xs
xsm
sm
md
lg

9 องค์กรดิจิตอลร่วมลงนามจัดตั้ง “สมาพันธ์ดิจิทัลไทย”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


9 องค์กรเกี่ยวข้องต่อการให้บริการข้อมูลดิจิตอล ร่วมลงนามจัดตั้ง “สมาพันธ์ดิจิทัลไทย” เป็นสื่อกลางประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิตอลไทย สร้างบรรยากาศสังคมอินเทอร์เน็ตให้เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี และรับผิดชอบ

วันที่ 21 เม.ย.2559 องค์กรด้านดิจิตอล 9 องค์กร ได้แก่ สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) (DAAT) สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย (TISPA) สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส (OSEDA) สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (TWA) สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย (TPA) สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (TECA) และชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITPC) ร่วมลงนามบันทึกเจตนารมณ์การจัดตั้งสมาพันธ์ดิจิทัลไทย (Thai Digital Confederation) เพื่อเป็นเครือข่ายการประสานงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งอุตสาหกรรมดิจิตอลในประเทศไทย ให้สามารถเติบโต และขยายตัวไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจว่ากฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อดิจิตอลเอื้อต่ออุตสาหกรรมดิจิตอลในประเทศไทย และเสริมสร้างบรรยากาศสังคมอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยให้เอื้อต่อการแสดงความคิดเห็นโดยเสรี และมีความรับผิดชอบ

ทั้งนี้ ผู้แทนสมาคม และชมรมที่เข้าร่วมลงนามจัดตั้งสมาพันธ์ดิจิทัลไทย ประกอบด้วย 1.นายศิวัตร เชาวรียวงษ์ นายกสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) 2.นายศุภเสฏฐ์ ชูชัยศรี นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย 3.นายภาวุธ พงษ์วิทยภาณุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย 4.นายอนันต์ แก้วร่วมวงษ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย 5.นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย 6.น.ส.กนกพร ประสิทธิ์ผล นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ 7.นายไผท ผดุงถิ่น นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ 8.นายอัครวุฒิ ตำราเรียง อุปนายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส 9.นายเมธา สกาวรัตน์ ประธานชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ

นายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ได้กล่าวถึงที่มาการจัดตั้งสมาพันธ์ดิจิทัลไทยว่า “เนื่องจากได้ยินจากหลายๆ ท่านในภาคธุรกิจไอที ซอฟต์แวร์ ผู้ให้บริการออนไลน์ พูดถึงปัญหาต่างๆ เช่น บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิตอลหายาก ทักษะไม่ตรงต่อที่ต้องการ หรือแม้กระทั่งปัญหาที่คนทั่วไปพบเจอ เช่น ด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ภาษีต่างๆ จึงคิดว่าปัญหาเหล่านี้สมาคมใดสมาคมหนึ่งคงไม่สามารถที่จะติดตามได้โดยเฉพาะ ถ้ามองในแง่ธุรกิจ คือ เรากําลังถูกคุกคามจากธุรกิจต่างชาติ ซึ่งถ้าต่างคนต่างอยู่น่าจะไม่ไหว นอกจากเรื่องธุรกิจยังมีเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับด้วย ซึ่งเรื่องพวกนี้ทําคนเดียวไม่ได้ จึงคิดว่าน่าจะมีการรวมตัวเป็นสมาพันธ์ เพื่อร่วมมือกันทํางานในบางส่วน ซึ่งน่าจะเป็นผลพลอยได้ เช่น เรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน”

หลังจากดำเนินการจัดตั้งสมาพันธ์ฯ แล้ว ผู้แทนจากสมาคม และชมรมจะส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และดำเนินกิจกรรมเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้นอย่างน้อย 2 เดือนต่อ 1 ครั้ง และหากจะมีองค์กรอื่นเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฯ ในอนาคตจะต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์กรที่ร่วม



กำลังโหลดความคิดเห็น