ผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อธ.ค.พุ่งปรี๊ด 3.2% สูงสุดในรอบปี แต่เฉลี่ยทั้งปี 2.3% ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ “พาณิชย์"เป็นปลื้มมาตรการบริหารจัดการราคาสินค้าได้ผล ทำให้คุมเงินเฟ้อได้อยู่หมัด ส่วนเงินเฟ้อปีนี้ตั้งเป้าเพิ่ม 3-3.5% หลังสินค้าจ่อคิวขยับราคา “ศิริพล”สั่งกรมการค้าภายในเพิ่มมาตรการช่วยค่าครองชีพผู้บริโภค ขู่ใครทำสินค้าปั่นป่วนจับยัดบัญชีควบคุมทันที
+++นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนธ.ค.2550 เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.1% เทียบกับเดือนธ.ค.2549 สูงขึ้น 3.2% เป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบปี2550 และเทียบเฉลี่ยทั้งปี 2550 กับปี2549 สูงขึ้น 2.3% ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ว่าอัตราเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 2-2.5%
+++ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั้งปีที่สูงขึ้น 2.3% นั้น เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2549 ที่เงินเฟ้อทั้งปีสูงถึง 4.7% เนื่องจากในช่วง 9 เดือนแรกราคาเฉลี่ยน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มลดลง และเริ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีตามภาวะราคาตลาดโลก ที่ส่งผลให้มีการปรับค่าโดยสารสาธารณะ สินค้าต่างๆ มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และยังมีการปรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุราสูงขึ้น ทำให้ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.2% ถึงแม้ค่าไฟฟ้าจะปรับลดลงก็ตาม
+++ส่วนดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มในรอบปีสูงขึ้นค่อนข้างมาก 4% จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มใช้ประกอบอาหารในช่วงครึ่งปีหลัง เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา กาแฟ ถึงแม้กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ราคาจะมีแนวโน้มลดลง แต่ถ้าเทียบกับปีที่ผ่านมา ดัชนียังคงสูงขึ้นถึง 11.9%
+++“ผลจากการชะลอตัวของราคาสินค้าในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับการบริหารจัดการด้านราคาของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ผล ทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อในปี 2550 อ่อนตัวลงกว่าปีที่ผ่านมา และอยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้”นายศิริพลกล่าว
++++ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานของประเทศ ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหาร และกลุ่มพลังงาน คิดเป็น 24% ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดออก เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2550 สูงขึ้น 0.1% เทียบกับเดือนธ.ค.2549 สูงขึ้น 1.2% และเฉลี่ยทั้งปี 2550 สูงขึ้น 1.1%
+++นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับเงินเฟ้อในปี 2551 กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยอยู่ในระดับ 3-3.5% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 80-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 33-33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4-5% โดยมั่นใจว่ากระทรวงพาณิชย์จะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แม้ว่าในปีนี้จะมีแรงกดดันจากการปรับขึ้นราคาสินค้าหลายๆ รายการก็ตาม
+++“การที่สินค้าจะปรับขึ้นราคาช่วงปีใหม่ แน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ แต่การประเมินเงินเฟ้อไม่ใช่ดูแค่สินค้ารายการใดรายการหนึ่ง ต้องดูภาพรวมสินค้าทั้งหมด ซึ่งมีทั้งปรับขึ้น และลดลง ดังนั้น จึงมั่นใจว่าคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมายแน่”นายศิริพลกล่าว
+++นายศิริพลกล่าวว่า ในการดูแลค่าครองชีพของประชาชนในปีนี้ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในเพิ่มมาตรการที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งการดูแลภาวะราคาสินค้า โครงการธงฟ้า และโครงการอิ่มทั่วฟ้าราคาประหยัด
