xs
xsm
sm
md
lg

Damballa พบเราเตอร์ส่งข้อมูลกลับแฮกเกอร์กว่า 1.9 แสน/สัปดาห์โดยยูสเซอร์ไม่รู้ตัว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


Damballa เปิดเผยข้อมูลหลังวางระบบทดสอบความปลอดภัยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พบเพียง 1 สัปดาห์ มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 33 พันล้านครั้ง และพบภัยคุกคามในเราเตอร์ไม่น้อยกว่า 2.9 แสนเครื่อง โดยมีมากกว่า 289 สายพันธุ์จากยูสเซอร์จำนวนกว่า 1 ล้านราย และมีการเชื่อมต่อกลับไปยังแฮกเกอร์ต้นทางกว่า 1.9 แสนแห่ง ระบุชัดพบการส่งกลับไปสหรัฐอเมริกากว่า 6 ล้านครั้ง สูงเป็นอันดับ 1 โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่ามีการติดไวรัส

นายกฤษฎา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่าย GoGreen Security กล่าวว่า หลังจากทำการทดสอบค้นหาภัยซ่อนเร้นโดยนำอุปกรณ์ Damballa ไปติดตั้ง โดยภายในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ที่ทำการทดสอบ พบว่า มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 33,283.735 ล้านครั้ง และตรวจพบการติดภัยซ่อนเร้นไม่น้อยกว่า 299,235 เราเตอร์ จากจำนวนยูสเซอร์กว่า 1,000,000 ยูสเซอร์ โดยมีการเชื่อมต่อไปยังแฮกเกอร์มากถึง 196,936 แห่ง

ทั้งนี้ อุปกรณ์ดังกล่าวได้ตรวจพบภัยซ่อนเร้นหลายสายพันธุ์ เช่น Gamarue, Ramnit, Sality, Ramsomware และยังคงมีภัยซ่อนเร้นที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงอีกมากถึง 289 ชนิด โดยจากสถิติการตรวจพบตลอด 1 สัปดาห์ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนการติดภัยซ่อนเร้นลดลงแม้แต่น้อย ซึ่งภัยซ่อนเร้นที่ตรวจพบนั้นยังทำการส่งข้อมูลไปยังแฮกเกอร์ในหลายๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา โปตุเกส อังกฤษ และรัสเซีย เป็นต้น โดยจะเห็นได้ว่าประเทศที่มีการปล่อยภัยคุกคามประเภทต่างๆ มากที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา มีการส่งกลับข้อมูลกว่า 6 ล้านครั้ง และโปตุเกส มีการส่งกลับข้อมูลกว่า 5 ล้านครั้ง

จากข้อมูลที่ตรวจพบทำให้ทราบว่า ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ติดไวรัส หรือภัยซ่อนเร้น โดยที่ผู้ใช้งานอยู่ยังไม่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส และมักจะโทษไปต่างๆ นานา ว่า การให้บริการอินเทอร์เน็ตช้า เครื่องช้า หรืออื่นๆ ด้วยเพราะมั่นใจต่อระบบการป้องกันที่มีการจำหน่ายในท้องตลาดกันมากมาย โดยที่ยังไม่เคยตรวจสอบระบบภายในของตนเองอย่างจริงจัง ว่า เครื่องตนเองเป็นตัวการแพร่กระจายเองหรือไม่ และหากเครื่องติดไวรัสประเภทที่สามารถขโมยข้อมูลออกไปได้ ผู้ใช้งานเครื่องนั้นๆ อาจจะเป็นคนที่สูญเสียเองก็เป็นได้

ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้นจากผู้ใช้งานเองนั้น เพื่อความปลอดภัยสามารถทำได้ตามลำดับดังนี้ 1.ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส และหมั่นปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสสม่ำเสมอ 2.อย่าเข้าเว็บแปลกๆ ใหม่ๆ โดยไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไป 3.อย่าติดตั้งโปรแกรมแปลกๆ โดยไม่มีการตรวจสอบ 4.เปิดอ่านอีเมลเฉพาะจากคนที่รู้จัก และหมั่นตรวจสอบว่าเป็นอีเมลที่ถูกต้องจริงๆ 5.สำรองข้อมูลของคุณเอาไว้ในที่ที่ปลอดภัยอยู่เสมอ และ 6.เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับการกดเครื่องหมายยกเลิก (กากบาท) เมื่อมีหน้าจอ POP Up ซึ่งอาจจะไม่เป็นผลดีเสมอไป

Instagram


กำลังโหลดความคิดเห็น