เมื่อเดือนธันวาคมปีกลายที่ผ่านมา (2550) เป็นวาระครบร้อยปีของคุณหมอบุญส่ง เลขะกุล นักอนุรักษ์ (conservation) ผู้มีชื่อเสียงระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยที่ตัวคุญหมอบุญส่งเองได้ลาจากโลกนี้ไปตั้งแต่ปี 2535 หรือเมื่อกว่า 15 ปีก่อน
ตัวผมเองไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือรู้จักคุณหมอบุญส่งเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด แต่ถ้ากล่าวในแง่ผลงานของคุณหมอบุญส่งแล้ว ผมรู้จักตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 5 (ป.5) เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ตอนที่ผมเรียนชั้นประถมต้นอยู่นั้น ผมเรียนอีกโรงเรียนหนึ่ง โรงเรียนนี้ไม่มีห้องสมุด และพอมาเข้าโรงเรียนใหม่ซึ่งมีห้องสมุด ผมจึงรู้สึกตื่นเต้นมาก
ผมจำได้ว่า หนังสือเล่มแรกๆ ที่ผมหยิบยืมมาอ่านนั้นคือหนังสือ “นิยมไพร” ที่ออกโดยนิยมไพรสมาคมซึ่งมีคุณหมอบุญส่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญ นอกจากนั้นก็ยังมีอีกบางเล่มที่เขียนขึ้นโดยคุณหมอบุญส่งอีกจำนวนหนึ่ง ที่โดยมากแล้วมักจะเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของสัตว์ป่า
ด้วยความเป็นเด็กในเวลานั้น ผมติดอกติดใจกับหนังสือของคุณหมอบุญส่งมาก เพราะคุณหมอเขียนด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายๆ และเหมาะสำหรับเด็ก (ที่ไร้เดียงสา) อย่างผม บางเรื่องคุณหมอบุญส่งเขียนแบบให้สัตว์ป่าเป็นคนเล่าเรื่อง ซึ่งวิธีแบบนี้เหมือนกับให้สัตว์ป่าบอกเล่าความในใจของตนแก่เพื่อนมนุษย์
เนื่องจากเวลานั้นห้องสมุดของโรงเรียนไม่ได้ใหญ่โตมากนัก หนังสือจึงมีไม่มาก ดังนั้น หนังสือที่ผมชอบจึงมีอยู่ไม่กี่เล่ม โดย 1 ในนั้นมักจะมีหนังสือของคุณหมอบุญส่งรวมอยู่ด้วยเสมอ และบางเล่มในจำนวนนี้ผมอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่รู้เบื่อ และสิ่งหนึ่งที่ซึมซับเข้าไปในความรู้สึกโดยที่ผมไม่รู้ตัวก็คือ ความคิดในเรื่องของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ปณิธานของคุณหมอบุญส่งในเรื่องการเผยแพร่ทัศนะเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติประสบผลสำเร็จพอสมควร อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งที่เป็นผลผลิตของคุณหมอบุญส่ง แม้ผมจะไม่ได้มีกิจกรรมในเรื่องนี้แต่อย่างใดก็ตาม
แต่เส้นทางชีวิตของคนเรานั้นมักจะมีเรื่องที่พลิกผันเปลี่ยนแปลงโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ ใครจะไปนึกว่าเมื่อผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้เพียงไม่กี่ปี จู่ๆ ผมก็ได้มีโอกาสทำหนังสือเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติขึ้นมาโดยการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ตอนนี้เองที่ทำให้ผมได้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติขึ้นมาโดยตรง ถึงแม้ว่าสำหรับผมแล้ว มันจะเป็น “อาชีพ” ที่ผมจำต้องหารายได้มาเลี้ยงตัวเองก็ตาม