+++ขณะเดียวกัน อยากจะขอเตือนผู้ประกอบการอย่าปรับขึ้นราคาสินค้าโดยคำนึงถึงแค่ตัวเอง ขอให้ดูผลกระทบต่อผู้ประกอบการหรือผู้ใช้สินค้าในขั้นถัดไปด้วยว่าได้รับผลกระทบหรือไม่ โดยหากพบเห็นการปรับขึ้นราคาแบบไม่มีเหตุอันควร ขอให้กรมการค้าภายในดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้งให้พิจารณานำเข้าเป็นสินค้าควบคุม ส่วนผู้บริโภคหากพบเห็นภาวะราคาสินค้าผิดปกติให้แจ้งสายด่วนแม่บ้าน 1569 กระทรวงพาณิชย์จะรีบเข้าไปดูแลทันที
+++นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนธ.ค.2550 เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.1% เทียบกับเดือนธ.ค.2549 สูงขึ้น 3.2% เป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบปี2550 และเทียบเฉลี่ยทั้งปี 2550 กับปี2549 สูงขึ้น 2.3% ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ว่าอัตราเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 2-2.5%
+++ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั้งปีที่สูงขึ้น 2.3% นั้น เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2549 ที่เงินเฟ้อทั้งปีสูงถึง 4.7% เนื่องจากในช่วง 9 เดือนแรกราคาเฉลี่ยน้ำมันในประเทศมีแนวโน้มลดลง และเริ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีตามภาวะราคาตลาดโลก ที่ส่งผลให้มีการปรับค่าโดยสารสาธารณะ สินค้าต่างๆ มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และยังมีการปรับภาษีสรรพสามิตบุหรี่และสุราสูงขึ้น ทำให้ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.2% ถึงแม้ค่าไฟฟ้าจะปรับลดลงก็ตาม
+++ส่วนดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มในรอบปีสูงขึ้นค่อนข้างมาก 4% จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มใช้ประกอบอาหารในช่วงครึ่งปีหลัง เช่น น้ำมันพืช น้ำปลา กาแฟ ถึงแม้กลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะผักและผลไม้ราคาจะมีแนวโน้มลดลง แต่ถ้าเทียบกับปีที่ผ่านมา ดัชนียังคงสูงขึ้นถึง 11.9%
+++“ผลจากการชะลอตัวของราคาสินค้าในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับการบริหารจัดการด้านราคาของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ผล ทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อในปี 2550 อ่อนตัวลงกว่าปีที่ผ่านมา และอยู่ในกรอบที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้”นายศิริพลกล่าว
++++ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานของประเทศ ที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหาร และกลุ่มพลังงาน คิดเป็น 24% ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดออก เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.2550 สูงขึ้น 0.1% เทียบกับเดือนธ.ค.2549 สูงขึ้น 1.2% และเฉลี่ยทั้งปี 2550 สูงขึ้น 1.1%
+++นายศิริพลกล่าวว่า สำหรับเงินเฟ้อในปี 2551 กระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยอยู่ในระดับ 3-3.5% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 80-85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 33-33.5 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4-5% โดยมั่นใจว่ากระทรวงพาณิชย์จะดูแลอัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ แม้ว่าในปีนี้จะมีแรงกดดันจากการปรับขึ้นราคาสินค้าหลายๆ รายการก็ตาม
+++“การที่สินค้าจะปรับขึ้นราคาช่วงปีใหม่ แน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ แต่การประเมินเงินเฟ้อไม่ใช่ดูแค่สินค้ารายการใดรายการหนึ่ง ต้องดูภาพรวมสินค้าทั้งหมด ซึ่งมีทั้งปรับขึ้น และลดลง ดังนั้น จึงมั่นใจว่าคุมเงินเฟ้อได้ตามเป้าหมายแน่”นายศิริพลกล่าว
+++นายศิริพลกล่าวว่า ในการดูแลค่าครองชีพของประชาชนในปีนี้ ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในเพิ่มมาตรการที่ดำเนินการอยู่แล้วให้เข้มข้นมากขึ้น ทั้งการดูแลภาวะราคาสินค้า โครงการธงฟ้า และโครงการอิ่มทั่วฟ้าราคาประหยัด
+++ขณะเดียวกัน อยากจะขอเตือนผู้ประกอบการอย่าปรับขึ้นราคาสินค้าโดยคำนึงถึงแค่ตัวเอง ขอให้ดูผลกระทบต่อผู้ประกอบการหรือผู้ใช้สินค้าในขั้นถัดไปด้วยว่าได้รับผลกระทบหรือไม่ โดยหากพบเห็นการปรับขึ้นราคาแบบไม่มีเหตุอันควร ขอให้กรมการค้าภายในดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้งให้พิจารณานำเข้าเป็นสินค้าควบคุม ส่วนผู้บริโภคหากพบเห็นภาวะราคาสินค้าผิดปกติให้แจ้งสายด่วนแม่บ้าน 1569 กระทรวงพาณิชย์จะรีบเข้าไปดูแลทันที