน และที่ประชุมใหญ่นี้จะลงมติเลือกผู้สมัครของพรรคกันอย่างเป็นทางการ โดยที่ไพรมารีและคอคัสจะช่วยให้เหล่าผู้แทนตัดสินใจว่า พวกเขาควรจะโหวตเลือกผู้สมัครคนไหน
**ทำไมไอโอวาและนิวแฮมป์เชียร์จึงได้จัดเลือกตั้งขั้นต้นก่อนใครเพื่อน ?
ไม่มีเหตุผลคำอธิบายที่ชัดเจน แต่กลายเป็นประเพณีปฏิบัติซึ่งทำกันต่อๆ มา
บางครั้งก็มีผู้โต้แย้งว่ามลรัฐทั้ง 2 นี้ไม่สมควรได้รับเกียรติและอิทธิพลเช่นนี้หรอก เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นตัวแทนของทั่วประเทศสหรัฐฯเลย อาทิ มีขนาดเล็ก (โดยเฉพาะนิวแฮมป์เชียร์), ไม่ได้มีเมืองขนาดใหญ่ๆ เลย, และประชากรก็ไม่ได้มีความหลากหลายอะไรนัก
แต่เหตุผลที่ตอบโต้กลับมีอยู่ว่า ทั้ง 2 มลรัฐต่างมีผู้ออกเสียงซึ่งมีการศึกษาทางการเมืองเป็นอย่างดี จนสามารถตั้งคำถามจำนวนมากรุกไล่ให้ผู้สมัครต้องตอบให้กระจ่าง
**ที่เรียกกันว่า "ซูเปอร์ ทิวสเดย์" คืออะไร ?
ก็คือวัน (แน่นอนว่าเป็นวันอังคาร!) ที่มลรัฐจำนวนมากเลือกจัดไพรมารีหรือคอคัสในวันดังกล่าวพร้อมๆ กัน
มีการทำเช่นนี้กันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980
ในปี 2000 มี 16 มลรัฐจัดไพรมารีพร้อมกันในวันที่ 7 มีนาคม ทำให้วันนั้นมีผู้แทนถึงราว 60% ของทั้งหมดให้แย่งชิงกันทีเดียว
ในปี 2004 ซูเปอร์ ทิวสเดย์ ถูกแบ่งเป็น 2 วัน วันแรกคือ มินิ ทิวสเดย์ (หรือ ซูเปอร์ ทิวสเดย์ 1) วันที่ 3 กุมภาพันธ์ จากนั้นก็เป็น ซูเปอร์ ทิวสเดย์ 2 ในวันที่ 2 มีนาคม โดยที่มลรัฐบิ๊กๆ อย่าง แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, โอไฮโอ จัดในวัน ซูเปอร์ ทิวสเดย์ 2
สำหรับปีนี้ วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ คือ "ซูเปอร์ ดูเปอร์ ทิวสเดย์" จะมี 22 มลรัฐจัดเลือกตั้งขั้นต้น รวมทั้ง แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก, นิวเจอร์ซีย์, อิลลินอยส์
**คอคัสกับไพรมารี แตกต่างกันอย่างไร ?
ในคอคัสที่ไอโอวา ผู้ออกเสียงจะไปประชุมกันตามบ้านเรือน, โรงเรียน, และอาคารสาธารณะอื่นๆ ในเขตต่างๆ กว่า 1,780 เขตทั่วทั้งมลรัฐ เพื่ออภิปรายกันในเรื่องตัวผู้สมัครและประเด็นปัญหาสำคัญของชาติ
จากนั้นพวกเขาจะเลือกผู้แทนไปร่วมการประชุมใหญ่ระดับเคาน์ตี แล้วพวกผู้แทนในที่ประชุมใหญ่เคาน์ตี ก็จะเลือกผู้แทนที่จะไปประชุมใหญ่ระดับมลรัฐ โดยในที่ประชุมใหญ่ระดับมลรัฐจะมีการเลือกผู้แทนที่จะไปประชุมใหญ่ระดับชาติอีกชั้นหนึ่ง
ในคอคัสของฝ่ายพรรคเดโมแครต ผู้ออกเสียงจะแบ่งกันออกเป็นกลุ่มๆ อย่างเปิดเผยว่าสนับสนุนผู้สมัครคนไหน โดยแยกไปรวมตัวกันตามมุมต่างๆ ภายในห้องประชุม แล้วก็จะมีการแบ่งสรรผู้แทนกันตามจำนวนผู้สนับสนุนในแต่ละกลุ่ม
ส่วนคอคัสของฝ่ายพรรครีพับลิกัน จะใช้วิธีให้ผู้ออกเสียงหย่อนบัตรแบบลงคะแนนลับ ผลโหวตที่ออกมาก็จะนำมาใช้แบ่งสรรผู้แทนที่จะไปร่วมประชุมใหญ่ขั้นต่อไป
สำหรับคอคัสของมลรัฐอื่นๆ อาจมีกระบวนวิธีแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายมลรัฐนั้นๆ
ทางด้านการเลือกตั้งขั้นต้นแบบไพรมารีอย่างที่จัดขึ้นในนิวแฮมป์เชียร์นั้น ผู้ออกเสียงที่ลงทะเบียนไว้ในมลรัฐนั้นๆ จะได้ออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ตนเองชอบกันโดยตรง