ช่วงชีวิตในตอนนั้นเองที่ทำให้ผมได้สัมผัสกับหนังสือในแนวนี้อย่างมากมาย ซึ่งมีทั้งของไทยเราเองและของต่างชาติ มีทั้งที่เป็นวิชาการหนักๆ และสารคดีเบาๆ กล่าวเฉพาะของไทยแล้วมักจะหนีไม่พ้นหนังสือของนิยมไพรสมาคมหรือของคุณหมอบุญส่งนั่นเอง ชีวิตในช่วงนี้ของผมจึงได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์โดยตรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเนื่องจากความคิดนี้ถูกปลูกฝังโดยคุณหมอบุญส่งมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็กประถม ผมจึงมีพื้นฐานความรู้สึกที่ดีต่อเรื่องนี้ และทำให้สามารถอ่านหนังสือในแนวนี้ได้โดยไม่รู้สึกว่ามันเป็นอาชีพแต่อย่างใด
ตอนที่ทำหนังสือที่ว่านี้เองที่ผมได้มีโอกาสพบกับคุณหมอบุญส่งในช่วงสั้นๆ ผมจำได้ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณหมอบุญส่งได้นำเอาหนังเกี่ยวกับกูปรี กระทิง และชะนีมาฉายให้แก่สาธารณชนได้ดู โดยมีคุณหมอบุญส่งเป็นผู้บรรยายประกอบเป็นระยะๆ นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้ผมเห็นว่า คุณหมอบุญส่งเป็นผู้บรรยายที่ลูกเล่นแพรวพราวจนเป็นที่น่าประทับใจและจดจำ
อย่างเช่นตอนที่บรรยายถึงชีวิตของชะนีนั้น คุณหมอบุญส่งจะบรรยายแบบให้ความรู้พื้นฐานไปเรื่อยๆ ก่อน และพอมาถึงช่วงที่หนังฉายให้เห็นชะนีโหนต้นไม้จากต้นนั้นมาต้นนี้ คุณหมอบุญส่งจะพูดติดตลกและน่ารักแบบคนสูงวัยขึ้นมาว่า “โหนยังไงก็ไม่รู้ ไม่ยักจะตกซักทีแฮะ” ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้เบาๆ พอให้ได้ครื้นเครง
การเป็นนักอนุรักษ์ของคุณหมอบุญส่งนั้น หาได้เป็นไปในแง่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้แก่สาธารณชนแต่เพียงด้านเดียวไม่ ตรงกันข้าม คุณหมอบุญส่งยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เมืองไทยมีกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่าขึ้นมาอีกด้วย จนกล่าวได้ว่า หากไม่มีคุณหมอบุญส่งแล้ว ก็ยากที่เมืองไทยจะมีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาได้ง่ายๆ
ที่ควรกล่าวด้วยก็คือว่า กว่าคุณหมอบุญส่งจะผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมานั้น คุณหมอบุญส่งได้ใช้ความพยายามอย่างมหาศาลในอันที่จะทำให้ “นักการเมือง” ในสมัยนั้นเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายฉบับนี้ โดยกว่าที่ “นักการเมือง” เหล่านี้จะเกิดดวงตาที่เห็นธรรมก็ต้องใช้เวลานานหลายปีดีดัก
นอกจากนี้แล้ว คุณหมอบุญส่งยังมีผลงานอีกจำนวนไม่น้อยที่จัดเป็นผลงานวิจัยที่ทรงคุณค่าแก่สังคมไทยอีกด้วย ผลงานเหล่านี้ยังถูกใช้อ้างอิงทั้งในไทยและต่างประเทศมาจนถึงทุกวันนี้
จะอย่างไรก็ตาม จากการที่ผมได้ทำหนังสือเล่มที่ว่านี้เอง ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสพบปะกับผู้คนในแวดวงอนุรักษ์ไปด้วย ในบรรดาคนเหล่านี้จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่แม้จะชื่นชมและยอมรับในสิ่งที่คุณหมอบุญส่งทำก็ตาม แต่ก็อดไม่ได้ที่จะกังขากับภูมิหลังของคุณหมอบุญส่งที่เคยเป็นนักล่าสัตว์มาก่อนที่จะเป็นนักอนุรักษ์ บางคนไปไกลสุดโต่งถึงกับรับไม่ได้ก็มี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมมีทัศนะส่วนตัวของผมมาตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว ว่าหากคนเราคิดแบบนี้กันไปหมดก็คงไม่ต้องทำอะไรกัน
