เสาอากาศหรือ antenna ใหม่ของควอลคอมม์รุ่น QTM052 ถูกการันตีว่าจะสามารถสร้างการเชื่อมต่อ 5G ความเร็วสูงระดับ gigabit ได้จริงบนสมาร์ทโฟน คาดเริ่มทำตลาดได้ต้นปีหน้า 2019
การจะทำให้สมาร์ทโฟนสามารถรองรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 5G นั้น ต้องอาศัยชิ้นส่วนมากมายที่ต้องทำงานร่วมกัน นอกจากมาตรฐานใหม่, โมเดมใหม่ และฮาร์ดแวร์อื่นที่จะต้องได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ ยังมีเสารับสัญญาณ ซึ่งล่าสุด ควอลคอมม์สามารถกำจัดอุปสรรคสู่ 5G ได้สำเร็จ ด้วยการเปิดตัวโมดูลเสาอากาศ QTM052 mmWave รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ได้รับการการันตีว่าจะทำให้คลื่นและเครือข่าย 5G ทำงานได้ดีบนโทรศัพท์มือถือ
ประเด็นนี้ถือว่ามีนัยสำคัญ เพราะเครือข่าย 5G ในแต่ละย่านความถี่นั้นให้ความเร็วที่ต่างกัน ผลการทดสอบของควอลคอมม์ ที่เผยแพร่ในงานโมบายเวิร์ลคองเกรส (MWC) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งานจะได้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขึ้นผ่านโซลูชัน 5G ที่มีแบนด์วิดท์ต่ำ ดังนั้น เครือข่าย mmWave จึงจะเป็นทางออกให้ผู้ใช้ 5G ได้รับประสบการณ์สุดยอดเน็ตเร็วได้แบบประทับใจ
อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดแวร์ mmWave ที่ทำงานได้กับโทรศัพท์มือถือยังต้องการส่วนประกอบอื่นเพื่อให้ mmWave ทำงานได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อจำกัดของคลื่น mmWave ที่แม้จะรวดเร็ว แต่จะส่งข้อมูลในช่วงที่สั้นกว่ามาก และสามารถถูกปิดกั้นได้ง่ายกว่าด้วยผนัง หรือแม้แต่มือของผู้ใช้ที่ถืออยู่เหนือโทรศัพท์มือถือของตัวเอง
เบื้องต้น ควอลคอมม์ ย้ำว่า เสาอากาศ QTM052 เป็นโซลูชัน ภายในประกอบด้วยเสาอากาศขนาดเล็ก 4 เสาอากาศที่ใช้อัลกอริทึมของควอลคอมม์ ในการจับสัญญาณ 5G จากจุดกระจายสัญญาณที่ใกล้ที่สุด เสาอากาศนี้สามารถสะท้อนกลับสัญญาณออกจากพื้นผิวโดยรอบ ตัวโมดูล QTM052 ถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กพอที่ผู้ผลิตอุปกรณ์จะสามารถฝังลงในฝาของโทรศัพท์ได้
ขณะที่โมเด็ม X50 เทคโนโลยี 5G ของควอลคอมม์ ถูกออกแบบมาให้รองรับอาร์เรย์เสาอากาศ 4 ชุด เบ็ดเสร็จแล้วผู้ผลิตจะสามารถรวมเสาสัญญาณได้สูงสุด 16 เสาไว้ในโทรศัพท์เครื่องเดียว ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกท่านที่ผู้ใช้ถือโทรศัพท์ไว้ จะไม่มีภาวะสัญญาณถูกบล็อกเกิดขึ้น
เสาสัญญาณนี้จึงถือเป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่สำหรับเป้าหมายเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ 5G ที่สามารถรองรับ mmWave จุดนี้ควอลคอมม์ กล่าวว่า อุปกรณ์รุ่นแรกที่มีเสาอากาศ QTM052 อาจจะวางตลาดในช่วงต้นปี 2019 ซึ่งไม่แน่ ช่วงเวลานั้นโลกอาจจะมีเครือข่าย 5G ที่ใช้งานร่วมกันได้แล้ว.