อย่างเช่น คนที่เคยใช้ชีวิตในทางโลกย์มาอย่างโชกโชนและเหลวแหลก แต่อยู่มาวันหนึ่งเกิดคิดได้ว่าชีวิตเช่นนี้ไม่ดี แล้วคิดอยากจะบวชขึ้นมา ถ้าคิดแบบกลุ่มคนที่ผมกล่าวมาข้างต้น คนคนนี้ก็คงไม่ต้องบวชกันพอดี เพราะบวชไปยังไง คนกลุ่มที่ว่าก็จะมองว่า ใช่สิ, ที่บวชได้ก็เพราะได้ผ่านชีวิตทางโลกย์มาจนเบื่อแล้วนี่ ลองไม่เบื่อก็ไม่มีทางบวชหรอก ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น ยิ่งถ้าหากคนที่บวชคนนี้เกิดกลายเป็นพระนักเทศน์หรือเขียนนักสือธรรมะที่มีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยแล้ว คนกลุ่มที่ว่าก็จะยิ่งรื้อฟื้นความหลังมาถ่วงอยู่ร่ำไป เหมือนกับพยายามที่จะกลบความดีในปัจจุบันยังไงยังงั้น
เชื่อหรือไม่ว่า มีอยู่คนหนึ่งซึ่งเป็นคนต่างชาติถึงกับสมน้ำหน้าคุณหมอบุญส่ง เมื่อรู้ว่าคุณหมอบุญส่งล้มป่วยลง
จะอย่างไรก็ตาม ทั้งก่อนและหลังจากที่คุณหมอบุญส่งได้ถึงแก่กรรมไปในปี 2535 นั้น สถานการณ์ของสัตว์ป่าและธรรมชาติของเมืองไทยก็ไม่ได้มีอะไรที่ดีขึ้น ทุกวันนี้หากไม่ทรงๆ ก็มีแต่จะทรุดลง ยิ่งการตัดไม้ทำลายป่าด้วยแล้ว ก็ดูเหมือนยิ่งหนักข้อมากขึ้น และยิ่งตัดมากเพียงใด ก็หมายความว่าสัตว์จะถูกคุกคามมากขึ้นและลดจำนวนลง
ที่น่าเศร้าก็คือว่า หลายปีมานี้การอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติในเมืองไทยได้ถูกบิดเบือนไปจากที่ควรจะเป็นอย่างมาก การบิดเบือนนี้เป็นไปเพื่อมุ่งสู่ผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้มีการบริโภคสัตว์ป่าอย่างถูกกฎหมายของข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองบางคน หรือการหลอมละลายผลประโยชน์ของคนที่อ้างว่าเป็นนักอนุรักษ์บางคนที่ไปรับใช้นายทุนเพื่อหากำไรจากสัตว์ป่าหรือสัตว์ทะเล เป็นต้น
นี่ขนาดมีคุณหมอบุญส่งมาวางรากฐานการอนุรักษ์เอาไว้ยังเป็นได้ถึงขนาดนี้ หากไม่มีคุณหมอบุญส่งและนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ที่เป็นตัวจริงเสียงจริงแล้ว จะขนาดไหน?
ตัวผมเองไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือรู้จักคุณหมอบุญส่งเป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด แต่ถ้ากล่าวในแง่ผลงานของคุณหมอบุญส่งแล้ว ผมรู้จักตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 5 (ป.5) เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า ตอนที่ผมเรียนชั้นประถมต้นอยู่นั้น ผมเรียนอีกโรงเรียนหนึ่ง โรงเรียนนี้ไม่มีห้องสมุด และพอมาเข้าโรงเรียนใหม่ซึ่งมีห้องสมุด ผมจึงรู้สึกตื่นเต้นมาก
ผมจำได้ว่า หนังสือเล่มแรกๆ ที่ผมหยิบยืมมาอ่านนั้นคือหนังสือ “นิยมไพร” ที่ออกโดยนิยมไพรสมาคมซึ่งมีคุณหมอบุญส่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญ นอกจากนั้นก็ยังมีอีกบางเล่มที่เขียนขึ้นโดยคุณหมอบุญส่งอีกจำนวนหนึ่ง ที่โดยมากแล้วมักจะเกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตของสัตว์ป่า
ด้วยความเป็นเด็กในเวลานั้น ผมติดอกติดใจกับหนังสือของคุณหมอบุญส่งมาก เพราะคุณหมอเขียนด้วยภาษาที่อ่านเข้าใจง่ายๆ และเหมาะสำหรับเด็ก (ที่ไร้เดียงสา) อย่างผม บางเรื่องคุณหมอบุญส่งเขียนแบบให้สัตว์ป่าเป็นคนเล่าเรื่อง ซึ่งวิธีแบบนี้เหมือนกับให้สัตว์ป่าบอกเล่าความในใจของตนแก่เพื่อนมนุษย์
เนื่องจากเวลานั้นห้องสมุดของโรงเรียนไม่ได้ใหญ่โตมากนัก หนังสือจึงมีไม่มาก ดังนั้น หนังสือที่ผมชอบจึงมีอยู่ไม่กี่เล่ม โดย 1 ในนั้นมักจะมีหนังสือของคุณหมอบุญส่งรวมอยู่ด้วยเสมอ และบางเล่มในจำนวนนี้ผมอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่รู้เบื่อ และสิ่งหนึ่งที่ซึมซับเข้าไปในความรู้สึกโดยที่ผมไม่รู้ตัวก็คือ ความคิดในเรื่องของการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ปณิธานของคุณหมอบุญส่งในเรื่องการเผยแพร่ทัศนะเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติประสบผลสำเร็จพอสมควร อย่างน้อยก็มีผมคนหนึ่งที่เป็นผลผลิตของคุณหมอบุญส่ง แม้ผมจะไม่ได้มีกิจกรรมในเรื่องนี้แต่อย่างใดก็ตาม
แต่เส้นทางชีวิตของคนเรานั้นมักจะมีเรื่องที่พลิกผันเปลี่ยนแปลงโดยไม่รู้ตัวอยู่เสมอ ใครจะไปนึกว่าเมื่อผมเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้เพียงไม่กี่ปี จู่ๆ ผมก็ได้มีโอกาสทำหนังสือเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติขึ้นมาโดยการแนะนำของเพื่อนคนหนึ่ง ตอนนี้เองที่ทำให้ผมได้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติขึ้นมาโดยตรง ถึงแม้ว่าสำหรับผมแล้ว มันจะเป็น “อาชีพ” ที่ผมจำต้องหารายได้มาเลี้ยงตัวเองก็ตาม
ช่วงชีวิตในตอนนั้นเองที่ทำให้ผมได้สัมผัสกับหนังสือในแนวนี้อย่างมากมาย ซึ่งมีทั้งของไทยเราเองและของต่างชาติ มีทั้งที่เป็นวิชาการหนักๆ และสารคดีเบาๆ กล่าวเฉพาะของไทยแล้วมักจะหนีไม่พ้นหนังสือของนิยมไพรสมาคมหรือของคุณหมอบุญส่งนั่นเอง ชีวิตในช่วงนี้ของผมจึงได้รับความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์โดยตรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และเนื่องจากความคิดนี้ถูกปลูกฝังโดยคุณหมอบุญส่งมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็กประถม ผมจึงมีพื้นฐานความรู้สึกที่ดีต่อเรื่องนี้ และทำให้สามารถอ่านหนังสือในแนวนี้ได้โดยไม่รู้สึกว่ามันเป็นอาชีพแต่อย่างใด
ตอนที่ทำหนังสือที่ว่านี้เองที่ผมได้มีโอกาสพบกับคุณหมอบุญส่งในช่วงสั้นๆ ผมจำได้ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งคุณหมอบุญส่งได้นำเอาหนังเกี่ยวกับกูปรี กระทิง และชะนีมาฉายให้แก่สาธารณชนได้ดู โดยมีคุณหมอบุญส่งเป็นผู้บรรยายประกอบเป็นระยะๆ นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้ผมเห็นว่า คุณหมอบุญส่งเป็นผู้บรรยายที่ลูกเล่นแพรวพราวจนเป็นที่น่าประทับใจและจดจำ
อย่างเช่นตอนที่บรรยายถึงชีวิตของชะนีนั้น คุณหมอบุญส่งจะบรรยายแบบให้ความรู้พื้นฐานไปเรื่อยๆ ก่อน และพอมาถึงช่วงที่หนังฉายให้เห็นชะนีโหนต้นไม้จากต้นนั้นมาต้นนี้ คุณหมอบุญส่งจะพูดติดตลกและน่ารักแบบคนสูงวัยขึ้นมาว่า “โหนยังไงก็ไม่รู้ ไม่ยักจะตกซักทีแฮะ” ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากคนดูได้เบาๆ พอให้ได้ครื้นเครง
การเป็นนักอนุรักษ์ของคุณหมอบุญส่งนั้น หาได้เป็นไปในแง่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้แก่สาธารณชนแต่เพียงด้านเดียวไม่ ตรงกันข้าม คุณหมอบุญส่งยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เมืองไทยมีกฎหมายอนุรักษ์สัตว์ป่าขึ้นมาอีกด้วย จนกล่าวได้ว่า หากไม่มีคุณหมอบุญส่งแล้ว ก็ยากที่เมืองไทยจะมีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาได้ง่ายๆ
ที่ควรกล่าวด้วยก็คือว่า กว่าคุณหมอบุญส่งจะผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมานั้น คุณหมอบุญส่งได้ใช้ความพยายามอย่างมหาศาลในอันที่จะทำให้ “นักการเมือง” ในสมัยนั้นเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายฉบับนี้ โดยกว่าที่ “นักการเมือง” เหล่านี้จะเกิดดวงตาที่เห็นธรรมก็ต้องใช้เวลานานหลายปีดีดัก
นอกจากนี้แล้ว คุณหมอบุญส่งยังมีผลงานอีกจำนวนไม่น้อยที่จัดเป็นผลงานวิจัยที่ทรงคุณค่าแก่สังคมไทยอีกด้วย ผลงานเหล่านี้ยังถูกใช้อ้างอิงทั้งในไทยและต่างประเทศมาจนถึงทุกวันนี้
จะอย่างไรก็ตาม จากการที่ผมได้ทำหนังสือเล่มที่ว่านี้เอง ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสพบปะกับผู้คนในแวดวงอนุรักษ์ไปด้วย ในบรรดาคนเหล่านี้จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่แม้จะชื่นชมและยอมรับในสิ่งที่คุณหมอบุญส่งทำก็ตาม แต่ก็อดไม่ได้ที่จะกังขากับภูมิหลังของคุณหมอบุญส่งที่เคยเป็นนักล่าสัตว์มาก่อนที่จะเป็นนักอนุรักษ์ บางคนไปไกลสุดโต่งถึงกับรับไม่ได้ก็มี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ผมมีทัศนะส่วนตัวของผมมาตั้งแต่ครั้งนั้นแล้ว ว่าหากคนเราคิดแบบนี้กันไปหมดก็คงไม่ต้องทำอะไรกัน
อย่างเช่น คนที่เคยใช้ชีวิตในทางโลกย์มาอย่างโชกโชนและเหลวแหลก แต่อยู่มาวันหนึ่งเกิดคิดได้ว่าชีวิตเช่นนี้ไม่ดี แล้วคิดอยากจะบวชขึ้นมา ถ้าคิดแบบกลุ่มคนที่ผมกล่าวมาข้างต้น คนคนนี้ก็คงไม่ต้องบวชกันพอดี เพราะบวชไปยังไง คนกลุ่มที่ว่าก็จะมองว่า ใช่สิ, ที่บวชได้ก็เพราะได้ผ่านชีวิตทางโลกย์มาจนเบื่อแล้วนี่ ลองไม่เบื่อก็ไม่มีทางบวชหรอก ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น ยิ่งถ้าหากคนที่บวชคนนี้เกิดกลายเป็นพระนักเทศน์หรือเขียนนักสือธรรมะที่มีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยแล้ว คนกลุ่มที่ว่าก็จะยิ่งรื้อฟื้นความหลังมาถ่วงอยู่ร่ำไป เหมือนกับพยายามที่จะกลบความดีในปัจจุบันยังไงยังงั้น
เชื่อหรือไม่ว่า มีอยู่คนหนึ่งซึ่งเป็นคนต่างชาติถึงกับสมน้ำหน้าคุณหมอบุญส่ง เมื่อรู้ว่าคุณหมอบุญส่งล้มป่วยลง
จะอย่างไรก็ตาม ทั้งก่อนและหลังจากที่คุณหมอบุญส่งได้ถึงแก่กรรมไปในปี 2535 นั้น สถานการณ์ของสัตว์ป่าและธรรมชาติของเมืองไทยก็ไม่ได้มีอะไรที่ดีขึ้น ทุกวันนี้หากไม่ทรงๆ ก็มีแต่จะทรุดลง ยิ่งการตัดไม้ทำลายป่าด้วยแล้ว ก็ดูเหมือนยิ่งหนักข้อมากขึ้น และยิ่งตัดมากเพียงใด ก็หมายความว่าสัตว์จะถูกคุกคามมากขึ้นและลดจำนวนลง
ที่น่าเศร้าก็คือว่า หลายปีมานี้การอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติในเมืองไทยได้ถูกบิดเบือนไปจากที่ควรจะเป็นอย่างมาก การบิดเบือนนี้เป็นไปเพื่อมุ่งสู่ผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยแท้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้มีการบริโภคสัตว์ป่าอย่างถูกกฎหมายของข้าราชการระดับสูงและนักการเมืองบางคน หรือการหลอมละลายผลประโยชน์ของคนที่อ้างว่าเป็นนักอนุรักษ์บางคนที่ไปรับใช้นายทุนเพื่อหากำไรจากสัตว์ป่าหรือสัตว์ทะเล เป็นต้น
นี่ขนาดมีคุณหมอบุญส่งมาวางรากฐานการอนุรักษ์เอาไว้ยังเป็นได้ถึงขนาดนี้ หากไม่มีคุณหมอบุญส่งและนักอนุรักษ์รุ่นใหม่ที่เป็นตัวจริงเสียงจริงแล้ว จะขนาดไหน?